เลาะตะเข็บอำนาจประวัติศาสตร์การศึกษาไทย

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

380 ฿

ภาษาไทย

2565
จัดทำโดย สมมติ
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ ภาพพิมพ์
กรุงเทพฯ, ไทย

21.1 x 13.3 ซม, 352 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน

ผลงานชิ้นสำคัญของ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ นักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์ ตีแผ่อำนาจไม่ชอบธรรมและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ตีแผ่เบื้องหน้า เบื้องหลัง และหลักโครงสร้างการศึกษาไทย หาคำตอบที่มาที่ไปของเรื่องเหล่านี้

– การลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ
– การเฆี่ยนตีที่ยังมีให้เห็น
– ระเบียบสถาบันใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ
– ระเบียบวินัยบนเรือนร่างที่เข้มงวด
– การละเมิดสิทธิเสรีภาพนักเรียนที่กลายเป็นเรื่องปกติ
– ระบบอุปถัมภ์ในโรงเรียน
ฯลฯ

หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า พลังความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม มาจากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐที่มีฐานสำคัญมาจาก “การรัฐประหาร” ที่มีบทบาทในสังคมการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ผลพวงดังกล่าวทำให้ระบบการศึกษาและกลไกลสนับสนุนอยู่ภายใต้ความเปลี่ยนผ่านสู่ยุคต่าง ๆ ความรุนแรงที่หนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ผลพวงจากการรวมศูนย์อำนาจการจัดการศึกษาของไทย ที่สะท้อนจากโครงสร้างอำนาจนิยมทางการเมืองที่ตกอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลเผด็จการและระบบราชการมายาวนาน ซึ่งบางเครือข่ายธำรงอำนาจทางการเมืองและจัดทรัพยากรอยู่ในมือได้ เช่น กลุ่มทุนผู้ใกล้ชิดกับรัฐหรือเครือข่ายผู้ผลิตความรู้ กล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในรัฐบาลแบบใด พวกเขาก็มีอำนาจต่อรองได้เสมอและยิ่งทวีความสำคัญและมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในช่วงรัฐประหารและการรวมศูนย์อำนาจอย่างเข้มข้น ที่สำคัญการศึกษาเช่นนี้ควรเป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ที่ทำให้เห็นช่วงเวลายาวนานที่มีการก่อร่าง สานต่อ กระทั่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษาในสังคมไทย