มานุษยวิทยาพ้นมนุษย์

ยุกติ มุกดาวิจิตร, ชัชชล อัจนากิตติ (บรรณาธิการ)

350 ฿

Out of stock

มานุษยวิทยาพ้นมนุษย์

ยุกติ มุกดาวิจิตร, ชัชชล อัจนากิตติ (บรรณาธิการ)

ไทย

2564
จัดทำโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) 
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

กรุงเทพฯ, ไทย

21 x 14.8 ซม, 320 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน 

“ในห้วงเวลาที่ความจริงและความเป็นมนุษย์กำลังถูกรื้อถอนอย่างถอนรากถอนโคนนี้ ด้านหนึ่ง เป็นช่วงเวลาที่คำถามต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ในขณะเดียวกัน ก็เต็มไปด้วยความท้าทาย ความหวังและความตื่นตาตื่นใจกับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของความรู้ทางมานุษยวิทยา

ถ้าความจริงไม่ได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนประสบการณ์ของมนุษย์
ถ้าวัฒนธรรมไม่ได้แยกขาดออกจากธรรมชาติถ้าผู้กระทำไม่ได้มีแต่มนุษย์เท่านั้นถ้าผัสสะและสุนทรียภาพเป็นส่วนหนึ่งของความรู้
และถ้าการเข้าใจมนุษย์ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการศึกษาสังคมมนุษย์ มานุษยวิทยาจะต้องมี “วิธีวิทยา” ใหม่ๆ เพื่อก้าวพ้นกรอบจำกัดของการนิยามความจริงแบบเดิมไปสู่ความและความเป็นไปได้ใหม่อย่างไร” — ส่วนหนึ่งจากคำนำโดย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ 

ในเล่มประกอบไปด้วยบทความ ‘วิธีวิทยาใน STS’ โดยจักรกริช สังขมณี ซึ่งอธิบายการเกิดขึ้นของการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาการที่เชื่อมโยงกับการศึกษาด้านมานุษยวิทยา ‘หลากหลายสายพันธุ์นิพนธ์: วิธีวิทยาเกี่ยวกับโลกหลากสายพันธุ์’ โดยพนา กันธา ว่าด้วยวิธีวิทยาแบบหลากสายพันธุ์นิพนธ์ (multispecies ethnography) ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ไม่ได้จำกัดและยึดกรอบอยู่กับมนุษย์อีกต่อไป ‘แนววิธีเชิงวัถตุ : จากวัตถุวัฒนธรรมศึกษาสู่วัตถุสภาวะ’ โดยพรรณราย โอสถาภิรัตน์ ที่สนใจการทำความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมผ่านความสัมพันธ์ระหว่างคนกับข้าวของซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการศึกษาทางสังคมศาสตร์ที่เปลี่ยนสู่ภววิทยา (ontologitcal turn) ‘พื้นที่ศึกษาในมุมมานุษยวิทยา : มโนทัศน์และวิธีวิทยา’ โดยจิราพร เหล่าเจริญวงศ์เขียนถึงการศึกษาเรื่องพื้นที่ที่แตกขยายออกไปในหลายมิติ การทำความเข้าใจพื้นที่เพื่อขยายความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคมรวมถึงพฤติกรรมของมุนษย์ ‘เชื่อมสัมพันธ์ผัสสะในปฏิบัติการทางชาติพันธุ์นิพนธ์’ โดยศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ซึ่งชี้ให้เห็นข้อจำกัดของการทำงานทางมานุษยวทิทยาและความเป็นไปได้ผ่านการรับรู้ประสบการณ์จากประสาทสัมผัสของมนุษย์ และบทสุดท้าย ‘มานุษยวิทยาดิจิทัล : ทฤษฎีและวิธีวิทยาศึกษาสังคมดิจิทัล’ โดยยุกติ มุกดาวิจิตร ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่ใหญ่กว่า