Quarterly online magazine [BOOKMARK MAGAZINE], an extension of casual yet absorbing conversations taking place at the BOOKSHOP LIBRARY, open up space for people to engage in conversations on an extensive spectrum of contemporary issues that they would want to share with the public. [BOOKMARK MAGAZINE] นิตยสารออนไลน์รายสามเดือนที่ต่อยดจากบทสนทนาที่เกิดขึ้นใน BOOKSHOP LIBRARY มาพูดคุยเรื่องประเด็นร่วมสมัยที่เราอยากแบ่งปันสู่สาธารณะ
[BM] 05.4
BANGKOK ART BOOK FAIR CO-OP draws people in the field of self-publishing from different places in the world. Several members work from the city which is not their origin including Dohee Kwon and Panita S.. The way Dohee and Panita work derived from their experience of working in different contexts. Dohee Kwon is a South Korean illustrator. Her interests in traveling in Southeast Asia brought her to the project about Thai herbs. Panita is a Thai artist and designer based in Belgium. She extends her interest in sensory to an urban foraging project, collecting plants to process into food, drinks, and scent.
BOOKSHOP LIBRARY invited them to exchange their interests in working with nature and living along with nature. Spending some time in Chiang Dao, Dohee experienced using Thai herbs and learnt more about them from the local wise man. She looks for peacefulness from Yoga practising and interests in translating those feelings into colorful illustrations. Her colorways are inspired by the scenery in Southeast Asia she had seen during her travels. Panita shared her interests in foraging in an urban landscape which contradicts today’s ways of living. The way Panita works made her notice nature more meticulously. She notices the cycle of plants and learns to collect and consume the plants according to season. And that brought her to cultural topics concerning food and migration.
BOOKSHOP LIBRARY (BL) — Why are you interested in the idea of urban foraging? Living in a city like Bangkok, I think it’s almost impossible to do that. Did this idea begin when you moved to Belgium?
Panita S. (Bume) — Actually it started in Sweden when I had an internship there for six months in 2014. There is a culture of picking the chanterelle mushrooms and blueberries, swimming in a natural lake with duck poops floating next to you, feeling the stream of hot and cold under your feet. The natural context around you, your surroundings, shifted the way you live, your lifestyle, and your mentality. That makes you realize it is possible to live this way which is different from the way we live in the concrete jungle like in Bangkok. I think it’s a balance I found in Sweden to combine both city life together. When I moved back to Bangkok to an old Bangkokian lifestyle, I easily got used to the same way of living. However, I keep recalling the way life can be in Sweden.
In 2017, I came to Belgium for my master’s degree in the city called Hasselt which is not a big city, it’s a city with a combination of urban life and nature. There is a nature reserve park called Bokrijk where you can bike around and be connected to nature unlike in Brussels or Antwerp.
BL — What about you Dohee? When does your interest in nature start? In Seoul, Bangkok, or when you’ve spent some time in Chiang Dao?
Dohee Kwon (Dohee) — For me, it began in 2014 when I started to travel by myself abroad. Thailand is the first country I traveled by myself, mostly in the northern part. Since then I started to feel connected with nature. I was born in the city on the south coast, moved to Seoul, and surrounded by a concrete jungle more than a real jungle.
Then in 2017, I got a job from a Korean company in Bangkok. Even though I love nature, I also like the city life in Bangkok. I worked there for one year and during that time traveled back and forth between Korea and Thailand.
I started my illustrator career after quitting the job in Bangkok. I usually draw something and post them on Instagram. There is one time that I drew an airplane and tagged the band called Khruangbin (meaning airplane in Thai) which is the band I love. Luckily the person who works for the band found my illustration on an Instagram and she contacted me to make posters for them. I made three posters for their shows in the States. It gave me good motivation and confidence to keep up with this career.
Pic. 1 — Poster design and illustration for Khruangbin.
Until last year, I got a chance to go to Chiang Dao for the first time. I feel like it is the place where I want to be, so I just decided to live there.
BL — What is your working process in foraging?
Bume — As we already live in a digital era, I use an application in the mobile phone called Picture This to check the type of the plant. It takes just a few seconds to analyze an algorithm to show the name of the plant, its family, and other information. Then, I double-check online if it’s edible. It’s always my first question (laughter).
I sometimes read from the book and still go to libraries to search for more information. There is one forager that I admired who inspires me a lot. His name is Pascal Baudar. He is Belgian but lives in LA. I found his book is very interesting, it is called The New Wildcrafted Cuisine. He collected things like walnuts or cactus and experimented with how he can convert the plants into different tastes. Such as a seaweed dish made out of plantain (a common type of weed). I followed his recipe and tasted it but I thought it could taste more seaweed-like (laughter). I started from there, thought of how it could be more interesting and went further.
Pic. 2 — Pascal Baudar. Excerpts from short documentary, Forest Flavors. Available to watch online at https://vimeo.com/448759950 (password: forage).
BL — It seems like the final product of your research is not always food. Do you see your practice conceptual?
Bume — I usually analyze the materials, context, and go from there what we can make out of it. What I can develop from that point. I use different mediums such as ceramics, edible installations, or information graphics. I try to combine what I know and put it into my work. I could say I’m a conceptual designer based on the sensory and taste.
Pic. 3 — Climate Reality: An Edible Scape is a weather report of ever-changing climate shifts. The scape has prompted a rethink of food production and consumption. It is a storytelling through food as a medium. The audiences are invited to taste and savour the edible installation.
Pic. 4 — Olfactory Time introduces an alternative way of perceiving time beyond the clock. This artistic intervention encourages us to re-experience the passage of time by exploring the sensorial phenomenon in which we are able to perceive and remember time indirectly through olfactory mediums. The artwork allows audiences to take a sniff from a circular ceramic plate, known as the ’Olfactory Calendar’.
BL — The way you use colors in your illustration is very unique. It is very expressive and gives such an energetic sense. Can you tell me how you pick your colors? Do you have any work references? And where is your source of inspiration?
