การเมืองทัศนา: ว่าด้วยการเมือง อำนาจ ศิลปะ และการมองเห็น สู่ความหมายทางวัฒนธรรม

บันฑิต จันทร์โรจนกิจ

350 THB

 

Description

ภาษาไทย

2565
จัดทำโดย สำนักพิมพ์สมมติ
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ภาพพิมพ์
กรุงเทพฯ ,​ ไทย

21 x 12.7 ซม., 304 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน​

“ในวงการวิชาการรัฐศาสตร์ให้ความสนใจกับวัฒนธรรมทัศนา (visual culture) น้อยมาก และการศึกษาในสหสาขา (interdisplinary) ก็มีไม่มาก ที่ผ่านมาการศึกษาวัฒนธรรมทัศนาจึงจำกัดอยู่ในสาขาทัศนศิลป์ (visual arts) และสาขามานุษยวิทยาทัศนา (visual anthropology) ผู้เขียนจึงต้องการนำเสนอมุมมองใหม่ต่อวัฒนธรรมทัศนา ผ่านแนวคิดเชิงรัฐศาสตร์ว่าด้วยการพิจารณามิติทางอำนาจในส่วนของวัฒนธรรมทัศนาที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันซึ่งมักจะถูกมองข้ามว่าไม่มีความเป็นการเมือง (…) เมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้เขียนได้ทบทวนองค์ความรู้ว่าด้วยวัฒนธรรมทัศนาและมองเห็นความเป็นการเมืองของวัฒนธรรมทัศนา โดยขยับขยายจากจุดเปลี่ยนทางภาษา (Linguistic Turn) มาสู่จุดเปลี่ยนของภาพและวัฒนธรรมทางสายตา (Visual Turn) ซึ่งผู้เขียนและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ‘การเมืองทัศนา’ (Visual Politics) และในปัจจุบันเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนเชิงสุนทรียศาสตร์ (Aesthetic Turn) (…) ผู้เขียนคาดหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นตำราพื้นฐานเพื่อทำความเข้าใจการเมืองในชีวิตประจำวัน (politics of everyday life) ซึ่งดำรงอยู่ในวัฒนธรรมทัศนา ได้แก่ ศิลปะร่วมสมัย ภาพยนตร์ ป้ายโฆษณา กระทั่งสื่อ social media เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ของวิถีมนุษย์ร่วมสมัย” —ส่วนหนึ่งจากคำนำผู้เขียน หน้า [31]-[32]