BOOK TALK VOL.03 features a talk on the recently released book INTERLACED JOURNEYS | Diaspora and the Contemporary in Southeast Asian Art, by co-editors; Loredana Pazzini-Paracciani and Patrick D. Flores who joined the session via Zoom from Manila, together with Vipash Purichanont one of the contributing writers. The talk, moderated by Kittima Chareeprasit, curator from MAIIAM Contemporary Art Museum, explored, expanded, and exchanged the notion of ‘diaspora’ based on various aspects and experiences as a curator of each speaker.
Regional attention on this particular condition of movement and resettlement has often been confined to sociological studies, while the place of diaspora in Southeast Asian contemporary art remains mostly unexplored. With this notion, the talk revolves around the ‘diasporic condition’ both as a framework and constraints in the curatorial process; whether it be in seeking financial support or collaborating with government agencies as well as with local communities. The talk also included the discussion on the different states between being ‘diasporic’ and being in a ‘diasporic’ condition and on the current pandemic situation that heavily affects traveling. The talks ended with opinions from each speaker on new possibilities of trans-border collaboration under the challenging circumstances of today.
กิจกรรม BOOK TALK VOL.03 เป็นการพูดถึงหนังสือออกใหม่ INTERLACED JOURNEYS | Diaspora and the Contemporary in Southeast Asian Art โดยบรรณาธิการร่วม ลอเรดาน่า ปัสซินี่-ปารัคเคียนี และแพทริก ดี. ฟลอเรส ที่เข้าร่วมสนทนาผ่านโปรแกรม Zoom จากมะนิลา พร้อมด้วยวิภาช ภูริชานนท์ หนึ่งในนักเขียนของหนังสือเล่มนี้ กิจกรรมการเสวนาซึ่งดำเนินรายการโดย กิตติมา จารีประสิทธิ์ ภัณฑารักษ์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม ได้สำรวจ ขยายขอบเขต และแลกเปลี่ยนมุมมองต่อคำว่า ‘การพลัดถิ่น (diaspora)’ จากมุมมองและประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้เสวนาแต่ละคน
ความสนใจในระดับภูมิภาคต่อเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงของการเคลื่อนย้ายและการตั้งถิ่นฐานใหม่ มักจะถูกศึกษากันอยู่ในแวดวงสังคมวิทยา ในขณะที่เรื่องของการพลัดถิ่นในแวดวงศิลปะร่วมสมัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับไม่ค่อยถูกศึกษานัก ด้วยแนวคิดนี้ การพูดคุยจึงอ้างอิงอยู่บนความเข้าใจต่อ ‘สภาวะของการพลัดถิ่น (diasporic condition)’ ในฐานะกรอบและข้อจำกัดในกระบวนการทำงานด้านภัณฑารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นการหาเงินสนับสนุน การทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงการทำงานร่วมกับชุมชนในระดับท้องถิ่น การพูดคุยยังรวมไปถึงเรื่องของสถานะที่ต่างกันระหว่างการอยู่ในสถานะ ‘พลัดถิ่น’ และการอยู่ในสภาวะ ‘พลัดถิ่น’ กิจกรรมยังพูดถึงสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลเป็นอย่างมากต่อการเดินทาง การพูดคุยจบลงด้วยข้อคิดเห็นจากผู้เสวนาแต่ละคนต่อความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของความร่วมมือข้ามพรมแดนภายใต้ความท้าทายของสถานการณ์ปัจจุบัน