Dohee — I think the way I use colors is inspired by traveling a lot in Southeast Asia and especially in Thailand. Compared to the atmosphere in Korea and Thailand, it’s a different energy. It’s hard to explain. The way Thai people use color is really strong. I always look up for old random LP cover arts from all over the world but also love to see those chunky, dense, and dynamic compositions from old posters. I get inspired by the things that are close to me. Like where I am, what I do and like, who I met, and even what they do. If you look at my personal works, you can see they are mostly about music but also the culture that’s related to the music I listen to, the cities I traveled, and nature where I stay in and fall in love with. I think when I draw what I really like or what I have experienced and I know it’s what it is, things are so smooth and easy and mostly I get satisfied with the result.
Pic. 5 — Illustration by Dohee Kwon on an instagram. @kimchisuperpower
BL — Is there any cultural background in your work that is influenced by where you came from or where you have been?
Dohee — I’d like to say possibly there are a few, like what I have answered in the previous question, my works always reflect the surroundings around me. My hometown is a small city on the south coast. I grew up there till I moved to Seoul for my college. Then I lived in Seoul, which is a huge and crazy busy city for almost ten years. In 2017, I always traveled back and forth between Thailand and Korea and regarded Thailand as my second home always. So I think it’s hard to define where and how I get influenced by my background. All the things are kind of mixed up. I think it makes my work unique and that’s my greatest strength.
Bume — I’m curious about Chiangdao. How is it like there?
Dohee — Chiang Dao has not many tall buildings, two to three stories are the highest, a very few bars, and the only entertainment there is seven-eleven. (laughter) There are not many tourists in Chiangdao compared to Pai.
BL — Can you tell me about the project you did in the Netherlands? Seems like it’s not only a plant that you worked with. You also participated in a cultural project concerning the local community.
Bume — Ingrained Flavour is also about food but expands to include social context. I join the Openset, a platform where you can have lectures and get a tutor to guide you through your project. It has lecture classes every two weeks in Amsterdam over six months. It’s a bit like an extended summer school. I worked on a social project related to Surinamese food in Amsterdam-Southeast (Bijlmer). It turns out that Amsterdam is very multicultural. Back in history, Suriname (a country in South America) was colonized by The Netherlands. Surinamese people worked as housekeepers and workers there. Then later in 1975 Suriname gained their independence but remained their stay in Amsterdam. They formed their kind of subculture and opened their restaurants. As a result of colonization, Indonesian restaurants and Surinamese restaurants are commonly found in Holland, meanwhile, very few can be found in Belgium. Surinamese food got influenced by a lot of tastes and flavors from seven continents in their cuisine. Surinamese food tasted so different to me. I got a chance to work with the Surinamese chef and made a data visualization showing the colonial influence on Surinamese cuisine in Amsterdam.
After this project, I thought of Thai food and wanted to research the influences on Thai cuisine. Some Thai desserts also got influenced by Portuguese cuisine, like eggs, butter, flour but we adapted our local ingredients to it.
Pic. 6-8 — Food in Ingrained Flavour is used as a medium that interconnects society and provokes conversations on the subjects of colonial histories, relocation, heritage and rituals. I delve into Bijlmermeer (Amsterdam Zuidoost) from the historical background of food culture, diversity and multiculturalism, which I observe and investigate.
BL — Dohee, the project that you’ve launched for CO-OP includes the local people and their wisdom in using Thai herbs in Chiang Dao, right? How do you get connected to them?
Dohee — There are another two collaborators on this project. One is Note and the other is Will. I’ve met Will at the Wonderfruit Festival. He invited me to his homestay in Chiang Dao so I came up there. He gave me his idea about this project because he was collecting Thai herbs and wanted to make it into a book. He asked me to do illustrations for it. That’s where we started. He lives in Chiang Dao, so he knows everything and everyone there. He visited one elderly in the same village as him. He is the one who communicated with the elder. As I remember he’s almost 80 years old but still strong. He knows every single plant, tree, and flower. With his help, he told us what the usages of each plant are. We documented them and I started to draw the herbs. The village where we live is within walking distance to the forest. So we easily collected or took pictures of the plants.
Pic. 9 — Spread from Samun Phrai Thai (สมุนไพรไทย) zine.
Talking about my experience with the herbs. I illustrated Kratom plants from my experience when I visited Arunothai village where its border connects to Myanmar. The villagers are Chinese tribes. We went there during the Chinese New Year and ended up making some friends with the local people. We had a chance to visit one of the houses where they served us Kratom tea. It gave a very chill effect but not like weed. We asked how it works and decided to put it in the book. The illustration is a translation of my feeling.
Pic. 10 — Illustration of Kratom in Samun Phrai Thai (สมุนไพรไทย) zine.
There is one time that I got a wound on my arms and legs from falling off a motorbike. The villager used the Buddha Belly plants to heal my wound. They put the liquid from the plant on my arm. It shielded the wound, protected it from dust and my wound healed very fast.
BL — It reminds me of Bume proposal of CO-OP project that mentioned synesthetic expression which means mismatching explanation of two different senses. Is the way Dohee translates her taste or impression of herbs to visual could be called synesthetic? And how do you use it in your work?
Bume — I think it’s quite similar. The way you get influenced by the color of Southeast Asia in your work as well. Your brain creates a connection, a kind of cognitive connection between different senses. For example, the sensory impression of magnolia blossoms. When you taste Magnolia blossoms, it begins with a floral scent followed by a strong punching flavor of ginger aftertaste. For me, I think of the sharp line when I taste this, meanwhile visually the magnolia is so soft and delicate. This is how your sensory makes a connection between floral scent and strong ginger taste, and makes relation to sharp lines.
Besides collecting plants from nature, I asked some neighbors if I could collect their plants like magnolia blossoms in their backyard. This way you know there is no pesticide. I brought the magnolia home and made a pickle from magnolia petal with fermentation technique. Keeping it for two weeks, it turns into something quite similar to Japanese pickled ginger (gari) that you eat with sushi. The Japanese eat it to cleanse the palate between different types of sushi.
Pic. 12 — Magnolia petals are fermented for the taste of Japanese pickled ginger (gari).
