การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวด: เส้นทางและอนาคตของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก

อะกิระ ซุเอะฮิโระ (เขียน), เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์, นิภาพร รัชตพัฒนากุล, สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข, ปิยวรรณ อัศวราชันย์ และ สุภา ปัทมานันท์ (แปล)

650 ฿

ภาษาไทย

2565
จัดทำโดย สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
พิมพ์โดย โรงพิมพ์​ ภาพพิมพ์
กรุงเทพฯ, ไทย

24 x 16.5 ซม, 486 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซ็ต, ไสกาว, ปกอ่อน

ออกแบบโดย พรเฉลิม รัตนไตรภพ

หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาเศรษฐกิจไทยในบริบทของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและเศรษฐกิจโลก จึงสามารถเผยให้ผู้อ่านได้เห็นว่า ความสำเร็จ (และความล้มเหลว) ของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่เรื่องของตำนานเสื่อผืนหมอนใบของบรรดาเจ้าสัว ความสามารถของเทคโนแครตที่มักประกาศว่า ปราศจากผลประโยชน์ส่วนตน หรือความมีเสถียรภาพของรัฐบาลเผด็จการแบบสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประชาธิปไตยครึ่งใบในยุคเปรม ติณสูลา-นนท์ อย่างที่เราคุ้นเคยเท่านั้น แต่มีปัจจัยภายนอกมากำหนดอีกไม่น้อย หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบไล่กวดอยู่ที่อุตสาหกรรมการผลิต และกุญแจแห่งความสำเร็จก็คือความสามารถทางสังคมของแต่ละประเทศ ในการนำเข้าเทคโนโลยี ปรับใช้ และพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร