ISSUE 04

PUBLISHING THE PUBLIC(ATION): WHAT IT MEANS TO MAKE SOMETHING PUBLIC

POSTED ON 08.08.2020


IN CONVERSATION—

HONEY KRAIWEE

YIN YIN WONG

 

AMY SUO WU

CLARA BALAGUER

EN

 | 

TH

  

The word ‘publication’ implies its relation to ‘public’. Looking at the act of making something public, we also see distribution and circulation of knowledge to be accessible by anyone. It makes us see a publication as a tool for social and political practices that can be used to forward significant issues that could motivate our society.

‘Publishing’ a ‘publication’ with this notion in mind, it’s a democratization. The content doesn’t need to be controlled by the printer or institution or even the outcome of publishing doesn’t have to be a printed publication. Posting on Facebook, organizing workshops, or teaching could be a publication as long as something is distributed and circulated.

Rotterdam is an active city in contemporary art and the publishing scene is well-received by the community. It’s the destination of an artist, curator, designer, including Honey Kraiwee, a Thai curator who is now based in Rotterdam. For this issue, she visited Publication Studio of Yin Yin Wong, director of Publication Studio Rotterdam, met up with Amy Suo Wu, an artist and designer who is currently a graduation supervisor at Experimental Publishing (XPUB) course at the Piet Zwart Institute. Clara Balaguer, Amy’s colleague at the XPUB, joined them over the phone to discuss what a ‘publication’ is. Having a conversation in the backyard of Publication Studio, they talked about the concept of publication and publishing, what it means to make something public, what the idea behind the print-on-demand model of Publication Studio is, technologies involved in making publications and how it is used in an artistic means to make publications, what public they seek and the future of publication in ten years. We also had Liu Chao-tze, our friend from FOTOBOOK DUMMIES DAY who is currently based in Rotterdam to take photos of this conversation.

คำว่า ‘สิ่งพิมพ์’ ในภาษาอังกฤษ (publication) มีนัยยะสื่อถึงความสัมพันธ์กับสาธารณชน (public) เมื่อมองไปยังการทำให้บางสิ่งบางอย่างเป็นสาธารณะ เรายังเห็นถึงการแจกจ่ายและการหมุนเวียนเผยแพร่ความรู้ให้ทุกคนเข้าถึงได้ มันยังทำให้เราเห็นสิ่งพิมพ์ในฐานะเครื่องมือปฏิบัติการทางสังคมและการเมือง ที่นำไปใช้ส่งต่อประเด็นที่จะผลักดันสังคมของเราไปข้างหน้าได้

การตีพิมพ์ สิ่งที่เรียกว่า สิ่งพิมพ์’ (‘Publishing’ a ‘publication’) บนแนวคิดนี้ นับเป็นการทำให้เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อเนื้อหาของการตีพิมพ์ไม่ถูกควบคุมโดยผู้พิมพ์หรือสถาบัน กระทั่งผลสำเร็จของการตีพิมพ์ก็ไม่ได้จำเป็นต้องออกมาในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ การโพสต์บนเฟซบุ๊ค การจัดเวิร์กชอป หรือการเรียนการสอนก็ตาม ก็อาจนับว่าเป็นสิ่งพิมพ์ได้ ตราบที่อะไรบางอย่างได้รับการแจกจ่ายและหมุนเวียน

รตเตอร์ดัม เป็นเมืองที่มีความตื่นตัวในด้านศิลปะร่วมสมัย และชุมชนก็ขานรับกับแวดวงสิ่งพิมพ์เป็นอย่างดี เมืองเป็นจุดหมายของศิลปิน คิวเรเตอร์ นักออกแบบจากหลากหลายพื้นที่ ซึ่งรวมถึงฮันนี่ ไกรวีร์ คิวเรเตอร์ชาวไทยที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่รตเตอร์ดัม สำหรับบทสนทนาในครั้งนี้ เธอไปเยี่ยมสตูดิโอของหยิน หยิน หว่อง ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ Publication Studio สาขารตเตอร์ดัม เจอกับ เอมี่ โซ วู ที่ปรึกษาโปรเจกต์จบการศึกษาของหลักสูตร Experimental Publishing (XPUB) จากสถาบัน Piet Zwart Institute และคุยทางโทรศัพท์กับคลาร่า บาลาแกร์ เพื่อนร่วมงานของเอมี่ที่ XPUB  การคุยกันในสวนหลังสำนักพิมพ์ Publication Studio ของทั้งสี่คน เป็นการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ทั้งแนวคิดของสิ่งพิมพ์และการตีพิมพ์ ความหมายของการทำให้บางสิ่งบางอย่างเป็นสาธารณะ แนวคิดเบื้องหลังโมเดลการพิมพ์แบบตามสั่ง (the print-on-demand model) ของสำนักพิมพ์ Publication Studio เรื่องว่าเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการทำสิ่งพิมพ์อย่างไร และมันถูกใช้ในเชิงศิลปะในการทำสิ่งพิมพ์อย่างไร  สาธารณชนแบบไหนที่พวกเขามองหาที่จะช่วยสนับสนุนการตีพิมพ์และสิ่งพิมพ์ รวมถึงอนาคตของสิ่งพิมพ์ในอีกสิบปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ เราได้เชิญหลิว จ้าวฉือ เพื่อนศิลปินจากกลุ่ม FOTOBOOK DUMMIES DAY ที่ปัจจุบันก็อยู่ที่รตเตอร์ดัม มาช่วยถ่ายภาพบรรยากาศการสนทนาครั้งนี้ด้วย



Honey Kraiwee (Honey)
— What is the concept and idea of publishing and a publication? What do we consider a publication? What do publishing and a publication mean today?

 

Yin Yin Wong (Yin Yin) — Matthew Stadler, an American writer who initiated Publication Studio in Portland, Oregon (with Patricia No) said that one of the core premises of a publication is the social life of it. A publication is a catalyst for a gathering of humans, understanding of each other and making something public. A publication is also a space to welcome humans as equal. A publication is a medium for people to converse with one another. A connecting force for debates and conversations.

Publication is different from a book because it involves a public. To make something public means engaging one or more people. Therefore, publication is a social tool. Publication is a concept. It is different from an object, an archive or a document.

Publishing is mobilization and facilitation of publication.



ฮันนี่ ไกรวีร์ (ฮันนี่) —
คอนเซ็ปต์ แนวความคิดของการตีพิมพ์ (Publishing) และสิ่งพิมพ์ (Publication) ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง เป็นยังไงบ้าง หมายถึงอะไรในปัจจุบัน?

 

หยิน หยิน หว่อง (หยิน หยิน)แมทธิว สแตทเลอร์ นักเขียนชาวอเมริกันผู้ก่อตั้ง Publication Studio ที่เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน (ร่วมกับแพทริเซีย โน) ได้กล่าวไว้ว่า พื้นฐานหลักของสิ่งพิมพ์ คือการที่มันมีชีวิตอยู่เพื่อสังคม สิ่งพิมพ์เล่มหนึ่งเป็นเหมือนตัวกระตุ้นการรวม
ตัวกันของมนุษย์ การเข้าใจกันและกัน และการทำให้อะไรบางอย่างกลายเป็นสาธารณะ มันเป็นสถานที่ที่ต้อนรับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เป็นสื่อที่ทำให้คนมาพูดคุยกัน เป็นเหมือนแรงเชื่อมให้เกิดการถกเถียงและเกิดบทสนทนา

สิ่งพิมพ์ต่างจากหนังสือตรงที่ว่าสิ่งพิมพ์เอาสาธารณชนเข้าไปในกระบวนการคิดด้วย การทำให้อะไรบางอย่างเป็นสาธารณะ หมายถึงการเชื่อมสัมพันธ์ของคนหนึ่งคนหรือมากกว่าหนึ่งคนไว้ด้วยกัน ดังนั้น สิ่งพิมพ์เป็นเครื่องมือทางสังคม เป็นแนวความคิด ต่างจากวัตถุ จดหมายเหตุ หรือเอกสาร 

ส่วนการตีพิมพ์ ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยให้สิ่งพิมพ์เคลื่อนย้ายไปได้ง่ายขึ้น



Honey —
How does Publication Studio work?

 

Yin Yin — Publication Studio works in a non-traditional way. It is a print-on-demand process. That means the bar for something to be published is really low, making it more accessible for an invisible group of people. Publication Studio works intimately with local authors and focuses on undiscovered creative minds from diverse range of interests. The distribution is through network, so authors can reach more diverse, underground and local audiences that are hard to reach through conventional publishing practices.



ฮันนี่ —
Publication Studio ทำงานยังไง?

 

หยิน หยิน — Publication Studio ทำงานแบบแหวกแนว เพราะเราใช้วิธีพิมพ์ตามสั่ง เราตั้งเกณฑ์การผลิตไว้ต่ำมากๆ เพื่อให้คนหลากหลายกลุ่มสามารถพิมพ์งานได้ Publication Studio ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักเขียนในท้องถิ่นและสนใจทำงานกับครีเอทีฟหน้าใหม่ๆ จากหลากหลายแขนง และความสนใจ เรากระจายงานไปตามเครือข่ายเพื่อให้นักเขียนสามารถเข้าถึงคนจากหลากหลายกลุ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใต้ดิน และหรือนักอ่านท้องถิ่น ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการตีพิมพ์ในรูปแบบเดิม



Honey — How is it non-traditional?


Yin Yin — The traditional publication is heavily embedded in institutions. Only established and in-the-network artists get their works published and mostly sold to the art and publication community.



ฮันนี่ —
แล้วมันแหวกแนวยังไง?


หยิน หยิน —
สิ่งพิมพ์ทั่วไปมักจะติดอยู่ในกรอบของสถาบัน หรือหน่วยงาน มีแต่ศิลปินที่ดังแล้วหรือรู้จักคนวงในเท่านั้นที่มักจะได้ตีพิมพ์งานของตัวเอง และมักจะขายอยู่แต่ในวงศิลปะกับวงการสิ่งพิมพ์กันเอง


Honey —
What are the concepts behind Experimental Publishing (XPUB) course and how is it experimental?

 

Amy Suo Wu (Amy) — I don’t want to speak on behalf of XPUB, since I’m not teaching per se but a graduation supervisor. But to give some context, i’m an alumni of the course, however when I studied there it was called Networked Media, a course that focused on exploring networked technologies as sites for critical intervention, artistic research and political engagement. XPUB still very much carries forth this spirit however with a focus on the idea of making public in the age of post-digital networks. More specifically the course explores two main points. The first looks at publishing as the inquiry and participation into the technological frameworks, political context and cultural processes through which things are made public; and second, how these are, or can be, used to create publics.


ฮันนี่ — หลักสูตร Expertimental Publishing (XPUB) มีแนวคิดอะไร และเป็นการทดลองยังไง?

 

เอมี่ โซ วู (เอมี่) — ฉันไม่อยากที่จะพูดแทน XPUB เพราะฉันไม่ได้เป็นอาจารย์ แต่เป็นที่ปรึกษาโปรเจกต์จบการศึกษา จริงๆ แล้วฉันเป็นศิษย์เก่าของสาขาวิชานี้ เมื่อตอนที่ฉันเรียนอยู่หลักสูตรนี้ชื่อว่า Network Media ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งไปที่การศึกษาเทคโนโลยีในการสร้างเครือข่าย ในฐานะที่เป็นพื้นที่สำหรับการวิพากษ์ วิจัยเชิงศิลปะ และการเข้าร่วมทางการเมือง XPUB ยังคงยึดถือจิตวิญญาณของหลักสูตรนี้ เพียงแต่มุ่งไปที่แนวคิดของการทำให้เป็นสาธารณะในยุคเครือข่ายที่เรียกว่าโพสต์ดิจิทัล (post-digital) ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรนี้เน้นไปที่การศึกษาประเด็นหลักๆ อยู่สองประเด็น อย่างแรกคือมองไปที่การตีพิมพ์ในแง่ของการได้มาและการเข้าร่วมในขอบเขตเทคโนโลยี บริบทการเมือง และกระบวนการทางวัฒนธรรม ผ่านการทำให้สิ่งของกลายเป็นสาธารณะ อย่างที่สองคือสิ่งที่กล่าวไปนั้นเป็นหรือสามารถที่จะเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการสร้างสาธารณชนได้ยังไง



Honey —
Publication for XPUB?

 

Amy — XPUB approaches publishing from the perspective of multidisciplinary, interdisciplinary and transdisciplinary practices, in order to explore a broad range of methods and workflows, as well as inventing new ones. XPUB understands reading, writing, prototyping and documentation as core principles for critical design and artistic research. A publication, in this line of thinking, encapsulates these acts and therefore may manifest in multiple and hybrid forms. 

For me personally as an artist and designer, publication broadly means interacting and making something public. If we start from understanding publication as a way of making work visible to the audience, it can be anything from paper, bounded books, to performance, QR codes, wearable patches or even laundry.



ฮันนี่ —
สิ่งพิมพ์ของ XPUB เป็นยังไง?


เอมี่ — 
XPUB มีวิธีคิดเกี่ยวกับการตีพิมพ์จากมุมมองที่รวมเอาหลายวิทยาการมาไว้ด้วยกัน เป็นสหวิทยาการ และมีการแลกเปลี่ยนวิทยาการ เพื่อที่จะศึกษาวิธีการและขั้นตอนการทำงาน แบบกว้างๆ รวมไปถึงการคิดค้นวิธีการใหม่ XPUB เข้าใจการอ่าน การเขียน การทำแบบจำลอง และการบันทึก เป็นแกนหลักในการออกแบบเชิงวิพากษ์ และการทำวิจัยเชิงศิลปะ สิ่งพิมพ์ในเส้นทางความคิดนี้ สรุปเอาการกระทำเหล่านี้มาไว้ด้วยกัน ดังนั้นมันจึงอาจจะทำให้สิ่งพิมพ์ออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย และมีความเป็นลูกผสม

โดยส่วนตัวแล้วในฐานะที่เป็นศิลปินและนักออกแบบ สิ่งพิมพ์แปลแบบกว้างๆ คือการปฏิสัมพันธ์และทำให้เป็นสาธารณะ ถ้าเราเริ่มจากเข้าใจว่าสิ่งพิมพ์เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปเห็นงานเราได้ สิ่งพิมพ์ก็สามารถเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่หนังสือที่พิมพ์ออกมาเป็นเล่ม การแสดง คิวอาร์โค้ด ที่ปะผ้าที่สวมใส่ได้ หรือแม้กระทั่งการตากผ้า


Honey —
Posting a text on my Facebook, is it a publication?

 

Amy — Perhaps not a publication, but definitely publishing. Writing and posting on Facebook not only makes something public, but possibly creates public. The interaction with a public is crucial in the understanding of publication. A public doesn’t have to be this indiscriminate anonymous crowd, but can be a specific public such as your local neighbourhood community, school union, work, subculture, environment, family, etc.


ฮันนี่ —
ถ้าอย่างนั้น การโพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คก็ถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ใช่มั้ย?

 

เอมี่ — อาจจะไม่ได้เรียกว่าเป็นสิ่งพิมพ์ แต่แน่นอนว่าเป็นการตีพิมพ์ การเขียนและการโพสต์ลงเฟซบุ๊ค ไม่ได้เป็นการทำให้บางอย่างเป็นสาธารณะเพียงอย่างเดียว แต่เป็นไปได้ว่ามันสร้างสาธารณชนด้วย การปฏิสัมพันธ์กับสาธารณชนเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำความเข้าใจสิ่งพิมพ์ สาธารณชนไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มชนไร้ตัวตน แต่เป็นกลุ่มคนจำเพาะอย่างเช่นเพื่อนบ้านในชุมชน คนท้อนถิ่น กลุ่มคนที่โรงเรียน



Honey —
Can a workshop be a publication?


Yin Yin —
Yes, it can. Circulation is important. A workshop must circulate knowledge that was produced during the workshop. A publication must have an effect on the world and to the society that we live in. Otherwise, it would be the same as hanging a poster on your wall but nobody sees it.



ฮันนี่ —
ถ้าอย่างนั้นสิ่งพิมพ์เป็นเวิร์กชอปได้มั้ย?


หยิน หยิน —
ได้ การทำให้แพร่หลายเป็นสิ่งสำคัญ เวิร์กชอปต้องเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการทำเวิร์กชอปถึงจะถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ได้ สิ่งพิมพ์ต้องมีผลต่อโลกหรือสังคมที่เราอาศัยอยู่ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นมันก็เหมือนเราแขวนโปสเตอร์ไว้บนผนังห้องแต่ไม่มีใครเห็น



Honey —
How is a publication different from an art object in a museum?


Yin Yin — Publication must be democratic. It’s another form of dispersing ideas. An art object in a museum invites you to look at but it is still limited in an institutional confinement.



ฮันนี่ —
สิ่งพิมพ์ต่างจากงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์อย่างไร?


หยิน หยิน — สิ่งพิมพ์เป็นการกระจายความคิดรูปแบบหนึ่ง จึงต้องเป็นประชาธิปไตย มีความเสมอภาคของสังคม ความเสรี ในขณะที่งานศิลปะในพิพิธภัณฑ์เชิญชวนให้คุณมองมัน แต่ว่ายังตกอยู่ในข้อจำกัดของสถาบัน



Honey —
What about artists’ books?


Yin Yin — Artists’ books is an iteration of the work that you’re making as an artist. The book itself is a piece of art but it can move and exist outside the opening time and and spatial confinement of the museum.

