Inbetweeners
Anon Chaisansook and Lita Chala-adisai
Thai / English
2019
Published by Cyberprint Co.,ltd
Bangkok, Thailand
20 x 27 cm, 84 pages, color, digital,exposed spine thread sewn-glued, hardcover
Designed by Anon Chaisansook and Lita Chala-adisai
It is natural for a person or a group of people to seek to belong. Some look for a community, a territory, with lofty and prominent walls, but some carve out their own by eroding, distorting, and cracking the existing ones. These walls or borders are rigid and stubborn, but simultaneously fluid and versatile.
Though invisible and intangible, the “wall” ingeniously functions through social structures and imprint its existence in our subconsciuos. It marks an imaginary border, separating the insider from the outsider. It rises to obstruct the movement of those from both sides of the wall. While it may protect the insiders from the “invasion” of the outside, it also traps the movement of the insiders themselves. “Get off my turf”. This sentence, once uttered, reveals the walls, oncee invisible.“Turf,” therefore, does not only signify the physical territory with specific qualities of proximity, but also indicates the imaginary space in which a person or a group of people create to establish their identities.
Inbetweeners attempts to investigate different “turfs” both the familiar and the unfamiliar. Through our exploration of certain symbols that police and patrol those turfs, we walk in between the territories, along those wall, and, sometimes, enter and lurk into some.
Inbetweeners
อานนท์ ไชยแสนสุข และ ลิตา ชาลาอาดิศัย
ไทย / อังกฤษ
2562
จัดทำโดย Cyberprint Co.,ltd
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย
20 x 27 ซม, 84 หน้า, สี, ดิจิทัล, เย็บกี่ไสกาวสันเปลือย, ปกแข็ง
ออกแบบโดย อานนท์ ไชยแสนสุข และ ลิตา ชาลาอาดิศัย
เป็นธรรมชาติที่คนหรือกลุ่มคนจะมองหาพื้นที่ที่ตัวเองรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ บ้างก็มองหาอาณาเขตที่มีกำแพงสูงใหญ่ ประกาศตัวตนอย่างโจ่งแจ้ง บ้างก็คว้านสร้างพื้นที่ขึ้นมาเองด้วยการตัดแต่ง ดัดแปลง ถ่างขยายกำแพงที่มีอยู่แล้วเหล่านั้น กำแพงหรือเส้นอาณาเขตเหล่านี้จึงมีทั้งความทื่อและดื้อดึง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความลื่นไหลและแปรเปลี่ยน ถึงแม้ว่ากำแพงที่ว่าจะมองไม่เห็น แต่มันก็ทำงานอย่างแยบยลผ่านกลไกทางสังคมที่ประทับเส้นอาณาเขตไว้ในจิตสำนึกของพวกเราได้โดยที่ไม่รู้ตัว แม้มันจะล่องหนแต่มันก็ขีดเส้นล้อมกรอบอาณาเขตสมมติเพื่อแบ่งแยกระหว่างคนนอกและคนใน และก่อตัวสูงขึ้นเพื่อปิดกั้นการยักย้ายของคนทั้งสองฝั่งในขณะที่มันป้องกันการรุกล้ำจากคนนอกมันก็ปิดกั้นการเคลื่อนไหวของคนในเช่นเดียวกัน เหมือนคำที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า “ถิ่นใครถิ่นมัน” ทันทีที่ประโยคนี้ถูกเอ่ยขึ้นกำแพงล่องหนก็ปรากฏตัวขึ้น“ถิ่น” จึงไม่ได้หมายถึงพื้นที่ทางกายภาพที่มีลักษณะเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ถิ่นยังบ่งบอกถึงพื้นที่ในจิตนาการที่คนหรือกลุ่มคนคว้านหาเพื่อกำหนดอัตลักษณ์ความเป็นตัวตน
Inbetweeners จึงเป็นการพยายามสืบเข้าไปใน ถิ่น ต่างๆ ทั้งในถิ่นที่คุ้นเคยและไม่เชิงจะใช่นัก ผู้จัดทำจึงเดินตามขอบเส้นพรมแดนหรือบางครั้งก็ถลำลึกเข้าไปในบางถิ่น ผ่านการสำรวจสัญญะบางอย่างที่เป็นผู้พิทักษ์หรือตำรวจตรวจตราพรมแดนเหล่านั้น