ราโชมอน และเรื่องสั้นอื่นๆ

ริวโนะสุเกะ อาคุตะงะวะ (Ryūnosuke Akutagawa) เขียน มณฑา พิมพ์ทอง และคณะ แปล

200 THB

 

Description

ภาษาไทย

2563
จัดทำโดย สำนักพิมพ์สมมติ
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ภาพพิมพ์
กรุงเทพฯ, ไทย

18 x 11 ซม., 228 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3

“(…) อะคุตะงะวะนับเป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่นคนแรกๆ ที่เป็นที่รู้จักกันในโลกวรรณกรรมตะวันตก มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1892-1927 อะคุตะงะวะเป็นนักเขียนรุ่นแรกๆ ในช่วงที่วรรณกรรมญี่ปุ่นก้าวสู่ความเป็นวรรณกรรมสมัยใหม่ นักเขียนคนสำคัญในช่วงนี้อย่างเช่น นัตซึเมะ โซเซกิ (Natsume Sōseki: 1867—1916) ผู้ซึ่งอะคุตะงะวะสมัครเป็นศิษย์ โมริ โอไง (Mori Ōgai: 1862—1922) นักเขียนซึ่งอะคุตะงะวะชื่นชม หรือ คัน คิกุจิ (Kan Kikuchi: 1888—1948) คุเมะ มะซะโอ (Kume Masao: 1891—1952) ยามาโมะโตะ ยูโซ (Yamamoto Yūzō) ทซีชิยะ บุนเมะอิ (Tsuchiya Bunmei) ซึ่งล้วนแต่เพื่อนร่วมชั้นเรียนของอะคุตะงะวะ รวมทั้งยาสึนาริ คาวาบาตะ (Yasunari Kawabata: 1899—1972) นักเขียนชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลก็มีชีวิตและสร้างสรรค์งานอยู่ในช่วงสมัยนี้

อะคุตะงะวะทั้งสนใจและเรียนมาทางวรรณคดีตะวันตก วิทยานิพนธ์ของเขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิลเลียม มอร์ริส (William Morris: 1834—1896) นักเขียน นักออกแบบลายผ้า และนักสังคมนิยมชาวงอังกฤษ วิลเลียม มอร์ริส เป็นนักเขียนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนักเขียน ‘หลังสงคราม’ (Post War) นักเขียนในกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อเสียงก็เช่น เจ. อาร์. อาร์. โทลเคียน (J. R. R. Tolkien: 1892—1973) ผู้เขียนเรื่อง เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ (The Lord of the Rings) ซึ่งนักอ่านชาวไทยอรู้จักเป็นอย่างดี

(…) การที่อะคุตะงะวะสนใจ วิลเลียม มอร์ริส จนนำมาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ จึงสอดคล้องกับพื้นความสนใจเรื่องเล่าโบราณและนิทานปรัมปราของเขา จนกระทั่งต่อมาเขาได้สร้างสรรค์เรื่องสั้นชิ้นสำคัญจำนวนมากจากนิทานเหล่านี้ เรื่องสั้นอย่าง ราโชมอน ก็มาจากนิทานพื้นบ้านแฟนตาซีในยุคเฮอันที่มีเมืองโตเกียวเป็นเมืองหลวง จมูก เรื่องสั้นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้เขา ก็เป็นการนำนิทานโบราณของญี่ปุ่นจาก Tales of Times Now Past มาเขียนในลีลาแบบโกโกล

เรื่อง ขัปปะ (Kappa) ซึ่งเขียนในช่วงท้ายของชีวิต ก็เป็นการนำตัวละครในนิทานปรัมปราของญี่ปุ่นมาเขียนในลักษณะเสียดสีสังคมปัจจุบัน เห็นได้ว่าลักษณะที่โดดเด่นของอะคุตะงะวะคือการผสมผสานเรื่องเล่าโบราณให้เข้ากับวรรณกรรมสมัยใหม่ เพื่อตีแผ่ปรากฎการณ์เกี่ยวกับมนุษย์ในสังคมร่วมสมัย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวงวรรณกรรมญี่ปุ่นจึงจัดประเภทงานวรรณกรรมของอะคุตะงะวะไว้ในกลุ่มวรรณกรรมสัจนิยม แม้ว่างานของเขาจะมีส่วนผสมของความแฟนตาซีและมีลักษณะเกินจริง (…)”—บางส่วนจากคำตาม ‘โมราโชมอน’ โดย วาด รวี หน้า 209—215