A CONVENIENT SUNSET | A CONVENIENT HOLDUP

Miti Ruangkritya 

2,000 THB

 

Description

A Convenient Sunset | A Convenient Holdup

Miti Ruangkritya 

English

2019
Published by 11C, BANGKOK CITCITY GALLERY 
Bangkok, Thailand
Printed by Dominie Press

Singapore

20 x 20 cm, 148 pages, color, offset, thread sewn perfect bound, softcover

20 x 20 cm, 196 pages, b/w, offset, thread sewn perfect bound, softcover 

Edition limited to 200 copies 

“There are approximately 10,268 7-Eleven stores in Thailand with an average of 11.8 million daily visitors (2019). 7-Eleven stores operate 24 hours per day and have become a common sight within the urban landscape.” — Miti Ruangkritya

Miti Ruangkritya (1981, Bangkok) knows how to grasp an equivocal nature of image—sometimes with a collocation of words—to elicit enigmatic, baffled, or captivating moments of everydayness. His works have revolved around his presence in the city, as a keen onlooker as much as a subtle commenter. Raised in the UK, and returned to Bangkok in 2010, the artist noticed the city’s increasing urbanization and started documenting its rapid changes. He has produced a series of immaculate photographs focusing on the urban city, its development and impact. Imagining Flood (2012), a photographic study concerning the floods that have taken place in Bangkok, is his notable work that has been shown in international exhibitions and festivals. In 2014, Ruangkritya started working on Dream Property, an on-going project that examines the nature of property development and its relationship to the city.

His commentary works on politics synchronized with his wit and deadpan humour informs the project called Thai Politics (2006—ongoing), the other remarkable work on the banality of human expression, specifically against the backdrop of political affairs. In parallel to his role as a visual artist, Ruangkriya is also an impassioned self-publisher who periodically interweaves image and text into books under the name 11C.

 

A Convenient Sunset | A Convenient Holdup

มิติ เรืองกฤตยา

ภาษาอังกฤษ

2562 
จัดทำโดย 11C, บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ 
กรุงเทพฯ, ไทย
พิมพ์โดย Dominie Press

สิงคโปร์

20 x 20 ซม, 148 หน้า, สี, ออฟเซต, เย็บกี่ไสกาว, ปกอ่อน

20 x 20 ซม, 196 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, เย็บกี่ไสกาว, ปกอ่อน

พิมพ์จำกัดจำนวน 200 เล่ม 

“ในประเทศไทยมีร้าน 7-11 อยู่ราว 10,286 ร้าน เฉลี่ยมีผู้เข้าร้านวันละ 11.8 ล้านคน โดยประมาณ ปัจจุบัน (2562) ร้าน 7-11 ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงได้กลายเป็นภาพชินตาของภูมิทัศน์เมือง” — มิติ เรืองกฤตยา 

มิติ เรืองกฤตยา (2524, กรุงเทพฯ) รู้วิธีคว้าจับธรรมชาติที่ไม่แน่นอนของภาพถ่าย เพื่อสร้างชั่วขณะของชีวิตประจำวันอันดูเป็นปริศนา ยุ่งเหยิง หรือตรึงตา โดยบางครั้งภาพถ่ายนี้ทำงานร่วมไปกับถ้อยคำต่างๆ ผลงานทั้งหมดของมิติอยู่รายรอบการใช้ชีวิตในเมือง ทั้งจากจุดของผู้เฝ้ามองอย่างสนอกสนใจและผู้ให้ความเห็นอย่างแยบยล มิติเติบโตในสหราชอาณาจักรและย้ายกลับมากรุงเทพฯ ปี 2553 พร้อมสังเกตเห็นความเป็นเมืองที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เขาจึงเริ่มเก็บภาพการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วเหล่านี้ มิติได้สร้างซีรีส์ของภาพถ่ายที่สวยหมดจดซึ่งโฟกัสอยู่กับตัวเมือง การพัฒนาและผลกระทบของมัน Imagining Flood (2555) คือการศึกษาผ่านภาพถ่ายเกี่ยวกับน้ำท่วมที่ทะลักเข้ามาในกรุงเทพฯ ผลงานที่โดดเด่นชุดนี้ได้ถูกจัดแสดงทั้งในนิทรรศการและเทศกาลศิลปะนานาชาติหลายแห่ง ในปี 2557 มิติเริ่มโปรเจกต์ต่อเนื่อง Dream Property เพื่อสำรวจธรรมชาติของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และความสัมพันธ์กับตัวเมือง

ผลงานในเชิงความเห็นต่อการเมืองของมิติได้ประสานเข้ากับไหวพริบและอารมณ์ขันแบบหน้าตายที่ปรากฏอยู่ในโปรเจกต์ต่อเนื่องชื่อ Thai Politics (2549—ปัจจุบัน) ถือเป็นผลงานภาพถ่ายที่โดดเด่นอีกชิ้นของศิลปินสำรวจการแสดงออกของมนุษย์อันแสนสามัญโดยมีพื้นหลังเป็นกิจการทางการเมือง ขนานไปกับบทบาทในฐานะศิลปินทัศนศิลป์ มิติยังเป็นคนผลิตสิ่งพิมพ์ที่กระตือรือต้น เขาร้อยเรียงภาพถ่ายและภาษาเข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบหนังสือภายใต้ชื่อ 11C