[BM] 02
ช่วงเวลาสองเดือนที่ผ่านมานี้ อาจเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่เราใส่ใจกับ ‘ข่าว’ มากที่สุด ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ล่องลอยอยู่ในสื่อต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้เสพได้อย่างรวดเร็วแบบนาทีต่อนาที มีความหลากหลายทั้งในเชิงเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอ และอาจถูกผลิตขึ้นโดยใครก็ได้ ตั้งแต่ทีมข่าวมืออาชีพไปจนถึงคนธรรมดาที่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นบันทึกภาพเหตุการณ์ตรงหน้า ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า ‘การทำข่าว’ หรือ ‘journalism’ ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ และจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในภูมิทัศน์สื่อยุคปัจจุบัน
บทสนทนาที่เกิดขึ้นนี้ ชักชวนผู้อ่านสำรวจตั้งแต่พัฒนาการของการทำข่าวและวงการสื่อสารมวลชน สื่อเก่าและความเป็นนักหนังสือพิมพ์จะยังคงความเป็นสถาบันได้อยู่หรือไม่ ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถตั้งตัวเป็นสื่อได้ ไปจนถึงบทบาทของนักออกแบบในวงการข่าว และความสามารถของการใช้ ‘ภาพ’ เพื่อสื่อสารในรูปแบบที่ตัวอักษรไม่สามารถทำได้ ตลอดจนการนำเอาหลักการของการทำข่าวไปใช้ในบริบทอื่นๆ หากศิลปินหยิบยืมวิธีคิดของการทำข่าวไปใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างงานศิลปะ ผลงานที่ออกมามีความเหมือนหรือต่างจากข่าวและควรถูกตีความหรือให้คุณค่าอย่างไร
ปวีร์ ศิริมัย เศรษฐกรอดีตนักข่าวสายเศรษฐกิจ ที่สนใจศิลปะร่วมสมัยที่นำประเด็นทางสังคมมาใช้ ได้ชวน นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา นักออกแบบที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวกับสังคม และสนใจการทำงานสื่อสารมวลชนเชิงทดลอง อีกทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ACED ที่เนเธอร์แลนด์ แพลตฟอร์มที่สร้างพื้นที่ให้นักข่าวและนักออกแบบได้มาแลกเปลี่ยนและทำงานร่วมกัน มาพูดคุยถึงพัฒนาการการนำเสนอข่าวในไทย ประสบการณ์ของนวลขนิษฐ์ในการร่วมงานกับสำนักข่าวในต่างประเทศ และความคิดเห็นต่อการเข้ามาใกล้กันมากขึ้นของวิธีการทำศิลปะและการทำข่าว ร่วมกับ ปพน ศิริมัย นักออกแบบที่สนใจเกี่ยวกับการออกแบบข้อมูล ที่ทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับการพูดคุยกันครั้งนี้ รวมไปถึงการออกแบบภาพประกอบบทสนทนาชิ้นนี้
ปวีร์ (ปั๋ม) — อยากจะให้ช่วยแนะนำตัวเองว่าเป็นใครแล้วทำอะไรบ้างครับ?
ปั๋ม — แบคกราวด์ของพี่เบลเป็นดีไซเนอร์ เลยสงสัยว่าทำไมถึงเลือกการทำข่าวเข้ามาใช้ในการทำงาน เพราะเป็นหัวข้อที่เราจะพูดในวันนี้ด้วย
ปั๋ม — การที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ACED และมีโอกาสร่วมงานกับสำนักข่าวมาก่อน พี่เบลมีมุมมองต่อวงการข่าวหรือว่าสำนักข่าวยังไงบ้าง?
