THE FUNAMBULIST ISSUE 35: DECOLONIAL ECOLOGIES

Léopold Lambert (Editor)

400 THB

 

Out of stock

Description

The Funambulist Issue 35: Decolonial Ecologies

Léopold Lambert (Editor)

English

2021
Published by The Funambulist
Paris, France
Printed by Alpha 

Peaugres, France

29.7 x 21 cm, 60 pages, color, offset, saddle stitch, softcover

Welcome to the 35th issue of The Funambulist. Decolonial Ecologies envision decolonial ecologies at different scales. The interview with Martiniquean author of Une écologie décoloniale (2019) Malcom Ferdinand presents a productive framework associating the two concepts — “decolonial” and “ecologies” — especially when considered through the Caribbean geography. He is joined by an excerpt of Jessic Oublié‘s graphic novel on the murderous use of Chlordecone in Martinique and Guadeloupe. At the other end of the issue, members of The Red Nation talk to us about the historic treatise they offer to the people of Turtle Island (and beyond): the Red Deal. South to the settler colonial border, Meztli Yoalli Rodríguez Aguilera describes Indigenous and Afro Mexican relations to the lagoons of Oaxaca, threatened by environmental racism. Further south on the continent, Paulo Tavaresdescribes the history of Indigenous “forest alliances” that counter the Brazilian state and multinational companies’ extractivist predation on the Amazon forest. His descriptions resonate with those of Sammy Baloji, on the other side of the Atlantic, where the mines of the Congo perpetuate the colonial spoliation at the heart of the African continent. CHamoru researcher Kiara Quichocho and Hawai’i-born geographer Laurel Mei-Singh both bring Oceanian geographies to these dialogues through describing the impact of the U.S. military occupation respectively on Guåhan (Guam) and O’ahu in Hawai’i, discussing as well the Indigenous stewardship of these lands. Finally, Céline Chuang celebrates the interconnections that exist and the solidarities to be built between the “diasporic descendents of the displaced” and the Indigenous struggle for sovereign stewardship of their lands.

 

The Funambulist Issue 35: Decolonial Ecologies

เลโอโปลด์ แลมเบิร์ต (บรรณาธิการ)

ภาษาอังกฤษ

2564
จัดทำโดย The Funambulist
ปารีส, ฝรั่งเศส
พิมพ์โดย Alpha

โปรเกรอส์, ฝรั่งเศส

29.7 x 21 ซม, 60 หน้า, สี, ออฟเซต, เย็บมุงหลังคา, ปกอ่อน

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เล่มที่ 35 ของ The Funambulist ในฉบับ Decolonial Ecologies นี้ ชวนจินตนาการถึงถึงการปลดปล่อยทางนิเวศวิทยาในหลากหลายสเกล เริ่มด้วยบทสัมภาษณ์มาลคอม เฟอร์ดินานด์ (Malcom Ferdinand) ชาวเกาะมาร์ตีนิกและผู้แต่งหนังสือ Une écologie décoloniale (2562) ที่นำเสนอกรอบการทำงานที่เชื่อมโยงกับแนวคิดสองประการอย่าง —“การปลดปล่อยอาณานิคม” และ “นิเวศวิทยา” — โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านภูมิศาสตร์ของทะเลแคริบเบียน ร่วมกับผลงานบางส่วนจากกราฟิกโนเวลของเจสสิกา อูบลิเยร์ (Jessica Oublié) เกี่ยวกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอันตรายอย่างสารคลอดีโคน (Chlordecone) ในมาร์ตีนิกและกัวเดอลุป ในอีกด้านหนึ่งของประเด็นนี้ เราได้พูดคุยกับสมาชิกของกลุ่ม The Red Nation เกี่ยวกับ the Red Deal สนธิสัญญาฉบับประวัติศาสตร์ที่เสนอให้กับประชาชนในเกาะเทอร์เทิล (และเกาะอื่นๆ)เมื่อลงไปทางใต้ของคาบสมุทรสู่ชุมชนชายแดนอาณานิคม เมซลิ โยอัลลี โรดริเกซ อากิเลร่า (Meztli Yoalli Rodríguez Aguilera) อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมืองและชาวแอฟโฟรเม็กซิกันต่อทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่งในรัฐวาฮากา ที่กำลังถูกคุกคามด้วยการเหยียดเชื้อชาติผ่านสิ่งแวดล้อม เมื่อไล่ลงมาทางใต้ของทวีป เปาโล ตาวาเรส อธิบายถึงประวัติศาสตร์พื้นถิ่นของ“พันธมิตรป่า” ที่ต่อสู้กับรัฐบราซิล และบริษัทหลากสัญชาติที่กอบโกยผลประโยชน์จากผืนป่าแอมะซอน คำอธิบายของเขาไปด้วยกันกับความคิดของแซมมี่ บาโลจิ (Sammy Baloji) จากอีกฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ซึ่งเหมืองของคองโกถูกฉกฉวยผลประโยชน์อย่างไม่รู้จบ ณ ใจกลางของทวีปแอฟริกา นักวิจัยชาวชามอร์โร(CHamoru) เคียร่า ควิโชโช นักภูมิศาสตร์ชาวฮาวาย ลอเรล เม-ซิง (Laurel Mei-Singh) นำเอาภูมิศาสตร์ของทวีปโอเชียเนียมาสู่บทสนทนาผ่านการอธิบายผลกระทบของการตั้งฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯ ในเกาะกวม และโอวาฮูในฮาวาย และอภิปรายเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลชนพื้นเมืองในพื้นที่เหล่านี้ ท้ายที่สุด เซลีน ชวง (Céline Chuang) เฉลิมฉลองให้กับความสัมพันธ์ที่ยังคงอยู่และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่าง “ลูกหลานของผู้อพยพย้ายถิ่น” และชนพื้นเมืองในการต่อสู้เพื่ออำนาจอธิปไตยในการดูแลดินแดนของพวกเขา