THE FUNAMBULIST ISSUE 31: POLITICS OF FOOD

Léopold Lambert (Editor)

400 THB

 

Out of stock

SKU: BS-0238 Categories: , , , ,

Description

The Funambulist Issue 31: Politics of Food
Léopold Lambert (Editor)

English

2020
Published by The Funambulist
Paris, France
Printed by Alpha 

Peaugres, France

29.7 x 21 cm, 60 pages, color, offset, saddle stitch, softcover

Politics of Food is an open-ended examination of various dimensions behind food and the act of cooking: labor, ingredients, memories, identity, self-orientalization, marooning, infrastructure, transportation, societal hierarchies and, as usual with us, space. The main dossier includes four texts (each associated to a recipe generously provided by our contributors) about the history of jerk, a Jamaican Maroon cooking style born in the struggle for existence against slavery, the links between the Caribbean and the diaspora in the U.K. through the well-known ‘opposition’ of bananas and plantains, the veganist solidarity with the struggle against Indian structural casteism and anti-Muslim racism, and the personal and political wanderings of a chef between the Indian Konkan Coast and Marseille. It also includes three interviews about the relationship between food production, colonialism, and ecocide, the idea of reparations for Black folks through food demonstrations, as well as the numerous political daily dimensions involved in being a chef in Bethlehem, Palestine 

The cover of the issue shows a banquet on July 5, 1962, the day of the Algerian independence, organized in Nanterre(northwestern Paris banlieue) where thousands of Algerians were living and had taking part in many ways to the anti-colonial Revolution.

 

The Funambulist Issue 31: Politics of Food

เลโอโปลด์ แลมเบิร์ต (บรรณาธิการ)

ภาษาอังกฤษ

2563
จัดทำโดย The Funambulist
ปารีส, ฝรั่งเศส
พิมพ์โดย Alpha

โปรเกรอส์, ฝรั่งเศส

29.7 x 21 ซม, 60 หน้า, สี, ออฟเซต, เย็บมุงหลังคา, ปกอ่อน 

The Funambulist Issue 31: Politics of Food ฉบับนี้คือการสำรวจแบบปลายเปิดต่อมิติต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องอาหารและการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงาน วัตถุดิบต่างๆ ควาทรงจำ อัตลักษณ์ การสร้างภาพความเป็นตะวันออกด้วยตัวเอง การทอดทิ้ง โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง ลำดับชั้นทางสังคม และสิ่งที่เราให้ความสนใจอยู่แล้วอย่างเรื่องของพื้นที่ ในเล่มจะประกอบไปด้วยบทความหลักสี่ชิ้น (แต่ละชิ้นมีสูตรอาหารที่เหล่ากองบรรณาธิการใจดีใส่ไว้ให้) ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ เจิร์ค (jerk) ซึ่งเป็นกรรมวิธีการทำอาหารสไตล์จาไมกันที่เกิดขึ้นมาจากการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดจากการใช้แรงงานทาส เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาวแคริบเบียนและกลุ่มผู้พลัดถิ่นที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรผ่านคู่ตรงข้ามที่เป็นที่รู้กันอย่าง กล้วย (banana) และ กล้าย (plantain) เรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวมังสวิรัตที่มีต่อปัญหาเชิงโครงสร้างของชนชั้นวรรณะในอินเดียและการต่อต้านชาวมุสลิม และเรื่องราวส่วนตัวและการเมืองของพ่อครัว ที่เดินทางไปมาระหว่างชายฝั่งกงกัณของอินเดีย และชายฝั่งมาร์กเซยของฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์สามชิ้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตอาหาร ลัทธิการล่าอาณานิคม และการทำลายสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงแนวคิดเรื่องการเยียวยากลุ่มคนผิวสีผ่านการประกอบอาหาร ไปพร้อมๆ กันกับมิติอันหลากหลายทางการเมืองในชีวิตประจำวัน ที่มาจากการเป็นเชฟในเมืองเบธเลแฮม รัฐปาเลสไตน์

ส่วนหน้าปกประจำฉบับนี้คือภาพงานกินเลี้ยงในวันที่ 5 กรกฎาคม 2505 ซึ่งเป็นวันประกาศอิสระภาพของแอลจีเรีย งานเลี้ยงนี้จัดขึ้นในนองแตร์ (Nanterre) (เมืองชายขอบ หรือ banlieue ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปารีส) สถานที่ที่ชาวแอลจีเรียกว่าหมื่นคนอาศัยอยู่ และมีส่วนร่วมกับกลุ่มปฏิวัติต่อต้านการล่าอาณานิคม