BOOKSHOP LIBRARY
[BOOKMARK MAGAZINE]

Back

[BM] 05.3

DEAR READER, PLEASE READ: SHALL WE READ FURTHER?

POSTED ON 09/19/2020 IN CONVERSATION—
FURTHER READING (JANUAR RIANTO) WATERPROOF EXHIBITIONS (RAWIRUJ SURADIN / NAPISA LEELASUPHAPONG)
THEN

นักออกแบบอ่านอะไรเพื่อที่จะทำงานต่อไปได้ เป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับนักออกแบบทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล “การอ่านจำเป็นสำหรับนักออกแบบ” และ “เราต้องการให้การอ่านเป็นนิสัยของนักออกแบบ” คือสิ่งที่จานัวร์ ริยันโต ผู้ร่วมก่อตั้ง Further Reading เชื่อมั่น แพลตฟอร์มเผยแพร่เนื้อหาจากอินโดนีเซียภายใต้ชื่อ Further Reading นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อแบ่งปันตัวบทหรือสิ่งพิมพ์ที่มีความสนใจหลักเกี่ยวกับการออกแบบ เขาเริ่มต้นอย่างง่ายๆ จากการแชร์ความรู้ระหว่างกันในสตูดิโอออกแบบของเขาเอง จนกลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่มีเป้าหมายเพื่อเข้าถึงนักอ่านจากทั่วโลก

บทสนทนาระหว่างสมาชิก BKKABF CO-OP ในครั้งนี้ Waterproof Exhibitions กลุ่มศิลปินจากประเทศไทย ได้ชวน Further Reading พูดคุยถึงที่มาที่ไปในการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์ม อะไรทำให้นักออกแบบสนใจบทบาทของบรรณาธิการหรือผู้คัดเลือกเนื้อหาเพื่อเผยแพร่ลงบนแพลตฟอร์มการเผยแพร่เนื้อหา ประเภทของเนื้อหาแบบไหนที่พวกเขาสนใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์ ปัญหาของการเรียนการสอนการออกแบบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ขาดการส่งเสริมการอ่าน และต้นฉบับของตัวบทแบบไหนที่เป็นที่ต้องการในระดับท้องถิ่นและมาจากนักเขียนท้องถิ่น ความแตกต่างในการเผยแพร่แบบออนไลน์และเผยแพร่ผ่านสิ่งพิมพ์ และร่วมแชร์สิ่งพิมพ์ที่ทั้งสองกลุ่มคิดว่าน่าสนใจจะส่งต่อสู่นักอ่าน

รวิรุจ สุรดินทร์ (รวิรุจ) — อยากให้แนะนำตัวและเล่าให้ฟังหน่อยว่าคุณทำอะไร และก่อนที่จะเกิด Further Reading คุณทำอะไรอยู่ก่อนหน้านี้?

รวิรุจ — สมาชิกที่อยู่ใน Further Reading มาจากสตูดิโอด้วยรึเปล่า? คนที่เกี่ยวข้องในตอนเริ่มต้นมีกี่คน? อยากให้ช่วยเล่าเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นในการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการออกแบบกราฟิก

รวิรุจ — เราเห็นได้ชัดว่าคุณมีเป้าหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างสตูดิโอและ Further Reading จุดเริ่มต้นเหล่านั้นคืออะไรและทำไมคุณถึงหันมาสนใจในตัวบท เรื่องราว และงานวิจัย?

นภิษา ลีละศุภพงษ์ (นภิษา) — ขอย้อนกลับไปที่คุณบอกว่าคุณแชร์แหล่งข้อมูลหนังสือหรือบทความระหว่างกันในสตูดิโอ แหล่งข้อมูลพวกนั้นมาจากไหน? ด้วยความที่เราก็เรียนเกี่ยวกับการออกแบบมาเหมือนกัน เราเห็นปัญหานี้เช่นกันในประเทศไทย ซึ่งอาจเกิดจากการที่เราขาดแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยเฉพาะแหล่งทรัพยากรและการเข้าถึงสำหรับข้อมูลพวกนั้น อย่างสถานที่ที่มีหนังสือ นิตยสาร หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกราฟิกดีไซน์

นภิษา — เหตุผลในการเปิดโอเพ่นคอล (open call) ให้กับหนังสือเล่มนี้คงมาจากตรงนั้น ในส่วนของบทบาทคุณในโปรเจกต์สิ่งพิมพ์ Further Reading Print No.1 นี้มีอะไรบ้าง?

นภิษา — ในเล่มเลยเป็นการผสมระหว่างเนื้อหาที่มาจากทีมคุณเอง การออกแบบงานบรรณาธิการ และการคัดเลือกเนื้อหา

นภิษา — เรามีหนังสือเล่มนี้อยู่กับเราตรงนี้ เห็นว่ามีการสัมภาษณ์ Southland Institute จากลอสแอนเจลิส Signals from the Periphery จากเมืองทาลลินน์ Temporary Academy for Un/Re/ Learning จากมะนิลา และเรายังเห็นว่ามีผู้เข้าร่วมอีกหลายคนที่ไม่ได้มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณติดต่อพวกเขาเหล่านี้ด้วยวิธีการอะไร?  เรายังเห็นว่าคุณใช้คำถามสำหรับการสัมภาษณ์ชุดเดียวกันกับทุกคน คุณสื่อสารออนไลน์กับทุกคนหรือมีการสัมภาษณ์แบบเจอตัวกันด้วย?

รวิรุจ — คุณเลือกยังไงว่าเนื้อหาอันไหนควรจะถูกลงในแพลตฟอร์มออนไลน์และอันไหนควรตีพิมพ์ลงในหนังสือ?

รวิรุจ — แล้วเป้าหมายเรื่องผู้อ่านล่ะ เราคิดว่ามันง่ายกว่าแน่ๆ สำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่จะเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า แต่สำหรับสิ่งพิมพ์ คุณกระจายมันออกไปสู่ผู้อ่านยังไง หรือผู้อ่านจะเข้าถึงมันได้จากทางไหนบ้าง ช่องทางหลักที่เผยแพร่โปรเจกต์สิ่งพิมพ์นี้ออกไปคืออะไร?

รวิรุจ — วงการหนังสืออิสระในอินโดนีเซียมีความตื่นตัวแค่ไหน และ Further Reading ได้ออกไปหากลุ่มผู้อ่านที่กว้างขึ้นอย่างการไปร่วมงานหนังสือศิลปะที่ประเทศอื่นบ้างรึเปล่า?

รวิรุจ — มีความยากในเรื่องของภาษาของเนื้อหาบ้างมั้ย เราคิดว่าบางครั้งเนื้อหาเฉพาะในพื้นที่ ที่มีการใช้ภาษาเฉพาะอาจมีความซับซ้อนในการแปล บางอย่างอาจหายไประหว่างการแปล หรือไม่ก็ไม่สามารถหาคำในภาษาอื่นมาทดแทนกันได้ คุณคิดว่าวิธีการนำเสนอที่ดีที่สุดสำหรับผู้อ่านในวงกว้างคืออะไร?

นภิษา — คุณหมายถึงบทความชิ้นนี้ Hybrid Modernism: Koleksi Label Produk dari Tahun 1950-an sampai dengan 1970-an ที่เขียนเป็นภาษาอินโดใน Further Reading Print No.1 ใช่มั้ย? เราคิดว่าภาพของแพคเกจเหล่านี้น่าสนใจ คุณช่วยเหล่าให้ฟังหน่อยว่าบทความนี้เกี่ยวกับอะไร?


