READING GROUP 02 (ONLINE) • A Conversation with the Sun

กิจกรรม Reading Group ครั้งที่สอง จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เป็นการชวนอ่านหนังสือศิลปิน A Conversation with the Sun ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล จากนิทรรศการในชื่อเดียวกัน โดย BOOKSHOP LIBRARY และแขกรับเชิญสามคนได้แก่ ธีรวัฒน์ ธนิษฐเนตรศิริ (ปุ่น) ก๊อปปี้อิดิเทอร์ของเล่ม ชยภัทร อาชีวระงับโรค (ปั๊บ) นักเขียนและนักวิจัยจาก spaceth.co และทราย โชนะโต (ทราย) นักออกแบบข้อมูลและนักเขียนที่สนใจการเล่าเรื่องด้วยดาต้า 

จุดเริ่มต้นความสนใจในการหยิบเอาหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านคือบทแรกของหนังสือที่เป็นบทสนทนาของตัวละครไม่ว่าจะเป็นตัวศิลปินเอง พระอาทิตย์ ซัลบาโด ดาลี กฤษณมูรติ และอื่นๆ ที่ถูกประมลผลขึ้นมาด้วยเอไอ 

“เราสนใจความสัมพันธ์ของพระอาทิตย์กับพระจันทร์ และดาลีกับดาวอังคาร” เป็นแง่มุมที่แบ่งปันโดยปุ่น ในการชวนกันอ่านครั้งนี้ ปุ่นได้แชร์อินไซท์ในการจัดการกับตัวหนังสือ ที่งานนี้ถือเป็นความท้าทายเพราะเป็นครั้งแรกที่ต้องจัดการ ‘บทสนทนา’ ที่ไม่มีผู้พูดให้กลับไปซักถาม ปุ่นสนใจที่พระอาทิตย์ถูกแต่งขึ้นเหมือนกับตัวละคร และพระจันทร์ที่มีสถานะเป็นทั้งสถานที่และตัวละครลึกลับที่พระอาทิตย์ทั้งชื่นชมและมองเป็นคู่แข่ง สำหรับปุ่นมันเป็นไดนามิกที่ดูเป็นธรรมชาติทั้งที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ 

ปั๊บ แขกรับเชิญที่คุ้นเคยกันดีกับ BOOKSHOP LIBRARY เพราะเคยมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับโบราณคดีและอนาคตครั้งที่มีกิจกรรมสนทนากับศิลปินนวิน หนูทอง ในวันเปิดนิทรรศการ ‘THE IMMORTALS ARE QUITE BUSY THESE DAYS’ เมื่อปี 2564 แชร์ต่อว่าในตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระอาทิตย์พระจันทร์ก็มักจะแทนค่าด้วยความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี GPT-3 เอไอแพลทฟอร์มที่ถูกใช้ในการผลิตบทสนทนาในบทแรก ว่าเป็นการดึงเอาฐานข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่สิ้นสุดเมื่อปี 2563 มาใช้ และชวนจินตนาการถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการใช้งานเอไอในศิลปะ ตั้งคำถามว่างานศิลปะที่สร้างโดยศิลปินต่างจากเอไอแค่ไหน และการที่กล่าวว่าเอไอไม่สร้างสรรค์เพราะดึงเอาข้อมูลจากอดีตออกมาใช้ได้เท่านั้น ความจริงแล้วต่างจากที่มนุษย์ทำอย่างไร

ในขณะที่ทราย ตั้งข้อสังเกตว่าเอไอเป็น “นักโกหกที่สร้างสรรค์” จากการที่ได้ทดลองสร้างข้อมูลด้วย GPT-3 ด้วยตนเอง ด้วยความอยากรู้ว่าเอไอเล่าเรื่องแบบไหนได้บ้าง อีกแง่มุมที่น่าสนใจคือ ทรายคิดว่าเอไอไม่มีความต้องการของตัวเอง ไม่มีข้อสงสัย ทุกอย่างที่เอไอตอบได้อาจจะเป็นได้แค่ประสบการณ์มือสอง นี่คือสิ่งที่ทำให้เอไอต่างจากมนุษย์หรือไม่ ทรายคาดหวังว่าในอนาคตเอไอจะสามารถตอบคำถามได้อย่างแนบเนียนเท่ามนุษย์เพราะในอนาคตอาจจะอยากคุยกับเอไอในวัยเกษียณ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอีกมากมายที่แบ่งปันโดยผู้ร่วมสนทนาท่านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษากับเอไอ อนาคตของเอไอกับโลกหลังความจริง (post-truth) ความสามารถในการรับมือกับข่าวปลอมของเอไอ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับฟังกิจกรรมสนทนาฉบับเต็มนี้ได้ที่


เกี่ยวกับแขกรับเชิญ (กรอบซ้ายไปขวา)

ชยภัทร อาชีวระงับโรค (ปั๊บ)
นักเขียนที่ spaceth.co โปรแกรมเมอร์ นักวิจัยฝึกหัด และคนจัดเทคอีเวนต์ในไทย สนใจเกี่ยวกับโครงสร้างของธรรมชาติ มนุษย์ คอมพิวเตอร์ และองค์ความรู้แบบไม่แบ่งศาสตร์

นภิษา ลีละศุภพงษ์ (ยีน)
ทีมงานจาก BOOKSHOP LIBRARY

ธีรวัฒน์ ธนิษฐเนตรศิริ (ปุ่น)
นักแปล/ล่าม/ก็อปปี้ไรเตอร์ ภาษาไทย/อังกฤษ/จีน/รัสเซีย สนใจเกี่ยวกับการตีความและถ่ายทอดในและข้ามรูปแบบต่างๆ เช่น การดัดแปลงบทละครมาสู่ภาพยนตร์

ทราย โชนะโต (ทราย)
นักออกแบบเว็บไซต์ที่ Punch Up สตูดิโอ Data Storytelling ที่ทำงานกับข้อมูลและการเล่าเรื่อง สนใจจุดสัมผัสระหว่างศิลปะและเทคโนโลยี บางวันเป็นนักเขียน

SUNDAY WALK • Get Your Back Off the Fourth Wall…

เราจะสามารถหาเศษเสี้ยวของกำแพงที่แบ่งโลกจริงกับโลกเสมือนเจอมั้ย? ถ้าโลกจริงกับโลกในเกมมันหลอมรวมจนไม่ต่างกันแล้ว เราจะเล่นเกมไปทำไม?

หนึ่งในวิธีการทำงานในนิทรรศการ THE IMMORTALS ARE QUITE BUSY THESE DAYS ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มกราคม ถึง 30 มีนาคม 2564 ของ นวิน หนูทอง คือการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของจากโลกเสมือนในเกมออกมาจัดเรียงใหม่ เพื่อตามหาลำดับความสำคัญของความจริงของประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์ในเกม และประวัติศาสตร์นอกเกม และสิ่งที่ถูกนำออกมาข้างนอกโดยศิลปินนั้นถูกมองอย่างไรในสายตาของเกมเมอร์อย่าง สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักวิชาการอิสระด้านการเงิน และเป็นที่รู้กันว่าเป็นนักเล่นเกมตัวยง

กิจกรรม SUNDAY WALK• Get Your Back Off the Fourth Wall… เป็นการพาไปสำรวจนิทรรศการ THE IMMORTALS ARE QUITE BUSY THESE DAYS โดย นวิน หนูทอง และ สฤณี อาชวานันทกุล พร้อมพูดคุยถึงประเด็นต่างๆ เช่นความสนใจของนวินถึงสัญญะของหนังสือในเกมที่ไม่อาจถูกเปิด แต่มักถูกใช้เป็นภาพแทนของขุมพลังและความรู้ เรื่องของศาสตร์แห่งการศึกษาเกมหรือที่เรียกว่า Ludology หนึ่งในสาขาของวัฒนธรรมศึกษาที่พูดถึงเกมประเภทต่างๆ ผ่านวิธีการศึกษาทางคติชนวิทยา มรดกทางวัฒนธรรม สังคมวิทยา และจิตวิทยา มุมมองในการสร้างเกม ผู้เล่นในเกม และบทบาทของเกมในสังคมและวัฒนธรรม คำถามที่ว่าการที่ผู้คนหลบหลีกจากความจริงผ่านการเล่นเกมกันมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์โรคระบาด ที่ทำให้ตลาดเกมโตขึ้นอย่างมากนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร

เกี่ยวกับ • นวิน หนูทอง (แทน) 
จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสาขาการผลิตสื่อภาพยนตร์ แต่สุดท้ายชอบการจัดการนิทรรศการและการทำงานศิลปะมากกว่า แทนสนใจในเรื่องของอดีต เรื่องเล่า ตำนาน ที่เข้าไปอยู่ในสื่อทางวัฒนธรรม อย่างเกม การ์ตูน ภาพยนตร์ และการที่เทคโนโลยีส่งผลต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

เกี่ยวกับ • สฤณี อาชวานันทกุล (ยุ้ย)
จบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เอกเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เอกการเงิน ปัจจุบันทำงานวิจัยด้านธุรกิจที่ยั่งยืนในฐานะกรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด ติดตามและถ่ายทอดพัฒนาการใหม่ๆ ณ พรมแดนความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจที่ยั่งยืน พลังพลเมือง และเกม ในศตวรรษที่ 21 สฤณีเล่นเกมมาแล้วหลายพันเกมจนสามารถเรียกตัวเองอย่างภาคภูมิใจว่า “เกมเมอร์” อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งและรันเว็บไซต์ Home of the Underdogs กรุเกมเก่าออนไลน์ซึ่ง ณ จุดสูงสุดมีเกมให้ดาวน์โหลดมากกว่า 4,000 เกม
https://en.wikipedia.org/wiki/Home_of_the_Underdogs
http://www.facebook.com/SarineeA
https://steamcommunity.com/id/Fringer

คุยข้างหลุม | They Dig into the Soil and Talk by the Hole

คุยข้างหลุม | They Dig into the Soil and Talk by the Hole เป็นกิจกรรมสนทนาภาคต่อในชื่อเดียวกันจาก [BOOKMARK MAGAZINE] ฉบับที่ 7 ซึ่งเป็นการพูดคุยระหว่าง นวิน หนูทอง (แทน) ศิลปินที่กำลังมีนิทรรศการในชื่อ THE IMMORTALS ARE QUITE BUSY THESE DAYS อยู่ในขณะนี้ ธรรดร กุลเกลี้ยง (ดร) นักศึกษาโบราณคดีปีที่ 4 เจ้าของเพจ The PITT ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน (เติ้ล) และ ชยภัทร อาชีวระงับโรค (ปั๊บ) ตัวแทนจากแพลตฟอร์มเล่าเรื่องอวกาศ Spaceth.co

จัดขึ้นในวันเปิดนิทรรศการ THE IMMORTALS ARE QUITE BUSY THESE DAYS วันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2564 เวลา 14:00–17:00 น. ทั้งสี่คนพูดคุยกันถึงเรื่องของอารยธรรมในอดีต ดวงดาว การค้นพบ ตำนาน ศาสนา นิทาน การ์ตูน ภาพยนตร์ อนาคต เกม ประวัติศาสตร์ โดยกิจกรรมสนทนาแบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ ตอนที่ 1: โบราณคดีของโบราณดคี โบราณคดีของอวกาศ โบราณคดีของเกม ตอนที่ 2: อนาคตของโบราณคดี อนาคตของอวกาศ อนาคตของเกม ตอนที่ 3: โลกที่ไม่มีเส้นแบ่ง โลกแห่งความเป็นไปได้ โลกที่ไม่มีศูนย์กลาง

รายละเอียดกิจกรรม

เมื่อศิลปิน นักศึกษาโบราณคดี และนักเขียนเรื่องอวกาศ มาพบกัน พวกเขาพากันมองไปที่พื้นดินตรงหน้า คิดถึงมันด้วยความรู้สึกที่ต่างกัน แต่คิดเช่นเดียวกันว่าพวกเขาจะลองขุดลงไปดูที่พื้นดินตรงหน้าว่ามีอะไรอยู่ในนั้น นักศึกษาโบราณคดีเริ่มก่อนโดยใช้อุปกรณ์อย่างที่เขาชำนาญ ส่วนนักเขียนมองนักโบราณคดีขุด สลับกับมองไปที่ท้องฟ้า เขาจินตนาการว่าตัวเองอยู่บนพื้นดวงจันทร์และกำลังมองไปยังโลกแบบที่ คาล เซเกน เล่าไว้ใน Pale Blue Dot ศิลปินนั่งลงข้างๆ พื้นดินที่เริ่มยุบตัวลง เปิดคอม แล้วชวนให้ทั้งสามคนนั่งลง ชี้ให้ดูหลุมที่เขาขุดในโลกเสมือนที่ขอบของพื้นดินเป็นพิกเซล แล้วพวกเขาก็คุยกันตั้งแต่เรื่องของอารยธรรมในอดีต ดวงดาว การค้นพบ ตำนาน ศาสนา นิทาน การ์ตูน ภาพยนตร์ อนาคต เกม ประวัติศาสตร์ของเกม พวกเขาคุยกันโดยมีหลุมเป็นพยาน

ตอนที่ 1: โบราณคดีของโบราณดคี โบราณคดีของอวกาศ โบราณคดีของเกม
• เรื่องเล่า ตำนาน การขุด สู่โบราณคดี
• ท้องฟ้าเป็นความใฝ่ฝันของมนุษย์มาตั้งแต่เมื่อไหร่?
• โบราณคดีอยู่ในเกมยังไง อะไรคือโบราณคดีของเกม

ตอนที่ 2: อนาคตของโบราณคดี อนาคตของอวกาศ อนาคตของเกม
• โบราณคดีบนดวงจันทร์ (และที่อื่นๆ)
• นักบินอวกาศจะบินไปไหนกันต่อ?
• เกมจบแล้วจะเล่นต่อยังไง?

ตอนที่ 3: โลกที่ไม่มีเส้นแบ่ง โลกแห่งความเป็นไปได้ โลกที่ไม่มีศูนย์กลาง
• แคนอน และ แฟนฟิค
• ยุคแห่งความพัลวัน

เกี่ยวกับผู้ร่วมสนทนา

นวิน หนูทอง (แทน) จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสาขาการผลิตสื่อภาพยนตร์ แต่สุดท้ายชอบการจัดการนิทรรศการและการทำงานศิลปะมากกว่า แทนสนใจในเรื่องของอดีต เรื่องเล่า ตำนาน ที่เข้าไปอยู่ในสื่อทางวัฒนธรรม อย่างเกม การ์ตูน ภาพยนตร์ และการที่เทคโนโลยีส่งผลต่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์

ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน (เติ้ล) ผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการบริหารสื่อออนไลน์ด้านอวกาศ Spaceth.co มีความสุขกับการทำงานเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ สนใจในความเชื่อมโยงระหว่างศิลปะ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ มีความเชื่อการสำรวจอวกาศอันเป็นพรมแดนสุดท้ายจะช่วยเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันได้ดีขึ้น

ชยภัทร อาชีวระงับโรค (ปั๊บ) เด็กอายุสิบแปดที่ชอบอวกาศเลยมาทำงานเป็นนักเขียนและเทคโนโลจิสต์ให้สื่อออนไลน์ Spaceth.co หลงใหลในศาสตร์ทั้งหลายที่งอกงามขึ้นจากพัฒนาการของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ในอดีตเป็นต้นมาและฝันถึงความเป็นไปได้อันหลากหลายของสังคมในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ปัจจุบันกำลังทำงานวิจัยข้ามศาสตร์เกี่ยวกับตัวเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอในอวกาศและพยายามเรียนให้จบชั้นมัธยม

ธรรดร กุลเกลี้ยง (ดร) นักศึกษาคณะโบราณคดีชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นเจ้าของเพจ The PITT เพจออนไลน์คอนเทนต์เล็กๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่เชื่อว่าเป้าหมายสำคัญของงานโบราณคดีคือต้องเล่าให้คนทั่วไปเข้าใจและสนุกไปกับมันได้

BOOK TALK VOL 01

BOOK TALK VOL.01 features a talk by Liu Chao-tze and Lin Junye from 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day, a Taiwanese artist collective based in Taipei and Rotterdam. In this talk, Chao-tze and Junye share their insights into the self-published photographic publications landscape in Taiwan and Southeast Asia through the practices of 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day. The duo shared their past and ongoing projects including the 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day book fairs in Taiwan, an online platform and bookshop, and ‘Reading SEA Project’, a field survey into Southeast Asia’s self-published photographic publications scene. They further introduced a series of self-published photographic publications by Taiwanese artists and photographers and shared a list of cultural institutions, publishers, and book stores which are devoted to photobook publishing. Chao-tze and Junye concluded the talk by sharing a list of artist residencies in Taiwan which actively make an exchange with Southeast Asian artists for those who might be interested.

