BOOKSHOP LIBRARY
[BOOKMARK MAGAZINE]

Back

[BM] 06

HOW TO NOT FORGET: IN COMMEMORATION OF THINGS PAST

POSTED ON 10/18/2020 IN CONVERSATION—
PAPHOP KERDSUP THANAVI CHOTPRADIT PRIMA JALICHANDRA-SAKUNTABHAI
THEN

ในขณะที่ฝั่งตะวันตกถกเถียงกันในประเด็นของการรื้อถอนอนุสาวรีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ทางเชื้อชาติ การล่าอาณานิคม และการค้าทาส นำไปสู่กระแสการทำลายอนุสาวรีย์โดยประชาชน ที่ไม่พอใจกับสัญลักษณ์เหล่านั้นในหลายๆ พื้นที่ ในประเทศไทยเหตุการณ์การรื้อถอนอนุสาวรีย์ หรือวัตถุเพื่อการรำลึกที่มีนัยยะเชิงอุดมการณ์ทางสังคมและการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย กลับเกิดขึ้นโดยรัฐ อาจจะเป็นเรื่องเดียวกันอยู่ตรงที่ว่า ความพยายามรื้อถอนวัตถุเพื่อการรำลึกต่างๆ เกิดจากฝ่ายที่ต้องการจัดการกับสิ่งที่ไม่อยากให้ถูกจดจำ หากแต่ก็สะท้อนชัดว่าในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย อำนาจในการจัดการนั้นเป็นสิทธิของสาธารณชนมากกว่า

ทั้ง ปภพ เกิดทรัพย์ ธนาวิ โชติประดิษฐ และพรีมา ชาลีจันทร์-ศกุนตาภัย มีความสนใจร่วมกันในเรื่องความทรงจำ โดยมองผ่านอนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน วัตถุหรือสถานที่เพื่อการรำลึก รวมไปถึงผลงานรูปแบบอื่นเช่นงานนิทรรศการและการแสดงของกลุ่มผู้ชุมนุม  เพื่อศึกษาความหมายและการมีอยู่ของสัญลักษณ์เหล่านี้ ว่ายึดโยงและแปรเปลี่ยนไปตามโครงสร้างอำนาจในสังคมของผู้ที่สามารถเปล่งเสียงได้ดังกว่ายังไง

บทสนทนาข้ามไปมาระหว่างหลายพื้นที่และบริบททางสังคมการเมือง รวมไปถึงโลกจริงและโลกเสมือน ปภพมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องของสื่อที่เป็นเครื่องมือในการอ่านงานสถาปัตยกรรม ธนาวิเป็นอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ นักเขียน นักวิจัยที่ศึกษาเรื่องของการเมืองไทยและความทรงจำ ที่สะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองของฝ่ายกษัตริย์นิยม และรัฐธรรมนูญนิยม พรีมาเป็นศิลปินที่ปัจจุบันพำนักที่แอลเอ ผลงานหลายชิ้นเป็นการแสดงร่วมกับสื่อผสมและศิลปะจัดวางที่ใช้ร่างกายเข้าไปทำความเข้าใจร่องรอยทางประวัติศาสตร์ อย่างภาพถ่าย วิดีโอ และข้อเขียน

ปภพ เกิดทรัพย์ (กราฟ) — พรีมา คุณช่วยแนะนำตัวเองสั้นๆ และพูดให้เราฟังได้มั้ยว่าคุณมาสนใจในหัวข้อเกี่ยวกับอนุสาวรีย์ และได้เข้ามาเกี่ยวพันกับประเด็นที่ยุ่งยากนี้ได้ยังไง?

กราฟ — ตอนนี้เราคาดว่ามีหลายคน (นอกวงการศิลปะ) อาจจะจำคุณได้จากหนังสือของคุณที่เพิ่งออกมาไม่นานนี้ จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง: ศิลปะและศิลปินแห่งรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้กลายเป็นหนึ่งในเล่มที่ขายดีที่สุดของสำนักพิมพ์แล้ว แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วปริญญานิพนธ์ของคุณที่ชื่อว่า Revolution versus Counter-Revolution: the People’s Party and the Royalist(s) in Visual Dialogue นั้นเกี่ยวกับอะไร บางทีคุณอาจจะเริ่มเล่าจากตรงนี้มั้ย ธนาวิ? ความสนใจของคุณและสิ่งที่คุณกำลังศึกษาอยู่ในตอนนี้คืออะไร?

