Actually there were several colors: blue, pink, green, yellow [Room no.2] […] I submitted the pink one, but they didn’t approve because it was too close to red. They were afraid to be associated with the red light district […] So which color did you end up submitting? […] White […] (laughter) […] On the cover, there’s a nickname of the person that allowed me to enter and take pictures, but I didn’t insert any address in a way that people could search for. […] If you flipped past the first half, there were hints of pets, and fans and TV left on, because these were places that people actually live in […] Um, ok, but there is no one in any of the pictures […] Why did he make it black and white, and why did he edit the images this way? […] I understood it as he wanted us to look closely at the content, so he neutralized the contrast so that the image does not emphasize any place in particular […] The use of color made us look for something other than the content…at least from what I read on the theories of photography […] From the beginning, if you keep flipping through, you can see that there is only light from the neon lights, but once you get to the 54th picture “i like sunny day wardrobe,” then the next image starts to have natural light […] Liked the question that asked what does the editor of photography do…not a lot of people asked this […] Ble {Nontawat Numbenchapol} gave me a prompt to retell a story from the materials he already had from the shooting of a movie [In process of time | เมื่อหันมองย้อนไป | Soil Without Land] […] Is the way it tells a story completely different from a movie? […] Yes I went through all the images, and rearranged them with graphic designers. Aside from trying to tell a story, we also had to be aware of the techniques, like choosing to place color or black and white pictures according to plans by the designers […] I like that the writer placed this article in the constitution here with a picture of the atmosphere of the fully-attended movie screening. And then, it cuts to an image of an empty movie-screening site. […] Wanna take these to read? We should do a book exchange project {between the BOOKSHOP LIBRARY and Vacilando Bookshop} […] That would be great. Thank you so much. They are all so interesting [Photography’s Neoliberal Realism] Especially this one with an interesting name: Neoliberal Realism {written by Jörg Colberg who compares the pictures during the neoliberal era of the current capitalist world with Socialist Realism in the Soviet during the post-World War II era. I think Soviet art in that era emphasized the presentation of an image of an ideal human in the socialist world, and didn’t say much more than what it presented. Pictures under Neoliberal Realism are similar in that they didn’t say anything either. They are perfect and simple images that do not provoke any thoughts. For example, commercial photographs by Annie Leibovitz showed us the general and superficial values that actually are the terrifying characteristics of neoliberal reality often overlooked.[Migrant Mother, Migrant Gender]  [dynamics of the photobooks market] […] Actually I don’t know much about Shan state […] Just pieced things together recently after watching American Gangster on Netflix. The one where Denzel Washington made a deal to trade heroin with the general of the Goumindang troops, whose leader was General Li Mi. It was around the Thai-Myanmar border around the 70s. ((around the Golden Triangle area)) […] From what I looked into, there was a period when General Li Mi went to station his troops in the Shan State. […] The logo on the package of heroin in the movie reminded me of the logo Pisitakun used to make his tote bag [Tote Bag // Double Thamanan Brand 100% แป้ง] […] what about the flour? […] flour means heroin. There was a minister who was arrested in Australia for trading heroin, but he denied it and said that it was just a misunderstanding. What he was transporting was simply flour. 