Publication Studio is about democratization of a book that doesn’t only travel to art book scenes or fairs. Contradictory, we still work mainly on artist books and are quite embedded in that scene. So, at the moment we’re still working to expand our content. In recent years we’ve published poetry, literature and non-fiction as well as artist books.



ฮันนี่ —
แล้วหนังสือศิลปิน (artists’ books) ล่ะ?


หยิน หยิน —
 หนังสือศิลปิน (artists’ books) เป็นการทำงานของคุณในฐานะศิลปินซ้ำอีกทีหนึ่ง ตัวหนังสือเองนับว่าเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่ง แต่ว่ามันสามารถเคลื่อนไหวและอยู่นอกเหนือระบบอำนาจหรือนอกเหนือเวลาเปิดปิดของแกลเลอรี่ได้ แต่ก็ยังมีหนังสือศิลปินที่ยังอยู่ภายใต้กรอบโครงสร้างของสถาบัน

Publication Studio คือการทำให้หนังสือมีอธิปไตยของตัวเอง และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่ในวงศิลปะหรือเทศกาลหนังสือเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน เราก็ยังคงทำงานอยู่ในวงหนังสือศิลปินเป็นหลัก และค่อนข้างฝังตัวเองอยู่ในแวดวงนี้ ซึ่งตอนนี้เราก็ยังคงพยายามที่จะขยายขอบเขตของเนื้อหาออกไปอยู่



Honey —
Must there be a text?


Yin Yin — The tax authorities of the Netherlands charge 9% for a book and 21% for a notebook. So, according to them for something to be considered a book, it must contain text. Therefore, yes! Text! (laughter)



ฮันนี่ —
แล้วยังต้องมีตัวหนังสืออยู่มั้ย?


หยิน หยิน — เพราะว่าสรรพากรของเนเธอร์แลนด์คิดภาษีหนังสือ 9 เปอร์เซ็นต์ และ 21 เปอร์เซ็นต์สำหรับสมุดโน๊ต และเกณฑ์ที่จะวัดว่าสิ่งนี้เป็นหนังสือได้ คือการมีตัวหนังสือ ดังนั้นต้องมีตัวหนังสือ! (หัวเราะ)


Amy —
Not per se; images and sound can be read like text.


Yin Yin —
By the way, although the government thinks the text is necessary, I don’t think it is necessary.  Publication Studio has been experimenting with publication in different forms such as an exhibition. When we had an exhibition at Showroom MAMA in Rotterdam, we asked; Can publishing be an exhibition? What does that mean?


เอมี่ —
ก็ไม่เชิง เสียงก็สามารถอ่านได้เสมือนเป็นตัวหนังสือ


หยิน หยิน —
จริงๆ แล้ว ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมองว่าตัวหนังสือจำเป็น แต่ฉันไม่คิดว่าจำเป็นนะ 
Publication Studio ได้ทำงานเชิงทดลองกับสิ่งพิมพ์มาหลายรูปแบบ อย่างการมองว่าสิ่งพิมพ์เป็นนิทรรศการ ตอนที่เราจัดนิทรรศการที่ Showroom MAMA ที่รตเตอร์ดัม เราตั้งคำถามว่า สิ่งพิมพ์เป็นนิทรรศการได้มั้ย แล้วถ้าได้ มันหมายความว่าอะไร



Honey —
Do you consider how you’re going to present a publication to the public?


Yin Yin —
The art book fair is a strange endeavor for us  because we have to print books beforehand, travel to the other end of the world to bring them to the fair and hope that you’ll sell. In 2019, Publication Studio Rotterdam was invited to participate in an art book fair in Australia. This means travelling to the other side of the world. Bringing all the books would be very heavy and very expensive to transport by the plane. 

So we invented a project called PUBLICATION STUDIO PORTABLE, together with Elaine Wing-Ah Ho from Publication Pearl River Delta, Hong Kong– which was a luggage trolley  in which we tucked a whole publication studio in. It included a printer, a glue gun and a cutter and weighed exactly 23 kilos, fitting the limit of international flights, to print and bind books at the fair. We demonstrated how we print on demand. We were there without bringing any books to the art book fair. The first thing we printed was the manual, the blueprint of the machine. There was definitely a performative aspect to it.



ฮันนี่ —
คุณคิดด้วยมั้ยว่าจะแสดงงานกับสาธารณชนยังไง?


หยิน หยิน —
เทศกาลหนังสือศิลปะทำให้ฉันรู้สึกแปลกๆ เพราะว่าเราต้องพิมพ์หนังสือไปล่วงหน้า เดินทางไปอีกซีกโลกหนึ่ง แล้วก็ขนหนังสือที่พิมพ์ไปหวังว่าจะขายได้ เมื่อปี 2562 Publication Studio รตเตอร์ดัมได้รับเชิญให้ไปร่วมงานหนังสือที่ออสเตรเลีย นั่นหมายถึง การขนหนังสือหนักๆ บินข้ามไปอีกฝากหนึ่งของโลกซึ่งแพงมาก

เราเลยทำโปรเจกต์ PUBLICATION STUDIO PORTABLE ร่วมกับ อีเลน วิง-อา โฮ จาก Publication Studio สาขา Pearl River Delta จากฮ่องกง โดยเราพับทั้งสตูดิโอเข้าไปในกระเป๋าเดินทางล้อลาก ในนั้นมีเครื่องพิมพ์ ปืนกาว และที่ตัดกระดาษ ซึ่งหนัก 23 กิโลกรัม พอดีกับน้ำหนักมาตรฐานของการบินนานาชาติ ไปพิมพ์ และเข้าเล่มที่งานหนังสือ เราแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานดูว่าเราพิมพ์งานตามสั่งยังไง เราเข้าร่วมงานหนังสือโดยไม่เอาหนังสือไปเลยซักเล่ม สิ่งแรกที่เราพิมพ์คือคู่มือ ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวของเครื่องพิมพ์ งานนี้แน่นอนว่าสิ่งพิมพ์มีคุณลักษณะของการแสดงสด



Honey —
How does Publication Studio Rotterdam collaborate with other Publication Studios?


Yin Yin —
Anyone can start a publication studio as long as you agree to distribute other publication studios’ works. There’s no mothership. Publication Studio Rotterdam works independently. It’s just like a group of people from different parts of the world trying to disperse information. We help each other also on technical parts. We are just some folks trying to get some texts and things around. And expand our reach. It’s very social. Each studio has its own input. Publication Studio Rotterdam is interested particularly in visual art, poetry and queer culture.



ฮันนี่ —
แล้ว Publication Studio Rotterdam ทำงานร่วมกับ Publication Studio สาขาอื่น ยังไง?


หยิน หยิน — ใครจะตั้ง Publication Studio ของตัวเองก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องกระจายงานของ Publication Studio สาขาอื่นด้วย ไม่มี Publication Studio ที่เป็นบริษัทแม่ สาขารตเตอร์ดัมเองมีอิสระในการทำงาน จริงๆ แล้วมันก็เป็นแค่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่พยายามกระจายข้อมูลจากหลากหลายมุมโลก เราช่วยกันในเรื่องเทคนิคด้วย เหมือนสมาชิกในครอบครัวที่พยายามเอาตัวหนังสือหรืออะไรบางอย่างกระจายออกไป และขยายขอบเขตการเข้าถึงไปเรื่อยๆ มันเป็นงานเชิงสังคมมาก แต่ละสตูดิโอมีจุดเด่นของตัวเอง อย่าง Publication Studio รตเตอร์ดัมสนใจศิลปะ บทกวี และวัฒนธรรมเควียร์


Honey —
Why does XPUB choose to emphasise ‘the act of making’?


Amy — I don’t know.


ฮันนี่ — ทำไม XPUB ถึงเลือกเน้นย้ำ ‘การกระทำ’ (the act of making)?


เอมี่ — ฉันก็ไม่รู้


Yin Yin —
Using the technology is the act of making, right? To hack is also a political act to circumvent normality.


Amy — 
Thank you Yin Yin! I just blanked out. Publishing as a political act is definitely what the course and I, as an artist, think about. For XPUB, it is not only the act of making, but the act of making public as well as the act of creating public. What this means to me is making certain knowledges (i mean this in the plural sense and not as a monolithic scientific entity) visible for certain groups. 

I’m personally interested in what voices we have? What does it mean to speak out?