ปั๋ม — ผมเองเคยเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์กับสำนักข่าวแบบดั้งเดิมมาก่อน เห็นด้วยว่าตอนนี้มันเป็น เอ็กซิสเทนเชียลไครสิส (existential crisis) ของสำนักข่าว ว่าด้วยโลกที่มันเปลี่ยน มีทั้งสื่อดิจิทัล และโซเชียลมีเดีย ผมรู้สึกว่านอกจากเรื่องรูปแบบทางธุรกิจแล้ว เรื่องคุณค่าหลักของอุตสาหกรรมข่าวก็โดนตั้งคำถามด้วยเหมือนกัน ในอนาคตที่สำนักข่าวอาจจะหายไป แต่เจอร์นัลลิสซึมก็อาจจะไม่ได้หายไปโดยสิ้นเชิง แต่คงเปลี่ยนไปมาก คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่นี้ได้ เพราะทุกคนสามารถถ่ายภาพ สร้างคอนเทนต์ อัพโหลดบนอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เลยรู้สึกว่าเราก็ต้องกลับมาทบทวนคำว่าเจอร์นัลลิสซึม เหมือนกันว่าคืออะไร พี่เบลว่ามองว่าเจอร์นัลลิสซึม จริงๆ มันคืออะไรกันแน่?
ปั๋ม — ผมรู้สึกว่าคุณค่าหลักของการทำงานสื่อสารมวลชนคือการให้ข้อมูลที่ช่วยให้คนตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น เคยดูซีรีส์ชื่อ Newsroom เขาพูดว่าสิ่งที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งควรได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ซึ่งข่าวหรือสำนักข่าวมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลพอที่คนจะตัดสินใจไปเลือกตั้ง ซึ่งผมรู้สึกว่าจริงๆ มันก็เกี่ยวกับทุกเรื่องในชีวิต สำนักข่าวอาจเคยเป็นเหมือนสถาบันมาก่อน แต่ว่าถึงวันนึงมันอาจจะไม่ใช่สถาบันแล้ว เจอร์นัลลิสซึมจึงเหมือนเป็นวิธีการของใครก็ตามที่สามารถส่งข้อมูลออกไปได้ คำถามคงไม่ได้อยู่ที่ว่าสำนักข่าวจะมีพัฒนาการยังไง แต่อยู่ที่คนรับสารจะเปลี่ยนแปลงเร็วพอที่จะเลือกรับข้อมูลที่ดีได้รึเปล่า
ปั๋ม — มันเป็นธรรมชาติของคนที่อยากจะเสพอะไรที่เซนเซชันแนล เราไปปรับอะไรมากไม่ได้ แต่ว่าปัญหามันจะเกิดขึ้นเมื่อมันปนกันเกินไประหว่างอินโฟเมชันแนล กับเซเซชันแนล พอพูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสื่อ ผมรู้สึกว่าภาพเข้ามามีบทบาทในเรื่องข่าวมากเหมือนกัน อาจจะอยากให้พี่เบลเล่าให้ฟังหน่อยว่า กระบวนการออกแบบภาพมันเข้าไปในกระบวนการข่าวยังไงบ้าง?
ปั๋ม — ผมเห็นด้วยมากๆ ว่าในกระบวนการทำข่าวปกติดีไซเนอร์อยู่ปลายน้ำมากๆ อย่างการทำอินโฟกราฟิก ในไทยคำว่าอินโฟกราฟิกมันเฟ้อมากๆ ในสี่ห้าปีที่ผ่านมา ยังไม่ต้องพูดถึงว่าอินโฟกราฟิกจริงๆ ควรจะทำให้สื่อสารได้ดีขึ้น แต่บางอันมันไม่ได้ทำหน้าที่ของมันด้วยซ้ำ เป็นแค่การเอาข้อความมาเปลี่ยนเป็นรูปเฉยๆ ทีนี้ก็เลยสงสัยว่าจริงๆ ดีไซน์มันน่าจะทำอะไรได้มากกว่าการทำอินโฟกราฟิกให้กับข่าวให้มันดูง่ายรึเปล่า? สำหรับพี่เบล ดีไซน์เข้ามาช่วยอะไรในการทำข่าวหรือในการสื่อสารทั่วไป?
ปั๋ม — กำลังนึกอยู่ว่าจริงๆ แล้วการเอาศิลปะหรือการออกแบบเข้ามา มันจะช่วยแก้ปัญหาอะไรในวงการสื่อหรือว่าในการเสพสื่อหรือข่าวได้รึเปล่า?