Pic. 13 — Spread from Tenderly about magnolia blossoms.
Pic. 14-15 — Wild strawberry (Fragaria vesca), illustrations in Tenderly, by Delphine Lejeune.
Working this way the European plants connect me to my Asian roots. Or I can make wild sushi without using fish because I don’t live near the sea, so it will be more plant-based sushi made by green leaves. I used to use little buds of daisy to ferment capers too. You can find the linkage to your cuisine. The balance I find here is to connect my roots to the local context where I live.
BL — Do you think seasons affect the way you work? Thinking of Thailand we don’t feel that much of the change of seasons. It is like summer all year. The tremendous change in seasons in Europe made us notice more of the changes in nature. Do you agree with that?
Bume — Actually it’s a big shift. Since I was in Sweden, I can sense the season change radically unlike in tropical countries like Thailand. Our bodies need to adapt accordingly to the season, and our biorhythms change also. It’s more gloomy and rainy here in Belgium. It made me start missing the sun more than ever.
I also notice the micro season. For example at the beginning of spring. There is a particular time when a flower like magnolia will bloom for one week. You can divide the micro season into weeks and we will have fifty-two seasons per year. I can see this week is the week of these plants and later is another. It’s like a timeline of nature to see what you can forage. From there you know when is the time for which plants you can eat. It’s a way to appreciate the context of nature. It’s the beauty of it. If you work too hard and distance yourself from noticing it, you will miss the thing you want to forage and have to wait until next year.
Dohee — It’s so romantic!
Bume — I work more with the context of nature in terms of weather, temperature, and surroundings. It’s about nature and the senses that I perceived through my experience. It could be called conceptual or self-searching.
BL — When you move to another country you have a different perception of time or you even see it much more in detail. Like you said that you see the changes in nature divided into weeks. It’s amazing to hear that.
Bume — One more thing I would like to share is what I read from the book about an Italian tradition to pick unripe walnuts on the 24th of June. The unripe walnuts look like lime. You have to collect it at the right time, so you can use it to make a traditional Italian walnut liqueur that is called nocino. It takes seven months to ferment. You have to open the jar every month to let it burp a bit to get some air, let it ferment until five months, and add more spices. Then you have to ferment further for two more months.
Another thing you can do with walnuts is pickling the walnuts. I’m very curious about the taste so I searched for the recipe online. There is a British recipe in which they eat it with a piece of steak. The acidity in walnut evolves into a taste palate and it contrasts with its acidity to the piece of steak.
The walnut will turn very black when we pickle it.
BL — What are you working on now Dohee?
Dohee — I’m quite out of the context since I moved back here. But now I’m interested in making illustrations on the real stuff. For example, I’m doing a tied-dye with my t-shirt. And I’m planning to do silkscreen and make a zine with screen-printing or risograph.
Lately, I’ve been drawing some arts that are inspired by daily affirmations after doing yoga. My yoga teacher teaches me to do affirmation every day and it changes my day every day in a good way. Maybe I’m gonna illustrate it on the zine. So as people see the zin and follow the pages with the affirmation, they can use it as one of the ways to meditate and to be in the present.
โปรเจกต์ CO-OP ดึงดูดผู้สนใจสิ่งพิมพ์อิสระจากหลายแห่งในโลก มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานจากพื้นที่ที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดของตัวเอง เช่นเดียวกับ โดฮี ควอน และพนิตา แสงหิรัญวัฒนา ที่วิธีการทำงานของทั้งคู่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานในต่างถิ่น โดฮี ควอน นักวาดภาพประกอบจากเกาหลีใต้ ผู้หลงใหลในการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนนำไปสู่ผลงานเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ที่เธอทำร่วมกับเพื่อนเมื่อครั้งไปพักอยู่ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนพนิตา ศิลปินและนักออกแบบชาวไทย ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศเบลเยียม นำเอาความสนใจของเธอเกี่ยวกับเรื่องประสาทสัมผัส ไปใช้เอาตัวรอดอยู่ในเมืองที่เธอไม่คุ้นเคย จนนำไปสู่การคิดค้นโปรเจกต์ระยะยาวในการแปรรูปพืชพรรณที่เธอพบเห็นในธรรมชาติมาเป็นอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องหอม
BOOKSHOP LIBRARY ชวนทั้งคู่มาร่วมสนทนากันถึงความสนใจที่ทั้งคู่มีร่วมกันในการทำงานกับธรรมชาติ และการใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติ การขึ้นไปพักอยู่บนเชียงดาวทำให้โดฮีได้มีประสบการณ์การใช้สมุนไพรไทย และเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรมากขึ้นจากชาวบ้านที่เป็นผู้ทรงภูมิของท้องถิ่น เธอมองหาความสงบจากการฝึกฝนจิตใจและการทำโยคะ และสนใจการแปลงเอาความรู้สึกเหล่านั้นออกมาผ่านภาพประกอบสีสดที่เธอกล่าวว่าได้แรงบันดาลใจมาจากการเดินทางในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้คุยกับพนิตาถึงความสนใจของเธอในการเก็บเกี่ยวพืชพรรณและการหาอาหาร (foraging) จากในเมือง ที่ย้อนแยงกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนเมืองในปัจจุบัน วิธีการทำงานของพนิตาทำให้เธอสังเกตเห็นธรรมชาติอย่างถี่ถ้วนขึ้น เธอสังเกตวัฎจักรพืชพรรณตามฤดูกาล ที่ทำให้เธอรู้จักที่จะใช้ชีวิตสอดคล้องไปกับธรรมชาติ และขยายความสนใจของเธอไปสู่เรื่องราวเชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารที่เกิดขึ้นจากการย้ายถิ่น
BOOKSHOP LIBRARY (BL) — ทำไมคุณถึงสนใจแนวคิดของการหาอาหารในเมือง? การใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ฉันคิดว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำมันที่นี่ แนวคิดนี้เริ่มต้นตอนที่คุณย้ายไปเบลเยียมแล้วรึเปล่า?