หยิน หยิน —
การใช้เทคโนโลยีก็เป็นการกระทำใช่มั้ย? การแฮ็กก็ถือเป็นการกระทำเชิงการเมืองเพราะว่าเป็นการหลีกเลี่ยงระบอบปกติ


เอมี่ — 
ขอบคุณนะ หยิน หยิน ฉันนึกไม่ออกตอนแรก การตีพิมพ์ในแง่ของการแสดงออกทางการเมืองเป็นอะไรที่ทั้งคอร์สและตัวฉันเองในฐานะศิลปินให้ความสำคัญ สำหรับ XPUB แล้วมันไม่ใช่แค่สนใจในการกระทำ แต่สนใจการกระทำให้เป็นสาธารณะ และการสร้างสาธารณชน สิ่งเหล่านี้มีความหมายสำหรับฉันในแง่ที่มันเป็นการสร้างความรู้ทั้งตามตำราและนอกตำรา (ฉันหมายถึงความรู้ที่มาจากหลายทาง ไม่เพียงแต่ความรู้ทีได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์อย่างเดียว)

ส่วนตัวแล้วฉันสนใจว่าเรามีสิทธิ์มีเสียงอะไรได้บ้าง แล้วถ้าเราพูดให้ดังออกไปแล้วจะเป็นยังไง


Amy — 
Especially from a female and Asian perspective, making public for me is about voice and visibility This resonates with me personally because as someone who grew up with Chinese parents, silence was a cultural expectation within the sphere of the home, social life but also the country from which they were from. So for me to publish has this urgency to speak and break the silence.


Yin Yin —
when you say silence in Asian culture makes me understand why I’m so loud!


เอมี่ —
โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้หญิงเอเชีย การทำอะไรบางอย่างให้เป็นสาธารณะสำหรับฉันเกี่ยวกับการมีปากมีเสียงในสังคมและการถูกมองเห็น สิ่งนี้สะท้อนตัวฉันเป็นการส่วนตัว เพราะในฐานะที่เติบโตมากับครอบครัวชาวจีน การไม่มีปากเสียงเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังในเชิงวัฒนธรรม ไม่เพียงแต่ภายในครอบครัว การใช้ชีวิตในสังคม แต่รวมไปถึงในระดับประเทศ ดังนั้นสำหรับฉันแล้ว การตีพิมพ์มีความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะช่วยผลักดันการมีปากเสียงและทลายความเงียบ


หยิน หยิน —
ตอนเธอพูดถึงการสงบปากสงบคำในสังคมเอเชียทำให้ฉันเข้าใจว่าทำไมฉันถึงเป็นคนชอบโต้เถียง!



Honey —
Can publishing be taught?


Amy —
In a way, teaching is publishing because it is circulating. Moreover, I write my course material, make it visible by way of engaging with my students. And in this way, my students can be considered my public or community of people whom I dialogue with. Within this space, knowledges are exchanged, cultivated and absorbed. Perhaps I’m extending the meanings of publication and publishing, but that’s what I like.

As a supervisor at XPUB, Clara and I call ourselves Book Midwives. Clara mainly works with students on editorial aspects; production of content, making tables of content, determining number of images or amount of pages and words. Clara also collaborated with Publication Studio Rotterdam to print out graduation catalogues. I work on the curatorial aspect of the publication; making the content public, producing a show, and guiding how to communicate the concept with the public. I’m not playing a curator, I don’t have a curatorial background. I just facilitate students to co-curate their own works.



ฮันนี่ —
การตีพิมพ์สอนได้มั้ย?


เอมี่ —
จริงๆ แล้วการสอนก็ถือว่าเป็นการตีพิมพ์นะ เพราะว่ามันเป็นการเผยแพร่  ยิ่งไปกว่านั้น ฉันเขียนเนื้อหาสำหรับหลักสูตร และทำให้มันถูกมองเห็นด้วยการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน ในแนวทางนี้ นักเรียนของฉันนับว่าเป็นสาธารณชนของฉัน หรือชุมชนของคนที่ฉันพูดคุยด้วย ในพื้นที่นี้ความรู้ได้ถูกแลกเปลี่ยน ปลูกฝัง และซึมซับ ฉันอาจจะเพิ่มเติมความหมายของสิ่งพิมพ์และการตีพิมพ์ออกไปมากอยู่ แต่นั่นคือสิ่งฉันชอบ

ในฐานะที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในหลักสูตร XPUB คลาร่ากับฉัน เรียกตัวเองว่าหมอทำคลอดหนังสือ โดยส่วนใหญ่คลาร่าทำงานกับนักเรียนด้านบรรณาธิการ ช่วยในการผลิตเนื้อหาและรูปเล่ม อย่างส่วนของสารบัญ จำนวนรูปภาพ จำนวนหน้าและคำ คลาร่าทำงานร่วมกับ Publication Studio รตเตอร์ดัม เพื่อพิมพ์แคตตาล็อกงานจบของนักเรียน

ฉันดูแลด้านการคิวเรทเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ ช่วยในการทำให้เนื้อหานั้นออกไปสู่สาธารณะ ดูแลวิธีสื่อสารแนวความคิดกับสาธารณชน เช่น การผลิตโชว์ ฉันขอไม่เรียกตัวเองว่าคิวเรเตอร์ เพราะไม่ได้ฝึกมาในด้านนี้ ฉันแค่คอยสนับสนุนให้นักเรียนคิวเรทงานของพวกเขาเอง


Honey —
What is social practice?


Yin Yin —
Publishing is a social practice. A marketplace is also social. But to have a practice means to continuously reiterate moments, performances, objects or acts to hone or activate that exchange in different ways. Otherwise, it’s just there. That’s also what a publication studio does. Every publication is different. We have different events. We speak to different people. It’s always practising and making it public.


ฮันนี่ —
อะไรคือการทำงานเชิงสังคม?


หยิน หยิน —
การตีพิมพ์คือการทำงานเชิงสังคม ตลาดนัดก็เป็นสังคม แต่จะเรียกว่าทำงานเชิงสังคมได้จะต้องทำให้มีการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของช่วงเวลา การแสดง วัตถุ และการกระทำต่างๆ เพื่อทำให้การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นชัดเจนขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็จะแค่มีสังคมอยู่ตรงนั้นเฉยๆ นั่นคือสิ่งที่ Publication Studio ทำ ทุกๆ สิ่งพิมพ์นั้นต่างกัน แต่ละอีเว้นท์ก็ต่างกัน เราพูดกับผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย มันคือการฝึกฝนและการทำให้มันเป็นสาธารณะอยู่เสมอ




Honey —
What is zine? How is it different or similar to publication?


Amy —
Zines
 are a form of publication that are self-published and have a rich DIY culture. Self publishing or alternative publishing is interesting because if you look back in history, it started as ways to find comrades or like-minded people who have the same political views, or to counter hegemony. For instance, there were self published pamphlets by a radical group called the Ranters in the 17th century that held heretical views on religion, politics and sex (can you imagine, they were pro free love?!). There were science fiction fanzines in the 1930s during the great depression. There were   punk-zines that operated as proto social networks. 

In this way, you can say that one of self-publishing’s aims is to reach a specific public, or community of like-minded souls. And perhaps for this reason, zine culture historically was an underground subculture.



ฮันนี่ —
ซีนคืออะไร และแตกต่างหรือคล้ายกับสิ่งพิมพ์ยังไง?


เอมี่ — 
ซีนเป็นรูปแบบของสิ่งพิมพ์ที่เป็นการผลิตด้วยตนเอง (self-published) และมีความร่ำรวยอยู่ในวัฒธรรมดีไอวาย (Do it yourself) มันน่าสนใจเพราะถ้ามองย้อนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ มันเริ่มขึ้นจากการเป็นวิถีทางที่เอาไว้หาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ คนที่มีความคิดใกล้เคียงกัน มีแนวคิดทางการเมืองแบบเดียวกัน หรือเอาไว้สู้กับอิทธิพลและอำนาจ อย่างหนังสือเล่มเล็กๆ (pamphlet) ที่พิมพ์โดยกลุ่มที่เรียกว่า Ranters ในคริสตศตวรรษที่ 17 ที่ยึดถือมุมมองแบบนอกรีตทางศาสนา การเมือง และเพศสภาพ (คุณเชื่อมั้ยว่า คนกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยนั้นก็สนับสนุนอิสระในความรัก ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ หรือการต้องแต่งงานก่อนอยู่กินด้วยกัน!) หรืออย่างในช่วงปี 1930 ก็มีงานเขียนนิยายวิทยาศาสตร์แบบแฟนซีนออกมาในช่วงที่มีเหตุการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในอเมริกา และยังมีพังก์ซีนที่เป็นรากฐานของโซเชียลเน็ตเวิร์ก

ในแนวทางนี้ คุณสามารถพูดได้ว่าเป้าหมายของการตีพิมพ์ด้วยตนเองนั้นเป็นไปเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนจำเพาะ หรือชุมชนที่มีจิตวิญญาณคล้ายกัน และอาจด้วยเหตุผลนี้ วัฒนธรรมซีนในประวัติศาสตร์จึงมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มใต้ดิน



Honey —
Have you ever worked together? Do you want to?


Amy —
I wanted to work with Yin Yin on launching Thunderclap at Publication Studio a few years ago.



ฮันนี่ —
เคยทำงานด้วยกันมั้ย แล้วอยากทำงานด้วยกันมั้ย?


เอมี่ —
ฉันเคยอยากทำงานกับหยิน หยินในการออกโปรเจกต์ Thunderclap ที่ Publication Studio เมื่อหลายปีก่อน


Honey — Can you tell us more about Thunderclap?


