ECHOING EXHIBITION VIEWS

A.R. practice (Agnieszka Roguski & Ann Richter)

710 THB

 

Out of stock

Categories: , ,

Description

Echoing Exhibition Views: Subjectivity in Post-Digital Times 

A.R. practice (Agnieszka Roguski and Ann Richter)

English 

2020
Published by Onomatopee
Netherlands

Printed by Tallin Book Printer

Designed by A.R. practice (Ann Richter)

24 x 17 cm, 80 pages, color, offset, glue bound, softcover 

When the exhibition enters the digital realm, as it is increasingly happening now when the display of art and culture can be enjoyed individually behind screens, then how does the exhibition view diffuse optically, technically, and culturally? And how does this transformation echo the new understanding of subjectivity?

Echoing Exhibition Views. Subjectivity in Post-Digital Times explores the different medialities and intersubjective shifts that follow the moment of seeing a physical exhibition today. It takes the digitized exhibition view as starting point for artistic and theoretic reflections on post-digital culture, hyperreality and its relation to subjectivity. Focusing on the transformative potential of the exhibition as circulating view, this publication asks how it transfers again into a subjective mode of perspective through the artistic lens. So what is at stake when an exhibition circulates as a digital view? And how does its digital presence in turn affect and transform the subjective experience of seeing a physical exhibition?

A.R. practice is based on the conceptual and artistic collaboration of the designer Ann Richter and the curator and writer Agnieszka Roguski. Past projects include Eine Frage der Form/Norm, an installation within the exhibition Returning to Sender 2014 at HKW Haus der Kulturen der Welt in Berlin (2014), and ON VIEW – interferences of digital and physical re-/presentations (2015), an exhibition project that took shape online and at the art institution KV––Kunstverein Leipzig.

Onomatopee Projects (founded and directed by Freek Lomme since 2006) is a curating and editorially led public gallery and publisher that is particularly known for their self-initiated and transdisciplinary projects. Furthermore, they also host the projects of progressive individuals as well as artist-run and institutional organisations.

 

Echoing Exhibition Views: Subjectivity in Post-Digital Times
A.R. practice (แองนีสกา โรกุสกี และ แอน ริกเตอร์)

ภาษาอังกฤษ

2563
จัดทำโดย Onomatopee
เนเธอร์แลนด์

พิมพ์โดย Tallin Book Printer

ออกแบบโดย A.R. practice (แอน ริกเตอร์)

24 x 17 ซม, 80 หน้า, สี, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน

เมื่อนิทรรศการเข้าสู่พื้นที่ดิจิทัล เหมือนกับการแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งสามารถถูกรับชมได้อย่างเป็นส่วนตัวผ่านหน้าจอ สิ่งเหล่านี้ทำให้การชมงานนิทรรศการเปลี่ยนไปทางสายตา ทางเทคนิ และทางวัฒนธรรมอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนความเข้าใจแบบใหม่ในเรื่องอัตวิสัย (ความคิดส่วนบุคคล) อย่างไร

Echoing Exhibition Views. Subjectivity in Post-Digital Times สำรวจสื่อในรูปแบบต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงในอัตวิสัยที่เชื่อมต่อ (ความคิดร่วม) ที่เกิดขึ้นตามมาจากการได้ชมงานนิทรรศการทางกายภาพในช่วงเวลาปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ใช้การรับชมงานนิทรรศการในรูปแบบดิจิทัลเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสะท้อนมุมมองทั้งในเชิงศิลปะและทฤษฏีต่อวัฒนธรรมโพสดิจิทัล สภาวะเกินจริง (Hyperreality) และความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ต่ออัตวิสัย ด้วยการมองถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของงานนิทรรศการจากการถูกรับชมที่หมุนเวียน หนังสือเล่มนี้ตั้งคำถามว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอีกครั้งซึ่งนำไปสู่มุมมองแบบอัตวิสัยผ่านสายตาของศิลปินนั้นเป็นอย่างไร นำไปสู่คำถามที่ว่าอะไรเป็นสิ่งที่สุ่มเสี่ยงที่สุดเมื่อนิทรรศการหมุนเวียนผ่านมุมมองแบบดิจิทัล และการมีอยู่ในรูปแบบดิจิทัลของนิทรรศการส่งผลกระทบและสร้างความเปลี่ยนแปลงกับประสบการณ์ของปัจเจกในการชมนิทรรศการทางกายภาพอย่างไรบ้าง

A.R. practice เกิดขึ้นจากการร่วมกันในแง่แนวคิดและศิลปะระหว่างนักออกแบบ Ann Richter และภัณฑารักษ์-นักเขียน Agnieszka Roguski โปเจกในอดีต เช่น Eine Frage der Form/Norm ผลงานจัดวางภายในนิทรรศการ Returning to Sender2014 ที่ HKW Haus der Kulturen der Welt in Berlin (2014) และ ON VIEW – interferences of digital and physical re-/presentations (2015) นิทรรศการซึ่งปรากฏรูปขึ้นในโลกออนไลน์และในสถาบันศิลปะ KV––Kunstverein Leipzig

Onomatopee Project (ก่อตั้งและกำกับโดยฟรีก ลอมเม (Freek Lomme) มาตั้งแต่ปี 2559) เป็นแกลเลอรี่และสำนักพิมพ์สาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยการคิวเรทและการทำบรรณาธิการ เป็นที่รู้จักโดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำโปรเจกต์ที่ริเริ่มด้วยตนเองและโปรเจกต์ข้ามสาขา ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังต้อนรับโปรเจกต์จากกลุ่มปัจเจกก้าวหน้า รวมไปถึงองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยศิลปินและสถาบัน