[BM] 05.1

FROM BANGKOK ART BOOK FAIR TO BKKABF CO-OP: WHERE IS THE ART BOOK FAIR AND WHAT IS A CO-OP?

POSTED ON 02.09.2020


IN CONVERSATION—

NATEDOW ONGARTTHAWORN SANKRIT KULMANOCHAWONG

 

STUDIO 150 NUTTHA ISARAPHITHAKKUL

 | 

  

ทำไมปีนี้ไม่มีอาร์ตบุ๊กแฟร์? น่าจะเป็นคำถามแรกๆ ของผู้จดจ่อรอเข้าร่วมงานในปีนี้ทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย เพราะเทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ หรือ BANGKOK ART BOOK FAIR (BKKABF) ถูกจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสามปีตั้งแต่ปี 2560 แต่ถ้าหากติดตามจากเพจเฟซบุ๊กของ BKKABF จะเห็นความเคลื่อนไหวในนั้นว่า BKKABF ไม่ได้ถูกยกเลิกไป แต่ได้ขยายขอบเขตออกมาเป็นโปรเจกต์ออนไลน์ในชื่อ BKKABF CO-OP

อะไรคือ BKKABF CO-OP? น่าจะเป็นคำถามถัดไป BKKABF CO-OP เกิดขึ้นจากความสนใจของผู้ร่วมก่อตั้ง ที่อยากจะทำวิจัยเกี่ยวกับทิศทางของสิ่งพิมพ์อิสระ และรูปแบบที่ต่างออกไปในการทำอาร์ตบุ๊กแฟร์ เกิดเป็นแนวคิดในการทำโปรเจกต์ออนไลน์ ที่ไม่ใช่ตลาดนัดซื้อขายแต่เป็นโปรเจกต์ที่มีขึ้นเพื่อทดลองทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ และเปิดโอกาสให้ได้เกิดแชร์ความรู้และประเด็นความคิดระหว่างผู้สนใจทำสิ่งพิมพ์อิสระ

และอาจจะมีคำถามอื่นๆ อีกมากมายตามมา เช่น ทำไมถึงใช้คำว่า CO-OP มันเกี่ยวข้องกับแนวคิดของสหกรณ์ยังไง? สิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบออนไลน์มีอะไรบ้าง? มีสิ่งพิมพ์ขายหรือไม่? สำหรับฉบับนี้ [BOOKMARK MAGAZINE] ISSUE 05.1 เลือกที่จะใช้พอดแคสต์เป็นครั้งแรกในการนำเสนอบทสนทนา โดยได้สมาชิก BKKABF CO-OP ในปีนี้คือ เนตรดาว องอาจถาวร และ สันกฤต กุลมาโนชวงศ์ มาช่วยคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับ BKKABF CO-OP ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ถามคำถามกับ พัชร ลัดดาพันธ์ และ ปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช จาก STUDIO 150 ผู้ร่วมก่อตั้ง BKKABF และผู้ประสานงานชุมชน ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล ถึงที่มาที่ไปของ BKKABF CO-OP ว่ามีแนวคิดเปลี่ยนไปจาก BKKABF เดิมมั้ย? รูปแบบความร่วมมือแบบสหกรณ์ถูกนำมาใช้ยังไง? และจะมีโปรเจกต์อะไรให้เราได้ติดตามไปเรื่อยๆ บ้าง?


แนวคิดของ BKKABF CO-OP


01:35 — BKKABF CO-OP คืออะไร?
04:49 — แนวคิดของ CO-OP หรือสหกรณ์ ถูกนำมาใช้กับเทศกาลหนังสือศิลปะได้ยังไง?
06:40 — BKKABF CO-OP มีบทบาทยังไง และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบไหนบ้าง? 07:22 — ปันผลของสหกรณ์นี้คืออะไร?
09:41 — อะไรคือ ‘BANGKOK’ ในความหมายของ BKKABF CO-OP ในเมื่อมันเป็นเทศกาลออนไลน์?
15:38 — CO-OP มองตัวเองในมุมที่จะช่วยเปิดมุมมองให้กับคนที่เป็นระดับผู้เริ่มต้นได้อย่างไรบ้าง ?
18:39 —สำหรับมุมมองด้านการศึกษา อยากถามลิลลี่ กับโอ๊ตกลับว่า ในฐานะที่เป็นรุ่นใหม่ อีกทั้งยังเรียนอยู่ คิดยังไงกับงาน BKKABF


ที่มาและบริบทของงาน


23:23 — ไอเดียตั้งแต่การเริ่มทำ BKKABF CO-OP เป็นยังไง? 
28:30 — ช่วง CONTRIBUTION PERIOD คืออะไร? เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
30:32 —ถ้าปีหน้า BKKABF กลับไปจัดในพื้นที่จริงได้ แล้วจะยังมีกิจกรรมออนไลน์อยู่มั้ย?