Amy — Thunderclap came from the time when I was doing an artist residency in Beijing. I was interested in the technique of steganography, which is a technique of hiding something in plain sight. It’s like camouflage but with a focus on communication mediums. Anyway while I was in Beijing, I found the work of a Chinese anarcho-feminist by the name of He-Yin Zhen in 1907 who wrote about feminism, socialism, Marxism and anarchism. According to the editors of her work in an English translation, her work and legacy was gradually erased over time. I decided to republish her work steganographically because I feared that if I published the work explicitly, the work would be taken down again. So I used clothing accessories such as patches and ribbons as a subversive publishing technique because it parasites on clothes and bodies. The patch, which I see as a wearable zine, consists of He-Yin Zhen’s quotes in English with a QR code that when passerby’s scan, downloads the PDF of her essay in Chinese.


ฮันนี่ — เล่าโปรเจกต์ Thunderclap ให้ฟังหน่อยได้มั้ย?


เอมี่ — Thunderclap เริ่มมาจากตอนที่ฉันไปประเทศจีนแล้วไปเป็นศิลปินพำนักที่ประเทศจีนในปักกิ่ง ฉันสนใจเรื่อง steganography หรือวิทยาการการอำพรางข้อมูลในที่แจ้ง ซึ่งเป็นเทคนิคในการซ่อนอะไรบางอย่างแบบเนียนๆ มันคล้ายๆ กับการทำลายพราง แต่เน้นไปที่สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร ตอนที่ฉันอยู่ที่ปักกิ่ง ฉันเจอผลงานของนักอนาธิปไตยเฟมินิสต์ที่ใช้ชื่อว่า เหอ-หยิน เฉิน ที่เขียนขึ้นในปี 2450 เธอเขียนเกี่ยวกับเฟมินิสต์ สังคมนิยม มาร์กซิส และอนาธิปไตย ตามคำกล่าวของบรรณาธิการในฉบับแปลภาษาอังกฤษของงานชิ้นนี้ เธอบอกว่าผลงานและตำนานอันนี้จะค่อยๆ ถูกลบเลือนไปตามกาลเวลา ฉันเลยตัดสินใจตีพิมพ์งานของเธออีกครั้งด้วยเทคนิคการอำพรางข้อมูลในที่แจ้ง เพราะว่าฉันกลัวว่าถ้าฉันตีพิมพ์งานของเธอแบบโจ่งแจ้ง มันจะถูกทำลายไปอีก ฉันเลยใช้เครื่องประดับตกแต่งผ้า อย่างชิ้นส่วนปะผ้า และริบบิ้น โดยมองว่าการปะเป็นเทคนิคการตีพิมพ์แบบลับๆ เพราะมันไปเป็นปรสิตอยู่บนเสื้อผ้า และร่างกาย ฉันมองชิ้นส่วนปะผ้าเป็นเหมือนซีนที่สวมใส่ได้ ในนั้นมีโควทจากเหอ-หยิน เฉิน ในภาษาอังกฤษ และคิวอาร์โค้ดที่ถ้าใครที่ผ่านไปมาสแกน จะสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาเป็น PDF ในภาษาจีนได้


Honey — Why clothing?


Amy — In China, you can find random words printed on clothes. This is Shanzhai Fashion. Often these words are nonsensical English as they are not meant to be read within the context of China. They are in fact decorative elements which symbolize coolness and hipness precisely because it is ‘Western’. I used this phenomenon as a way to hide He-Yin Zhen’s work in plain sight. I have it here.


ฮันนี่ — ทำไมต้องเป็นเสื้อผ้า?


เอมี่ —
ในประเทศจีน คุณสามารถมองเห็นคำที่เลือกมาโดยไม่ได้ตั้งใจบนลายเสื้อผ้า มันเรียกว่าแฟชั่นของก๊อป (Shanzhai Fashion) มีบ่อยๆ ที่คำภาษาอังกฤษพวกนี้ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะมันไม่ได้มีไว้อ่านอยู่แล้ว ในบริบทของประเทศจีน มันเป็นการตกแต่งเสื้อผ้าด้วยสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเท่ และฮิป เพราะมั้นเป็นอะไรที่มาจาก ‘ตะวันตก’ ฉันใช้ปรากฎการณ์นี้ในการอำพรางงานของเหอ-หยิน เฉิน ในที่แจ้ง นี่ฉันก็ใส่อยู่



Honey —
Would people read it here more when you wear this jacket?


Amy — Yes, because people here can read English more readily. It’s a whole different level of engagement. In China, when people see the English words , it’s like a  cool visual thing. But Chinese people are more likely to ‘read’ the QR code. Whereas in Rotterdam people will read the text and care less about the QR code because it’s not widely used here.



ฮันนี่ —
ถ้าคุณใส่แจ๊กเกตนี้รตเตอร์ดัม คุณว่าคนที่นี่จะอ่านข้อความมากว่ามั้ย?


เอมี่ — มากกว่า เพราะว่าคนที่อ่านภาษาอังกฤษออกได้มากกว่า มันเป็นการเข้าถึงงานในคนละระดับเลย ที่จีน พอคนเห็นคำภาษาอังกฤษ เค้ามักจะคิดว่า เจ๋งดี แต่กลับสนใจคิวอาร์โค้ด ในขณะที่คนที่นี่จะอ่านข้อความมากกว่าสนใจ คิวอาร์โค้ด เพราะว่ามันไม่ใช่สิ่งที่คนใช้กันเป็นส่วนมาก


Honey — What are you personally interested in or working on at the moment?


Yin Yin — We’re working on a project  about publishing in public space. Distribution through public space is an ongoing interest of mine personally. I feel graphic design is much angled to it. It’s a language in public space that is forced upon the public usually. I’m always interested in how to infiltrate public language and visual language for means outside of the institutional and advertorial ones. With this project, we’re trying to find how readership and circulation of work is translated into public pieces.


ฮันนี่ — ช่วงนี้กำลังสนใจเรื่องอะไรหรือทำงานอะไรกันอยู่?


หยิน หยิน — ตอนนี้เรากำลังทำโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับการตีพิมพ์ในพื้นที่สาธารณะ การเผยแพร่สู่พื้นที่สาธารณะคือความสนใจส่วนตัวของฉันมาตลอด ฉันรู้สึกว่ากราฟิกดีไซน์ มันเกี่ยวโยงอยู่กับพื้นที่นี้อย่างอ้อมๆ มันคือภาษาที่ใช้ในพื้นที่สาธารณะที่โดยปกติแล้วถูกควบคุมให้อยู่เหนือสาธารณชน ฉันสนใจว่าเราจะสามารถแทรกซึมภาษา และภาพเหล่านี้ยังไงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกไปนอกความเป็นสถาบัน และการโฆษณา ในโปรเจกต์นี้เราตั้งใจที่จะหาว่าผู้อ่านและการหมุนเวียนผลงานจะถูกแปลงไปเป็นชิ้นงานสาธาณะได้ยังไง


Honey —
What are you personally interested in or working on at the moment?


Amy — I’m interested in publishing in a context where sensitive information is censored in the everyday landscape. Apart from Thunderclap, another work of mine that explores this is the exhibition Hutong Whispers, a steganographic catalogue of steganographic publishing projects camouflaged as a laundry line. The exhibition co-opts three omnipresent elements in the Chinese urban landscape – bedsheets; Shanzhai fashion; and QR codes – exploring them as covert media to publish sensitive and suppressed knowledge. This installation was designed to be eventually placed back into the traditional residential alleys of Beijing or hutongs, so that it may return back to its natural habitat, the context by which it was originally inspired.

I’m also starting a publishing project with my mother. It started last year when I visited her in Australia. She used to run a dry cleaning and alteration shop and I spent some time with her there and thought about the idea of repair not only of clothes but also our relationship that has been torn by time, distance and history. She told me that she wanted to publish a book about her life one day, so I suggested that she draw as she used to be an artist in China. The idea is to publish drawings in combination with my biographical writing on something that i’m  working on called an ‘embodied publication’. I’m interested in how the body can perform and publish at the same time? How to perform and publish work on the body in everyday spaces outside institutions? In this project, I’m excited to explore ways to publish embodied knowledges from immigrant bodies such as my mother. The act of making visible these invisible stories that are at the same time intimate and political is my next challenge.


ฮันนี่ —
ช่วงนี้กำลังสนใจเรื่องอะไรหรือทำงานอะไรกันอยู่?


