Description
City on the Eyelids
Aroon Puritat
Aroon Puritat lived in Banglampoo area during 1992-1999. He moved from Chiang Rai to Bangkok after being accepted to study at the Faculty of Architecture, Silpakorn University, in Bangkok. After his graduation, he moved to Chiang Mai and spent his time there for about 20 years. At the end of last year, his health condition made him to move back to Bangkok. This time, he lived in Nangleong which is the old town area of Bangkok. Not different to the time he studied at Silpakorn, he started to collect images he saw in everyday life against his own health problem, at the same time with the lock down policy against COVID-19 of General Prayuth Chan-ocha’s government. CITY ON THE EYELIDS is the book containing with photographs taken by a mobile phone, whether the photographs of place, people, monument, or a historical place. The way Puritat looks at Bangkok has changed by his age. The new memory overlays and connects to the past memory of the time he studied at Silpakorn and fraction of the time he visited Bangkok in the past. He explained, even with closed eyes, those images are still left in his memory, some are dilute, some are vivid, mixing inseparably.
อรุณ ภูริทัต
อรุณ ภูริทัต ใช้ชีวิตที่ย่านบางลำพูระหว่างปี 2535–2542 เขาย้ายจากเชียงรายมากรุงเทพฯ หลังสอบติดเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หลังเรียนจบก็ย้ายจากกรุงเทพฯ ไปใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่ร่วม 20 ปี ปลายปีที่แล้วมีเหตุจำเป็นทางสุขภาพทำให้ อรุณต้องกลับมาใข้ชีวิตที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง และครั้งนี้เขาอาศัยอยู่ละแวกนางเลิ้ง ซึ่งถือว่าเป็นย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากสมัยเรียนที่วังท่าพระ เขาเริ่มบันทึกภาพสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพของตัวเอง ในช่วงเวลาเดียวกับการปิดประเทศเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา CITY ON THE EYELIDS หรือ เมืองบนเปลือกตา คือหนังสือที่รวบรวมภาพถ่ายที่บันทึกด้วยโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ผู้คน อนุสาวรีย์ และโบราณสถานต่างๆ วิธีมองกรุงเทพฯ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ความทรงจำใหม่ที่ซ้อนทับและเชื่อมโยงไปสู่ความทรงจำในอดีตสมัยเรียนศิลปากร และความทรงจำปลีกย่อยของการมาเยือนกรุงเทพฯ เป็นครั้งคราวในช่วงก่อนหน้านี้ ที่เขาอธิบายไว้ว่าต่อให้หลับตา ภาพเหล่านั้นก็ยังตกค้างอยู่ในบางส่วนของความทรงจำ ทั้งพร่าเลือนและชัดเจนผสมกันจนแยกไม่ออก