กราฟ — เนื่องจากคำที่พาเรามาพูดคุยกันในวันนี้คือคำว่า ‘อนุสาวรีย์’ เราอยากที่จะเริ่มด้วยคำถามง่ายๆ ว่าอนุสาวรีย์คืออะไร? ขอบเขตของการเรียกบางสิ่งว่าเป็นอนุสาวรีย์คืออะไรในมุมมองของพวกคุณ? ความเป็นกายภาพนั้นจำเป็นมั้ย หรือก็เป็นไปได้พอๆ กันที่มันจะถูกแปลงไปอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล หรือในรูปแบบของ ‘ภาพกาก’ (a poor image) อย่างที่ฮิโตะ ชไตเยิร์ล นิยามไว้?

กราฟ — แล้วสำหรับคุณล่ะ?

กราฟ — ณ ตอนนี้ เราเห็นการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางของมีมการเมือง อย่างเรื่องของหมุดคณะราษฎรอันที่สอง ที่ล่าสุดถูกติดตั้งบนพื้นที่ของสนามหลวงเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งก็ถูกติดอยู่ได้เพียงแค่วันเดียวก่อนที่จะถูกรื้อถอน และตอนนี้มันได้กลายเป็นไฟล์ภาพเพื่อการผลิตซ้ำ เป็นภาพพิมพ์สามมิติ เป็นไลน์สติ๊กเกอร์ คุณมีความเห็นยังไงกับเรื่องนี้ที่ว่า อินเทอร์เน็ต ได้กลายเป็นอีกพลังที่ทั้งสร้างสรรค์ ร่วมสมัย เป็นพื้นที่ของการแสดงออก และสร้างความทรงจำในศตวรรษที่ 21 นี้?

กราฟ — แล้วคุณคิดยังไงกับปรากฏการณ์นี้พรีมา? มีเหตุการณ์ที่คล้ายๆ กันนี้ที่กำลังเกิดขึ้นที่สหรัฐฯ ที่คุณอยากจะเล่าให้ฟังมั้ย?

ธนาวิ — เราอยากจะเสริมอะไรบางอย่าง เราคิดว่าสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้มันตรงกันข้ามกับที่อื่นๆ ในโลก สำหรับที่นี่เป็นรัฐเองที่พยายามจะเอาอนุสาวรีย์ลง แต่ประชาชนอยากจะเก็บรักษามันไว้ ในที่อื่นๆ ประชาชนคือคนที่เรียกร้องให้เกิดการทำลายรูปปั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเป็นรูปปั้นของคนที่เหยียดเชื้อชาติ มีทาสบริวารมากมายในบ้าน หรือเป็นตัวแทนของอุดมการณ์แบบเผด็จการ แรงขับเคลื่อนจากประชาชนที่ต้องการให้มีการย้ายอนุสาวรีย์นี้มีสูงมาก ในประเทศไทยรัฐคิดว่าสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยที่ไม่ใช่กษัตริย์นิยมควรถูกกำจัด เพราะรัฐบาลปัจจุบันเป็นพวกกษัตริย์นิยม ผู้คนได้พยายามที่จะปกป้องสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยที่ไม่ใช่กษัตริย์นิยม เพราะมันเป็นอุดมการณ์ที่พวกเขาต้องการปกป้องรักษาและอยากให้มันดำเนินต่อไป

อีกอย่างที่อยากจะเสริมเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้คนเคารพบูชาอนุสาวรีย์ เราคิดว่าคุณไม่ต้องบูชาอนุสาวรีย์หรือบุคคลที่กลายเป็นอนุสาวรีย์หรือรูปปั้น ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของอั้ม เนโกะ นักศึกษานักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ตอนนี้ลี้ภัยอยู่ประเทศฝรั่งเศส เธอปีนขึ้นไปบนรูปปั้นของปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้นำกลุ่มคณะราษฎร ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มันเป็นการกระทำที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง คำถามคือพวกเราสามารถที่จะเคารพคนคนนึงไปพร้อมๆ กับที่ไม่ต้องบูชาเขาเหมือนเป็นพระเจ้าได้มั้ย? ในตอนนี้การผลิตซ้ำ ล้อเลียนอนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถานบนอินเทอร์เน็ต ก็เป็นการกระทำที่คล้ายๆ กันกับกรณีของอั้ม เนโกะ