เอมี่ — 
ฉันสนใจในการตีพิมพ์ในบริบทที่ซึ่งข้อมูลที่ละเอียดอ่อนถูกเซ็นเซอร์ในภูมิทัศน์ของชีวิตประจำวัน นอกจาก Thunderclap แล้ว งานอื่นๆ ของฉันที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีนิทรรศการ Hutong Whispers เป็นแคตตาล็อกอำพราง ที่ตีพิมพ์ด้วยวิทยาการอำพรางข้อมูลในที่แจ้ง ในลักษณะของการตากผ้า นิทรรศการนี้เป็นการเอาสิ่งที่อยู่ทั่วๆ ไปสามสิ่งในภูมิทัศน์ประเทศจีนมารวมกัน คือผ้าปูที่นอน แฟชั่นของก๊อป และคิวอาร์โค้ด โดยศึกษามันในฐานะที่เป็นสื่อแฝง ในการตีพิมพ์เรื่องละเอียดอ่อน และตีพิมพ์ความรู้ที่ถูกกดทับไว้ งานอินสตอลเลชั่นนี้ถูกออกแบบให้ถูกติดตั้งกลับไปในพื้นที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมในปักกิ่ง ถามตรอกเล็กๆ ที่เรียกว่าหูตง โดยคาดหวังว่ามันจะกลับสู่นิสัยโดยธรรมชาติของมัน และกลับสู่บริบทเดิมอันเป็นที่มาของแรงบันดาลใจนี้

ตอนนี้ฉันก็กำลังทำโปรเจกต์ร่วมกับแม่ มันเริ่มต้นเมื่อปีก่อนตอนที่ฉันไปเยี่ยมแม่ที่ออสเตรเลีย แม่ของฉันเคยเปิดร้านรับทำความสะอาดเสื้อผ้า และซ่อมเสื้อผ้าอยู่ที่นั่น ฉันได้ไปใช้เวลากับเธอที่นั่นด้วย เลยทำให้คิดถึงการซ่อมไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หรือความสัมพันธ์ของเราสองคนที่ถูกตัดขาดด้วยเวลา ระยะทาง และประวัติศาสตร์ แม่บอกว่าอยากที่จะพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับตัวเองสักวันนึง ฉันเลยแนะนำให้แม่วาดภาพเพราะแม่เคยเป็นศิลปินตอนอยู่ที่ประเทศจีน ไอเดียคือฉันจะตีพิมพ์ภาพวาดของแม่กับข้อเขียนในรูปแบบชีวประวัติ เกี่ยวกับ ‘การก่อรูปร่างของสิ่งพิมพ์’ ฉันสนใจในคำถามที่ว่า ร่างกายจะสามารถแสดงและตีพิมพ์ไปพร้อมๆ กันได้มั้ย เราจะแสดงออกและตีพิมพ์บนร่างกายของเราในชีวิตประจำวันนอกสถาบันได้ยังไง ในโปรเจกต์นี้ ฉันรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ศึกษาแนวทางในการตีพิมพ์ความรู้ที่เป็นรูปร่างขึ้นจากการย้ายถิ่นฐานของร่างกาย อย่างเช่นแม่ของฉัน การพยายามจะทำให้เรื่องที่มองไม่เห็น ถูกมองเห็นไปพร้อมๆ กันอย่างใกล้ชิดและเป็นการเมือง เป็นความท้าทายต่อไปของฉัน



Honey —
Do you think the infrastructure of Rotterdam helps the thriving of publication or not?


Yin Yin —
I think it definitely helps. I find Rotterdam to be uncompetitive and generous. If you wanna do something or you want to start something, you can do it. People will come. People will help. People will visit and people will return. Strong and generous local community. I love Rotterdam. It has an underground scene and it doesn’t ask for your attention. It’s humble.



ฮันนี่ —
คิดว่าโครงสร้างพื้นฐานของรตเตอร์ดัมช่วยให้สิ่งตีพิมพ์เติบโตมากขึ้นมั้ย?


หยิน หยิน —
ฉันว่ามันช่วยเยอะเลย ฉันว่ารตเตอร์ดัมมีบรรยากาศที่คนไม่ได้มีการแก่งแย่งกันชิงดีกันและมีน้ำใจ ถ้าคุณอยากทำอะไรหรืออยากเริ่มทำอะไรบางอย่าง คุณก็ทำได้ ผู้คนก็จะมาอุดหนุน มาเยี่ยมเยียน มาช่วยเหลือ แล้วก็จะกลับมาอีก รตเตอร์ดัมมีบรรยากาศที่ชุมชนในท้องถิ่นเหนียวแน่น ฉันรักรตเตอร์ดัม ที่นี่มีความเคลื่อนไหวใต้ดินก็เยอะ ซึ่งเป็นแบบเรียบง่าย สมถะ ไม่ได้ต้องการเรียกร้องความสนใจจากคุณมากมายอะไร


Honey — What about you Amy?


Amy — I have a love-hate relationship with Rotterdam but I’m in my loving phase. I understand Rotterdam only when I’m outside of it because you can’t understand your environment until you leave. It has given me a lot of opportunity. When I first moved here 14 years ago, Rotterdam was still very white but there was space to do your own thing. There was a strong squatting movement and people were very supportive of each other. Now it’s a better spot because people start to stay and build community. In the past, people would come and leave.


ฮันนี่ — แล้วเอมี่ล่ะ?


เอมี่ — ฉันทั้งรักทั้งเกลียดรตเตอร์ดัม แต่ตอนนี้อยู่ในช่วงรักอยู่ ฉันจะเข้าใจรตเตอร์ดัมแค่เฉพาะตอนที่ฉันออกไปอยู่ที่อื่นเท่านั้น เพราะว่าคนเราจะเข้าใจสิ่งรอบตัวเองได้ก็ต่อเมื่อไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นแล้ว ตอนที่ฉันมาที่รตเตอร์ดัมครั้งแรกเมื่อ 14 ปีที่แล้ว รตเตอร์ดัมยังมีแต่คนผิวขาวแต่ก็ยังพอมีพื้นที่ให้คนที่อยากทำอะไรก็ทำได้ แนวคิดของการเข้าไปยึดพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ มันแข็งแรงมาก และคนก็คอยช่วยเหลือกันและกัน ตอนนี้กำลังดีละ คนเริ่มลงหลักปักฐานอยู่ที่นี่ มีการสร้างชุมชนและลงทุนต่างๆ ในสมัยก่อนคนมาแล้วก็ไป



Honey —
What kind of public is needed for the flourishing of publication?


Yin Yin — The ones that welcome challenges. We’re looking for a dialogue. It’s not for everyone. So you have to bring a little effort to the table. And the ones who enjoy physical books.



ฮันนี่ —
เราต้องมีสาธารณชนแบบไหนที่จะช่วยให้สิ่งพิมพ์เติบโตได้?


หยิน หยิน —
สาธารณชนที่ยอมรับความท้าทาย เพราะว่าเราต้องการการพูดคุย สิ่งพิมพ์ของ Publication Studio อาจไม่ได้เกิดมาเพื่อทุกคน ดังนั้นผู้อ่านต้องพยายามทำความเข้าใจไปกับเราด้วยนิดนึง และต้องเป็นคนที่ชอบหนังสือแบบจับต้องได้เป็นเล่มๆ อยู่


Honey — 
What public do you seek? 


Amy — I agree with Yin Yin. It should be a dialogue. It’s not just a public but it should be a community. Like it shouldn’t be one-way communication but a conversation. You can do that with a community because they give back. 

What public do I seek? I think the public with willing to engage. The public that takes time to read, understands, thinks of critical questions and challenges me.But I think more and more, the public I seek is one that can help me understand and articulate my experiences of diaspora, otherness and violence.


ฮันนี่ — สนใจสาธารณชนแบบไหน?


เอมี่ —
ฉันเห็นด้วยกับหยิน หยินว่ามันต้องมีบทสนทนา และไม่ใช่แค่มีสาธารณชนเฉยๆ แต่ต้องเป็นชุมชน มันไม่ควรจะเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว แต่ต้องมีบทสนทนา มันจะเกิดสิ่งนั้นขึ้นเมื่อเป็นชุมชนเพราะเค้าจะให้อะไรบางอย่างกลับมา

ถ้าถามว่าสาธารณชนแบบไหนที่ฉันมองหา คงเป็นสาธารณชนที่พร้อมที่จะร่วมมือ ตั้งใจอ่านอย่างละเอียด ทำความเข้าใจ มีคำถามเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และท้าทายฉันฉันคิดมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สาธารณชนที่ฉันมองหาคือกลุ่มคนที่สามารถช่วยฉันทำความเข้าใจ และให้ความกระจ่างกับประสบการณ์ของการพลัดถิ่น ความเป็นอื่น และความรุนแรง



Honey —
We come to the last question. Your future speculation about publication.


Liu Chao-tze —
no one can guarantee what’s gonna happen



ฮันนี่ —
คำถามสุดท้ายเป็นคำถามให้คุณคาดการณ์อนาคตของสิ่งพิมพ์


หลิว จ้าวฉือ —
ไม่มีใครการันตีได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น


Amy —
Yin Yin, I need your help.


Yin Yin —
(on the phone with Clara) I need to help Amy answer a question.


