แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าห้องสมุดเปิดไม่ได้ แล้วทุกคนก็มีอินเทอร์เน็ต […] ลองถาม [Publishing As Artistic Practice] จำได้ว่าเขาเคยพูดถึงเรื่องบทบาทของห้องสมุด […] ฉันพูดถึงบทบาทในอดีตน่ะ ตอนยุค 70 ในอเมริกา ช่วงก่อนอินเทอร์เน็ตจะแพร่หลาย ความจริงพวกบรรณารักษ์ก็ตื่นตัวกันมากเหมือนกันในการพยายามที่จะทำให้ห้องสมุดทำงานได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนั้น ซึ่งห้องสมุดโดยทั่วไปใช้ระบบการจัดเก็บแบบดิวอี้ บรรณารักษ์หัวก้าวหน้าอย่าง เซเลเต้ เวสต์ (Celeste West) ในสมัยนั้นตั้งคำถามกับระบบการจัดเก็บที่มันไม่ช่วยให้เกิดจินตนาการ เลยได้ทดลองที่จะสร้างวิธีเข้าถึงหนังสือแบบอื่นๆ ทั้งทำแมกาซีนอย่าง Synergy Magazine คัดเลือกหนังสือในห้องสมุดที่มีในประเด็นร่วมสมัยตอนนั้นออกมานำเสนอ […] มันก็ยังไม่ได้ตอบคำถามที่ว่าทุกวันนี้ห้องสมุดยังมีประโยชน์รึเปล่า? […] ฉันคิดว่ายังมีประโยชน์ แต่บทบาทมันเปลี่ยนไป ฉันยังหวังว่าจะมีคนมาใช้เวลาที่นี่กันได้เหมือนเดิม […] ใช่ว่าเนื้อหาทุกอย่างจะหาได้จากอินเทอร์เน็ต […] ก็เป็นรูปแบบการเข้าถึงความรู้คนละแบบนั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตหรือหนังสือ […] ฉันสังเกตว่าคนที่มาที่ห้องสมุดเราอาจจะดูมากกว่าอ่าน เดินมากกว่านั่ง แถมมันไม่เคยเงียบเลยเพราะคนดูแลคอยเปิดเพลงและคนก็เดินเข้ามาคุยกันตลอดเวลา […] ฉันว่ามันก็ต่างจากห้องสมุดที่อื่นๆ อยู่นะ […] เราคิดว่าห้องสมุดเราทำหน้าที่เป็นพื้นที่ทางเลือกในการเข้าถึงความรู้ […] ทุกเล่มต่างพูดถึงประเด็นร่วมสมัยผ่านศิลปะวัฒนธรรมและความรู้ทางเลือก […] ใช่ เราสนใจวิธีการใหม่ๆ ในการเข้าถึงความรู้ ไม่ใช่ห้องสมุดในแบบดั้งเดิมอีกแล้ว […] เรารู้ว่าเด็กรุ่นใหม่ๆ มีมือถือที่จะเข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา แต่เราก็จะคงอยู่เพื่อสิ่งที่พวกเขาอาจจะหาไม่ได้จากในนั้น หรืออย่างน้อยได้ช่วยแนะนำทางเข้าในเรื่องต่างๆ ให้พวกเขาไปท่องในโลกอินเทอร์เน็ตต่อ […] อีกอย่างเรามองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา เราช่วยแบ่งปันในขณะที่เราก็รับฟังสิ่งที่พวกเขาอยากจะพูด และส่งต่อสิ่งที่เราต่างแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ […] หนังสือเป็นร่างทรง […] หน้า 21 ของเราบอกว่าครูเป็นร่างทรง [Letters: The Classroom is Burning, Let’s Dream About a School of Improper Education][…] ที่อินโดนีเซียนั้นแอคทีฟกันมากเรื่องที่พยายามจะเอาความคิดของการรวมกลุ่มกลับมาเพื่อที่จะทำลายระบบชนชั้นในสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคม […] ร่างทรง ภูติ ผี วิญญาณ เทพเจ้า ช่างแนบแน่นอยู่กับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซะจริง […] พูดเรื่องยากๆ ที่ไม่เข้ากันกับสีชมพูและฟอนท์บนปกเลยนะ […] (หัวเราะ) น่าจะเป็นความตั้งใจของนักออกแบบที่จะล่อลวงให้หยิบฉันขึ้นมาน่ะ […] แต่ชื่อเขาก็โหดอยู่ […]  เราว่ามันน่าสนใจที่กลับมาคิดถึงบทบาทของครูกันใหม่ สถานะของครูเกิดขึ้นได้โดยนักเรียน ครูไม่ควรถูกมองว่าเป็นแหล่งความรู้ แต่ควรถูกมองว่าเป็น ‘ร่างทรง’ เป็น ‘เสียงสะท้อน’ ในการส่งต่อความรู้ […] ในอินโดนีเซีย ระบบฟิวดัลที่มาจากการเข้าไปล่าอาณานิคมของคนดัชต์ทำให้เกิดลำดับชั้นในระบบการศึกษา จะมีแต่ชนชั้นสูงในอินโดนีเซียที่จะได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนของคนดัตช์ […] เราอยากจะนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่มีพิธีรีตรอง (improper) ที่ความจริงมันมีรากอยู่ในรูปแบบการเรียนการสอนในอดีตของพื้นที่อยู่แล้ว […] ระบบ pesantren คือระบบโรงเรียนประจำของคนอิสลามในอินโดนิเซีย เด็กๆ จะถูกพามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หรือที่เรียกว่า nyantrik เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา ศิลปะป้องกันตัว และการทำสมาธิ เป้าหมายคือการทำความเข้าใจอันกุระอ่านอย่างลึกซึ้ง แต่ที่น่าสนใจคือชื่อ pesantren มันมาจากรากศัพท์คำว่า santri ที่แปลว่านักเรียน pe-santri-an ก็เลยหมายถึงที่สำหรับนักเรียน […] นักเรียนเป็นศูนย์กลาง! […] แถมมันไม่มีเส้นแบ่งระหว่างชีวิตและการศึกษา […] ประวัติศาสตร์ของการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรูปแบบนี้เท่าไหร่เพราะมันถูกจำกัดด้วยรูปแบบการศึกษายุคโมเดิร์นในยุคล่าอาณานิคมที่เด็กๆ ต้องใส่ยูนิฟอร์มสะอาดสะอ้าน คุณครูต้องยืนอยู่หน้ากระดานดำ อธิบายส่ิงที่อยู่ในสารานุกรม ลงโทษเมื่อมีคนทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม วัดผลด้วยการสอบ […] ปกติแล้วโรงเรียนแบบนี้ในสมัยก่อนจะเก็บค่าเรียนถูกมาก และในรูปแบบดั้งเดิม นักเรียนต้องทำนาในนาของอาจารย์เพื่อแลกกับอาหาร ที่พักอาศัย และการศึกษา […] รูปนี้ทำให้เรานึกถึง สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการเรื่องประวัติศาสตร์ไทยที่เพิ่งจะเป็นไวรัลบน Tik-Tok เมื่อไม่นานมานี้ คนตัดวิดีโอช่วงที่เขาพูดถึงเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยที่เราเรียนกันมาทั้งหมดเป็นประวัติศาสตร์ราชวงศ์และสงคราม ไม่ใช่ประวัติศาสตร์สังคม ไม่มีเรื่องชาวบ้านอยู่ในนั้น […] หมายถึงรูป Pak Bagong เหรอ […] เขามักจะเริ่มต้นการบรรยายด้วยการบอกว่าเขาเป็นชาวบ้าน เป็นเจ๊ก และอาจจะหลุดใช้คำหยาบคาย (หัวเราะ) […] เขาชอบใส่เสื้อเชิ้ตตัวเดียวคลุมทับเสื้อกล้าม ไม่ติดกระดุม […] ถ้าได้เรียนประวัติศาสตร์จากเขาตั้งแต่เด็กน่าจะสนุก […] จะว่าไป นิโค โรบินก็ทำให้เราอยากเป็นนักโบราณคดีเหมือนกัน

แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าห้องสมุดเปิดไม่ได้ แล้วทุกคนก็มีอินเทอร์เน็ต […] ลองถาม [Publishing As Artistic Practice] จำได้ว่าเขาเคยพูดถึงเรื่องบทบาทของห้องสมุด […] ฉันพูดถึงบทบาทในอดีตน่ะ ตอนยุค 70 ในอเมริกา ช่วงก่อนอินเทอร์เน็ตจะแพร่หลาย ความจริงพวกบรรณารักษ์ก็ตื่นตัวกันมากเหมือนกันในการพยายามที่จะทำให้ห้องสมุดทำงานได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนั้น ซึ่งห้องสมุดโดยทั่วไปใช้ระบบการจัดเก็บแบบดิวอี้ บรรณารักษ์หัวก้าวหน้าอย่าง เซเลเต้ เวสต์ (Celeste West) ในสมัยนั้นตั้งคำถามกับระบบการจัดเก็บที่มันไม่ช่วยให้เกิดจินตนาการ เลยได้ทดลองที่จะสร้างวิธีเข้าถึงหนังสือแบบอื่นๆ ทั้งทำแมกาซีนอย่าง Synergy Magazine คัดเลือกหนังสือในห้องสมุดที่มีในประเด็นร่วมสมัยตอนนั้นออกมานำเสนอ […] มันก็ยังไม่ได้ตอบคำถามที่ว่าทุกวันนี้ห้องสมุดยังมีประโยชน์รึเปล่า? […] ฉันคิดว่ายังมีประโยชน์ แต่บทบาทมันเปลี่ยนไป ฉันยังหวังว่าจะมีคนมาใช้เวลาที่นี่กันได้เหมือนเดิม […] ใช่ว่าเนื้อหาทุกอย่างจะหาได้จากอินเทอร์เน็ต […] ก็เป็นรูปแบบการเข้าถึงความรู้คนละแบบนั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตหรือหนังสือ […] ฉันสังเกตว่าคนที่มาที่ห้องสมุดเราอาจจะดูมากกว่าอ่าน เดินมากกว่านั่ง แถมมันไม่เคยเงียบเลยเพราะคนดูแลคอยเปิดเพลงและคนก็เดินเข้ามาคุยกันตลอดเวลา […] ฉันว่ามันก็ต่างจากห้องสมุดที่อื่นๆ อยู่นะ […] เราคิดว่าห้องสมุดเราทำหน้าที่เป็นพื้นที่ทางเลือกในการเข้าถึงความรู้ […] ทุกเล่มต่างพูดถึงประเด็นร่วมสมัยผ่านศิลปะวัฒนธรรมและความรู้ทางเลือก […] ใช่ เราสนใจวิธีการใหม่ๆ ในการเข้าถึงความรู้ ไม่ใช่ห้องสมุดในแบบดั้งเดิมอีกแล้ว […] เรารู้ว่าเด็กรุ่นใหม่ๆ มีมือถือที่จะเข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา แต่เราก็จะคงอยู่เพื่อสิ่งที่พวกเขาอาจจะหาไม่ได้จากในนั้น หรืออย่างน้อยได้ช่วยแนะนำทางเข้าในเรื่องต่างๆ ให้พวกเขาไปท่องในโลกอินเทอร์เน็ตต่อ […] อีกอย่างเรามองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา เราช่วยแบ่งปันในขณะที่เราก็รับฟังสิ่งที่พวกเขาอยากจะพูด และส่งต่อสิ่งที่เราต่างแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ […] หนังสือเป็นร่างทรง […] หน้า 21 ของเราบอกว่าครูเป็นร่างทรง [Letters: The Classroom is Burning, Let’s Dream About a School of Improper Education][…] ที่อินโดนีเซียนั้นแอคทีฟกันมากเรื่องที่พยายามจะเอาความคิดของการรวมกลุ่มกลับมาเพื่อที่จะทำลายระบบชนชั้นในสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคม […] ร่างทรง ภูติ ผี วิญญาณ เทพเจ้า ช่างแนบแน่นอยู่กับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซะจริง […] พูดเรื่องยากๆ ที่ไม่เข้ากันกับสีชมพูและฟอนท์บนปกเลยนะ […] (หัวเราะ) น่าจะเป็นความตั้งใจของนักออกแบบที่จะล่อลวงให้หยิบฉันขึ้นมาน่ะ […] แต่ชื่อเขาก็โหดอยู่ […]  เราว่ามันน่าสนใจที่กลับมาคิดถึงบทบาทของครูกันใหม่ สถานะของครูเกิดขึ้นได้โดยนักเรียน ครูไม่ควรถูกมองว่าเป็นแหล่งความรู้ แต่ควรถูกมองว่าเป็น ‘ร่างทรง’ เป็น ‘เสียงสะท้อน’ ในการส่งต่อความรู้ […] ในอินโดนีเซีย ระบบฟิวดัลที่มาจากการเข้าไปล่าอาณานิคมของคนดัชต์ทำให้เกิดลำดับชั้นในระบบการศึกษา จะมีแต่ชนชั้นสูงในอินโดนีเซียที่จะได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนของคนดัตช์ […] เราอยากจะนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่มีพิธีรีตรอง (improper) ที่ความจริงมันมีรากอยู่ในรูปแบบการเรียนการสอนในอดีตของพื้นที่อยู่แล้ว […] ระบบ pesantren คือระบบโรงเรียนประจำของคนอิสลามในอินโดนิเซีย เด็กๆ จะถูกพามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หรือที่เรียกว่า nyantrik เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา ศิลปะป้องกันตัว และการทำสมาธิ เป้าหมายคือการทำความเข้าใจอันกุระอ่านอย่างลึกซึ้ง แต่ที่น่าสนใจคือชื่อ pesantren มันมาจากรากศัพท์คำว่า santri ที่แปลว่านักเรียน pe-santri-an ก็เลยหมายถึงที่สำหรับนักเรียน […] นักเรียนเป็นศูนย์กลาง! […] แถมมันไม่มีเส้นแบ่งระหว่างชีวิตและการศึกษา […] ประวัติศาสตร์ของการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรูปแบบนี้เท่าไหร่เพราะมันถูกจำกัดด้วยรูปแบบการศึกษายุคโมเดิร์นในยุคล่าอาณานิคมที่เด็กๆ ต้องใส่ยูนิฟอร์มสะอาดสะอ้าน คุณครูต้องยืนอยู่หน้ากระดานดำ อธิบายส่ิงที่อยู่ในสารานุกรม ลงโทษเมื่อมีคนทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม วัดผลด้วยการสอบ […] ปกติแล้วโรงเรียนแบบนี้ในสมัยก่อนจะเก็บค่าเรียนถูกมาก และในรูปแบบดั้งเดิม นักเรียนต้องทำนาในนาของอาจารย์เพื่อแลกกับอาหาร ที่พักอาศัย และการศึกษา […] รูปนี้ทำให้เรานึกถึง สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการเรื่องประวัติศาสตร์ไทยที่เพิ่งจะเป็นไวรัลบน Tik-Tok เมื่อไม่นานมานี้ คนตัดวิดีโอช่วงที่เขาพูดถึงเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยที่เราเรียนกันมาทั้งหมดเป็นประวัติศาสตร์ราชวงศ์และสงคราม ไม่ใช่ประวัติศาสตร์สังคม ไม่มีเรื่องชาวบ้านอยู่ในนั้น […] หมายถึงรูป Pak Bagong เหรอ […] เขามักจะเริ่มต้นการบรรยายด้วยการบอกว่าเขาเป็นชาวบ้าน เป็นเจ๊ก และอาจจะหลุดใช้คำหยาบคาย (หัวเราะ) […] เขาชอบใส่เสื้อเชิ้ตตัวเดียวคลุมทับเสื้อกล้าม ไม่ติดกระดุม […] ถ้าได้เรียนประวัติศาสตร์จากเขาตั้งแต่เด็กน่าจะสนุก […] จะว่าไป นิโค โรบินก็ทำให้เราอยากเป็นนักโบราณคดีเหมือนกัน

TRANSLATION

BACK TO TOP