พนิตา แสงหิรัญวัฒนา (บุ๋ม) — ความจริงแล้วมันเริ่มต้นที่สวีเดนตอนที่ฉันไปฝึกงานอยู่ที่นั่นประมาณหกเดือนในปี 2557 มันมีวัฒนธรรมการเก็บเห็ดชานเทอเรล (Chanterelle) และบลูเบอร์รี่ การว่ายน้ำในทะเลสาบธรรมชาติ โดยที่มีอึเป็ดลอยอยู่ข้างๆ การได้รู้สึกถึงน้ำร้อนและเย็นใต้เท้าของคุณ ธรรมชาติที่รายล้อมคุณ สิ่งแวดล้อมรอบๆ มันเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ และสภาพจิตใจของคุณ นั่นทำให้คุณตระหนักว่ามันเป็นไปได้ที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ ซึ่งต่างออกไปจากการใช้ชีวิตในป่าคอนกรีตในกรุงเทพฯ ฉันคิดว่านั่นคือความสมดุลที่ฉันพบที่สวีเดน ที่ฉันได้รวมเอาชีวิตจริงกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน ตอนที่ฉันย้ายกลับมากรุงเทพฯ กลับสู่วิถีชีวิตของชาวกรุงเทพฯ แบบเดิม ฉันก็เคยชินกับมันได้อย่างไม่ยาก แต่ก็คอยระลึกถึงวิถีชีวิตที่ฉันเคยมีตอนอยู่สวีเดนเป็นระยะ
ในปี 2560 ฉันมาที่เบลเยียมเพื่อเรียนต่อปริญญาโท ที่เมือง ฮัสเซิลต์ (Hasselt) ซึ่งไม่ใช่เมืองใหญ่โตอะไร มันเป็นเมืองที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างชีวิตแบบเมือง กับชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ที่นั่นมีสวนป่าสงวนชื่อ โบคเลค (Bokrijk) ที่คุณสามารถขี่จักรยานไปรอบๆ และสัมผัสถึงธรรมชาติ ไม่เหมือนกับที่บรัสเซลส์หรือแอนต์เวิร์ป
BL — แล้วคุณล่ะ โดฮี? คุณเริ่มสนใจในธรรมชาติตั้งแต่เมื่อไหร่? ตอนคุณอยู่ที่โซล กรุงเทพฯ หรือตอนคุณได้ไปใช้เวลาอยู่ที่เชียงดาว?
โดฮี ควอน (โดฮี) — สำหรับฉัน มันเริ่มตอนปี 2557 ตอนที่ฉันเริ่มเดินทางด้วยตัวเอง ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ฉันเที่ยวคนเดียว ส่วนใหญ่จะเที่ยวทางตอนเหนือ ตั้งแต่นั้นมาฉันก็เริ่มรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ฉันเกิดในเมืองทางชายฝั่งตอนใต้ของเกาหลี แล้วถึงย้ายมาโซล โดยส่วนใหญ่ก็รายล้อมด้วยป่าคอนกรีตมากกว่าป่าจริงๆ
จากนั้นในปี 2560 ฉันได้งานที่กรุงเทพฯ จากบริษัทสัญชาติเกาหลี ถึงแม้ว่าฉันจะชอบธรรมชาติแต่ก็ชอบชีวิตในกรุงเทพฯ ด้วยเหมือนกัน ฉันทำงานอยู่ที่นั่นประมาณปีนึง เดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างเกาหลีและประเทศไทย
ฉันเริ่มอาชีพนักวาดภาพประกอบตอนที่ลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ ฉันวาดภาพลงอินสตาแกรมอยู่เรื่อยๆ และมีครั้งนึงที่วาดภาพเครื่องบิน แล้วแท็กไปที่วงดนตรีชื่อ Khruangbin (เครื่องบิน) ซึ่งเป็นวงที่ฉันชอบ โชคดีมากที่คนที่ทำงานกับวงมาเห็นเลยติดต่อมาให้ฉันทำโปสเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ตให้กับพวกเขา ฉันทำโปสเตอร์ไป 3 ชิ้นสำหรับทัวร์ที่อเมริกา มันเป็นจุดที่สร้างแรงผลักดันและความมั่นใจให้ฉันทำงานนี้ต่อไป
รูป 1 — งานออกแบบโปสเตอร์และภาพประกอบให้กับวงดนตรี เครื่องบิน
จนกระทั่งปีก่อน ฉันได้มีโอกาสไปที่เชียงดาวเป็นครั้งแรก มันทำให้ฉันรู้สึกว่าเป็นที่ที่ฉันอยากจะใช้ชีวิตอยู่ ฉันเลยตัดสินใจที่จะอยู่ที่นั่น
BL — กระบวนการทำงานของคุณในการหาอาหารคืออะไร?
บุ๋ม — เพราะเราก็อยู่ในยุคดิจิทัลกันแล้ว ฉันก็ใช้แอพลิเคชั่นบนมือถือที่ชื่อว่า Picture This เพื่อที่จะเช็คดูว่าพืชที่ฉันเก็บมานั้นคือประเภทอะไร มันใช้เวลาแค่ไม่กี่วินาทีก็สามารถวิเคราะห์ด้วยอัลกอริทึ่มเพื่อที่จะบอกชื่อของพืชชนิดนั้น สกุลของมัน และข้อมูลอื่นๆ แล้วฉันถึงไปเช็คอีกรอบบนอินเทอร์เน็ตว่ามันกินได้มั้ย ซึ่งเป็นคำถามแรกเสมอ (หัวเราะ)
บางทีฉันก็อ่านเอาจากหนังสือ ไม่ก็ไปที่ห้องสมุดเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม มีนักหาอาหารคนนึงที่ฉันชอบมาก และได้รับแรงบันดาลใจจากเขา ชื่อว่าปาสคาร์ล โบวดา เขาเป็นคนเบลเยียมแต่อาศัยอยู่ที่แอลเอ ฉันเจอหนังสือที่น่าสนใจที่เขาแต่ง ชื่อว่า The New Wildcrafted Cuisine เขารวบรวมวอลนัท หรือไม่ก็ กระบองเพชร และทดลองว่าจะสามารถแปลงมันให้เกิดรสชาติที่แตกต่างได้ยังไง แล้วยังมีเมนูสาหร่ายที่เขาทำขึ้นจากวัชพืชชนิดหนึ่ง ฉันลองทำตามแล้วก็ลองชิมดู แต่ฉันคิดว่ารสชาติมันน่าจะมีความเป็นสาหร่ายได้มากกว่านี้ (หัวเราะ) ฉันเริ่มจากจุดนี้ ที่คิดว่าจะทำยังไงที่มันจะน่าสนใจขึ้นกว่าเดิม แล้วก็ไปต่อจากตรงนั้น
รูป 2 — ปาสคาร์ล โบวดา ภาพจากสารคดีสั้นชื่อ Forest Flavors รับชมออนไลน์ผ่าน https://vimeo.com/448759950(พาสเวิร์ด: forage)
BL — ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ที่คุณได้มาจากการวิจัย ไม่ได้เป็นอาหารเสมอไป คุณคิดว่าวิธีการทำงานของคุณมันคอนเซ็ปชวลมั้ย?
บุ๋ม — โดยปกติแล้วฉันวิเคราะห์จากวัตถุดิบ กับบริบท และไปต่อจากตรงนั้นว่าเราสามารถทำอะไรกับมันได้ พัฒนาอะไรจากจุดนั้นได้ ฉันใช้สื่อกลางอย่างเซรามิก อินสตอลเลชั่นที่กินได้ หรืออินโฟกราฟิก ฉันพยายามที่จะรวมเอาสิ่งที่ฉันรู้และใส่มันลงไปในงาน อาจพูดได้ว่าฉันเป็นนักออกแบบคอนเซ็ปชวล ที่ทำงานโดยยืนพื้นจากเรื่องประสาทสัมผัสและรสชาติ
รูป 3 — Climate Reality: An Edible Scape คือการพยากรณ์สภาพอากาศในปรากฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นโปรเจกต์ศิลปะจัดวางที่ชวนคิดถึงการบริโภคและผลิตอาหารโดยใช้อาหารเป็นสื่อกลาง ผู้ชมสามารถชิมและลิ้มรสมันได้
รูป 4 — Olfactory Time นำเสนอทางเลือกในการรับรู้เวลาที่นอกเหนือการใช้นาฬิกา เป็นผลงานศิลปะจัดวางที่กระตุ้นให้เราสร้างประสบการณ์ใหม่กับการเคลื่อนที่ของเวลาผ่านผัสสะ ที่ซึ่งทำให้เรารับรู้และจดจำช่วงเวลาโดยอ้อมผ่านสื่อกลางที่มีกลิ่น ผลงานชิ้นนี้เปิดให้ผู้ชมดมกลิ่นจากจานเซรามิกทรงกลม ที่ทำหน้าที่เป็น ‘ปฏิทินกลิ่น’
BL — การเลือกใช้สีของคุณในงานมันพิเศษมาก มันเต็มไปด้วยพลังและให้ความรู้สึกถึงพลังงานบางอย่าง คุณบอกได้มั้ยว่าคุณเลือกใช้สียังไง? คุณมีผลงานที่คุณอ้างอิงมามั้ย? และแรงบันดาลใจในการทำงานของคุณมีที่มาจากไหน?
โดฮี — ฉันคิดว่าการเลือกใช้สีของฉันได้แรงบันดาลใจมาจากการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่เยอะ โดยเฉพาะการเที่ยวในประเทศไทย เปรียบเทียบบรรยากาศของเกาหลีกับไทยแล้วมันมีพลังงานที่ต่างกันเลย มันยากที่จะอธิบาย การใช้สีของคนไทยมันจัดจ้านมาก ฉันมักจะดูพวกปกแผ่นเสียงเก่าๆ จากทั่วโลก และยังชอบดูพวกโปสเตอร์เก่าๆ ที่มีการจัดวางคอมโพซิชั่นแบบหนาๆ หนักๆ และมีพลัง ฉันได้แรงบันดาลใจมาจากอะไรใกล้ๆ ตัว อย่างที่ที่ฉันอยู่ สิ่งที่ฉันทำและชอบ หรือใครก็ตามที่ฉันได้พบ รวมไปถึงสิ่งที่พวกเขาทำ ถ้าคุณดูบรรดางานส่วนตัวของฉัน คุณจะเห็นเลยว่าส่วนใหญ่มันเกี่ยวกับดนตรี หรือวัฒนธรรมที่เกี่ยวของกับดนตรีที่ฉันชอบฟัง เมืองต่างๆ ที่ฉันเดินทางไปเที่ยว และธรรมชาติที่ฉันได้ไปพัก และหลงรักมัน ฉันคิดว่าพอฉันได้วาดอะไรที่ฉันชอบมากๆ หรือสิ่งที่ฉันมีประสบกาณ์ร่วม ซึ่งฉันรู้ว่ามันคืออะไร สิ่งที่ฉันวาดก็เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เป็นไปโดยธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วฉันก็จะพอใจในผลลัพธ์
รูป 5 — ภาพวาดโดยโดฮี ควอน บนอินสตาแกรม @kimchisuperpower
BL — งานของคุณได้รับอิทธิพลจากวัฒธรรมที่คุณจากมา หรือที่ที่คุณเคยไปบ้างมั้ย?
โดฮี — อาจพูดได้เลยว่าน้อยมาก เหมือนกับคำตอบของฉันจากคำถามก่อนหน้า งานของฉันมักจะสะท้อนสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว เมืองที่ฉันเกิดอยู่ทางชายฝั่งตอนใต้ และฉันเติบโตที่นั่นจนกระทั่งย้ายมาโซล ซึ่งเป็นเมืองที่ทั้งใหญ่ และวุ่นวาย ฉันอยู่ที่โซลเกือบสิบปีได้ ในปี 2560 ฉันเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างประเทศไทยกับเกาหลี จนฉันรู้สึกว่าประเทศไทยเป็นบ้านหลังที่สอง ฉันคิดว่ามันยากที่จะนิยามว่าฉันได้อิทธิพลจากการอยู่ที่ไหน เพราะมันผสมปนเปกัน ฉันคิดว่านั่นคือสิ่งที่ทำให้งานของฉันมันพิเศษ และนั่นคือจุดแข็งในงานของฉัน
บุ๋ม — ฉันสงสัยเกี่ยวกับเชียงดาว มันเป็นยังไงที่นั่น?