รูป 12 — ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กราฟ — เราคิดว่าสถานการณ์ในประเทศไทยมันแปลก เราหมายถึงว่ามันแสดงให้เห็นว่ารัฐไม่อนุญาตให้เรามีสิทธิในการทำอะไรเลย ซึ่งมันประหลาด พูดถึงเรื่องของการสักการะบูชา คุณคิดว่าการบูชารูปปั้นหรืออนุสาวรีย์โดยทั่วไปแล้วพบได้ในวัฒนธรรมของฝั่งตะวันออก หรือประเทศไทยโดยเฉพาะรึเปล่า? ผู้คนในสหรัฐต้องให้ความเคารพกับอนุสาวรีย์บางแห่งมั้ย?

กราฟ — หลายคนก็บอกว่าการที่อนุสาวรีย์หรืออนุสรณ์สถานทำงานได้ดีกับอารมณ์ความรู้สึก หรือจิตใจของคนคนนึงได้ เป็นเพราะมันทำงานกับผู้คนผ่านพื้นที่ ที่เรียกว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ เราได้รับรู้ความหมายไปพร้อมๆ กับมีประสบการณ์ต่อพื้นที่ แต่ถ้าพื้นที่นั้นไม่ได้ปรากฏอยู่ในพื้นที่จริงอีกต่อไป เนื่องจากวัตถุเพื่อการรำลึกนั้นถูกเอาออกไปจากพื้นที่ เราจะยังสามารถเชื่อมโยงตัวเราเข้ากับความหมายนั้นได้มั้ย? เราค่อนข้างสงสัยเพราะว่าเราเห็นว่าข้อมูลทางประวัติศาตร์จำนวนมากถูกทำให้เป็นดิจิทัลและเก็บรักษาไว้ออนไลน์ อย่าง Internet Archive หรือ Monoskop และต้องขอบคุณการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี VR และ AR ตอนนี้เราสามารถที่จะมีประสบการณ์กับอะไรบางอย่างอย่างลึกซึ้งได้ในพื้นที่เสมือน การเกิดขึ้นของพหุภพ(metaverse)นี้ช่วยให้ผู้คนได้เรียกคืน หรือเข้าใจสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ได้อย่างกว้างขวางขึ้นมั้ย?

BL — อย่างเรื่องของ Black Lives Matter ในอเมริกา เราเห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นบนท้องถนนลุกลามพอๆ กับที่มันเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ เรารู้สึกว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นในพื้นที่จริงมันยิ่งใหญ่มาก หมายถึงในแง่ของการเข้าไปสร้างความวุ่นวายกับพื้นที่ และรูปแบบของการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นการดึงเอาอนุสาวรีย์ลง การทาสีเป็นคำว่า Black Lives Matter บนพื้นถนน และอื่นๆ สำหรับที่ประเทศไทย เราคิดว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญของการประท้วง อาจเป็นเพราะเป็นการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ ผู้ซึ่งมีโซเชียลมีเดียเป็นอาวุธโดยธรรมชาติ สำหรับในสหรัฐอเมริกา เราสนใจในการที่ผู้ชุมนุมบุกรุกพื้นที่สาธารณะ และการที่มันสร้างแรงสั่นสะเทือนในแง่ของสเกลด้วย


รูป 14 — ภาพวาดเป็นคำว่า Black Lives Matter บนพื้นถนนในซานฟรานซิสโก

กราฟ — เราเพิ่งได้เข้าร่วมชมรอบปฐมทัศน์ออนไลน์ของภาพยนตร์เรื่อง Four Hundred Unquiet Graves ของ มานูแอล คอร์เรีย ไปเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม โปรแกรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Monument ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง e-flux Architecture และ Het Nieuwe Instituut  ภาพยนตร์เรื่องนี้ติดตามกลุ่มญาติของผู้เสียชีวิตในการเรียกคืนเอาบุคคลอันเป็นที่รักกลับคืนมา ซึ่งก็คือกลุ่มรีพับลิกัน ที่ถูกฆาตกรรมจากการต่อต้านการรัฐประหารที่สเปนในปี 2479 และต่อต้าน ฟรานซิสโก ฟรังโก รัฐบาลฟาสซิสต์ที่ขึ้นมามีอำนาจต่อจากนั้น มีตอนนึงในช่วงเริ่มของภาพยนตร์ที่ตัวแทนของ AFFNA36 (สมาคมกลุ่มครอบครัวหน่วยยิงที่ได้รับผลกระทบในเมื่องนาบาร์รา) ประกาศแถลงการณ์การเยียวยา และการรำลึกถึงแต่ละบุคคล ที่อาคารรัฐสภาเมืองนาบาร์รา (Parlamento de Navarra) คำประกาศนั้นน่าสนใจมาก และท่าทีของผู้คนในการประกอบพิธีสรรเสริญผู้คนที่ถูกสังหารหมู่โดยองค์กรภาครัฐเป็นสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มาก คุณคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้มั้ย?


