SUNDAY WALK 02: A Trail at the End of the World.

จากประวัติศาสตร์บอกเล่าของพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันที่ถูกทอเข้ากับผลงานประติมากรรมจัดวางในนิทรรศการ A Trail at the End of the World. โดย ดุษฎี ฮันตระกูล สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นการผสานทับซ้อนกันของความหลากหลายทางชีวภาพที่เชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคมมานุษยวิทยา

กิจกรรม SUNDAY WALK ครั้งที่ 2 ในตอน A Trail at the End of the World. เป็นการเดินพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมไปกับวิทยากรภายในนิทรรศการ ซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่บริเวณสวนด้านล่าง ใต้ถุนบ้าน ไปจนถึงชั้นบนของเรือนพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน โดย ดุษฏี ฮันตระกูล และนักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์แรงงาน ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา ถึงประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาเมือง ระบบทุนที่ได้ผลประโยชน์จากการทำลายสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการของรัฐต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสวัสดิการแรงงาน ประวัติศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงผลกระทบของโควิด–19 ที่ส่งผลต่อทั้งระบบนิเวศวิทยา และระบบนิเวศของการจัดการองค์กรเพื่อรองรับการว่างงานของแรงงาน

อ่านรายละเอียดนิทรรศการได้จากสิ่งพิมพ์ประกอบกิจกรรม A Trail at the End of the World.

เกี่ยวกับศิลปิน

ดุษฏี ฮันตระกูล เป็นศิลปินที่สร้างงานประติมากรรม ภาพลายเส้น และเรื่องเล่า ที่อยู่บนจุดตัดระหว่างทัศนศิลป์ โบราณคดี นิเวศวิทยา และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

เกี่ยวกับวิทยากร

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา เป็นนักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์แรงงานและเป็นผู้ริเริ่มพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยซึ่งตั้งขึ้นในปี 2536

BOOK TALK VOL.04 • CITY ON THE EYELIDS เมืองบนเปลือกตา

กิจกรรม BOOK TALK VOL.04 • CITY ON THE EYELIDS เมืองบนเปลือกตา ของ อรุณ ภูริทัต เป็นการพูดคุยระหว่างศิลปิน อรุณ ภูริทัต กับ ปิยพงศ์ ภูมิจิตร ผู้รับหนัาที่บรรณาธิการและออกแบบรูปเล่มหนังสือ ดำเนินรายการโดย ณรงค์ โอถาวร สถาปนิกและอดีตบรรณาธิการนิตยสาร art4d

อรุณ ภูริทัต ใช้ชีวิตที่ย่านบางลำพูระหว่างปี 2535–2542 เขาย้ายจากเชียงรายมากรุงเทพฯ หลังสอบติดเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หลังเรียนจบก็ย้ายจากกรุงเทพฯ ไปใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่ร่วม 20 ปี ปลายปีที่แล้วมีเหตุจำเป็นทางสุขภาพทำให้ อรุณต้องกลับมาใข้ชีวิตที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง และครั้งนี้เขาอาศัยอยู่ละแวกนางเลิ้ง ซึ่งถือว่าเป็นย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากสมัยเรียนที่วังท่าพระ  เขาเริ่มบันทึกภาพสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพของตัวเอง ในช่วงเวลาเดียวกับการปิดประเทศเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา CITY ON THE EYELIDS หรือ เมืองบนเปลือกตา คือหนังสือที่รวบรวมภาพถ่ายที่บันทึกด้วยโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ผู้คน อนุสาวรีย์ และโบราณสถานต่างๆ วิธีมองกรุงเทพฯ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ความทรงจำใหม่ที่ซ้อนทับและเชื่อมโยงไปสู่ความทรงจำในอดีตสมัยเรียนศิลปากร และความทรงจำปลีกย่อยของการมาเยือนกรุงเทพฯ เป็นครั้งคราวในช่วงก่อนหน้านี้ ที่เขาอธิบายไว้ว่าต่อให้หลับตา ภาพเหล่านั้นก็ยังตกค้างอยู่ในบางส่วนของความทรงจำ ทั้งพร่าเลือนและชัดเจนผสมกันจนแยกไม่ออก

