Björn Hegardt (Editor)
EU
Designed by Ariane Spanier
23 x 17 cm, 232 pages, color, offset, perfect bound, softcover
Speaking of the current issue, Hegardt says: “In times of global threats — from the pandemic to climate change, senseless politics, and periods confined to our homes — we may long for stories more than ever. Stories that let us see the world through the eyes of others and help us to make sense of it all, allowing us to remember and to imagine, to understand the unfamiliar, the strange and unknown.”
Founded in 1999 by artist Björn Hegardt, FUKT, which translates to “moist” or “damp” in Norwegian and Swedish, is a Berlin-based annual magazine for contemporary drawing. Each issue comes with a unique cover by Ariane Spanier who also co-edits and designs the magazine. From issue 16 onwards, the FUKT team began organising each edition thematically: from The Sex Issue on Dirty Drawings to The Words Issue and The System Issue.
ยอน เฮียร์กัท (บรรณาธิการ)
ภาษาอังกฤษ
สหภาพยุโรป
ออกแบบโดย อาริแอน สปานิเยร์
23 x 17 ซม, 232 หน้า, สี, ออฟเซต, เย็บกี่ไสกาว, ปกอ่อน
สำหรับฉบับนี้ บรรณาธิการนิตยสาร ยอน ฮีการ์ด ได้กล่าวไว้ว่า “ในช่วงเวลาที่ภัยคุกคามเกิดขึ้นทั่วโลก — ตั้งแต่ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไปจนถึงสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเมืองที่ไร้เหตุผล และช่วงเวลาที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านตนเอง บางทีพวกเราอาจจะโหยหาถึงเรื่องราวมากกว่าที่เคยเป็นมา เรื่องราวที่ว่านี้ชวนให้เรามองเห็นโลกผ่านสายตาของผู้อื่นและช่วยให้เราเข้าใจเหตุและผลของทุกอย่าง อีกทั้งอนุญาตให้เราได้จดจำและจินตนาการเพื่อเข้าใจถึงความความไม่คุ้นชินของสิ่งแปลกหน้าและสิ่งที่ไม่รู้จัก”
นิตยสาร FUKT ก่อต้ังขึ้นในปี 2542 โดยศิลปิน ยอน เฮียร์กัท ชื่อนิตยสารนี้ในภาษานอร์วีเจียนและสวีดิชแปลออกมาได้ว่า‘เปียกชื้น’ หรือ ‘เปียกหมาด’ FUKT คือนิตยสารรายปีที่มีถิ่นฐานอยู่ที่เบอร์ลิน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพวาดลายเส้นร่วมสมัย แต่ละฉบับที่พิมพ์ออกมานั้นจะมีหน้าปกที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง สร้างสรรค์โดยอาริแอน สปานิเยร์ ซึ่งเป็นทั้งบรรณาธิการร่วมและผู้ออกแบบ ตั้งแต่ฉบับที่ 16 เป็นต้นมา ทีมงานได้เริ่มต้นจัดการให้แต่ละเล่มมีหัวข้อเรื่องเป็นของตัวเองตั้งแต่ ‘ว่าด้วยเซ็กส์ (The Sex Issue)’ ที่เกี่ยวกับภาพวาดหยาบโลนไปจนถึง ‘ว่าด้วยคำ (The Words Issue)’ และ ‘ว่าด้วยระบบ (The System Issue)’