Description
Pinaree Sanpitak 1985-2020
Pinaree Sanpitak
English
2021
Published by Advisory Serindia Publications
Bangkok, Thailand
Designed by Mali Chulakiet and be>our>friend studio
19.4 x 27.3 cm, 824 pages, color, offset, round spine case bound, stitching on fabric cover, hardcover
Pinaree Sanpitak 1985-2020 celebrates thirty five years of Thailand’s foremost female artist, Pinaree Sanpitak, charting her emergence in the Thai contemporary art scene during its infancy in the 1980s through its entry into the international stage in the 21st century. Spanning more than three decades, the monograph documents a comprehensive body of works — prints, paintings, sculpture, installations, and other media — offering an insightful look at her dedicated artistic journey.
For Pinaree, her “sense of being in the world” provides an intimate stand for her art making with a personal artistic impulse. Those senses expand into a language of her own, one which translates into shared experiences with the viewers. The deep bonds between the works and the audience fuel her progress, pushing the boundaries of her explorations into new material and conceptual possibilities.
With an introduction by Rhana Devenport, Director of the Art Gallery of South Australia, three leading scholars in the field contributed their essays to this monograph. Gridthiya Gaweewong, Artistic Director of the Jim Thompson Art Center, explores Pinaree’s feminist intent and her roots in the Buddhist tradition — the matriarchal social structure and its symbolic reference — and her ability to infuse them into the international contemporary art exchanges. Curator Roger Nelson of the National Gallery Singapore, illuminates on the symbolism of breast + stupa and its association with the female signs of life. Finally, Vipash Purichanont of the Department of Art History at Silpakorn University approaches her work with a different perspective on Pinaree’s products of the female body that have emerged and multiplied into her various practices.
Designed by Mali Chulakiet and be>our>friend studio, the monograph is copiously illustrated with more than 1,000 images, serving as an important reference of the artist’s work as well as for the Southeast Asian contemporary art field. Artists, students and other art practitioners shall find this volume as indispensable as it is visually compelling — an essential look into one of Southeast Asia’s leading artists at work today.
Pinaree Sanpitak 1985-2020
พินรี สัณฑ์พิทักษ์
ภาษาอังกฤษ
2564
จัดทำโดย Advisory Serindia Publications
กรุงเทพฯ, ไทย
ออกแบบโดย มะลิ จุลเกียรติและทีมงาน be>our>friend studio
19.4 x 27.3 ซม, 824 หน้า, สี, ออฟเซต, ปกแข็งสันโค้ง, ปักลวดลายผลงานบนปกผ้า, ปกแข็ง
Pinaree Sanpitak 1985-2020 รวบรวมผลงานกว่าสามทศวรรษ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1980 จนกระทั่งก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติในศตวรรษที่ 21 ครอบคลุมงานทุกประเภท วาดเส้น จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรม งานจัดวาง สื่อใหม่ สื่อผสมต่างๆ นำเสนอมุมมองที่ลึกซึ้งและเฉพาะตัว
สำหรับศิลปินที่ชื่อ พินรี แล้ว เมื่อพูดถึงแรงบันดาลใจของการสร้างงานศิลปะ อาจกล่าวได้ว่า “ความรู้สึกและประสบการณ์ในการใช้ชีวิตส่วนตัวของเธอ” เป็นจุดเริ่มต้น และขยายความรู้สึกเหล่านั้นออกไปด้วยภาษาศิลปะในแบบเฉพาะตัว ซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้ชมได้ และด้วยความเชื่อมโยงอันเป็นสากลระหว่างแนวคิด และตัวผลงานกับการรับรู้ของผู้ชม กลายเป็นแรงผลักให้ผลงานของเธอก้าวออกไปสู่เนื้อหาและแนวคิดใหม่ๆ ที่สร้างความเป็นไปได้มากมาย ในหลากหลายกลวิธีการสร้างสรรค์
หนังสือเล่มนี้ได้รับเกียรติเขียนบทนำโดย รานา เดเวนพอร์ต (Rhana Devenport) ผู้อำนวยการ Art Gallery of South Australia ร่วมด้วยบทวิเคราะห์จากนักวิชาการชั้นนำ อาทิ กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ที่หยิบเอาแนวคิดสตรีนิยมมาวิเคราะห์งานของพินรี และเชื่อมโยงไปสู่รากเหง้าความคิดในแง่พุทธศาสนา โครงสร้างทางสังคมแบบสตรีเป็นใหญ่ และการอ้างอิงเชิงสัญลักษณ์ รวมถึงความสามารถของศิลปินในการผสมผสานปรุงแนวคิดเหล่านี้ให้ปรากฏเป็นงานศิลปะอันมีเอกลักษณ์ นำสู่การแลกเปลี่ยนศิลปะร่วมสมัยระหว่างประเทศได้ขณะที่บทความของ โรเจอร์ เนลสัน (Roger Nelson) ภัณฑารักษ์ หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวถึงสัญลักษณ์ของเต้านม สถูปและความเชื่อมโยงกับสัญญาณแห่งชีวิตผู้หญิง และวิภาช ภูริชานนท์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้หยิบมุมมองใหม่ๆ กล่าววิเคราะห์ถึงการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสตรีมาสร้างสรรค์งานศิลปะของพินรี
ความหนากว่า 800 หน้า ทั้งบทความที่น่าสนใจ การจัดเรียงอย่างเป็นหมวดหมู่ รวมถึงภาพประกอบกว่า 1,000 ภาพ ซึ่งได้รับการออกแบบรูปเล่มอย่างประณีต โดย มะลิ จุลเกียรติและทีมงาน be>our>friend studio สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญเกี่ยวกับผลงานของพินรีเอง รวมถึงการศึกษางานศิลปะร่วมสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ISBN 9781932476996