BRICKS FROM THE KILN #2

Andrew Lister and Matthew Stuart (Editor)

1,055 THB

 

Description

Bricks from the Kiln #2
Andrew Lister and Matthew Stuart (Editor)

English

2016
Published by Bricks from the Kiln
London, UK

Designed by Andrew Lister and Matthew Stuart
17 x 22.4 cm, 88 pages (with insert), color, offset, perfect bound, pvc dust jacket
Edition limited to 700 copies

All of the pieces in this issue are concerned with the reactivation and relocation of historical material. Through institutional archives, amputated visual elements, distant sounds from the Lesser Antilles and de-funct bookshops, the common thread is exhumation. Ron Hunt’s text centres around monuments to Kazimir Malevich, Rosa Luxemburg and Walter Benjamin. While the Scandinavian Institute for Computational Vandalism’s founding “conversation” includes Asger Jorn speaking some forty years after his death, alongside a digital modification of images from the Museum Jom in a manner reminiscent of his own ‘comparative vandalism’. James Bulley’s ‘Progress Music’ weaves a parallel narrative between the composer Daphne Oram and film-maker Geoffrey Jones, stitching together recovered field recordings, archival fragments and newly digitized photographs. Céline Condorelli and James Langdon discuss the politics of display, and the implications of the documentation and exhibition of artefacts detached from their original contexts. Rose Gridneff provides a brief account of  the transportation of the collection of the former Nijhof & Lee Bookshop, from Amsterdam to Epsom, and the barren practicalities of working with such material. Ryan Gerald Nelson and David Whelan focus on archiving at a more individual scale; RGN on the detritus and off-cuts from his working process and DW on his own family history.

About Bricks from the Kiln
“The notion of this content being on or around graphic design relates to the fact that BFTK ultimately collects the kinds of writing that interests and excites us first and foremost as readers, and secondly as designers and typographers. The majority of the writing isn’t necessarily about graphic design or design criticism, but, given that both of our backgrounds are in graphic design, it can be seen through this lens. It’s certainly open-ended though, and deliberately so. Graphic design can sometimes be seen negatively as a kind of parasitic activity, in the way that it attaches itself to other disciplines. However that’s not the case for us. The way in which it can operate as a conduit that both shapes and carries material, and the proximity to other disciplines that it affords, is probably what drew us both to it as as field in the first place. Perhaps “on or around graphic design” isn’t exactly right, but it oddly seems at once more specific and more vague than terms like “visual culture” or “visual communication,” or even “cultural studies,” which are in the right ballpark but don’t sit quite right with us.” — Andrew Lister and Matthew Stuart, interviewed by Paul Bailey in the Gradient

Bricks from the Kiln #2
แอนดริว ลิสเตอร์ และ แมทธิว สจวร์ต (บรรณาธิการ)

ภาษาอังกฤษ

2559
จัดทำโดย Bricks from the Kiln
ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
ออกแบบโดย แอนดริว ลิสเตอร์ และ แมทธิว สจวร์ต

17 x 22.4 ซม, 88 หน้า (พร้อมไส้ใน), สี, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อนแจ็กเก็ตพลาสติก