Facebook.com/Cityontheeyelids
Instagram.com/Cityontheeyelids

เกี่ยวกับศิลปิน

อรุณ ภูริทัต สนใจศิลปะตั้งแต่ตอนเรียนปริญญาตรีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความตั้งใจทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแต่ก็ไม่บรรลุผล ระหว่างเรียนปริญญาโทด้านผังเมืองที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาจึงหาโอกาสไปพูดคุยกับ มณเฑียร บุญมา (2496-2543) เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องศิลปะ จนมีโอกาสได้ออกแบบสตูดิโอศิลปะให้กับมณเฑียรแต่ไม่ได้ก่อสร้าง เพราะมณเฑียรล้มป่วยลงเสียก่อน ในปี 2542 อรุณเดินทางไปสหราชอาณาจักรและยุโรปเพื่อหาสถานที่ศึกษาต่อ และได้เข้าชมเทศกาลศิลปะเวนิสเบียนนาเล่ในปีนั้น ซึ่งมี Harald Szeemann เป็นผู้อำนวยการจัดงาน เมื่อเดินทางกลับประเทศไทยเขาเริ่มต้นเขียนบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ออกแบบและศิลปะให้นิตยสาร art4d รวมไปถึงนิตยสารศิลปะและออกแบบอื่นๆ และเคยเป็นผู้ช่วยศิลปินชาวจีน Huang Yong Ping ในนิทรรศการ cities on the move ที่กรุงเทพฯ ปลายปี 2542 อรุณย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช และได้ร่วมงานกับฤกษ์ฤทธิ์ในโครงการ the land ทำหน้าที่ช่วยประสานงานให้กับศิลปินและสถาปนิกที่มาสร้างผลงาน ในช่วงปี 2553–2554 อรุณได้รับทุนจาก Nippon Foundation เดินทางไปศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยที่มีผลต่อเมือง ที่ญี่ปุ่น ในปี 2561 เข้าร่วมโครงการ Art-Architecture ที่เชียงใหม่ ซึ่งจัดโดย the land Foundation, Japan Foundation และ Center for Contemporary Art, CCA ปลายปีเดียวกัน เขาได้รับเชิญไปบรรยายที่ Lituania Pavilion ในงาน 16th Venice International Architecture Biennale

เกี่ยวกับวิทยากร

ปิยพงศ์ ภูมิจิตร ทำงานออกแบบกราฟิกที่นิตยสาร art4d ตั้งแต่ปี 2543-2552 ก่อนจะก่อตั้งสตูดิโอออกแบบชื่อ Shake & Bake Studio ในปี 2012 รับงานออกแบบทั้งอัตลักษณ์องค์กร ระบบป้ายนำทาง สิ่งพิมพ์และหนังสือ เริ่มงานเขียนบทความว่าด้วยงานออกแบบและศิลปะลงนิตยสารทั้ง art4d, Wallpaper* Thailand และนิตยสารคิด ของ TCDC ในปี 2014 เปิดสำนักพิมพ์ BONSAI BOOKS ร่วมกับนักเขียนธันยพร หงษ์ทอง และกลับมาร่วมงานกับ art4d อีกครั้งในตำแหน่งบรรณาธิการให้นิตยสาร art4d (2016-2018) ปัจจุบัน ปิยพงศ์เป็นอุปนายกฝ่ายต่างประเทศสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย และเป็นบรรณาธิการร่วมของเว็บไซต์ ThaiGa.or.th

ณรงค์ โอถาวร จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี 2543 เขาเริ่มต้นวิชาชีพสถาปนิกที่เมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทสาขา Architecture and Urban Culture : Metropolis ที่ Universitat Politecnica de Catalunya บาร์เซโลนา ประเทศสเปน และก่อตั้งสตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรม ‘SO’ (Situation-based Operation) รับผิดชอบหน้าที่ผู้อำนวยการด้านออกแแบบตั้งแต่ปี 2550 นอกจากงานออกแบบที่สะท้อนความเชื่อของณรงค์ที่มีต่อพื้นที่ เวลาและข้อจำกัดที่ต่างกันตามสถานการณ์ของแต่ละโครงการแล้ว เขาเคยเป็นบรรณาธิการนิตยสาร art4d เมื่อปี 2559-2561 และยังร่วมดำเนินรายการออนไลน์สัตตะกับธเนศ วงศ์ยานนาวาในเรื่องที่ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอยู่เป็นประจำ