กิจกรรม BOOK TALK VOL.01 บรรยายโดย หลิว จ้าวฉือ และ หลิน จวินเย่ จาก 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day กลุ่มศิลปินจากไต้หวันที่ทำงานและพำนักอยู่ระหว่างไทเปและรตเตอร์ดัม ทั้งคู่มาร่วมพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของการจัดทำสิ่งพิมพ์โฟโต้บุ๊คด้วยตนเองในไต้หวันและเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกันผ่านโปรเจกต์ 傻瓜書日 Fotobook DUMMIES Day ประสบการณ์การจัดเทศกาลหนังสือในไต้หวัน เว็บไซต์ขายสิ่งพิมพ์ของพวกเขา รีเสิร์ชในชื่อ Reading SEA Project เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังแบ่งปันเกี่ยวกับการตีพิมพ์ผลงานตนเองของศิลปินและช่างภาพที่น่าสนใจ พูดถึงองค์กร สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือที่อุทิศความสนใจให้กับสิ่งพิมพ์ประเภทโฟโต้บุ๊ค มีการพูดถึงผลงานภาพถ่ายส่วนตัวที่ถ่ายทอดผ่านโฟโต้บุ๊ค รวมไปถึงแนะนำพื้นที่ทางศิลปะสำหรับพำนักในไต้หวัน ที่สนใจแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับผู้ที่สนใจสมัครร่วมโครงการ

BOOK TALK VOL 02

BOOK TALK VOL.02 features a talk by Dr.Johnny Drain, a co-founder and editor of MOLD Magazine, moderated by Gai Lai Mitwichan, a food anthropologist and the restaurateur of TONKIN-ANNAM. The talk explores MOLD Magazine’s key subject on what could the future of food look like through the cases of emerging design, innovations, lifestyles, and visions that are shaping the courses of food.

The talk began with the MOLD Magazine‘s background introduction and a quick summary of each issue by Dr.Drain. He later shared his works and personal research projects, which he creatively incorporated his scientific background in material science to apply in food. The projects include his personal fascinations in fermentation where he pursued to create the fermented food that is appetizing yet sustainable. Later in the talk, Mitwichan also shared his visions about the future of food manifesting through his ongoing farm project where he grew a collection of rare herbs from around the world for researching and archiving these fleeting tastes for the future.

The conversation between Dr.Johnny Drain and Gai Lai Mitwichan were held in English with Thai translation by Nunnaree Panichkul. 

Special thanks to The Sukhothai Bangkok Hotel

กิจกรรม BOOK TALK VOL.02 เป็นการสนทนากับ ดร.จอห์นนี่ เดรน บรรณาธิการและผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสาร MOLD ดำเนินรายการโดย กาย ไล มิตรวิจารณ์ นักมนุษยวิทยาด้านอาหาร และเจ้าของร้านอาหารตงกิงอันนัม ประเด็นในการสนทนาคือเรื่องทิศทางและความเป็นไปได้ของอนาคตของอาหาร โดยเริ่มพูดถึงเนื้อหาของนิตยสาร MOLD ซึ่งรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบ เทคโนโลยี วิธีการผลิตใหม่ๆ ในแวดวงอาหาร ที่ช่วยกระตุ้นแนวคิดเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอาหารในอนาคต มีการพูดถึงโปรเจกต์และงานวิจัยส่วนตัวของ ดร.จอห์นนี่ ที่ใช้วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์จากแบคกราวน์การศึกษาทางด้านวัสดุศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์กับวงการอาหาร เช่นความสนใจส่วนตัวเรื่องการหมักดอง ด้วยจุดมุ่งหมายในการผลิตอาหารที่ทั้งอร่อยและยั่งยืน โดยกาย ได้ร่วมนำเสนอการตีความถึงอนาคตของอาหารในแบบของเขา ผ่านสวนปลูกพืชผัก ที่ตั้งใจรวบรวมพืชพันธุ์หายากจากทั่วโลก สำหรับเป็นกรณีศึกษาและเพื่อเก็บรักษารสชาติเหล่านี้สำหรับอนาคต 

การสนทนาระหว่าง ดร.จอห์นนี่ เดรน และ กาย ไล มิตรวิจารณ์ เกิดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นภาษาไทยโดย นันท์นรี พานิชกุล 

กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากโรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ

THE LAST COPY IS FOR READING HERE

THE LAST COPY IS FOR READING HERE exhibition marks an official opening of the BOOKSHOP LIBRARY, a hybrid space that is a fusion between independent bookshop and public library. The title captures the space’s ritual of keeping the last remaining copy from sale whilst turning it into a library resource. This often heard sentence at the BOOKSHOP LIBRARY regularly opens the discussion about the role of a library in a contemporary setting which could lead to divergent interests through book medium. 

THE LAST COPY IS FOR READING HERE highlights the publication projects by independent publishers, small-sized publishers, and institutions that underline the current issues. The exhibition features the [BOOKMARK] project by BOOKSHOP LIBRARY’s keepers Napisa Leelasuphapong and Kantida Busaba. The project was displayed in the form of enlarged bookmarks, containing snippets of dialogues occured in the space about a book which eventually led to another. Thus, these conversations created routes that momentarily formed as classifications of books in the BOOKSHOP LIBRARY’s collection.

[BOOKMARK] evolves to become an ongoing project with a pursuit of documenting the conversations exchanged about the books in the BOOKSHOP LIBRARY which could be developed and reinterpreted further to various formats. As the space is extended to the online platform, the project scope is propagated to [BOOKMARK ARCHIVE], [BOOKMARK MAGAZINE], and [BOOKMARK CHATROOM].

THE LAST COPY IS FOR READING HERE คือนิทรรศการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของพื้นที่ BOOKSHOP LIBRARY ที่ซึ่งผสานแนวคิดของร้านหนังสืออิสระเข้ากับแนวคิดของห้องสมุดสาธารณะ โดยนิทรรศการนำเสนอแนวความคิดของการเก็บหนังสือเล่มสุดท้ายจากการขาย ไว้ใช้งานในพื้นที่ของห้องสมุด เพื่อร่วมกันถกเถียงถึงบทบาทหน้าที่ของห้องสมุดในพื้นที่ร่วมสมัย และนำไปสู่ความสนใจที่แตกแขนงผ่านสื่อกลางอย่างหนังสือ

นิทรรศการ THE LAST COPY IS FOR READING HERE แนะนำโครงการสิ่งพิมพ์จากสำนักพิมพ์อิสระ สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก และกลุ่มสถาบันที่สนใจในประเด็นที่กำลังเป็นข้อถกเถียง รวมถึงโปรเจกต์ [BOOKMARK] โดย นภิษา ลีละศุภพงษ์ และกานต์ธิดา บุษบา ผู้ที่ร่วมกันดูแลพื้นที่ของ BOOKSHOP LIBRARY นำเสนอบทสนทนาจากการพูดคุยกับผู้มาเยี่ยมชมพื้นที่ โดยจัดแสดงในรูปแบบที่คั่นหนังสือที่ตีพิมพ์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มต่างๆ จากเล่มหนึ่งไปยังอีกเล่มหนึ่ง เกิดเป็นเส้นทางของหนังสือ ที่กลายเป็นการจัดกลุ่มหนังสือแบบชั่วคราวให้แก่คอลเลกชั่นหนังสือภายใน BOOKSHOP LIBRARY

[BOOKMARK] เป็นโปรเจกต์ต่อเนื่อง ที่ตั้งใจรวบรวมบทสนทนาที่ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันผ่านหนังสือในพื้นที่ของ BOOKSHOP LIBRARY เพื่อต่อยอดสู่การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ และเมื่อพื้นที่ถูกขยายสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ โปรเจกต์นี้จึงถูกขยายขอบเขตการทำงาน เกิดเป็นโปรเจกต์ [BOOKMARK ARCHIVE] [BOOKMARK MAGAZINE] และ [BOOKMARK CHATROOM]