ทฤษฎีกษัตริย์โพธิสัตว์: เวสสันดรชาดกในประวัติศาสตร์ไทย (ปกอ่อน)
แพทริค โจรี (เขียน), ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ (แปล)
ภาษาไทย
2563
จัดทำโดย อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์
กรุงเทพฯ, ไทย
14.4 x 21.1 ซม, 276 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซ็ต, เย็บกี่ไสกาว, ปกอ่อน
หนังสือแบ่งออกเป็น 6 บท โดยในบทแรกจะบรรยายพลวัตของพิธีกรรมการเทศน์เวสสันดรชาดกที่รู้จักกันในชื่อ เทศน์มหาชาติ หรือ ‘การเทศนาว่าด้วยการเกิดที่ยิ่งใหญ่’ ลักษณะเวสสันดรชาดกในฐานะตัวบทสำหรับเทศนาเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญยิ่ง ชาดกที่มีแก่นเรื่องเชิงการเมืองนี้ออกแบบมาสำหรับถ่ายทอดให้คนหมู่มากฟัง ความนิยมเวสสันดรชาดกยังมีตัวบทอื่นๆ จำนวนมากรองรับ โดยตัวบทเหล่านี้สัมพันธ์กับเวสสันดรชาดกในแง่ที่ช่วยเน้นย้ำอานิสงส์มหาศาลที่จะได้รับจากการฟังเทศน์ ผู้เขียนเสนอว่าลักษณะอันซับซ้อนของการเทศน์เวสสันดรชาดก และขั้นตอนพิธีกรรมที่แวดล้อมการเทศน์ แสดงให้เห็นความพยายามอย่างยิ่งในการแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัสเอง (บาลี: พุทฺธวจน) สิ่งนี้เป็นเพราะพลังของเวสสันดรชาดกตามจารีตพุทธศาสนาเถรวาทนั้นอิงอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่า จากนั้นผู้เขียนจะกล่าวถึงความพยายามของราชสำนักไทยที่สั่นคลอนพลังของเวสสันดรชาดก โดยมุ่งโต้แย้งความเชื่อที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องชาดกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือโดยเฉพาะ เป็นข้อเสนอที่ตอบโต้ขนบประเพณีอายุหลายร้อยปีอย่างรุนแรง