Description
BANGKOK WET DREAM TOWEL 02
BANGKOK WET DREAM
2020
Produced by BANGKOK WET DREAM
Bangkok, Thailand
140 x 70 cm, An image printed on Nano technology towel fabric
BANGKOK WET DREAM TOWEL is part of the project BANGKOK WET DREAM, a series of photography that challenges the image of patriarchy in the authority uniform. Images on each towel are brought from a sexual imagination of the character called ‘Salawat’ who travel in his dream where he met with a perversive man in a pair of booth and uniform that fulfil his desire in masochism. In this dream, he turns victim and surrenders. The project speaks about the politic of Thai authority uniforms that are hidden with the power to suppress.
“These uniforms are seen as something sacred and untouchable. In reality, everyone knows most of the men who wear uniforms use it as a tool to gain the power to attack the weaker. It is nonsense these days to still praise these men in uniform.” — Adisak Jirasakkasem (Beam) Co-founder of BANGKOK WET DREAM
“When I did BANGKOK WET DREAM I feel very satisfied because the image of Thai male is very rigid. I just disliked it and wanted to ruin it […] I want to create an image of gay that can be appreciated, like a homoerotic image, an image that when a man looks at it he would feel uncomfortable. I think my goal is to create an image that represents gay that is not different to an image of straight male and female. I feel like in Thailand, an image of gay is still like in the old days which is too narrow for me.” — Harit Srikhao (Perth) Co-founder of BANGKOK WET DREAM
BANGKOK WET DREAM TOWEL 02
BANGKOK WET DREAM
2563
จัดทำโดย BANGKOK WET DREAM
กรุงเทพฯ, ไทย
140 x 70 ซม, ผ้าขนหนูเส้นใยนาโนพิมพ์ลาย
BANGKOK WET DREAM TOWEL เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ BANGKOK WET DREAM ซีรีส์ภาพถ่ายที่ท้าทายต่อภาพชายเป็นใหญ่ในชุดยูนิฟอร์ม ผ้าขนหนูแต่ละลายเป็นการดึงเอาจินตนาการทางเพศของตัวละครที่ชื่อ ‘สารวัตร’ มาใช้ สารวัตรล่องไปยังโลกอันหลากหลายในความฝัน เขาพบปะกับชายวิปริตในรองเท้าบูธและยูนิฟอร์มที่ช่วยเติมเต็มปรารถนาแบบมาโซคิสต์ของเขา ในโลกแห่งความฝันที่ซึ่งเขากลับกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำและยอมจำนน เป็นการพูดถึงเรื่องของเครื่องแบบในไทยที่มีนัยยะซ่อนเร้นอยู่
“เครื่องแบบเหล่านี้ถูกมองว่าศักดิ์สิทธิ์และแตะต้องไม่ได้ ในความเป็นจริงทุกคนรู้ดีว่าผู้ชายส่วนใหญ่ที่สวมเครื่องแบบใช้มันเป็นเครื่องมือของอำนาจเพื่อที่จะทำร้ายคนธรรมดา การสรรเสริญคนในเครื่องแบบในยุคนี้กลายเป็นเรื่องไร้สาระไปแล้ว” — อดิศักดิ์ จิราศักดิ์เกษม (บีม) ผู้ร่วมก่อตั้งโปรเจกต์ BANGKOK WET DREAM
“จริงๆ ตอนทำ BANGKOK WET DREAM มันสะใจดี เพราะภาพความเป็นชายในสังคมไทยมันแข็งทื่อมาก ผมแค่หมั่นไส้ อยากทำลายมัน […] ผมคิดว่าผมอยากจะให้ภาพถ่ายความเป็นชายมันสามารถถูกชื่นชมได้ ภาพโฮโมอีโรติก เป็นภาพที่เวลาผู้ชายดูอาจจะยังเคอะเขิน ผมคิดว่าเป้าหมายของผมคือการสร้างภาพแทนของเกย์ที่ไม่ต่างกับภาพแทนของชายหญิง ผมรู้สึกว่าประเทศไทยมันมีภาพของเกย์แบบคนรุ่นก่อน และมันแคบไป” — หฤษฏ์ ศรีขาว (เพิธ) ผู้ร่วมก่อตั้งโปรเจกต์ BANGKOK WET DREAM