ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก

เอกสุดา สิงห์ลำพอง

380 ฿

In stock

ภาษาไทย

2023
จัดทำโดย สำนักพิมพ์​ readtherunes
พิมพ์โดย โรงพิมพ์ ภาพพิมพ์
กรุงเทพฯ, ไทย

24 x 16 ซม, 180 หน้า, ขาว/ดำ, ออฟเซต, ไสกาว, ปกอ่อน

“สมัยคลาสสิกของกรีก (เริ่มต้นราวปลายศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล และสิ้นสุดลงหลังการสวรรคตของ อเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสตกาล) ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทอง (The Golden Age) ของอารยธรรมกรีกโบราณ จากการบรรลุไปอีกขั้นหนึ่งของความงดงามและสมบูรณ์แบบในงานศิลปะ สถาปัตยกรรม ละครเวที และปรัชญา แต่อีกด้านหนึ่งนั้น สมัยคลาสสิกเป็นช่วงที่หลายนครรัฐของกรีซเผชิญหน้ากับภาวะสงครามอย่างต่อเนื่อง

readtherunes มีความยินดีที่จะนำเสนอ “ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก” โดยเอกสุดา สิงห์ลำพอง ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกในชุดประวัติศาสตร์ศิลปะ “Long Live Art History” ด้วยเหตุที่เราเชื่อว่า การเรียนรู้โลกที่แตกต่างออกไปทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงเวลานั้นช่วยก่อมุมมองเชิงเปรียบเทียบ กระตุ้นให้เราพิจารณาสรรพสิ่งโดยรอบด้าน ในปริมณฑลของศิลปวัฒนธรรม เรามักกล่าวแก่กันว่า “หากบ้านเมืองดี มีเสรีภาพ ศิลปะจะเบ่งบาน” แต่มันเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือ ?

“doubt everything” ความสงสัยและการตั้งคำถามเป็นหัวใจสำคัญของการแสวงหาความรู้ เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและประตูสู่การทำความรู้จักกับตัวเองและดินแดนอื่น เพราะเราเชื่อว่า การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อสะท้อนย้อนคิดเกี่ยวกับตัวเองนั้นควรเป็นและเป็นไปได้

เกี่ยวกับผู้เขียน
เอกสุดา สิงห์ลำพอง เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ จากมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2559) มีภาระงานด้านการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับศิลปะตะวันตก อาทิ ศิลปะกรีกโบราณ ศิลปะโรมันโบราณ ศิลปะสมัยกลางในทวีปยุโรป ประติมานวิทยาในศิลปะตะวันตก และกระแสนิยมตะวันตกในศิลปกรรมไทย รวมถึงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ในรายวิชาศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศไทย หัวข้อวิจัยครอบคลุมประเด็นการสำรวจและวิเคราะห์กระบวนการทำให้กลายเป็นตะวันตกและวาทกรรมภาวะสมัยใหม่ โดยเฉพาะในด้านเพศภาวะ ความนิยมในด้านแฟชั่น การสะสมและความเชี่ยวชาญในงานศิลปะ ที่ผูกพันกับภาวะอาณานิคมและหลังอาณานิคมในวัฒนธรรมทางสายตาของสังคมไทยช่วงต้นสมัยใหม่ โดยมีผลงานวิจัยล่าสุด คือ “เครื่องเคราตะวันตก: อัตลักษณ์นำสมัยของชนชั้นนำไทยช่วงต้นสมัยใหม่” (กองทุนวิจัยและสร้างสรรค์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) และบทความ “แนวคิด “หญิงมาดใหม่” ในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ มองจากตะวันตกสู่สยามสมัยใหม่” (ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 43 ฉบับที่ 10 เดือนสิงหาคม 2565)