รูป 15 — เอล วาลเล เดอ โลส ไชโดส ตั้งอยู่ห่างออกไปจากเมืองแมดริดหกสิบกิโลเมตร อนุสรณ์ถูกจัดสร้างโดยรัฐบาลฟาสซิสต์ ของ ฟรานซิสโก ฟรังโก เพื่อรำลึกถึงชัยชนะเหนือประชาธิปไตยได้ครบวาระ 20 ปี มีความเป็นไปได้ว่าที่นี่เป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ฝังร่างกว่า 33.800 ชีวิต จากกว่า 491 หลุมที่มาจากทั่วสเปน ฝังร่วมกันระหว่างกองกำลังของฟรังโกกับเหยื่อที่ถูกบังคับให้สูญหาย

กราฟ — ตอนคุยกับคนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังปี 2543 ในเวิร์กชอป Internet Universality Beyond Words ที่จัดขึ้นโดย UNESCO ที่กรุงเทพฯ เมื่อสองปีก่อน มันมีข้อถกเถียงอยู่อันนึงจากพวกเขาที่เรารู้สึกถูกกระตุ้นให้ตระหนัก เขาบอกว่ามีข้อมูลและประวัติศาสตร์อีกจำนวนมากที่พวกเขายังไม่รู้เพราะว่าไม่สามารถค้นหาทางออนไลน์ได้ และถ้าสิ่งนั้นไม่ได้มีอยู่ในโลกดิจิทัล บางครั้งพวกเขาก็ไม่รู้ถึงการมีอยู่ของมันในโลกความเป็นจริงเช่นกัน ข้อมูลมันอยู่ตรงนั้นตลอดเวลา ถูกบันทึกไว้บนอินเทอร์เน็ต แต่พวกเขาไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนและจะเข้าถึงความทรงจำเหล่านั้นยังไง ประเด็นที่เราอยากจะพูดตรงนี้ก็คือลมมันได้เปลี่ยนทิศไปแล้วและมันน่าตื่นเต้นมากๆ การมีสื่อดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ค้นหาเรื่องและความจริงมากขึ้นกว่าเดิม เราคิดว่านี่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนรวมตัวกันออกมาและพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตกันอยู่ตอนนี้ เราอยากจะเสริมด้วยว่าการกลับมาของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มหาวิทยาลัยในโลกเสมือนที่เป็นการศึกษาสาธารณะที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งถูกปิดตัวลงเมื่อปี 2549 ตอนที่มีรัฐประหาร ช่วงเวลานี้มันสำคัญมาก สำหรับเราแล้ว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเป็นอนุสาวรีย์สาธารณะของนักคิด และยังเป็นที่ทางให้เกิดการรำลึกถึงการสูญเสียผู้ก่อตั้งและอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ ตั้งนโม

BL — การทำพิพิธภัณฑ์ โดยการเก็บรวมรวมสิ่งของเพื่อที่จะจัดแสดง และพูดถึงเกี่ยวกับประเด็นบางอย่างนับว่าเป็นการรำลึกมั้ย? มันทำงานต่างจากอนุสาวรีย์ในพื้นที่สาธารณะยังไง?

BL — สาเหตุที่เรายกประเด็นเรื่องพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาเพราะตอนที่ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและคอนเซปต์ของอนุสาวรีย์และท่าทีของการทำลายอนุสาวรีย์ในสหรัฐอเมริกา และเมืองอื่นๆ เราพบหนึ่งในข้อถกเถียงเกี่ยวกับว่าเราควรจัดการกับอนุสาวรีย์ยังไงถ้ามันไม่ได้เป็นตัวแทนของอุดมการณ์ของยุคสมัยอีกแล้ว มันควรจะถูกเอาลงโดยประชาชนเอง หรือทำโดยรัฐ ที่ไหนที่มันควรจะถูกจัดวาง จริงๆ แล้วควรถูกเอาออกและทิ้งไว้ หรือย้ายมันเข้าไปในพิพิธภัณฑ์เพื่อสร้างบริบทแวดล้อมให้กับมัน เพื่อที่ผู้คนจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของอนุสาวรีย์หรือรูปปั้นนั้น มากกว่าที่จะเอามันไว้ในพื้นที่สาธารณะและสร้างความรู้สึกไม่ดีกับผู้คน

กราฟ — เทียบกับที่สหรัฐอเมริกาแล้ว มันมีพิพิธภัณฑ์ที่มุ่งไปที่การพูดถึงประวัติศาสตร์ของคนทั่วไปมากกว่า

ธนาวิ — หลายคนรู้ว่าปรีดี พนมยงค์ ไม่ชอบกลุ่ม LGBTQ มากเท่าไหร่ เราไม่แปลกใจกับทัศนคตินี้ของเขาเพราะก็เป็นแนวคิดของคนรุ่นเขา แต่เราจำเป็นต้องรื้อถอนรูปปั้นของเขาออกจากธรรมศาสตร์มั้ย? หรือว่าเราสามารถที่จะเปลี่ยนความหมายของอนุสาวรีย์ได้มั้ย? ความหมายของอนุสาวรีย์มันไม่หยุดอยู่กับที่ แน่นอนว่ามันมีความหมายดั้งเดิมของมัน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงสร้างอนุสาวรีย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเปลี่ยนแปลงไมไ่ด้

ธนาวิ — เราคิดว่าการจัดตั้งอนุสาวรีย์เป็นอะไรที่มีความเป็นชายมาก อนุสาวรีย์ส่วนใหญ่ในไทยถูกสร้างเป็นภาพของผู้ชาย นักรบ หรือชาวบ้านผู้ซึ่งออกรบกับพม่า กลุ่มคอมมิวนิสต์ เป็นต้น โดยเฉพาะอนุสาวรีย์เกี่ยวกับสงคราม หรือรูปปั้นเกี่ยวกับสงครามก็จะมีความเป็นผู้ชายมาก และแข็งแรงมาก เป็นปกติที่เราจะใช้คำว่า ‘ตั้ง’ (erect) กับอนุสาวรีย์ แต่เราก็คิดถึงเกี่ยวกับความหมายโดยนัยของมันว่าคือบางสิ่งที่ตั้งขึ้นด้วย ในการจัดตั้งอนุสาวรีย์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องสงคราม คุณต้องแสดงออกถึงความเข้มแข็งและความเป็นชาย นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมต้องทำเป็นรูปคน แต่เราคิดว่าการทำอนุสรณ์สถานบนโลกออนไลน์ได้ลดแนวคิดของความเป็นชายลงไปมาก เราไม่ได้มีข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ แต่เป็นความรู้สึก สำหรับเรามันเปิดกว้างขึ้น มีขอบเขตกว้างขึ้น และเป็นอะไรก็ได้มากขึ้น

ธนาวิ — มันมีข้อถกเถียงเกิดขึ้นว่าจะสร้างรูปปั้นของ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่จุฬาฯ มั้ย ที่นั่นมีรูปปั้นของรัชกาลที่ห้า และรัชกาลที่หกอยู่ และผู้คนเริ่มคิดว่าทำไมจะมีรูปปั้นของจิตร ภูมิศักดิ์ไม่ได้ ถ้ามองมันเป็นการกระทำเชิงการเมืองก็เข้าใจได้ ถ้ามีรูปปั้นของราชวงศ์ได้ ทำไมถึงไม่มีของชาวบ้านผู้ที่ทำประโยช์หลายอย่าง? แต่ในภาพรวมแล้ว การสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นมาอีกนั้นจริงๆ แล้วจำเป็นมั้ย? เรายังต้องการมันอีกจริงๆ หรือมันมีทางอื่นที่จะจดจำเขา รำลึกถึงเขา และเคารพเขา?


