ราษฎรกำแหง: บันทึก 9 คดีต้านรัฐประหารในยุค คสช.
นพพล อาชามาส (บรรณาธิการ)
ไทย
กรุงเทพฯ, ไทย
ออกแบบโดย antizeptic
24 x 16.5 ซม, 358 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่าตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามารัฐประหารยึดอำนาจใน 2557 ได้ใช้ ‘กฎหมาย’ เป็นเครื่องมือในการจำกัด ปราบปรามและลงโทษการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนผู้เห็นต่างไปหลายร้อยคน
หนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งพิมพ์เล่มแรกจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ตีพิมพ์ออกมา เนื้อหาภายในได้คัดสรรคดีความจำนวน 9 คดีที่ประชาชนถูกกล่าวหาโดยคณะรัฐประหารหรือกองทัพ จากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกด้วยความสงบ เป็นคดีที่ถูกตั้งข้อหาทางการเมือง รวมไปถึงเป็นคดีที่ประชาชนได้ใช้สิทธิที่มีตามรัฐธรรมนูญในการฟ้องกลับคณะรัฐประหารรหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน รายละเอียดแต่ละคดีเป็นการบอกเล่าผ่านน้ำเสียงของผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองและสนใจในคดีความที่เกี่ยวข้องกลับเสรีภาพในการแสดงออก นอกจากนี้ยังได้แนบเอกสารในคดีความประกอบเพื่อให้เห็นรายละเอียดที่ต่างกันไปของแต่ละคดีไม่ว่าจะเป็น คำฟ้อง คำให้การของพยา บันทึกคำให้การ รวมไปถึงคำพิพากษาของศาล
เกี่ยวกับ ศูนย์ทนาความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นเวลา 2 วันหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากในช่วงดังกล่าว คสช. มีการเรียกบุคคลไปรายงานตัว จับกุม คุมขังบุคคลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการใช้ศาลทหารกับพลเรือน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. บันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ภายหลังการรัฐประหาร 2. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ได้รับผลกระทบ 3. เผยแพร่ความรู้ ทั้งในเรื่องกฎหมายและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ดำเนินงานโดยการให้คำแนะนำและคำปรึกษาเบื้องต้น หากกรณีที่ประชาชนถูกเรียกตัวหรือกักตัว เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองในการรวบรวมข้อมูล แก้ไขปัญหา และติดตามสถานการณ์ หากมีกรณีจำเป็นจะดำเนินการลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ ณ สถานที่นั้นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ISBN 9786163291134