ปั๋ม — มันไปแตะกับเรื่องความแตกต่างระหว่างออปเจคทีฟ กับซัปเจคทีฟ ด้วย หลายๆ คนคิดว่าข่าวมีความเป็นออปเจคทีฟ มากกว่า ซึ่งในท้ายที่สุดมันอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น การเลือกว่าเรื่องไหนควรจะเป็นข่าว ก็มาจากความเข้าใจบางอย่างที่เรามีอยู่แล้วว่า เรื่องนี้ควรจะต้องถูกสื่อออกมาแบบนี้ ซึ่งมันก็มีความซัพเจคทีฟ อยู่เหมือนกัน
ปั๋ม — เหมือนออปเจคทีฟร้อยเปอร์เซ็นต์มันไม่ได้มีอยู่ในโลก สุดท้ายประเด็นคือคนอ่านรับรู้รึเปล่าว่าสิ่งที่รับอยู่มันคืออะไร เขาจะได้รับมือถูก เมื่อกี้เราพูดในแง่ว่าดีไซน์มันเข้าไปช่วยข่าวได้ยังไง อยากรู้ในอีกด้านนึงว่าในฐานะนักออกแบบ ได้รับรู้วิธีการทำงานหรือว่าวิธีคิดของความเป็นนักข่าวด้วยรึเปล่า มีอะไรที่น่าสนใจบ้างสำหรับคนที่ไม่ได้มีแบคกราวด์ด้านข่าวแล้วมาเจออะไรอย่างนี้
ปั๋ม — แสดงว่าจริงๆ ยังมองว่างานสื่อสารมวลชน ก็มีคุณค่าในแง่ของความน่าเชื่อถืออยู่ประมาณนึง?
ปั๋ม — มันมีกฎว่าถ้าเป็นเรื่องที่เพิ่งได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวนึง มันจะต้องถูกยืนยัน จะอีกหนึ่งหรือสอง แหล่งข้อมูลนอกเหนือจากแหล่งแรก ซึ่งผมเชื่อว่ามันยังมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่วุ่นวายมากๆ อย่างช่วงโควิดนี้ เราแค่ต้องการอะไรที่มันน่าเชื่อถือ
ปั๋ม — ได้ติดตามสำนักข่าวหรือวงการข่าวของไทยที่ผ่านมาแล้วรู้สึกว่ามันมีอะไรน่าสนใจบ้าง?
ปั๋ม — สุดท้ายผมก็รู้สึกว่าหลายๆ เรื่องมันกลับมาที่ผู้ชม เพราะไม่ว่ามันจะใช้การออกแบบเยอะหรือน้อยยังไง จะเป็นซัปเจคทีฟ หรือออปเจคทีฟ มันก็มีเรื่องของการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งเป็นนิยามที่พูดยากเหมือนกัน เราเองยังตอบไม่ได้เลยว่าจริงๆ แล้วความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อที่ทุกคนควรจะมีมันคืออะไร
ปั๋ม — เหมือนสิ่งที่เรียกว่าจรรยาบรรณหรือหลักจริยธรรมของนักข่าว จริงๆ ก็ปรับใช้กับคนทั่วไปได้ สมมุติการหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เราก็ต้องเลือกสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ หรือรู้จักตรวจสอบ สมมุติเราเห็นข่าวนี้เล่าแบบนึง ก็ต้องไปดูกับที่อื่นๆ ด้วยว่าข่าวเรื่องเดียวกัน เล่าเหมือนกันรึเปล่า มันก็มาปรับใช้กับคนทั่วไป ที่เป็นทั้งคนเสพและคนผลิตในสมัยที่ใครๆ ก็ผลิตสื่อได้ด้วยเหมือนกัน
ปั๋ม — แล้วตอนนี้กำลังทำโปรเจกต์อะไรที่เกี่ยวกับประเทศไทยอยู่บ้างมั้ยครับ?