โดฮี — เชียงดาวมีตึกสูงน้อยมาก สูงสุดอาจจะ สองสามชั้นได้ และมีบาร์อยู่ไม่เท่าไหร่ สิ่งที่พอจะให้ความบันเทิงได้มากที่สุดน่าจะเป็นเซเว่นอีเลฟเว่น (หัวเราะ) แล้วก็ยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวที่นั่นมากเท่าไหร่ถ้าเทียบกับปาย
BL — คุณเล่าให้ฟังถึงโปรเจกต์ที่คุณทำที่เนเธอแลนด์ได้มั้ย? ดูเหมือนว่าคุณจะไม่ได้ทำงานกับพืชอย่างเดียว คุณยังเข้าร่วมโปรเจกต์ทางวัฒนธรรมที่สนใจเรื่องของชุมชนท้องถิ่นด้วย
บุ๋ม — มันเป็นโปรเจกต์ที่ยังคงเกี่ยวข้องกับอาหาร แต่ต่อยอดไปถึงบริบททางสังคมด้วย ฉันเข้าร่วมแพลตฟอร์มที่ชื่อ Openset ซึ่งเป็นที่ที่คุณสามารถมาเข้าฟังเลคเชอร์ และหาคนที่จะคอยแนะนำคุณในการทำโปรเจกต์ มันจะมีเลคเชอร์เกิดขึ้นทุกๆ สองอาทิตย์ เป็นระยะเวลาหกเดือน คล้ายๆ กับซัมเมอร์สคูลที่ขยายเวลาออกไป ฉันได้ไปทำโปรเจกต์เกี่ยวกับอาหารซูรินามในอัมสเตอร์ดัมฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ (ไบล์มเม่อร์) ฉันพบว่าอัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองที่มีหลากหลายวัฒนธรรมมาก ย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ซูรินาม (ประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาใต้) อยู่ใต้อาณานิคมของประเทศเนเธอร์แลนด์ คนซูรินามทำงานเป็นคนดูบ้านและแรงงาน หลังจากปี 2518 ประเทศซูรินามจึงได้รับอิสรภาพ แต่คนซูรินามก็ยังปักหลักอยู่ในอัมสเตอร์ดัม พวกเขาเริ่มรวมกลุ่มเป็นวัฒนธรรมกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยๆ และเปิดร้านอาหารซูรินาม ผลจากการล่าอาณานิคมทำให้เร้านอาหารอินโดนีเซีย และซูรินามหาได้ทั่วไปในฮอลแลนด์ ขณะที่ในเบลเยียมจะพบได้น้อยมาก อาหารซูรินามได้รับอิทธิพลมาจากหลากหลายรสชาติและรสสัมผัส ในอาหารหนึ่งจานอาจจะได้รับอิทธิพลเรื่องอาหารจากถึงเจ็ดทวีป อาหารซูรินามให้รสชาติที่หลากหลาย ฉันมีโอกาสได้ทำงานกับเชฟชาวซูรินาม และได้ทำแผนภูมิกราฟิกเพื่อแสดงถึงแหล่งกำเนิด รายการของทวีป หรือประเทศ ที่แสดงให้เห็นว่าอาหารซูรินามในอัมสเตอร์ดัม ได้รับอิทธิพลมาจากที่ไหน
หลังจากจบโปรเจกต์ ฉันคิดถึงอาหารไทย และอยากที่จะทำวิจัยถึงอิทธิพลที่อาหารไทยได้รับมา อย่างขนมหวานของเราก็ได้รับอิทธิพลจากสูตรอาหารโปรตุเกส เช่น ส่วนผสม ไข่ เนย แป้ง แล้วปรับเปลี่ยนเอาวัตุดิบท้องถิ่นใส่ลงไป
รูป 6-8 — อาหารถูกใช้เป็นสื่อกลางในโปรเจกต์ Ingrained Flavour เพื่อที่จะเชื่อมต่อสังคมและสร้างบทสนทนาบนหัวข้อที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคม การย้ายถิ่น มรดกตกทอด และประเพณี โปรเจกต์นี้เป็นการศึกษาลงพื้นที่ที่ เบจ์เมอเมียร์ (อัมสเตอร์ดัมตะวันออกเฉียงใต้) จากแบคกราวน์ทางวัฒนธรรมเรื่องอาหาร ความหลากลายทางเชื้อชาติ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
BL — โดฮี โปรเจกต์ที่คุณเปิดตัวกับ CO-OP มันพูดถึงกลุ่มคนท้องถิ่นที่เชียงดาว และภูมิปัญญาของพวกเขาในการใช้สมุนไพรไทยใช่มั้ย? คุณเชื่อมต่อกับพวกเขายังไง?
