BOOK TALK VOL.01 • 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day

12.10.2019

15:00–16:30 hrs

A Talk by Liu Chao-tze and Lin Junye

BOOK TALK VOL.01 features a talk by Liu Chao-tze and Lin Junye from 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day, a Taiwanese artist collective based in Taipei and Rotterdam. In this talk, Chao-tze and Junye share their insights into the self-published photographic publications landscape in Taiwan and Southeast Asia through the practices of 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day. The duo shared their past and ongoing projects including the 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day book fairs in Taiwan, an online platform and bookshop, and ‘Reading SEA Project’, a field survey into Southeast Asia’s self-published photographic publications scene. They further introduced a series of self-published photographic publications by Taiwanese artists and photographers and shared a list of cultural institutions, publishers, and book stores which are devoted to photobook publishing. Chao-tze and Junye concluded the talk by sharing a list of artist residencies in Taiwan which actively make an exchange with Southeast Asian artists for those who might be interested.

กิจกรรม BOOK TALK VOL.01 บรรยายโดย หลิว จ้าวฉือ และ หลิน จวินเย่ จาก 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day กลุ่มศิลปินจากไต้หวันที่ทำงานและพำนักอยู่ระหว่างไทเปและรตเตอร์ดัม ทั้งคู่มาร่วมพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของการจัดทำสิ่งพิมพ์โฟโต้บุ๊คด้วยตนเองในไต้หวันและเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันผ่านโปรเจกต์ 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day ประสบการณ์การจัดเทศกาลหนังสือในไต้หวัน เว็บไซต์ขายสิ่งพิมพ์ของพวกเขา รีเสิร์ชในชื่อ Reading SEA Project เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังแบ่งปันเกี่ยวกับการตีพิมพ์ผลงานตนเองของศิลปินและช่างภาพที่น่าสนใจ พูดถึงองค์กร สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือที่อุทิศความสนใจให้กับสิ่งพิมพ์ประเภทโฟโต้บุ๊ค มีการพูดถึงผลงานภาพถ่ายส่วนตัวที่ถ่ายทอดผ่านโฟโต้บุ๊ค รวมไปถึงแนะนำพื้นที่ทางศิลปะสำหรับพำนักในไต้หวัน ที่สนใจแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับผู้ที่สนใจสมัครร่วมโครงการ

STAFF’S JOURNAL
โดย กานต์ธิดา บุษบา

เราพบกับ 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day ในงาน BANGKOK ART BOOK FAIR 2019 พวกเธอเข้าร่วมในฐานะผู้ขายหนังสือ ส่วนเรานอกจากจะเป็นผู้ขายภายในนาม BOOKSHOP LIBRARY โดยบางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่แล้ว ยังอดใจไม่ได้ที่จะเป็นผู้เข้าร่วมงาน โฉบไปมาจากโต๊ะแรกไปโต๊ะสุดท้าย และแน่นอนว่าบรรดาสิ่งพิมพ์ที่วางอยู่บนโต๊ะของพวกเธอสามารถดึงสายตาเราไว้ได้ จากความสนใจครั้งนั้นพามาถึงจุดที่ชวนพวกเธอมาแชร์โปรเจกต์ที่พวกเธอทำ ในกิจกรรมซีรีส์ BOOK TALK ครั้งแรกของ BOOKSHOP LIBRARY

“มีคนถามว่าทำไมต้อง 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day เราตอบว่ามันมาจากการเล่นคำระหว่าง dummy book และ dummies ที่พวกเราก็อยากจะสร้างอารมณ์ขันให้กับตัวเองว่า คน(โง่)ที่ทำหนังสือพวกนี้มักเป็นคนโง่ เพราะว่าไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการทำสิ่งนี้เลย” หลิว จ้าวฉือ และหลิน จวินเย่ สองสาวชาวไต้หวัน ผู้ก่อตั้ง 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day แนะนำโปรเจกต์ของพวกเธอด้วยอารมณ์ขัน 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day ให้ความสนใจใน 2 สิ่งหลักๆ คือหนังสือภาพถ่าย (photobook) และการผลิตหนังสือด้วยตนเอง (self-publishing)