รูป 6 — หน้าตัวอย่างจากบทความ Hybrid Modernism: Koleksi Label Produk dari Tahun 1950-an sampai dengan 1970-an ที่ตีพิมพ์ใน Further Reading Print No.1

นภิษา — มันทำให้ฉันนึกถึงหนังสือชื่อ ไทยๆ โดยนักออกแบบและนักเขียนชาวไทย ชื่อประชา สุวีรานนท์ ตีพิมพ์เมื่อเกือบสิบปีก่อน เขาเขียนถึงภาษาภาพในงานออกแบบและโฆษณาที่มีความเป็น ‘ไทยๆ’ คือความเป็นไทยแบบชาวบ้าน ที่เห็นได้ตามท้องถนน การใช้คำว่า ‘ไทยๆ’ โดยเติม ‘ๆ’ ประชาให้เหตุผลว่าเป็นการทำให้ความเป็นไทยเจือจางลง คล้ายๆ กับการพูดว่าอะไรสีแดงๆ ก็คือไม่ใช่สีแดงซะทีเดียว ‘ไทยๆ’ เป็นปรากฎการณ์ที่ก้าวมาเป็นองค์ความรู้ที่ดูเหมือนจะโดดเด่นเป็นไทยมากกว่าไทยประเพณี เขาเขียนถึงมันผ่านการวิเคราะห์งานสร้างสรรค์หลายแขนง เช่น โปสเตอร์ภาพยนตร์ โฆษณา บรรจุภัณฑ์ ในเล่มยังมีข้อเขียนที่ดึงมาจากบทความ The Others Within โดยธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการไทยที่เขียนถึงการมองชาวบ้านเป็น ‘คนอื่น’ ของชนชั้นนำสยามในยุคล่าอาณานิยม ที่หยิบยืมแนวคิดต่างชาติมาใช้มองคนไทยด้วยกันเองด้วย


รูป 7 — ไทยๆ โดยประชา สุวีรานนท์


รูป 8 — ภาพในบทความชื่อ The Others Within โดย ธงชัย วินิจจะกูล เป็นภาพถ่ายของคนัง ที่แต่งตัวเป็น ‘เงาะ’ ตัวละครในนวนิยายเรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พูดถึงแล้วก็ทำให้คิดว่านานมาแล้วที่เราไม่ได้อ่านบทความเกี่ยวกับการวัฒนธรรมการออกแบบจากนักเขียนไทย ประเทศเราก็ขาดสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน

คุณบอกว่าในตอนเริ่มว่าคุณอยากที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่น ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ฉันสังเกตว่ามีนักออกแบบหลายคนที่สนใจคิดค้นโปรเจกต์ของตัวเองที่ออกไปจากกรอบของการทำกราฟิกโดยปกติ อย่างเช่นการทำนิทรรศการ คุณคิดว่าเป็นเพราะอะไร  นักออกแบบถึงสนใจทำงานเหล่านี้?

นภิษา — โดยส่วนตัวแล้วฉันคิดว่าการที่มันยืดหยุ่น ทำให้การทำงานของกราฟิกดีไซน์เองไม่ถูกมองเห็นเท่าไหร่ เมื่อเราทำงานเพื่อส่งเสริมสิ่งอื่นที่ไม่ได้มีเนื้อหามาจากเราเอง 

ฉันคิดว่าการพยายามที่จะทำอย่างอื่นนอกไปจากการทำงานในสาขาวิชา อย่างการทำนิทรรศการ ทำให้เราได้มีพื้นที่ในการค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจจริงๆ เพื่อทำให้ถูกมองเห็นว่ากราฟิกดีไซเนอร์เองก็มีสิ่งที่สนใจและอยากพูดถึงด้วยเหมือนกัน 

ในขณะเดียวกันการทำนิทรรศการก็เปิดโอกาสให้เราได้ทำงานกับกลุ่มคนที่เราสนใจในบริบทที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ ซึ่งมันช่วยทำให้เราได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ อย่างไร้ข้อจำกัด 