เอมี่ — หยิน หยิน มาช่วยหน่อย


หยิน หยิน — (กำลังคุยโทรศัพท์อยู่กับคลาร่า) ฉันต้องไปช่วยเอมี่ตอบคำถาม


Clara Balaguer (Clara) —
Hi. Oh my god! I’m so sorry I couldn’t make it.


Honey —
It’s ok but I will give you the toughest question.


คลาร่า บาลาแกร์ (คลาร่า) — สวัสดี โอ้มายก๊อด ฉันขอโทษมากๆ ที่มาไม่ได้


ฮันนี่ — ไม่เป็นไร แต่ว่าฉันจะให้เธอตอบคำถามที่อยากที่สุดแล้วกัน


Honey —
How will publication be in 2030?


Clara — Thinking of the work that we’re doing at XPUB. I think it’s a synchronisation between physical and online teaching. The course manual The course manual for example will take more prominence and  be more expressive. It will make visible what’s happening in the classroom. Gray matter or gray literature, something that is only published for internal uses, will become a more deliberate space. More intentional effort put into the development, design and circulation of the course manual can be a way to liberate education from institutional confines. This would be an interesting thing in terms of education.

In terms of politics, in the Philippines, the cyber crime law called the Anti-Terror Bill makes it easier for the government to execute control and harass political dissenters, even small ones, even people who post critical opinions of their personal facebook accounts. I think we might see a small-scale resurgence in print as a safer place and as a way to evade surveillance.

Since more and more political campaigns are on social platforms, in another ten years, I would like to see political campaigns in a short form of publishing like in a single image-text vignette or a meme. Memes will become a more extensive form of publishing. How can you cram a political campaign into a single image that may lead to a larger publication?

I think Amy’s practice is also interesting. The idea that a single image can be a publication. QR code is a wearable clue that leads you to a bigger publication or content that exists elsewhere.

Yin Yin’s practice in Publication Studio is a different form of circulation. The circulation of publications that are printed outside the usual channel and governed by the community in various places. Circulation like what Publication Studios are doing will be more important in the act of publishing.


ฮันนี่ — สิ่งตีพิมพ์ในปี 2573 จะเป็นยังไง?


คลาร่า —
คิดถึงการทำงานของฉันที่ XPUB ฉันว่ามันจะมีการเชื่อมกันระหว่างการสอนในห้องเรียนกับการสอนแบบออนไลน์  ฉันว่าคู่มือเรียนจะมีความหมายมากขึ้น มันจะแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นในห้องเรียนจริงๆ ตัวอย่างเช่น สิ่งพิมพ์ที่เป็น grey matter ที่เอาไว้ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น จะถูกปล่อยออกมาเป็นเรื่องสาธารณะมากขึ้น การเผยแพร่ของคู่มือเรียนนี้ก็อาจจะเป็นวิธีหนึ่งจะปลดปล่อยการศึกษาออกนอกห้องเรียนและข้อจำกัดของสถาบันได้ สิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจในแง่มุมของการศึกษา

ในแง่ของการเมือง อย่างในฟิลิปปินส์ มีกฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ที่เรียกว่าเป็นการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นกฎหมายที่ทำให้รัฐบาลควบคุมคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลได้ง่ายขึ้น เอาไว้ใช้ข่มขู่ปรปักษ์ทางการเมือง พลเมืองตัวเล็กๆ หรือแม้กระทั่งคนที่โพสต์ความเห็นเชิงวิพากษ์ลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว  ฉันคิดว่าเราจะได้เห็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กกลับมาเฟื่องฟู เพื่อที่จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และปลอดจากการตรวจตราของรัฐมากขึ้น

เพราะว่าพวกการรณรงค์เกี่ยวกับการเมืองมักจะอยู่บนพื้นที่ทางสังคม ในอีกสิบปี ฉันอยากที่จะเห็นมันอยู่ในรูปแบบการพิมพ์ที่กระชับขึ้น อย่างบทความพร้อมภาพประกอบแบบสั้นๆ หรือว่ามีม มีมจะเป็นรูปแบบการตีพิมพ์ที่ขยายตัวกว้างขึ้น คำถามคือเราจะบีบอัดการรณรงค์เกี่ยวกับการเมืองเข้าไปในภาพภาพเดียว แล้วค่อยให้มันนำไปสู่สิ่งพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ยังไง

ฉันคิดว่างานของเอมี่ก็น่าสนใจ ในแนวคิดของการที่ภาพภาพเดียวก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งพิมพ์ได้ คิวอาร์โค้ดเป็นรหัสลับบนเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ เป็นร่องรอยที่นำไปสู่สิ่งพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือ เนื้อหาที่ตั้งอยู่ที่ไหนก็ได้

การทำงานของหยิน หยินกับ Publication Studio ก็เป็นรูปแบบการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ที่ต่างออกไป การพิมพ์สิ่งพิมพ์ขึ้นมานอกช่องทางปกติ และมีการดูแลกันเองในกลุ่มชุมชนของตัวเองจากหลากหลายพื้นที่ การเผยแพร่งานแบบที่ Publication Studio ทำ จะถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในแวดวงของการตีพิมพ์


Yin Yin — Publication Studio is much a peer to peer network. It’s so much like a physical manifestation of freedom that the internet gives to people. You can connect peer to peer and transmit information.


I could fantasise that people start producing things that distribute outside of Amazon (amazon.com) or any form of institutional distributing contexts.


Amy —
A bunch of people in China are already doing this. Setting self-published zines to dodge the surveillance in China. Making it at home and distributing it physically and analogly for the bypassing of political restriction.


หยิน หยิน — Publication Studio ค่อนข้างเป็นการเชื่อมต่อบนเครือข่ายขนาดเล็ก (peer to peer network) มันเหมือนกับการประกาศจุดยืนให้เห็นเป็นรูปธรรมถึงอิสรภาพที่อินเทอร์เน็ตมอบให้กับผู้คน คุณแค่เชื่อมต่อกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน


ฉันหวังว่าคนจะเริ่มผลิตสิ่งต่างๆ ที่จะขายได้นอกตลาดอย่างอะเมซอน (amazon.com) หรือนอกบริบทการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสถาบัน


เอมี่ — มีคนหลายคนทำแล้วนะที่จีน เค้าตีพิมพ์สิ่งพิมพ์กันเอง เพื่อเป็นการหลบหลีกการตรวจตราของทางการจีน เป็นการทำกันเองที่บ้าน และส่งต่อกันเองอย่างง่ายๆ เพื่อหลบเลี่ยงข้อจำกัดทางการเมือง

CONTRIBUTORS

Honey Kraiwee is an MA graduate from Maastricht University with a major in curating. Before her education in the Netherlands, she was a vice director of the art and cultural department at Alliance Fraçaise in Bangkok, Thailand. Honey is a regular host at A Tale of a Tub, an institution for contemporary art and culture in Rotterdam. Its program is centred around questions of how art can contribute to our understanding of present-day social, political, and ecological issues. Honey is currently keen on researching and working with concepts interrelating amongst non-human centred cultures and internet culture.

Yin Yin Wong is a visual artist dealing with media saturation in public space; a publisher of artist books as Publication Studio Rotterdam; a co-founder of Tender Center, platform for the LGBTQI+ community and a teacher at Willem de Kooning Academy, Rotterdam. In both her applied and autonomous practice, she deals with questions surrounding ownership, agency, circulation and dissemination of visual culture in relation to public space. She does this through site specific installation, social sculpture, public intervention and publishing.

Amy Suo Wu was born in China, grew up in Australia, and lives in The Netherlands as an artist, designer and teacher. Since 2015, she has engaged in steganographic practices such as hiding techniques, evasion tactics, and covert communication as acts of protection, survival and resistance in the face of oppression and violence. Her most recent interest and practice circles around literal and metaphorical approaches of mending, design as remittance and self-fulfilling prophecy and how text and textile might be woven together to form embodied publishing. amysuowu.net

Clara Balaguer is a 
cultural worker and grey literature circulator. From 2010 to 2018, she articulated cultural 
programming with rural, peri-urban, and diasporic communities from the 
Philippines through the OCD (Office of Cultural and Design), a
 residency space and social practice platform. In 2013, she co-
founded Hardworking Goodlooking, a cottage industry
 publishing hauz interested in the material vernacular, collectivizing
 authorship, and the value of the error. Currently, she 
coordinates the Social Practices department at Willem de Kooning 
Academy and teaches in the Experimental Publishing masters of Piet Zwart
 Institute. Frequently, she operates under
 collective or individual aliases that intimate her stewardship in a
 given project, the latest of which is To Be Determined, a loosely organized structure of yet-to-be-
determined networks that activate and deactivate in response 
to external factors: abundance to be distributed, urgencies to
 be addressed, or leisure to be.