โดฮี — มันมีผู้ร่วมกระบวนการอีกสองคนในโปรเจกต์อันนี้ คนนึงคือนท และอีกคนคือวิล ฉันพบวิลตอนที่ไปเทศกาลวันเดอร์ฟรุ๊ต และเขาชวนฉันไปโฮมสเตย์ของเขาที่เชียงดาว ฉันเลยได้ขึ้นไปที่นั่น เขาเป็นคนเสนอไอเดียเกี่ยวกับโปรเจกต์นี้ เพราะเขากำลังเก็บรวบรวมสมุนไพรไทย และอยากที่จะทำออกมาเป็นหนังสือ เขาขอให้ฉันช่วยทำภาพประกอบให้ มันเริ่มต้นจากตรงนั้น ด้วยความที่วิลอาศัยอยู่ที่เชียงดาว เขาเลยรู้เรื่องทุกอย่างและรู้จักกับทุกคน เขาไปเยี่ยมคุณลุงที่อยู่หมู่บ้านเดียวกับเขา ซึ่งคุณลุงคนนี้ก็เป็นคนคอยพูดคุยกับผู้อาวุโสคนอื่นๆ ให้ เท่าที่ฉันจำได้เขาน่าจะอายุราวๆ 80 ปีได้แล้ว แต่ยังแข็งแรง คุณลุงรู้เรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพืช ต้นไม้ และดอกไม้ ด้วยความช่วยเหลือของเขา เขาบอกเราว่าพืชอันไหนใช้ทำอะไร พวกเราจึงบันทึกข้อมูลเหล่านั้นไว้ และฉันก็เริ่มวาดภาพสมุนไพร หมู่บ้านที่พวกเราอยู่อยู่ไม่ไกลจากป่า เราจึงไปรวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพได้อย่างไม่ยาก
รูป 9 — ตัวอย่างจากซีน สมุนไพรไทย
พูดถึงประสบการณ์ของฉันกับสมุนไพร ฉันวาดภาพใบกระท่อมจากประสบการณ์ของฉันตอนได้กินมันตอนไปหมู่บ้านที่ชื่อว่าอรุโณทัย ซึ่งมีเขตแดนติดกับประเทศพม่า ชาวบ้านในนั้นเป็นชนเผ่าชาวจีน เราไปที่นั่นในช่วงตรุษจีนพอดี และสุดท้ายลงเอยด้วยการได้เพื่อนใหม่เป็นคนท้องถิ่น เราได้ไปที่บ้านของเพื่อนคนนึง และเขาเสิร์ฟชากระท่อมให้เราดื่ม มันให้ความรู้สึกสบายๆ แต่ไม่เหมือนกับกัญชา เราถามพวกเขาว่ามันใช้ยังไงและตัดสินใจที่จะใส่มันลงไปในหนังสือ ภาพที่ฉันวาดออกมามันแปลงออกมาจากความรู้สึกของฉัน
รูป 10 — ภาพต้นกระท่อม จากซีน สมุนไพรไทย
และมีตอนนึงที่ฉันได้รับบาดเจ็บที่มือและขาเพราะมอเตอร์ไซค์ล้ม ชาวบ้านใช้พืชที่เรียกว่า ต้นหนุมานนั่งแท่นมารักษาแผล พวกเขาใช้ของเหลวในนั้นมาทาแผลที่แขน มันช่วยสมานแผล ป้องกันฝุ่น และยังช่วยให้แผลหายเร็วมาก
รูป 11 — ภาพต้นหนุมานนั่งแท่น จากซีน สมุนไพรไทย
BL — มันทำให้ฉันนึกถึงที่บุ๋มเขียนเกี่ยวกับโครงการที่จะใช้เข้าร่วม CO-OP มาให้ ที่พูดถึง synesthetic expression ที่หมายถึงการอธิบายความรู้สึก ด้วยประสาทสัมผัสมากกว่าหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน วิธีที่โดฮีใช้แปลรสชาติ หรือความประทับใจจากสมุนไพรออกมาเป็นรูปภาพ เรียกได้ว่าเป็น sysnesthetic มั้ย? และคุณใช้สิ่งนี้ยังไงในงานของคุณ?
บุ๋ม — ฉันคิดว่ามันค่อนข้างคล้ายกัน อย่างการที่คุณได้รับอิทธิพลเรื่องการใช้สีจากการได้เห็นสีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย สมองของคุณมันทำการเชื่อมโยงความความเข้าใจของคุณกับประสาทสัมผัสอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่นประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัสที่มีต่อดอกแมกโนเลีย เมื่อคุณลิ้มรสชาติของดอกแมกโนเลีย คุณจะเริ่มจากการได้กลิ่นหอมดอกไม้ แล้วจึงตามด้วยรสชาติรุนแรงของขิงกรุ่นในปาก ซึ่งสำหรับฉัน การชิมรสชาติแบบนี้ทำให้นึกถึงเส้นที่คมกริบ ในขณะที่ความเป็นจริง ภาพของแมกโนเลียนั้นอ่อนนุ่ม และละมุน นี่คือการที่ประสาทสัมผัสสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลิ่นของดอกไม้ กับรสแรงๆ ของขิง รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงกับเส้นที่แหลมคม
นอกจากการเก็บเอาพืชพรรณจากธรรมชาติ ฉันก็มีการถามเพื่อนบ้านเพื่อขอเก็บผลผลิตของเขาอย่างเช่นดอกแมกโนเลียจากสวนหลังบ้านของเพื่อนบ้าน ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่ามันไม่มียาฆ่าแมลงแน่ๆ ฉันได้นำดอกแมกโนเลียกลับมาบ้านและทำดอกไม้ดองจากกลีบแมกโนเลียด้วยเทคนิคการหมัก ผ่านไปสองอาทิตย์มันก็กลายเป็นอาหารที่คล้ายกับขิงดองญี่ปุ่นที่คุณเอาไว้กินกับซูชิ คนญี่ปุ่นกินมันเพื่อที่จะทำความสะอาดลิ้นระหว่างการกินซูชิต่างประเภทกัน
รูป 12 — กลีบดอกแมกโนเลียนำมาดองเพื่อสร้างรสชาติของขิงดองสไตล์ญี่ปุ่น
รูป 13 — ตัวอย่างจากในหนังสือ Tenderly เกี่ยวกับดอกแมกโนเลีย
รูป 14-15 — Wild strawberry (Fragaria vesca), ภาพประกอบจาก Tenderly โดย เดลฟิน เลอเจอน์
การทำแบบนี้กับพืชพันธุ์ยุโรปเชื่อมฉันเข้ากับพื้นเพจากเอเชีย หรือฉันสามารถที่จะทำซูชิป่าโดยไม่ใช้ปลาเพราะฉันไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้ทะเล มันเป็นแพลนท์เบสซูชิที่ทำจากผักใบเขียว ฉันยังเคยใช้ต้นอ่อนเล็กๆ ของดอกเดซี่เอามาหมักเพื่อทำเคเปอร์ (พืชที่ใช้แต่งรสชาติอาหาร) คุณจะพบความเชื่อมโยงในสูตรอาหารของคุณ ความสมดุลที่ฉันพบที่นี่ก็คือการเชื่อมโยงรากเหง้าของตัวเองเข้ากับบริบทท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่
BL — คุณคิดว่าฤดูกาลส่งผลต่อวิธีการทำงานของคุณมั้ย? คิดถึงประเทศไทยแล้วฉันไม่ค่อยรู้สึกถึงความต่างของการเปลี่ยนฤดูกาลเท่าไหร่ เพราะอากาศร้อนเหมือนฤดูร้อนตลอดทั้งปี การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลอย่างชัดเจนในยุโรปทำให้เราสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติมากกว่า คุณเห็นด้วยมั้ย?