Waterproof Exhibitions ก็เกิดขึ้นมาด้วยความคิดว่าเราอยากที่จะมีพื้นที่พูดเรื่องที่เราสนใจ อย่างในนิทรรศการแรกที่ชื่อ Bibliomania เราอยากนำเสนอความเป็นไปได้ของสิ่งพิมพ์ศิลปิน โดยส่วนตัวแล้วฉันสนใจการทำหนังสือโดยศิลปิน วิธีคิดเกี่ยวกับพื้นที่ของหนังสือในฐานะเป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการ หนังสือในฐานะวัตถุทางศิลปะ การมองมันเป็นสิ่งอื่นเพื่อที่จะเข้าไปทดลองกับรูปแบบของมันด้วยวิธีการใหม่ๆ

ถึงแม้ว่าจะสนใจการตีความใหม่ๆ และการทดลองที่นอกกรอบของศิลปิน อย่างงานหนังสือไส้กรอกของดีเธอ โรท (Dieter Roth) ในฐานะกราฟิกดีไซเนอร์เอง เมื่อจะต้องผลิตผลงานของตัวเอง หรือทำงานให้กับศิลปิน ฉันกลับสนใจรูปแบบที่เรียบง่ายของหนังสือ และการหาความเป็นไปได้ที่น่าสนใจภายใต้ข้อจำกัดของโรงพิมพ์ ฉันได้หนังสือชื่อ The Form of the Book Book ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Occasioanl Papers มาจาก Antwerp Art Book Fair มีตอนหนึ่งพูดถึงประเด็นว่าหนังสือเกี่ยวกับศิลปะหลายเล่ม ถูกตีความผ่านการออกแบบเกินผลงานของศิลปิน โดยส่วนตัวแล้วฉันสนใจการหาสมดุลในการจัดการกับงานศิลปะของศิลปินบนพื้นที่ของหนังสือ ทั้งในแง่ของรูปแบบ และการจัดวางภาพและตัวอักษร


รูป 9 — Literature Sausage (Literaturwurst) โดย ดีเธอ โรท, 2512

 
รูป 10-11 — The Form of Book Book เรียบเรียงโดย ซาร่า เดอ บนด์ และ เฟรเซอร์ มักเกอริจด์ ตีพิมพ์โดย Occasional Papers.

คุณเห็นว่ามีเรื่องเร่งด่วนหรือเรื่องจำเป็นในแง่ของกราฟิกดีไซน์และการตีพิมพ์ในอินโดนีเซีย หรือในมุมที่กว้างกว่านั้นบ้างมั้ย? โปรเจกต์ที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้มีอะไรบ้าง และตอนนี้คุณกำลังอ่านอะไรอยู่?

นภิษา — ภาพของงานโฆษณาในกรุงเทพฯ มันทั้งจัดจ้านและแย่งกันโดดเด่น ทิวทัศน์ของเมืองถูกเอาชนะด้วยกราฟิกประเภทที่อยู่บนบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ที่เกินครึ่งเป็นภาพของคนมีชื่อเสียงที่สวยงามไร้ที่ติขายสินค้าที่พวกเขาเป็นตัวแทนจำหน่าย โดยทั่วไปแล้วถ้าพูดถึงกราฟิกดีไซเนอร์ที่นี่ คนทั่วไปจะเข้าใจว่าทำงานในสายโฆษณามากกว่าสายวัฒนธรรม นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันสนใจในสิ่งที่ Further Reading ทำมากๆ เพราะมันช่วยให้เห็นทางเลือกในวงการกราฟิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าไปในทิศทางอื่นๆ ได้ด้วย เป็นตัวอย่างที่ดีที่ทำให้คนเห็นการทำงานกราฟิกที่ต่างออกไป คุณเห็น Further Reading เป็นยังไงในอนาคต?

Free pdf. download, available in Thai and English at DEAR READER, PLEASE READ: SHALL WE READ FURTHER?

ดาวน์โหลดฟรีในรูปแบบ pdf. ทั้งภาษาไทยและอังกฤษได้ที่ DEAR READER, PLEASE READ: SHALL WE READ FURTHER?