Publication Studio Rotterdam was started in 2015 by Yin Yin Wong and artist Micha Zweifel as part of Het Nieuwe Instituut, Museum of Design, Architecture and Digital Culture. In January 2017, the studio moved to its own store front in Rotterdam North and is currently run by Yin Yin Wong and curator, artist and editor Isabelle Sully. The studio provides printing, design and editing services alongside commissioning its own titles, which primarily focus on working with artists and writers who are looking for an accessible way to publish their works and to reach a local and international audience. PSR also continuously works to expand on the notion of ‘publishing’, pushing the limits of what this may manifest.

ฮันนี่ ไกรวีร์ จบการศึกษาจาก Maastricht University เอกภัณฑารักษศาสตร์ ก่อนเดินทางไปศึกษาที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการสาขาศิลปะวัฒนธรรมอยู่ที่ Alliance Fraçaise กรุงเทพฯ ประเทศไทย ฮันนี่ร่วมงานเป็นประจำกับ A Tale of a Tub สถาบันศิลปะร่วมสมัยในรตเตอร์ดัม ที่จัดโปรแกรมในประเด็นที่เกี่ยวกับสังคมปัจจุบัน การเมือง และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ของความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่มนุษย์ไม่ได้เป็นศูนย์กลาง และวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต

หยิน หยิน หว่อง เป็นศิลปินทัศนศิลป์ ทำงานเกี่ยวกับความอิ่มตัวของสื่อในพื้นที่สาธารณะ ทำสิ่งพิมพ์ศิลปะภายใต้สำนักพิมพ์ Publication Studio รตเตอร์ดัม ร่วมก่อตั้ง Tender Center แพลตฟอร์มของกลุ่ม LGBTQI+ และเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Willem de Kooning Academy ในเมืองรตเตอร์ดัม หยิน หยิน สนใจคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเป็นเจ้าของ ความเป็นองค์กร การหมุนเวียน และเผยแพร่ของวัฒนธรรมภาพในเชิงความสัมพันธ์กับพื้นที่สาธารณะ เธอทำงานนี้ผ่านการจัดแสดงผลงานในพื้นที่จริง (site specific installation) การทำประติมากรรมทางสัมคม การแทรกแซงในที่สาธารณะ และการตีพิมพ์

เอมี่ โซ วู เกิดที่ประเทศจีน เติบโตที่ออสเตรเลีย และพำนักอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ในฐานะศิลปิน นักออกแบบ และอาจารย์ ตั้งแต่ปี 2558 เธอสนใจกระบวนการทำงานด้วยเทคนิคการอำพรางข้อมูล (steganographic practices) เช่น การซ่อนข้อมูล กลยุทธ์การหลบหลีก และการสื่อสารแบบลับ ในฐานะที่เป็นการป้องกัน การเอาตัวรอด และการต่อต้านกับการกดขี่และความรุนแรง ความสนใจและกระบวนการสร้างงานล่าสุดของเธอวนเวียนอยู่ในประเด็นกับเกี่ยวกับการซ่อมแซมทั้งตามความเป็นจริงและในเชิงอุปมา การออกแบบในฐานะการส่งผ่านและปรากฏการณ์การคาดหวังสร้างความจริง (self-fulfilling prophecy การกระทำที่บังคับทำให้คำทำนายเกิดขึ้นจริงเพียงเพราะมีความคิดเกี่ยวกับความเชื่อและคำทำนายนั้นๆ) และว่าตัวบทและสิ่งทอจะถูกถักทอเข้าด้วยกันเพื่อสร้างตัวตนของการตีพิมพ์ได้อย่างไร amysuowu.net

คลาร่า บาลาแกร์ เป็นนักปฏิบัติการทางวัฒนธรรม และผู้เผยแพร่ grey literature ตั้งแต่ปี 2553 ถึงปี 2561 เธอจัดการโครงการทางวัฒนธรรมในพื้นที่ชนบท ชานเมือง และชุมชนที่พลัดถิ่นมาจากฟิลิปินส์ ผ่าน OCD (Office of Cultural and Design) พื้นที่พำนักของศิลปินและพื้นที่ทำงานเชิงสังคม ในปี 2556 เธอร่วมก่อตั้ง Hardworking Goodlooking สำนักพิมพ์ในครัวเรือน ที่สนใจภาพท้องถิ่นร่วมสมัย (vernacular) การประพันธ์ร่วม และคุณค่าของความผิดพลาด ปัจจุบันเธอเป็นผู้ประสานงานหลักสูตร Social Practice ของ Willem de Kooning Academy และสอนอยู่ที่ Piet Zwart Institute ในสาขา Experimental Publishing (XPUB) เธอมักทำงานในทั้งกลุ่มและเดี่ยวโดยใช้นามแฝง ที่ทำให้เธอสามารถดูแลโปรเจกต์ได้อย่างใกล้ชิด อย่างล่าสุดกลุ่มที่ทำงานในรูปแบบนี้ ใช้ชื่อว่า To Be Determined มันเป็น โครงสร้างหลวมๆที่มียังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องของเครือข่าย (yet-to-be-
determined networks) เครื่อข่ายนี้จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกด้วยการเปิดหรือไม่เปิดใช้งาน สิ่งเร้าภายนอกเหล่านี้ได้แก่ ความมีมากที่ต้องแบ่งปัน ความจำเป็นที่ต้องพูดถึง หรือการพักผ่อนที่ต้องมี

Publication Studio สาขารตเตอร์ดัม ก่อตั้งในปี 2558 โดยหยิน หยิน หว่อง ร่วมกับศิลปินมิก้า ซีแฟล ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ Het Nieuwe Instituut, Museum of Design, Architecture and Digital Culture และได้ย้ายไปมีพื้นที่ของตัวเองในเดือนมกราคม 2560 ในสตูดิโอทางตอนเหนือของเมืองรตเตอร์ดัม ซึ่งยังคงดำเนินการโดยหยิน หยิน หว่อง โดยมีภัณฑารักษ์ ศิลปิน และบรรณาธิการ อิซซาเบล ซัลลี่ มาเข้าร่วมด้วย Publication Studio รตเตอร์ดัม ให้บริการการพิมพ์ การออกแบบ และการเรียบเรียงเนื้อหา ควบคู่ไปกับการทำสิ่งพิมพ์ขึ้นเอง โดยร่วมมือเป็นหลักกับศิลปินและนักเขียน ที่มองหาโอกาสในการตีพิมพ์ผลงานของตนเอง และมองหาโอกาสเข้าถึงนักอ่าน ทั้งระดับท้องถิ่นและนานาชาติ Publication Studio รตเตอร์ดัม ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะขยายความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘การตีพิมพ์’ และผลักดันข้อจำกัดของการตีพิมพ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันออกไป

Photos by Liu Chao-tze. She is a Taipei born, Rotterdam based artist. Her practices involve taking photographs, doing installations, making publications and cooking. She co-founded FOTOBOOK DUMMIES DAY (FBDD) in 2018 with Lin Junye. It is a publication project focusing on photographic publications in a manner of self-publishing, and on establishing a platform for the makers and the readers wherever their conversations become possible.
liuchaotze.com

In October 2019, FBDD came to visit BOOKSHOP LIBRARY and share about their interest in photobooks and their research on photobooks and self-publishing scene in Southeast Asia through the event; BOOK TALK VOL.01 • 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day.

ภาพถ่ายโดยหลิว จ้าวฉือ ศิลปินชาวไต้หวันที่ปัจจุบันพำนักอยู่ที่รตเตอร์ดัม เธอทำงานภาพถ่าย อินสตอลเลชั่น สิ่งพิมพ์ และทำอาหาร เธอร่วมก่อตั้ง FOTOBOOK DUMMIES DAY (FBDD) ในปี 2561 ร่วมกับหลิน จวินเย่ ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่ศึกษาสิ่งพิมพ์ประเภทโฟโต้บุ๊คที่ผลิตขึ้นเองโดยศิลปิน และเป็นแพลตฟอร์มที่พานักทำสิ่งพิมพ์และนักอ่านมาเจอกันเพื่อสร้างบทสนทนา
liuchaotze.com

ในเดือนตุลาคม 2562 FBDD ได้มาจัดกิจกรรมสนทนาที่ BOOKSHOP LIBRARY ถึงความสนใจของพวกเขาต่อสิ่งพิมพ์โฟโต้บุ๊ค และงานวิจัยที่พวกเขาทำขึ้นเพื่อทำความเข้าใจวงการสิ่งพิมพ์โฟโต้บุ๊คในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในชื่อกิจกรรม BOOK TALK VOL.01 • 傻瓜書日Fotobook DUMMIES Day

Edit by Honey Kraiwee
Proofread by Supamas Phahulo, Nunnaree Panichkul, and Napisa Leelasuphapong

เรียบเรียงโดย ฮันนี่ ไกรวีร์
พิสูจน์อักษรโดย ศุภมาศ พะหุโล, นันท์นรี พานิชกุล, นภิษา ลีละศุภพงษ์
ถอดความเป็นภาษาไทยโดย ฮันนี่ ไกรวีร์