ANTHROPOCENE: บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤตสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ (บรรณาธิการ)

350 ฿

Out of stock

Anthropocene: บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤตสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ (บรรณาธิการ)

ภาษาไทย

2564
จัดทำโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ภาพพิมพ์

กรุงเทพฯ, ไทย

21 x 14.8 ซม, 372 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน

ออกแบบโดย กิตติพล สรัคคานนท์

“(…) การเกิดขึ้นของกระแสที่หันมาสนใจสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์หรือที่เราเรียกว่า “หลังมนุษย์นิยม” (Posthumanism) ในสาขาวิชาอย่างสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จึงไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เป็นผลผลิตของยุคสมัยและการตอบโต้กับวิกฤตที่เร่งเร้าให้ความรู้ของมนุษย์ต้องข้ามและพ้นไปจากกรอบหรือขอบเขตแบบมนุษย์เป็นศูนย์กลางมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหันมาให้ความสนใจกับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งที่เป็นส่ิงมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต (…) พร้อมกันนั้นเอง ความรู้ที่มนุษย์จะใช้ในการเผชิญหน้าและต่อรองกันในสภาวะสมัยใหม่เองก็ต้องเปิดกว้างมากขึ้น ข้อเสนอของกระแสการกลับไปหาภววิทยา(Ontological Turn) ซึ่งเป็นกระแสธารสำคัญของวิชามานุษยวิทยาร่วมสมัยก็คือผลผลิตสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เราไม่สามารถใช้ภววิทยาแบบเดียว (…) นี่คือ สาเหตุที่นักมานุษยวิทยาทั้งจากประเทศโลกที่ 1 และโลกที่ 3 เองก็มีบทบาทสำคัญที่พยายามเรียกร้องให้เกิดการปลดแอกอาณานิคมให้แก่ความรู้ (decolonization of knowledge) จากเดิมที่เคยถูกครอบงำโดยความรู้แบบวิทยาศาสตณ์สมัยใหม่ ไปสู่การยอมรับความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการกลับไปทายเส้นแบ่งระหว่างความรู้ (ซึ่งเดิมมักหมายถึงความเข้าโลกของตะวันตก) กับความเชื่อ (ซึ่งหมายถึงคนอื่นที่ไม่ใช่ตะวันตก) ให้สามารถสร้างบทสนทนาร่วมกันได้ 

(…) หนังสือรวมบทความเล่มนี้ประกอบด้วยบทความจำนวนเจ็ดบทความซึ่งสามรถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ (1) อดีต ในฐานะที่เป็นรากฐานของการทำความเข้าใจปัญหาว่าด้วยมนุษยสมัย โดยเฉพาะในแง่ของการแบ่งยุคสมัยและวิวาทะว่าด้วยมโนทัศน์มนุษยสมัย (2) ปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยการอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวพันกับการทำความเข้าใจมนุษยสมัยในประเด็นใหญ่ๆ สามประเด็น คือ ภูมิอากาศ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และการจัดการป่าไม้ และ (3) อนาคต ซึ่งเป็นส่วนที่จะชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้หรือจินตนาการถึงทางออกจากวิกฤตของมนุษยสมัยผ่านการพิจารณาประเด็นที่ว่าด้วยความยุติธรรมและประชาธิปไตย (…)” — ข้อความส่วนหนึ่งจากบทบรรณาธิการ Anthropocene:  บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤตสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