เชื้อโรค ร่างกายและรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย
ทวีศักดิ์ เผือกสม
ภาษาไทย
2561
จัดทำโดย สำนักพิมพ์ illuminations editions
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ ภาพพิมพ์
21 x 14.3 ซม, 384 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน
หนังสือเล่มนี้มุ่งแสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของระบบความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย ตลอดจนกระบวนการที่การแพทย์สมัยใหม่ของตะวันตกกลายเป็นเครื่องมือของอำนาจรัฐไทยทั้งในแง่ความคิด โครงสร้าง สถาบัน และนโยบาย กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือ ต้องการแสดงให้เห็นว่าเชื้อโรคได้สร้างชาติขึ้นมาได้อย่างไร และการควบคุมเชื้อโรคกลายเป็นเครื่องมือในการสร้างวินัยให้แก่พลเมืองของชาติได้อย่างไร ความคิดในเรื่องเชื้อโรคได้เดินทางเข้ามาในสังคมไทยพร้อมกับโรคระบาด ซึ่งแพร่กระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็วตามเส้นทาง และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีการคมนาคม ในด้านหนึ่งความคิดเรื่องเชื้อโรคได้กลายเป็นรากฐานทางความคิดสำคัญให้กับรัฐในการดิ้นรนต่อสู้กับ “ศัตรูที่มองไม่เห็น” และในอีกด้านหนึ่งก็ได้กลายเป็นเหตุผลในการสร้างความชอบธรรมในการเข้าไปควบคุมดูแลร่างกายของพลเมือง ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้สร้างพลเมืองที่มีสุขภาพพลามัยที่เข้มแข็ง ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล และมีอรรถประโยชน์สูงสุดในทางการผลิต โดยมีโรงพยาบาลเป็นกลไกทางความรู้และทางอุดมการณ์สำคัญที่ทำให้ความคิด เรื่องการจัดการกับร่างกายของพลเมืองมีความเป็นไปได้