ซีน An Ultimate Guide to Zen Living Vol.1 (2559) และ Vol.2 (2560) ของจ้าวฉือ


หนังสือ Ageing Object (2559) ของจวินเย่

สิ่งพิมพ์ที่พวกเธอขายในช่วงแรกจะเป็นผลงานของพวกเธอเองเช่น ซีน An Ultimate Guide to Zen Living Vol.1 (2559) และ An Ultimate Guide to Zen Living Vol.2 (2560) ซึ่งรวบรวมภาพถ่ายที่จ้าวฉือสังเกตเห็นว่าพระพุทธรูปที่ตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ (ที่ไม่ใช่ศาสนสถาน) นั้นดูผิดที่ผิดทางอย่างประหลาด หรือหนังสือ Ageing Object (2559) ที่จวินเย่ทำขึ้นระหว่างเรียนถ่ายภาพที่ปราก จากการตั้งข้อสงสัยกับการทำงานของตัวอักษรและภาพ ว่าทั้งสองอย่างต้องไปด้วยกัน หรือสามารถเป็นอิสระต่อกันได้ ต่อมาพวกเธอขยับขยายไปเป็นการจัดงานหนังสือ ชวนคนมาขายหนังสือทำมือที่บาร์ที่จวินเย่ชอบแวะเวียนไปบ่อยๆ คนที่ขายหนังสือทำมือส่วนใหญ่เป็นช่างภาพ แต่มีศิลปินบางคนที่ทำงานคล้ายๆ จ้าวฉือ คือเน้นทำงานผ่านภาพหรือภาพถ่ายแล้วนำเสนอในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ พอฟังมาถึงตรงนี้อดคิดถึงกิจกรรมที่ชวนคนมาแลกเปลี่ยนหนังสือทำมือระหว่างกันในกรุงเทพฯ เมื่อหลายปีก่อนไม่ได้ รวมไปถึงหนังสือบางชุดใน BOOKSHOP LIBRARY ที่เจ้าของผลงานหอบหิ้วไปขายตามงานหนังสือต่างๆ


นิทรรศการ WE LOVE YOU, YOU DUMMY.

นอกจากการจัดงานหนังสือแล้ว อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือพวกเธอเคยจัดนิทรรศการ WE LOVE YOU, YOU DUMMY. โดย Fotobook DUMMIES Day จัดขึ้นในปี 2019 ที่ Not Just Library ไทเป ไต้หวัน (บริหารโดย Design Center) และยังได้จัดกิจกรรมประกอบนิทรรศการ เช่น Those Small Things on Photo Editing ที่ชวนบรรณาธิการหนังสือภาพถ่ายจาก nitesha และ dmp editions มาพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานในฐานะบรรณาธิการหนังสือภาพ ซึ่งตัวจวินเย่กล่าวว่า “อย่างน้อยที่สุดในไต้หวันเอง ความรู้ความเข้าใจในการทำงานของบรรณาธิการสำหรับหนังสือประเภทภาพถ่าย ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนัก เพราะเหตุนี้เราจึงชวนพวกเขามา”

ในตอนท้ายพวกเธอเล่าถึง Reading SEA Project ซึ่งเป็นโปรเจกต์วิจัยระยะยาวของพวกเธอ มีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมงานหนังสือที่จัดขึ้นหลายๆ ที่ จนเกิดเป็นข้อสงสัยและตั้งข้อสังเกตว่าทำไมไม่ค่อยมีหนังสือภาพถ่ายจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาจำหน่ายมากนัก ทั้งคู่จึงเริ่มค้นหาว่ามีใครทำหนังสือภาพ หรือใช้สิ่งพิมพ์เป็นวิธีในการเผยแพร่ผลงานบ้าง และออกเดินทางสัมภาษณ์เก็บข้อมูลคนทำหนังสือภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยคำถามที่มีใจความหลักๆ ว่า “ทำไมต้องหนังสือภาพ (ถ่าย) ?” และส่งต่อมันออกมาในมุมมองของคนทำ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พวกเธอเผยแพร่บทนำของโปรเจกต์ออกมา แบ่งออกเป็น หนังสือเล่มใหญ่ ประกอบไปด้วยบทสัมภาษณ์จากทั้งร้านหนังสือ ศิลปิน องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทย พวกเธอลงบทสัมภาษณ์ กรกฤช เจียรพินิจนันท์ ศิลปินช่างภาพที่มีผลงานในรูปแบบของสิ่งพิมพ์มากมายเช่น Paper Trails Limited Edition Files (2560) ที่รวบรวมผลงานตั้งแต่ปี 2543-2560 ที่จัดแสดงในนิทรรศการ PAPER TRAILS เมื่อปี 2560  และหนังสือเล่มเล็กที่มีการรีวิวสั้น ๆ เกี่ยวกับ Sathorn Sunset (2561) หนังสือรวบรวมภาพถ่ายช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ตกจากตึกสาธรยูนีคทาวเวอร์ ผลงานของ มิติ เรืองกฤตยา 

แม้จะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่โปรเจกต์วิจัยชิ้นนี้ยังมีเฉพาะภาษาแมนดาริน แต่เราสามารถดูคำอธิบายสั้นๆ ได้ที่ เว็บไซต์ 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day


หนังสือ A Way of Seeing: Reading Southeast Asia through photobook and self-publishing จาก Reading SEA Project

เอื้อเฟื้อภาพโดย  傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day
© 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day

www.fotobookdummiesday.com