Pic. 18 — พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถูกสร้างขึ้นในปี 2530 เนื่องในโอกาสก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 70 ปี ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รูป 19 — จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักเขียน นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ กวี นักแต่งเพลง และนักคิดสายมาร์กซิสม์ หนังสือที่ทรงอิทธิพลที่สุดที่เขาเขียนมีชื่อว่า โฉมหน้าศักดินาไทย เขียนขึ้นในปี 2500 ภายใต้นามแฝง สมสมัย ศรีศูทรพรรณ กลุ่มนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เคยเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรูปปั้นของ จิตร ภูมิศักดิ์ เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 90 ปีของเขาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา (ทั้งนี้ มีอนุสาวรีย์จิตร ภูมิศักดิ์ตั้งอยู่ที่บริเวณที่เขาเสียชีวิต ณ บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร) รูปปั้นของจิตรจะไม่เพียงเป็นอนุสรณ์ความทรงจำของเขา แต่ยังเป็นจุดรองรับความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างผู้ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยการต่อต้านการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร รูปปั้นนี้อาจเป็นอนุสรณ์แก่นักเคลื่อนไหวและผู้ที่คัดค้านการอุ้มหายโดยรัฐไทย อย่างในกรณีอันโด่งดังของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ถูกลักพาตัวไปจากอพาร์ทเมนท์ในกัมพูชาเมื่อเดือนมิถุนายน

พรีมา — ใช่เลย ทำลายมันไปให้หมดน่าจะดีกว่า แล้วนำโลหะพวกนั้นไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน

CONTRIBUTORS

ปภพ เกิดทรัพย์ (กราฟ) เป็นนักเขียนและบรรณาธิการ แม้ได้รับการฝึกฝนเพื่อเป็นสถาปนิก แต่การทำงานของเขามักโคจรอยู่โดยรอบรูปแบบอื่นๆ ของการผลิตสร้างทางสถาปัตยกรรม อาทิ การเขียน การเล่าเรื่อง หรือการพูดคุย ความสนใจของเขาข้องเกี่ยวกับการพยายามจัดการและทำความเข้าใจสื่อหลากรูปแบบในฐานะหนทาง/เครื่องมือสำหรับ ‘อ่าน’ สถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมสรรสร้าง

ธนาวิ โชติประดิษฐ (ธนาวิ) อาจารย์สอนเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยในภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ภัณฑารักษ์อิสระ และทีมบรรณาธิการวารสารวิชาการเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast of Now: Directions in Contemporary and Modern Art in Asia ขอบเขตความสนใจของธนาวิครอบคลุมความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศไทยกับความทรงจำศึกษา พิธีกรรมรำลึกเกี่ยวกับสงครามและการเมืองไทย

พรีมา ชาลีจันทร์ ศกุนตาภัย (พรีมา) เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะหลากหลายแขนง ข้ามระหว่างศาสตร์การแสดง วิดีโอ และศิลปะจัดวาง ปัจจุบันพำนักอยู่ที่แอลเอ ผลงานของพรีมาพูดถึงโครงสร้างแบบยุโรปเป็นศูนย์กลาง ที่มีพลังของความเป็นชายอยู่ในสถาปัตยกรรมและพื้นที่ และความโดดเด่นของโครงสร้างนั้นที่เหนือกว่าการสร้างอัตลักษณ์ของที่อื่น การจัดแสดงบรรยาย และศิลปะจัดวางในพื้นที่ ได้แยกกายภาพและเครื่องมือเชิงโครงสร้างของนักวิชาการตะวันตกออกจากกัน เพื่อเน้นย้ำความมีเหตุผลแบบตะวันตกที่เป็นเพียงเรื่องแต่งโดยธรรมชาติ และการใช้อิทธิพลที่เหนือกว่าในการทำให้ความจริงบางอย่างชอบธรรมกว่าสิ่งอื่น
https://www.primasakuntabhai.com

ภาพปก โดย นภิษา ลีละศุภพงษ์ บันทึกผ่านกูเกิลแมพจากการเยี่ยมชมอนุสรณ์สถานผ่านโลกเสมือน

ถอดความเป็นภาษาไทยโดย นภิษา ลีละศุภพงษ์
พิสูจน์อักษรโดย ศุภมาศ พะหุโล, กานต์ธิดา บุษบา, ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล, นภิษา ลีละศุภพงษ์