ปั๋ม — ผมไม่ได้มีแบคกราวด์ด้านศิลปะหรือการออกแบบ แต่จะรู้สึกว่างานที่ชอบไปดู มักจะเป็นงานศิลปะที่พูดถึงประเด็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อย่างนึงคือ เราเชื่อมโยงด้วยได้ง่าย เพราะมันพูดถึงเรื่องที่มันเป็นสากล บางทีก็เหมือนได้เสพทั้งงานศิลปะทั้งข่าว งานนึงที่ผมเคยไปดูพูดถึงแผนพัฒนาประเทศของมาเลเซีย ซึ่งรู้สึกว่าชาตินี้คงไม่ได้ไปอ่านอะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้ แต่พอว่าไปดูแล้วรู้สึกว่าเรารับรู้สิ่งนี้แล้วเก็ตเลย มันพูดว่าแผนพัฒนาของมาเลเซียที่ดูยิ่งใหญ่มากๆ จริงๆ เป็นเรื่องที่มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ ผมรู้สึกว่าถ้าไปอ่านจากข่าวทั่วไปคงไม่ได้รู้สึกถึงความสิ้นหวังขนาดนี้ ไปอ่านจากข่าวคงรู้แค่ว่าแผนพัฒนานี้มันถูกเริ่ม แต่สุดท้ายไม่ได้ทำขึ้นจริง ไม่มีงบ ข่าวนี้มันคงไม่ได้ทำอะไรกับตัวเรา แต่พอไปดูในนิทรรศการแล้วรู้สึกว่ามันเก็ตว่ะ ซึ่งมันเป็นผลจากซัปเจคทีฟ ของศิลปินที่มาจากประเทศนั้น วิธีนำเสนอของเขา ทำให้เราเชื่อมโยงกับเขาได้จริงๆ ผมรู้สึกว่าน่าสนใจที่จะเอาศาสตร์นี้มารวมกัน
ปั๋ม — พี่เบลมองตัวเองเป็นศิลปินหรือว่ามองตัวเองเป็นนักข่าว?
เครดิตภาพ
CONTRIBUTORS
นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา(เบล) นักออกแบบและนักวิจัยจากกรุงเทพฯ ปัจจุบันพำนักอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เบลสนใจในประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางสังคมและการอพยพย้ายถิ่นในความหมายร่วมสมัย โดยทำงานผ่านการผสมผสานวิธีการทางศิลปะหลากหลายสาขา เป็นผู้ก่อตั้ง Non Native Native(nonnativenative.com) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม ACED(aced.site)
ปวีร์ ศิริมัย(ปั๋ม) เศรษฐกรที่ปัจจุบันทำงานอยู่กับแบงค์ชาติ อดีตนักข่าวสายเศรษฐกิจจากบางกอกโพสต์ ปั๋มสนใจในศิลปะ วัฒนธรรม และการออกแบบ โดยเฉพาะศิลปะร่วมสมัยที่ดึงเอาประเด็นทางสังคมมาพูดถึง
ปพน ศิริมัย(เปี่ยม) นักออกแบบกราฟิกที่สนใจเกี่ยวกับการแปลงข้อมูลออกมาเป็นภาพ จบการศึกษาเกี่ยวกับ Information Design จาก Design Academy Eindhoven ในปี 2562 เปี่ยมสนใจประเด็นร่วมสมัยทางสังคมและการเมือง และศึกษามันผ่านการทำภาพ อินสตอลเลชั่น หรือสิ่งพิมพ์(paponsirimai.com)
ภาพประกอบบทความโดย ปพน ศิริมัย เกิดจากความพยายามสร้างภาพแพทเทิร์นของเทสต์การ์ด ที่ใช้ทดสอบการส่งสัญญาณทางหน้าจอโทรทัศน์ของกิจการกระจายเสียงในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อตั้งคำถามต่อความจำเป็นต่อการสอบเทียบคุณค่าและความเป็นจริง ของข้อมูลในยุคปัจจุบันที่เรียกกันว่าโพสต์ทรูทนี้ ปพนเลือกที่จะแสดงวิดีโอไว้ตอนท้ายของบทสนทนาเพื่อที่ทำให้เห็นถึงการทำงานของสื่อในการแปลงข้อมูลจากต้นฉบับออกมาสู่บทความในตอนสุดท้าย