ตัวอย่างงานและอีเวนต์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น


33:45 — งาน BKKABF CO-OP Online Festival 2020 ว่าคืออะไร?
34:47 —  ส่วนหนึ่งงาน  BKKABF CO-OP Online Festival 2020  เกิดขึ้นเพราะโควิดด้วย ถ้ากลับมาจัดแฟร์ได้เหมือนเดิม จะยังมี Online Festival อยู่รึป่าว?
35:33 — แสดงว่า Online Festival หรือ BKKABF CO-OP ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทน BKKABF แต่เกิดขึ้นมาเพื่อเสริม และในปีหน้า ๆ ทั้งสามจะ co-exit กันอยู่ต่อไปใช่มั้ย? 
35:52 — จากการจัดงานในพื้นที่จริงไปสู่ออนไลน์ ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีคิดยังไงบ้าง?
36:29 — ไอเดียเรื่อง CO-OP จะเกิดขึ้นได้รึป่าว ถึงแม้ว่าไม่มีโควิด? 
37:05 — สำหรับเรื่องผู้เข้าชมงาน คิดว่าจะมีกลุ่มผู้ชมจะเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไปยังไงบ้าง?
39:19 — คอนเท้นท์ที่จะอยู่ใน Online Festival จะโฟกัสไปที่คำว่า ‘art book’ ในแง่มุมไหน?  
41:45 — พี่นัทในฐานะของคนที่เป็นผู้ประสานงานกับเมมเบอร์ทุกคน อยากให้อธิบายว่ามีโปรเจกต์แบบไหนบ้าง?
44:38 — โปรเจกต์ Open Access คืออะไร?
48:09 — ทำไมมีความพยายามที่จะแปลบทความจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย หรือจากภาษาไทยเองไปเป็นภาษาอังกฤษ?


เบื้องหลังการทำงาน


49:03 — มีการเลือกคน และแนะนำให้เค้ามารู้จักกัน หรือทำโปรเจกต์ร่วมกันยังไง?
50:09 — แปลว่าทางทีมทำงานได้มีการคุยสื่อสารค่อนข้างลึกซึ้งกับเมมเบอร์ใช่มั้ย ถึงเข้าใจได้ว่าเค้าต้องการอะไรและสามารถแนะนำคนหรือว่าสิ่งอื่นๆ ที่สามารถไปช่วยเค้าได้ แล้วก็มีอุปสรรคเรื่องการสื่อสารมั้ย?
55:26 — ทาง BKKABF CO-OP มีให้การสนับสนุนโปรเจกต์ของเมมเบอร์มั้ย?
57:00 — เนื่องจากว่ากิจกรรมทุกอย่างจะเกิดขึ้นในออนไลน์เป็นหลัก ทางทีมงานมีการวางแผนโปรโมทไปสู่สาธารณะ ด้วยวิธีการไหนบ้าง?

CONTRIBUTORS

เนตรดาว องอาจถาวร (ลิลลี่), ผู้ดำเนินรายการ, สมาชิก BKKABF CO-OP — เนตรดาวเป็นนักออกแบบกราฟิก นักวาดภาพประกอบ และนักจัดรายการวิทยุมือสมัครเล่นที่พูดคนเดียว มีความสนใจในงานกระดาษและงานทำมือประเภทต่างๆ โดยเนื้อหางานมักมีแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก ปัจจุบันทำงานที่ Teaspoon Studio
https://broccolily.wordpress.com 

สัญกฤต กุลมาโนชวงศ์ (โอ๊ต), ผู้ดำเนินรายการ, สมาชิก BKKABF CO-OP — สัญกฤตเป็นนักออกแบบกราฟิกที่สนใจทำงานเกี่ยวกับเรื่องชีวิตประจำวัน และความรู้สึกของการเป็นอยู่แบบธรรมดา ซึ่งอาจจะมีด้านที่เป็นรอยเชื่อมต่อและกระทบกันของวิธีการใช้ชีวิตในแบบต่างๆ แนวความคิด ความเชื่อ ออกมาผ่านการสนทนา สิ่งพิมพ์และภาพเล่าเรื่อง
https://rietveldacademie.nl/en/studentprojects/6273

พัชร ลัดดาพันธ์ (พัด) และ ปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช (เป้) จาก STUDIO150, แขกรับเชิญ, ผู้ร่วมก่อตั้ง BKKABF — STUDIO 150 คือสตูดิโอออกแบบในกรุงเทพฯ ก่อตั้งโดย ปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช และ พัชร ลัดดาพันธ์ โดยสตูดิโอมีความเชี่ยวชาญในการแปลข้อมูลและนำเสนอผ่านการวิจัยการออกแบบและผลงานการออกแบบกราฟิกที่หลากหลาย สตูดิโอดำเนินงานด้วยความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าการออกแบบสามารถสร้างโลกที่ดีขึ้นได้ ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาพวกเขาดำเนินการแพลตฟอร์มการออกแบบกราฟิกเพื่อการศึกษา – “The Rambutan” โปรแกรมนี้ท้าทายบทบาทดั้งเดิมของนักออกแบบกราฟิกในขณะที่สนับสนุนให้นักออกแบบรุ่นใหม่ริเริ่มโครงการที่มีส่วนร่วมกับชุมชนในบริบททางสังคมและการเมืองของประเทศไทย ในปี 2560 พวกเขาได้ร่วมกันก่อตั้ง BANGKOK ART BOOK FAIR ซึ่งเป็นงานประจำปีที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อบริบทของศิลปะและการออกแบบทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้พวกเขายังมีส่วนร่วมในฐานะอาจารย์ในโรงเรียนการออกแบบชั้นนำในประเทศไทย
https://studio150.info

ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล (นัท), แขกรับเชิญ, ผู้ประสานงานชุมชน BKKABF CO-OP, บรรณาธิการและผู้ดูแลโปรเจกต์ Open Access

ปกและแผนภาพโดย เนตรดาว องอาจถาวร (ลิลลี่) ตีความจากความเข้าใจของเธอที่ได้จากการดำเนินรายการสนทนากับผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ประสานงานชุมชน BKKABF CO-OP

เรียบเรียงและตัดต่อพอดแคสต์ โดย กานต์ธิดา บุษบา
พิสูจน์อักษรโดย ศุภมาศ พะหุโล, นภิษา ลีละศุภพงษ์