พิมพ์จำกัดจำนวน 700 เล่ม

ผลงานทุกชิ้นในฉบับนี้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูและการโยกย้ายตำแหน่งของวัตถุทางประวัติศาสตร์ ด้วยการทำงานผ่านคลังของสถาบัน องค์ประกอบทางสายตาที่ถูกตัดออก เสียงอันห่างไกลจากหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส และร้านหนังสือที่เลิกกิจการไปแล้ว การขุดค้นเป็นหัวข้อที่เชื่อมโยงหัวข้อเหล่านี้เข้าด้วยกัน บทความของรอน ฮันท์ เขียนขึ้นบนความสนใจต่ออนุสาวรีย์ของคาซิมีร์ มาเลวิช โรซา ลักเซมเบิร์ก และวอลเตอร์ เบนจามิน ขณะที่ “บทสนทนา” ที่ริเริ่มโดยสถาบันการก่อการทางคอมพิวเตอร์สแกนดิเนเวีย (Scandinavian Institute for Computational Vandalism) ยังรวมถึงการพูดโดยแอสเกอร์ ยอร์น ถึงเวลาสี่สิบปีหลังจากเขาเสียชีวิต ควบคู่ไปกับการปรับแต่งทางดิจิทัลจากพิพิธภัณฑ์ยอมในแบบที่ชวนให้คิดถึงการ‘ก่อกวนทางคอมพิวเตอร์’ ในแบบของเขา บทความ ‘Progress Music’ โดยเจมส์ บุลเลย์ ถักทอเรื่องเล่าคู่ขนานระหว่างนักแต่งเพลงดาเฟ ออแรม และนักสร้างภาพยนตร์ จอฟฟรีย์ โจนส์ ที่ร้อยเรียงขึ้นจากบันทึกเสียงภาคสนามที่กู้คืนได้ เศษเสี้ยวของบันทึกต่างๆ และภาพถ่ายที่ทำสำเนาขึ้นใหม่เป็นไฟล์ดิจิทัล เซลีน คอนโดเรลลิ และเจมส์ แลงดอน อภิปรายเรื่องการเมืองของการจัดแสดงและนัยยะของการบันทึกและนิทรรศการแสดงศิลปะวัตถุที่ถูกแยกออกจากบริบทดั้งเดิมของมัน โรส กริดเนฟฟ์ มอบบันทึกของการขนส่งคอลเลกชั่นที่เคยเป็นของร้านหนังสือนิฮอฟ & ลี จากอัมสเดอร์ดัมถึงเอปซอม และการทำงานที่ไร้ดอกผลจากการศึกษาบันทึกดังกล่าว ไรอัน เจอราลด์ เนลสัน และเดวิด วีแลน ให้ความสนใจกับการเก็บบันทึกในระดับปัจเจก ไรอัน เจอราลด์ เนลสัน ทำงานกับสิ่งที่เหลือจากกระบวนการทำงานและสิ่งที่โดนตัดออก ขณะที่เดวิด วีแลน สนใจเรื่องเล่าภายในครอบครัวของเขาเอง 

เกี่ยวกับ Bricks from the Kiln
“ความคิดของการผลิตเนื้อหาทั้งที่บนเรื่องกราฟิกดีไซน์หรือรอบๆ เรื่องกราฟิกดีไซน์ก็ตาม สัมพันธ์กับความจริงที่ว่าสิ่งพิมพ์เล่มนี้ได้รวมเอางานเขียนต่างๆ ที่ในที่สุดแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดทำให้เราตื่นเต้นและสนใจในฐานะนักอ่านในขั้นแรก และที่ตามมาในขั้นที่สองคือในฐานะที่เป็นนักออกแบบและนักออกแบบตัวอักษร ข้อเขียนส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวกับกราฟิกดีไซน์หรือการวิจารณ์งานกราฟิกดีไซน์  แต่เพราะพื้นหลังของเรามาจากกราฟิกดีไซน์ พวกมันจึงถูกมองผ่านเลนส์นี้ แต่เป็นการมองแบบปลายเปิดและตั้งใจคิดมาแล้ว บางครั้งกราฟิกดีไซน์ก็ถูกมองในแง่ลบ เหมือนเป็นปรสิตของงานด้วยความที่ตัวมันเองไปยึดโยงกับศาสตร์อื่นๆ แต่นั่นไม่ใช่ในกรณีของเรา การที่มันสามารถทำงานเป็นเหมือนตัวนำ ทั้งการสร้างรูปทรงและนำพาวัสดุ รวมถึงความใกล้ชิดเชื่อมต่อกับสาขาวิชาอื่นๆ เป็นสิ่งที่ดึงดูดเราเข้าหาศาสตร์การออกแบบนี้ตั้งแต่แรก บางทีคำว่า “เกี่ยวกับหรือเกี่ยวข้องกับกราฟิกดีไซน์” อาจจะไม่ใช่เสียทีเดียว แต่มันก็ดูเป็นคำที่อย่างน้อยก็ทั้งเฉพาะเจาะจงและคลุมเครือในเวลาเดียวกันมากกว่าคำว่า “วัฒนธรรมทางภาพ” หรือ “การสื่อสารผ่านภาพ” หรือกระทั้งคำอย่าง “วัฒนธรรมศึกษา” ซึ่งถึงอยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้เข้ากับกับพวกเราเสียทีเดียว — แอนดริว ลิสเตอร์ และ แมทธิว สจวร์ต, สัมภาษณ์โดยพอล ไบเลย์ ในนิตยสารออนไลน์ Gradient
ISBN 978‐0‐9956835‐0‐1