PERFORMATIVE LECTURE: EXCERPTS OF MEMORY FROM THE SCREEN

The performative lecture by Prima Jalichandra-Sakuntabhai is a reflection on their conversation with Thanavi Chotpradit, and Paphop Kerdsup (Graf) in [BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 06 — HOW TO NOT FORGET: IN COMMEMORATION OF THINGS PAST about monuments and memory. Living outside Thailand for more than ten years, Prima has tried to understand their homeland history that overlay their family heritage through evidence that has been left on the internet.

The virtual performative lecture is a rhapsodic collage of found footage from Chris Marker’s films, 3D renderings of the 1932 People’s Party Plaque, hashtags #หมุดคณะราษฎร and #2020thaidemocracyplaque on Facebook, Twitter and Instagram, conversations with the artist’s father on Facebook Messenger and WhatsApp, to voices of Thanavi and Graf during the conversation for the 6th issue of [BOOKMARK MAGAZINE].

“I started following the traces of the Free Youth movement and reproduction of the removed People’s Party Plaque in digital forms on the Internet. This new form of memory reproduction and commemorative practice made me consider my own existence and reliance on memories of the Internet to inform my relationship to my family and country’s history. The politics of memory is further complicated by my parental relationships to both current and historical Thai political figures. The information accessible on the Internet forces me to confront this unsettling inheritance.” — Prima Jalichandra-Sakuntabhai

About

Prima Jalichandra-Sakuntabhai (Prima) is a transdisciplinary artist, working across performance, video and installation. Currently based in LA, Prima’s work addresses the structures of euro-centric masculine power in space and architecture, and their domination over the shaping of other identities. Through performative lectures and site-specific installations, they take apart the physical and structural tools of the Western academic, underlining the fictional nature of Western rationality and the way hegemony legitimizes certain truths over others.

https://www.primasakuntabhai.com

Read the performance script / อ่านสคริปต์การแสดง

เลคเชอร์การแสดงโดย พรีมา ชาลีจันทร์-ศกุนตาภัย เป็นการสะท้อนความคิดจากการสนทนากับ ธนาวิ โชติประดิษฐ และ ปภพ เกิดทรัพย์ (กราฟ) ที่เกิดขึ้นใน [BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 06 — HOW TO NOT FORGET: IN COMMEMORATION OF THINGS PAST เกี่ยวกับอนุสาวรีย์และความทรงจำ พำนักอยู่นอกประเทศไทยมากกว่าสิบปี พรีมาพยายามที่จะทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ของบ้านเกิดที่ซ้อนทับกับประวัติศาสตร์ครอบครัว ผ่านหลักฐานที่รวบรวมมาได้จากอินเทอร์เน็ต 

การทำเลคเชอร์การแสดงบนโลกเสมือนของพรีมา เป็นการร้อยเรียง ตัดแปะ ภาพฟุตเทจภาพยนตร์ของ คริส มาร์คเกอร์ ภาพสามมิติของหมุดคณะราษฎรปี 2479 แฮชแทค #หมุดคณะราษฎร และ แฮชแทค #2020thaidemocracyplaque บนเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม บทสนทนาระหว่างศิลปินกับพ่อบนกล่องข้อความเฟซบุ๊ก แอปพลิเคชันวอตสแอป และเสียงของ ธนาวิ กับกราฟ ที่บันทึกไว้สำหรับ [BOOKMARK MAGAZINE] ฉบับที่ 6 

“เราเริ่มที่จะสืบค้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Free Youth และการผลิตซ้ำหมุดคณะราษฎร (2479) ในรูปแบบดิจิทัลบนอินเทอร์เน็ต รูปแบบใหม่ของการผลิตซ้ำความทรงจำและการรำลึกทำให้เราพิจารณาถึงการมีอยู่ของตัวเราเองและระลึกถึงความทรงจำของอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะบอกเล่าถึงความสัมพันธ์ของเรากับครอบครัวและประวัติศาสตร์ของประเทศที่เราเกิดมา การเมืองของความทรงจำมันซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยความสัมพันธ์กับเครือญาติทั้งในปัจจุบันและบุคคลในประวัติศาสตร์ การเข้าถึงข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตทำให้เราต้องเผชิญหน้ากับการสืบเชื้อสายที่น่าอึดอัดใจ” — พรีมา ชาลีจันทร์-ศกุนตาภัย