ความจริงแล้วมีหลายสี ฟ้า ชมพู เขียว เหลือง [Room no.2] […] เราส่งสีชมพูไปแต่เขาไม่รับเพราะมันใกล้กับสีแดง กลัวจะโยงไปถึง red light district […] แล้วส่งสีอะไรไป […] สีขาว […] (หัวเราะ) […] บนปกเป็นชื่อเล่นของคนที่อนุญาตให้เข้าไปถ่ายภาพ แล้วก็ไม่ได้ใส่ที่อยู่ในแบบที่คนไปตามหาได้ […] ถ้าเปิดเลยครึ่งเล่มไปจะมีฮินท์ของสัตว์เลี้ยง พัดลม หรือทีวีที่เปิดทิ้งไว้ เพราะเป็นที่ที่มีคนอยู่จริงๆ […] อืมๆ ภาพมันไม่มีคนอยู่เลย […] ทำไมถึงทำให้เป็นสีขาวดำและแต่งภาพแบบนี้เหรอ […] เราเข้าใจว่าเขาต้องการให้มองไปที่เนื้อหา และคุมให้ภาพเป็นกลางๆ ไม่คอนทราสต์เพื่อที่จะไม่ได้เน้นหรือเลือกที่จะให้เพ่งดูที่จุดไหนเป็นพิเศษ […] การใช้สีมันทำให้เรามองเห็นอย่างอื่นมากกว่าเนื้อหา เท่าที่เคยอ่านเกี่ยวกับทฤษฎีภาพถ่ายมาน่ะ […] จากตอนเริ่มถ้าเปิดไปเรื่อยๆ จะสังเกตเห็นว่ามีแต่แสงจากหลอดไฟ แต่พอถึงภาพที่ 54 i like sunny day wardrobe ภาพถัดไปถึงมีแสงธรรมชาติเข้ามา […] มีเรื่องการเมืองแทรกด้วยคือรูปเสื้อทีมฟุตบอลของเด็ก ภาพของราชวงศ์ ถุงพระราชทาน นักการเมือง อะไรพวกนี้ […] ชอบคำถามนะ ที่ถามว่าบรรณาธิการภาพทำหน้าที่อะไร ไม่ค่อยมีคนมาถามเรื่องนี้ […] เบิ้ลให้โจทย์เราเล่าเรื่องขึ้นมาใหม่จากวัตถุดิบที่เขามีอยู่จากการถ่ายทำภาพยนตร์ [In process of time | เมื่อหันมองย้อนไป | Soil Without Land] […] มันเล่าในแบบที่ต่างจากหนังเลยใช่มั้ยคะพี่ […] ใช่ เราเอาภาพมานั่งไล่ดูทั้งหมด และจัดการมันใหม่ โดยทำงานร่วมกับนักออกแบบกราฟิก ซึ่งนอกจากการพยายามเล่าเรื่องแล้ว ก็ต้องดูเรื่องเชิงเทคนิคด้วย การวางภาพสีหรือขาวดำให้ลงตามยกที่นักออกแบบวางแผนไว้ […] ชอบที่เอาข้อนี้ในรัฐธรรมนูญเข้ามาไว้ตรงนี้ กับภาพของบรรยากาศการฉายหนังจากที่มีคนเต็มพื้นที่ แล้วก็ตัดเป็นภาพว่างเปล่า […] เอาพวกนี้ไปอ่านมั้ย เราน่าจะทำโปรเจกต์แลกหนังสือกัน […] ดีเลยพี่ ขอบคุณมาก น่าสนใจทั้งนั้นเลย [Photography’s Neoliberal Realism] โดยเฉพาะเล่มนี้ ชื่อมันน่าสนใจดีนะคะ Neoliberal Realism {เขียนโดย ยอร์ก โคลแบร์ก (Jörg Colberg) เปรียบเทียบภาพถ่ายในยุคเสรีนิยมใหม่ของโลกทุนนิยมปัจจุบันกับภาพถ่าย Socialist Realism ของโซเวียตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าใจว่าศิลปะโซเวียตในยุคนั้นเน้นการนำเสนอภาพของมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบในโลกสังคมนิยม ที่ไม่ได้พูดถึงอะไรมากไปกว่าสิ่งที่นำเสนอ ส่วนภาพภายใต้ Neoliberal Realism คล้ายกันตรงที่มันก็ไม่ได้บอกอะไรเช่นกัน เป็นภาพสมบูรณ์แบบที่เรียบง่ายไม่ได้ชวนคิดต่อ เช่นงานภาพถ่ายโฆษณาของแอนนี ลีเบอวิตซ์ (Annie Leibovitz) ที่สะท้อนค่านิยมปลอมเปลือกทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่น่ากลัวของความจริงแบบเสรีนิยมใหม่ ที่คนอาจมองข้ามไปได้ง่ายๆ} [Migrant Mother, Migrant Gender]  [dynamics of the photobooks market] […] ความจริงไม่ได้รู้จักเกี่ยวกับรัฐฉานมากเท่าไหร่ […] เพิ่งเริ่มที่จะปะติดปะต่อเมื่อไม่นานมานี้หลังจากดู American Gangster ใน Netflix ที่เดนเซล วอชิงตัน ไปดีลซื้อเฮโรอีนกับผู้นำกองทัพก๊กมินตั๋งที่มีนายพลหลีหมี่เป็นผู้นำ ตั้งอยู่แถบชายแดนไทยพม่า ราวๆ ยุค 70 ((บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ)) […] ไปอ่านมาเพิ่มเติมมันมีช่วงที่นายพลหลีหมี่ไปตั้งทัพอยู่บริเวณรัฐฉานด้วย […] เห็นโลโก้ซองเฮโรอีนในหนังแล้วจำได้ว่าเป็นโลโก้ที่พี่เดื่องเอามาทำกระเป๋าแป้ง [Tote Bag // Double Thamanan Brand 100% แป้ง] […] แป้งมันทำไมเหรอ […] แป้งเป็นคำเรียกเฮโรอีนน่ะ มีรัฐมนตรีที่เคยถูกจับที่ออสเตรเลียจากคดีค้าเฮโรอีน แต่เขาออกมาปฏิเสธว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่เขาขนไปคือแป้ง

TRANSLATION

BACK TO TOP