บุ๋ม — จริงๆ แล้วมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่มาก ตั้งแต่ตอนที่ฉันอยู่ที่สวีเดนแล้ว ฉันรู้สึกความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรุนแรงมาก ไม่เหมือนประเทศในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ร่างกายและจังหวะชีวิตต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย ในเบลเยียมฝนตกบ่อยและค่อนข้างหดหู่ ทำให้ฉันเริ่มที่จะคิดถึงพระอาทิตย์มากกว่าปกติ
ฉันยังสังเกตเห็นฤดูกาลย่อยๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่นในตอนต้นของฤดูใบไม้ผลิ มันจะมีช่วงเวลาเฉพาะที่ดอกไม้อย่างแมกโนเลียจะบานเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ คุณจะเห็นฤดูกาลย่อยๆ นี้ได้แบบรายสัปดาห์ ปีนึงเรามี 52 สัปดาห์ ฉันจะเห็นว่าแต่ละอาทิตย์พืชชนิดไหนจะโต และชนิดไหนจะเกิดขึ้นตามมา เป็นไทม์ไลน์ของธรรมชาติที่เอาไว้ดูว่าคุณจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงไหนบ้าง จากจุดนั้นคุณจะรู้ว่าช่วงเวลานี้จะมีพืชชนิดนี้ให้คุณกิน มันเป็นวิธีนึงที่จะชื่นชมบริบทของธรรมชาติ ฉันคิดว่ามันสวยงาม ถ้าคุณทำงานหนักมากๆ และออกห่างจากการสังเกตการณ์นี้ คุณก็จะพลาดสิ่งที่คุณอยากเก็บ ทำให้ต้องรอไปจนถึงปีหน้า
โดฮี — มันโรแมนติกมากเลย!
บุ๋ม — ฉันทำงานกับบริบทธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ อุณหภูมิ และสิ่งรอบตัว มันเกี่ยวกับธรรมชาติและสัมผัสที่ได้จากประสบการณ์ของฉันเอง อาจจะเรียกมันว่าเป็นการทำงานคอนเซ็ปชวลหรือเป็นการค้นหาตัวเองก็ได้
BL — พอคุณย้ายประเทศ คุณก็จะรับรู้เวลาแตกต่างออกไป หรือแม้กระทั่งคุณจะเห็นมันในรายละเอียดมากขึ้น อย่างที่คุณบอกคุณเห็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในระดับสัปดาห์ น่าทึ่งมากที่ได้ยินอะไรแบบนี้
บุ๋ม — อีกอย่างที่ฉันอยากจะเล่าให้ฟัง ฉันอ่านมาจากหนังสือเกี่ยวกับประเพณีการเก็บวอลนัทดิบในทุกๆ วันที่ 24 ของเดือนมิถุนายน วอลนัทดิบมันจะดูเหมือนกับมะนาวน่ะ คุณจะต้องเก็บมันในช่วงเวลาที่ถูกต้อง ถึงจะสามารถใช้มันทำเหล้าวอลนัทสไตล์อิตาเลียนที่เรียกว่าโนชิโนได้ มันใช้เวลาตั้งเจ็ดเดือนที่จะดองมัน คุณต้องคอยเปิดฝาเหยือกหมักทีละนิดทุกๆ เดือนเพื่อให้อากาศเข้าไปจนกระทั่งครบห้าเดือน จากนั้นก็เติมเครื่องเทศ แล้วดองมันต่ออีกสองเดือน
อย่างอื่นๆ ที่ทำจากวอลนัทได้ก็มีวอลนัทดอง ซึ่งฉันสงสัยในรสชาติของมันมาก ฉันเลยเสิร์ชหาสูตรอาหารออนไลน์ มันมีสูตรอาหารอังกฤษที่เขากินมันกับสเต็ก กรดที่อยู่ในวอลนัทจะเข้าไปตัดรสชาติของกรดในเนื้อสเต็ก ตัววอลนัทดอกมันจะกลายเป็นสีดำๆ พอเราดองมัน
BL — ตอนนี้คุณทำงานอะไรอยู่บ้างโดฮี?
โดฮี — ฉันค่อนข้างหลุดออกไปจากสิ่งที่ฉันทำที่ไทยตั้งแต่ย้ายกลับมาที่เกาหลี แต่ว่าฉันกำลังสนใจที่จะทำภาพประกอบลงบนสิ่งของ ยกตัวอย่างเช่นตอนนี้ฉันทำมัดย้อมเสื้อยืดของตัวเอง และกำลังวางแผนว่าจะลองทำซิลค์สกรีน และทำซีน (zine) ด้วยเทคนิคพิมพ์สกรีน ไม่ก็ริโซ่กราฟ
ไม่นานมานี้ ฉันก็วาดภาพประกอบความรู้สึกของฉันหลังทำโยคะด้วย อาจารย์สอนโยคะสอนให้ฉันขอบคุณตัวเอง (affirmation) ในทุกๆ วัน บางทีฉันอาจจะวาดมันออกมาเป็นซีน เพื่อที่คนจะได้ใช้มันโดยการเปิดแต่ละหน้าที่มีคำขอบคุณตัวเองอยู่ พวกเขาสามารถใช้มันเป็นหนึ่งในวิธีทำสมาธิและเพื่อทำให้อยู่กับปัจจุบัน