เกี่ยวกับศิลปิน

พรีมา ชาลีจันทร์-ศกุนตาภัย (พรีมา) เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะหลากหลายแขนง ข้ามระหว่างศาสตร์การแสดง วิดีโอ และศิลปะจัดวาง ปัจจุบันพำนักอยู่ที่แอลเอ ผลงานของพรีมาพูดถึงโครงสร้างแบบยุโรปเป็นศูนย์กลาง ที่มีพลังของความเป็นชายอยู่ในสถาปัตยกรรมและพื้นที่ และความโดดเด่นของโครงสร้างนั้นที่เหนือกว่าการสร้างอัตลักษณ์ของที่อื่น การจัดแสดงบรรยาย และศิลปะจัดวางในพื้นที่ ได้แยกกายภาพและเครื่องมือเชิงโครงสร้างของนักวิชาการตะวันตกออกจากกัน เพื่อเน้นย้ำความมีเหตุผลแบบตะวันตกที่เป็นเพียงเรื่องแต่งโดยธรรมชาติ และการใช้อิทธิพลที่เหนือกว่าในการทำให้ความจริงบางอย่างชอบธรรมกว่าสิ่งอื่น

https://www.primasakuntabhai.com

SUNDAY WALK 01: TO NOT FORGET

กิจกรรม SUNDAY WALK 01: TO NOT FORGET ครั้งแรก เกิดขึ้นจากเนื้อหาใน [BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 06 — HOW TO NOT FORGET: IN COMMEMORATION OF THINGS PAST ซึ่งเปิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของความทรงจำ อนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน และสถานที่แห่งการรำลึก เพื่อศึกษาความหมายและการมีอยู่ของสัญลักษณ์เหล่านี้ ว่ายึดโยงและแปรเปลี่ยนไปตามโครงสร้างอำนาจในสังคมของผู้ที่สามารถเปล่งเสียงได้ดังกว่ายังไง 

อ้างถึงสถานที่หลายแห่งในกรุงเทพฯ ในบทสนทนา จึงเกิดเป็นกิจกรรมการลงไปสำรวจพื้นที่จริง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และสร้างความทรงจำใหม่ผ่านการเดินสำรวจร่วมกัน ถนนราชดำเนินกลายเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากเป็นถนนที่นับว่าประกอบสร้างด้วยสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองที่ทับถมกันอยู่หลายชั้น นับตั้งแต่ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นถนนเชื่อมวังเดิมบริเวณวัดพระแก้วเข้ากับวังใหม่บริเวณพระราชวังดุสิตในปี 2479 บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าที่ถูกใช้เป็นสถานที่ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง การเกิดขึ้นของอาคารพาณิชย์ตลอดสองข้างทางในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์พฤษภา 2535 จนถึงการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนหลากหลายรูปแบบที่กำลังคุกรุ่น ถนนเส้นนี้เป็นพื้นที่แห่งการทั้งรื้อและสร้าง ที่ยึดโยงกับการปะทะกันของอุดมการณ์ทางการเมืองมาโดยตลอด

อ่านรายละเอียดกิจกรรมได้จากสิ่งพิมพ์ประกอบกิจกรรม — SUNDAY WALK 01: TO NOT FORGET

เกี่ยวกับวิทยากร

ธนาวิ โชติประดิษฐ (ธนาวิ) เป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยจากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้ เธอยังเป็นภัณฑารักษ์อิสระและหนึ่งในทีมบรรณาธิการวารสารวิชาการเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia ขอบเขตความสนใจของธนาวิครอบคลุมความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศไทยกับความทรงจำศึกษา พิธีกรรมรำลึกเกี่ยวกับสงครามและการเมืองไทย

ปภพ เกิดทรัพย์ (กราฟ) เป็นนักเขียนและบรรณาธิการ แม้ได้รับการฝึกฝนเพื่อเป็นสถาปนิก แต่การทำงานของเขามักโคจรอยู่โดยรอบรูปแบบอื่นๆ ของการผลิตสร้างทางสถาปัตยกรรม อาทิ การเขียน การเล่าเรื่อง หรือการพูดคุย ความสนใจของเขาข้องเกี่ยวกับการพยายามจัดการและทำความเข้าใจสื่อหลากรูปแบบในฐานะหนทาง/เครื่องมือสำหรับ ‘อ่าน’ สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมสรรสร้าง

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE05

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05 is a mini exhibition on-site at BOOKSHOP LIBRARY in parallel to a series of an on-line article on bookshoplibrary.com. The series of an online article contains with four conversations from BKKABF CO-OP members who join this year BKKABF that is held in an online form. The conversations revolved around the issues about independent publishing, the change in format from a physical art book fair to an online platform, the growth of independent publishing and publisher community and contemporary topics in an interest of contributors. The exhibition presents the conversations by taking out some texts, images and sound from the articles into a physical space.

This exhibition is part of an BKKABF Online Festival

Read [BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05:
[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.1 — FROM BANGKOK ART BOOK FAIR TO BKKABF CO-OP: WHERE IS THE ART BOOK FAIR AND WHAT IS A CO-OP?
Contributors—Natedow Ongartthaworn, Sankrit Kulmanochawong, Nuttha Isaraphithakkul, STUDIO 150 (Pat Laddaphan and Piyakorn Chaiverapundech)

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.2 — RISO TOWN: THE SENSE OF PLACE OF THE RISOGRAPH STUDIOS
Contributors—RISO BKK (Witti Studio, Haptic Editions, Smoove, Poop Press, Together Design and Risograph Studio), หายหายและหลายๆ ใบ (Panjabhorn Chaichompoo)

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.3 — DEAR READER, PLEASE READ: SHALL WE READ FURTHER?
Contributors—Further Reading (Januar Rianto), Waterproof Exhibitions (Rawiruj Suradin, Napisa Leelasuphapong)

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.4 — SENSE AND SENSIBILITY: ON CONTEMPORARY MIGRATING AND FORAGING
Contributors—Dohee Kwon, Panita S.

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05 เป็นนิทรรศการขนาดเล็กบนพื้นที่จริง ที่ BOOKSHOP LIBRARY เกิดขึ้นคู่ขนานกับซีรีส์ของบทความออนไลน์บนเว็บไซต์ bookshoplibrary.com บทความชุดนี้ประกอบไปด้วยบทสนทนาสี่เรื่องจากสมาชิก BKKABF CO-OP ผู้ซึ่งเข้าร่วมกับเทศกาลหนังสือศิลปะบางกอกอาร์ตบุ๊กแฟร์ (BKKABF) ที่ปีนี้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ บทสนทนาพูดถึงประเด็นรอบๆ เรื่องของสิ่งพิมพ์อิสระ การเปลี่ยนรูปแบบของตลาดขายหนังสือในพื้นที่จริงสู่แพลทฟอร์มออนไลน์ การเติบโตของชุมชนสิ่งพิมพ์อิสระและสำนักพิมพ์อิสระ และเรื่องราวร่วมสมัยที่อยู่ในความสนใจของผู้เข้าร่วม ตัวนิทรรศการนำเสนอบทสนทนาโดยดึงเอาข้อความ รูปภาพ และเสียง จากบทความเข้ามาไว้ในพื้นที่จริง

นิทรรศการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ BKKABF CO-OP Online Festival

อ่าน [BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05:
[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.1 — FROM BANGKOK ART BOOK FAIR TO BKKABF CO-OP: WHERE IS THE ART BOOK FAIR AND WHAT IS A CO-OP?
ผู้เข้าร่วมวงสนทนา—เนตรดาว องอาจถาวร, สัญกฤต กุลมาโนชวงศ์, ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล, STUDIO 150 (พัชร ลัดดาพันธ์ และ ปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช)

