TOP PICKS! JULY 2022

สิ่งพิมพ์คัดสรรประจำเดือนกรกฎาคมขยายให้เห็นความหลากหลายของการออกแบบเนื้อหา เริ่มต้นด้วยนิตยสาร Flaneur Issue 07—Sao Paulo (2561) รวมเรื่องราวที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ เนื้อหาในเล่มมาจากคนหลายศาสตร์สาขาอาชีพ ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยจริงในพื้นที่ Eat a Chilli (2564) สิ่งพิมพ์เดบิวท์จากศิลปินจีนที่ใช้ประสบการณ์ย้ายถิ่นฐานของตัวเอง มาเป็นโครงเรื่องการผจญภัยของตัวละครในเล่ม Bricks from the Kiln #3 (2561) วารสารที่จากกราฟิกดีไซเนอร์ที่ทดลองกับการออกแบบกราฟิกและไทโปกราฟีผ่านหน้ากระดาษ สำหรับฉบับนี้พวกเขาได้ผนวกภาษาประดิษฐ์ และเสียงเข้ามาใช้ควบคู่ไปกับเนื้อหาในแต่ละตอน Still Life: mirrors and windows (2563) หนังสือจากสำนักพิมพ์อิสระ Reliable Copy จากบังกาลอร์ เนื้อหาว่าด้วยการเล่าเรื่องด้วยภาพผ่านเลนส์ที่ตัดสลับกันไปมาของสถานที่และเวลา ซึ่งมาจากความสนใจในการทำงานของเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างสิ่งพิมพ์จากห้องสมุด Disasters (2558) 1 square metre of soil (2561) Black Hole 010 (2561) โดยสำนักพิมพ์ onestar press จากฝรั่งเศสที่ผลิตหนังสือศิลปินโดยเฉพาะ Publishing as Artistic Practice (2559) ว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านของการตีพิมพ์และเทคโนโลยี นำเสนอประเด็นความเป็นเจ้าของและปฏิบัติการทางศิลปะของศิลปินที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา Can You Feel It? (2559) สิ่งพิมพ์จากนิทรรศการที่ชวนทำความเข้าใจเรื่องการ ‘สัมผัส’ (tactility) ว่ามันหมายความอย่างไรได้บ้างในพื้นที่ของการตีพิมพ์และในรูปแบบของหนังสือ

อ่าน Top Picks! ได้ใน Newsletter July 2022 ในรูปแบบ pdf.