อลก เวด-เมนอน (เขียน), มุกดาภา ยั่งยืนภารดร (แปล)
ภาษาไทย
กรุงเทพฯ, ไทย
11 x 16 ซม, 88 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน
อลก เวด-เมนอน (Alok Vaid-Menon) เปิดโปงและตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของ ‘ชายจริงหญิงแท้’ หรือที่เรียกว่า เพศทวิลักษณ์ อันเป็นสิ่งที่เราได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เกิดจนตาย ตัวเลือกที่ว่าไม่เป็น ‘ชาย’ ก็ต้องเป็น ‘หญิง’ แท้จริงแล้วเป็นเพียงมายาคติที่แฝงฝังมากับโครงสร้างอำนาจในสังคม หนังสือเล่มนี้บอกเล่าข้อเท็จจริงประการนี้ผ่านเรื่องเล่าของปัจเจกที่ชวนให้ยิ้มออกมา ก่อนจะพาผู้อ่านมาสัมผัสกับความเป็นจริงในสังคมที่ทำให้รู้สึกหดหู่จนไม่อาจทนเพิกเฉย เวด-เมนอน ในฐานะผู้ปฏิเสธบรรทัดฐานทางเพศของสังคม ชวนให้เราครุ่นคิดและก้าวข้ามความลักลั่นเบียดแคบของโลกที่มีเพียงสองเพศ มุ่งหน้าสู่สังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายอันสร้างสรรค์ เพื่อที่เราจะได้โอบรับความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์
หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ พอกันที ปิ(ด)ตาธิปไตย | Damned Be Patriarchy