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.2 — RISO TOWN: THE SENSE OF PLACE OF THE RISOGRAPH STUDIOS
ผู้เข้าร่วมวงสนทนา—ริโซ่ บางกอก (Witti Studio, Haptic Editions, Smoove, Poop Press, Together Design and Risograph Studio), ปัญจพร ไชยชมภู (หายหายและหลายๆ ใบ)

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.3 — DEAR READER, PLEASE READ: SHALL WE READ FURTHER?
ผู้เข้าร่วมวงสนทนา—Further Reading (จานัวร์ ริยันโต), Waterproof Exhibitions (รวิรุจ สุรดินทร์ และ นภิษา ลีละศุภพงษ์) 

[BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.4 — SENSE AND SENSIBILITY: ON CONTEMPORARY MIGRATING AND FORAGING
ผู้เข้าร่วมวงสนทนา—โดฮี ควอน, พนิตา แสงหิรัญวัฒนา

FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์)

“During the times I traveled around the countryside in Thailand. I experienced light and heat from the sun in a different way as usual. I created this set of paintings from that memory and my present feeling.” – Tae Parvit 

FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) is a mini exhibition of the new works on paper by Tae Partvit. It consists of three images on the front window of BOOKSHOP LIBRARY taken from Tae’s video footage he collected during travels, a sketchy drawing series telling about his journeys in a comic stripe format, and ten works on paper painted with spray paint, acrylic and charcoal to capture his feeling towards the sun. There are also music pieces arranged by Thanart Rasanon (Blozxom) and a display of a publication accompanying the exhibition designed by Napisa Leelasuphapong.

“ในช่วงที่ชีวิตได้ออกไปผจญภัยในต่างจังหวัดหลายๆครั้ง ภาพและความรู้สึกส่วนหนึ่งที่จดจำกลับมาคือแสงสว่างและความร้อนจากพระอาทิตย์ ความทรงจำในครั้งนั้นถูกใช้รวมกับความรู้สึกในปัจจุบันในการสร้างงาน” – เต้ ภาวิต

นิทรรศการ FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) เป็นนิทรรศการแสดงผลงานบนกระดาษชุดล่าสุดของ เต้ ภาวิต ประกอบด้วยภาพนิ่งจากวิดีโอที่ศิลปินบันทึกระหว่างการเดินทาง ติดตั้งบนกระจกด้านหน้าของ BOOKSHOP LIBRARY งานภาพวาดด้วยปากกาและมาร์เกอร์เล่าเรื่องการเดินทางในรูปแบบงานสเก็ตซ์และการ์ตูนสามช่อง และงานบนกระดาษทั้งหมดสิบชิ้นที่ใช้เทคนิคพ่นสเปรย์ผสมกับสีอะคริลิกและแท่งถ่าน เพื่อถ่ายทอด ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์ ภายในนิทรรศการยังมีเสียงดนตรีจาก ธนาธย์ รสานนท์ และสิ่งพิมพ์ประกอบนิทรรศการที่ออกแบบโดยนภิษา ลีละศุภพงษ์

The FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) publication contains images of the new works on paper and still images from the video he filmed during his travels, together with a short journal by Thanart Rasanon on his ten-year-back memory about his practice in music and his interest in Thai politics. Designed by Napisa Leelasuphapong, the publication is her take on the feelings towards the sun where she composed Tae’s paintings and his video stills with Thanart’s journal.   

สิ่งพิมพ์ FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) ประกอบด้วยภาพผลงานบนกระดาษชุดใหม่และภาพจากวิดีโอบันทึกระหว่างการเดินทางของศิลปิน พร้อมด้วยบันทึกขนาดสั้นที่เขียนโดย ธนาธย์ รสานนท์ นักดนตรีที่ศิลปินชวนมาร่วมแต่งดนตรีประกอบและเขียนเรื่องเล่าให้ผลงานชุดนี้ บันทึกขนาดสั้นของธนาธย์เป็นความทรงจำของเขาในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ตอนที่เริ่มทำงานดนตรีและเริ่มสนใจเรื่องการเมือง สิ่งพิมพ์เล่มนี้ออกแบบโดยนภิษา ลีละศุภพงษ์ ด้วยการนำเอาภาพเขียนและภาพจากวิดีโอของเต้ และบันทึกของธนาธย์ มาประกอบไว้ในเล่มด้วยกัน ผ่านการตีความความรู้สึกที่มีต่อแสงอาทิตย์ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์

The opening reception of a new set of works on paper by Tae Parvit entitled FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) is organized on September 13, 2020 at BOOKSHOP LIBRARY, with a special live DJ set by Thanart Rasanon (Blozxom), interpreted his feeling towards the sun after seeing the new works of Tae Parvit.

งานเปิดตัวชุดผลงานบนกระดาษชุดใหม่และสิ่งพิมพ์โดยเต้ ภาวิต ในนิทรรศการ FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมาที่  BOOKSHOP LIBRARY พร้อมการแสดงสดดีเจเซ็ทโดย ธนาธย์ รสานนท์ (Blozxom) ที่ตีความจาก ผลงานชุดใหม่ของเต้ ภาวิต ออกมาเป็นดนตรีที่ให้ความรู้สึกถึงแสงจากพระอาทิตย์ 

FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์), the new collection of works on paper by Tae Parvit will be exhibited in BOOKSHOP LIBRARY at BANGKOK CITYCITY GALLERY from September 13–October 25, 2020

FEELING TOWARDS THE SUN (ความรู้สึกที่มีต่อแสงพระอาทิตย์) is a project developed as part of BKKABF CO-OP Online Festival 2020.  

BOOK TALK VOL.03

BOOK TALK VOL.03 features a talk on the recently released book INTERLACED JOURNEYS | Diaspora and the Contemporary in Southeast Asian Art, by co-editors; Loredana Pazzini-Paracciani and Patrick D. Flores who joined the session via Zoom from Manila, together with Vipash Purichanont one of the contributing writers. The talk, moderated by Kittima Chareeprasit, curator from MAIIAM Contemporary Art Museum, explored, expanded, and exchanged the notion of ‘diaspora’ based on various aspects and experiences as a curator of each speaker.

Regional attention on this particular condition of movement and resettlement has often been confined to sociological studies, while the place of diaspora in Southeast Asian contemporary art remains mostly unexplored. With this notion, the talk revolves around the ‘diasporic condition’ both as a framework and constraints in the curatorial process; whether it be in seeking financial support or collaborating with government agencies as well as with local communities. The talk also included the discussion on the different states between being ‘diasporic’ and being in a ‘diasporic’ condition and on the current pandemic situation that heavily affects traveling. The talks ended with opinions from each speaker on new possibilities of trans-border collaboration under the challenging circumstances of today.

กิจกรรม BOOK TALK VOL.03 เป็นการพูดถึงหนังสือออกใหม่ INTERLACED JOURNEYS | Diaspora and the Contemporary in Southeast Asian Art โดยบรรณาธิการร่วม ลอเรดาน่า ปัสซินี่-ปารัคเคียนี และแพทริก ดี. ฟลอเรส ที่เข้าร่วมสนทนาผ่านโปรแกรม Zoom จากมะนิลา พร้อมด้วยวิภาช ภูริชานนท์ หนึ่งในนักเขียนของหนังสือเล่มนี้ กิจกรรมการเสวนาซึ่งดำเนินรายการโดย กิตติมา จารีประสิทธิ์ ภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ได้สำรวจ ขยายขอบเขต และแลกเปลี่ยนมุมมองต่อคำว่า ‘การพลัดถิ่น (diaspora)’ จากมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้เสวนาแต่ละคน

ความสนใจในระดับภูมิภาคต่อเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงของการเคลื่อนย้ายและการตั้งถิ่นฐานใหม่ มักจะถูกศึกษากันอยู่ในแวดวงสังคมวิทยา ในขณะที่เรื่องของการพลัดถิ่นในแวดวงศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับไม่ค่อยถูกศึกษานัก ด้วยแนวคิดนี้ การพูดคุยจึงอ้างอิงอยู่บนความเข้าใจต่อ ‘สภาวะของการพลัดถิ่น (diasporic condition)’ ในฐานะกรอบและข้อจำกัดในกระบวนการทำงานด้านภัณฑารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นการหาเงินสนับสนุน การทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงการทำงานร่วมกับชุมชนในระดับท้องถิ่น การพูดคุยยังรวมไปถึงเรื่องของสถานะที่ต่างกันระหว่างการอยู่ในสถานะ ‘พลัดถิ่น’ และการอยู่ในสภาวะ ‘พลัดถิ่น’ กิจกรรมยังพูดถึงสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลเป็นอย่างมากต่อการเดินทาง การพูดคุยจบลงด้วยข้อคิดเห็นจากผู้เสวนาแต่ละคนต่อความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของความร่วมมือข้ามพรมแดนภายใต้ความท้าทายของสถานการณ์ปัจจุบัน

THE LAST COPY IS FOR READING HERE

THE LAST COPY IS FOR READING HERE exhibition marks an official opening of the BOOKSHOP LIBRARY, a hybrid space that is a fusion between independent bookshop and public library. The title captures the space’s ritual of keeping the last remaining copy from sale whilst turning it into a library resource. This often heard sentence at the BOOKSHOP LIBRARY regularly opens the discussion about the role of a library in a contemporary setting which could lead to divergent interests through book medium. 

THE LAST COPY IS FOR READING HERE highlights the publication projects by independent publishers, small-sized publishers, and institutions that underline the current issues. The exhibition features the [BOOKMARK] project by BOOKSHOP LIBRARY’s keepers Napisa Leelasuphapong and Kantida Busaba. The project was displayed in the form of enlarged bookmarks, containing snippets of dialogues occured in the space about a book which eventually led to another. Thus, these conversations created routes that momentarily formed as classifications of books in the BOOKSHOP LIBRARY’s collection.

[BOOKMARK] evolves to become an ongoing project with a pursuit of documenting the conversations exchanged about the books in the BOOKSHOP LIBRARY which could be developed and reinterpreted further to various formats. As the space is extended to the online platform, the project scope is propagated to [BOOKMARK ARCHIVE], [BOOKMARK MAGAZINE], and [BOOKMARK CHATROOM].

THE LAST COPY IS FOR READING HERE คือนิทรรศการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของพื้นที่ BOOKSHOP LIBRARY ที่ซึ่งผสานแนวคิดของร้านหนังสืออิสระเข้ากับแนวคิดของห้องสมุดสาธารณะ โดยนิทรรศการนำเสนอแนวความคิดของการเก็บหนังสือเล่มสุดท้ายจากการขาย ไว้ใช้งานในพื้นที่ของห้องสมุด เพื่อร่วมกันถกเถียงถึงบทบาทหน้าที่ของห้องสมุดในพื้นที่ร่วมสมัย และนำไปสู่ความสนใจที่แตกแขนงผ่านสื่อกลางอย่างหนังสือ

นิทรรศการ THE LAST COPY IS FOR READING HERE แนะนำโครงการสิ่งพิมพ์จากสำนักพิมพ์อิสระ สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก และกลุ่มสถาบันที่สนใจในประเด็นที่กำลังเป็นข้อถกเถียง รวมถึงโปรเจกต์ [BOOKMARK] โดย นภิษา ลีละศุภพงษ์ และกานต์ธิดา บุษบา ผู้ที่ร่วมกันดูแลพื้นที่ของ BOOKSHOP LIBRARY นำเสนอบทสนทนาจากการพูดคุยกับผู้มาเยี่ยมชมพื้นที่ โดยจัดแสดงในรูปแบบที่คั่นหนังสือที่ตีพิมพ์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มต่างๆ จากเล่มหนึ่งไปยังอีกเล่มหนึ่ง เกิดเป็นเส้นทางของหนังสือ ที่กลายเป็นการจัดกลุ่มหนังสือแบบชั่วคราวให้แก่คอลเลกชั่นหนังสือภายใน BOOKSHOP LIBRARY

[BOOKMARK] เป็นโปรเจกต์ต่อเนื่อง ที่ตั้งใจรวบรวมบทสนทนาที่ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันผ่านหนังสือในพื้นที่ของ BOOKSHOP LIBRARY เพื่อต่อยอดสู่การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ และเมื่อพื้นที่ถูกขยายสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ โปรเจกต์นี้จึงถูกขยายขอบเขตการทำงาน เกิดเป็นโปรเจกต์ [BOOKMARK ARCHIVE] [BOOKMARK MAGAZINE] และ [BOOKMARK CHATROOM]