[BM] 08

In a Room with a View: ในห้องที่มีหน้าต่าง

POSTED ON 27.03.2021


IN CONVERSATION—

VUTH LYNOELAINE W. HO

 

THU MYAT NAPISA LEELASUPHAPONG

EN

 | 

TH

  

The 8th issue of [BOOKMARK MAGAZINE] started from a catch up call our team had with Orawan Arunrak, an artist and a friend who is now living in Germany, at the time she was in residence at the Berlin Program for Artists. Orawan told us about how she was living and working during this precarious time. We learned from her how a small studio room in Bangkok she rented while waiting to fly to Berlin made her feel larger, living by herself, with a single bed and some small belongings on the floor. More than a year, we almost forget the feeling of how the city’s regulations narrow down our space and restrict our routes. Orawan told us about a new exhibition she will present in Phnom Penh at Sa Sa Art Projects and that she just shipped her new works there to be installed. However, it has been postponed due to the new wave of infections which didn’t surprise us anymore with the unpredictable circumstances of today. The conversation with Orawan made us think of reaching out to our friends to ask about the place they are living and how they are doing.

Vuth Lyno, a curator and an artist, one of the founders of Sa Sa Art Projects is the first person we get in touch with through Orawan. The pandemic made the collaboration between the space and international artists deterred as in the case of Orawan she had to research and work remotely instead of working on-site In Phnom Penh. Many projects that would have been exhibited in the physical space have migrated online and to our personal screens. We would like to learn how he manages within these limitations and conditions.

Elaine W. Ho is the second person we thought of, she recently invited us to share a booth at BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups! in Hong Kong since the beginning of this year. Based in Hong Kong, Elaine runs her own independent publishing house and art initiative called Display Distribute and book courier project called LIGHT LOGISTICS. We learned that recently she has been traveling between Hong Kong and China, and were curious on how she manages to endure the endless time of quarantines and uncountable Covid-19 tests. We decided not to participate in the fair this year due to limited new publications produced by the gallery last year. We asked Elaine, how was the fair went, the shift from a large scale fair to pop-ups. And how the publishing scene in Hong Kong has changed amongst restrictions due to the pandemic and/or political situations.

Lastly, we reached out to Thu Myat, a graffiti artist based in Yangon, Myanmar, introduced to us by our mutual friend Alex Face. Alex has been spray painting murals to help spread the word and call out for peace and democracy in Myanmar. During these critical events, Thu Myat has been consistently running a campaign against the military coup both in the streets and online. In reaching out to him, it’s not only to ask about his wellbeing but also to show our standpoint and the solidarity against acquiring power in unjust ways.

In our conversations through the computer screen, we are in different rooms but we seem to share the same view.

[BOOKMARK MAGAZINE] ฉบับที่ 8 เริ่มต้นจากการพูดคุยกับเพื่อนของเรา อรวรรณ อรุณรักษ์ ศิลปินไทยที่พำนักอยู่ประเทศเยอรมนี ในตอนที่เธอทำงานภายใต้โปรแกรม Berlin Program for Artists เธอเล่าให้เราฟังถึงความเป็นอยู่ในเบอร์ลินและการทำงานในช่วงเวลาที่เปราะบางนี้ เธอเล่าถึงความรู้สึกของการเช่าห้องสตูดิโอเล็กๆ ในกรุงเทพฯ ระหว่างรอไปเบอร์ลิน ว่าเธอรู้สึกตัวใหญ่ขึ้น ในห้องที่มีแค่เตียง และข้าวของเล็กๆ น้อยๆ บนพื้น เป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีจนเราเกือบลืมความรู้สึกของสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้พื้นที่ที่เราอยู่แคบลงและทำให้เส้นทางที่เราจะออกไปที่อื่นได้จำกัดขึ้น อรวรรณเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับนิทรรศการใหม่ที่กำลังจะมีขึ้นที่ Sa Sa Art Projects ในพนมเปญ ที่เธอเพิ่งส่งงานชุดใหม่จากเบอร์ลินไปให้  แต่สุดท้ายก็ต้องถูกเลื่อนออกไปเพราะการระบาดระลอกใหม่ของโควิด แม้ว่าเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เราแปลกใจอีกต่อไป แต่บทสนทนากับอรวรรณก็ชวนให้เราคิดที่จะติดต่อเพื่อนของเราคนอื่นๆ เพื่อถามว่าขณะนี้ พวกเขาอยู่ที่ไหน และเป็นยังไงกันบ้าง

วุธ ลีโน (Vuth Lyno) คิวเรเตอร์และศิลปิน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Sa Sa Art Projects ในพนมเปญ เป็นคนแรกที่เราติดต่อไปผ่านอรวรรณ การระบาดทำให้ความร่วมมือระหว่างพื้นที่ของเขากับศิลปินต่างชาติเป็นไปได้ยากขึ้น อย่างกรณีของอรวรรณที่เล่าให้ฟังว่าต้องวิจัยและทำงานจากที่ไกล แทนที่จะได้ไปทำงานที่นั่นด้วยตัวเอง หลายโปรเจกต์ที่ปกติจัดขึ้นในพื้นที่จริงก็ต้องย้ายไปเป็นแบบออนไลน์ เราจึงอยากรู้ว่าเขาจัดการกับสิ่งต่างๆ ยังไงภายใต้ข้อจำกัดเรื่องความเป็นอยู่แบบนี้

อีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ (Elaine W. Ho) เป็นคนที่สองที่เราคิดถึง เธอเพิ่งชวนพวกเราไปออกบูธร่วมกันที่งาน BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups! ในฮ่องกงเมื่อต้นปี อีเลนมีสำนักพิมพ์อิสระและกลุ่มเคลื่อนไหวทางศิลปะของตัวเองชื่อว่า Display Distribute ที่ฮ่องกง และโปรเจกต์รับขนส่งหนังสือข้ามพรมแดนชื่อ LIGHT LOGISTICS รู้มาว่าเธอเริ่มที่จะเดินทางได้อีกครั้งระหว่างฮ่องกงและจีน เลยทำให้สงสัยว่าเธอจัดการกับการต้องกักตัวที่ไม่มีที่สิ้นสุดและการทดสอบโควิด-19 แบบนับครั้งไม่ถ้วนนี้ยังไง เราตัดสินใจว่าจะไม่เข้าร่วมงานแฟร์ตามคำชวนในปีนี้เนื่องจากเราไม่ได้ผลิตสิ่งพิมพ์มากเท่าไหร่ในปีที่ผ่านมา จึงถามอีเลนว่างานเป็นยังไงเมื่อเปลี่ยนจากขนาดใหญ่มาเป็นป๊อป-อัพ และวงการสิ่งพิมพ์เปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหนท่ามกลางข้อจำกัดไม่ว่าจากโรคระบาดหรือการเมือง

เราติดต่อตู เมียะ (Thu Myat) เป็นคนสุดท้าย เขาเป็นศิลปินกราฟฟิตี้จากย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่เราได้รู้จักผ่านอเล็ก เฟส (Alex Face) เพื่อนของเรา ผู้ที่ล่าสุดก็ได้สร้างผลงานศิลปะบนกำแพงเพื่อเรียกร้องสันติภาพและประชาธิปไตยให้ประเทศพม่า ภายใต้เหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้ ตู เมียะ จัดทำแคมเปญต่อต้านการรัฐประหารอย่างต่อเนื่องทั้งบนถนนและออนไลน์ การติดต่อไปหาเขา มันไม่ใช่เพียงเพื่อถามไถ่ว่าเป็นยังไงบ้าง แต่เพื่อที่จะแสดงจุดยืนและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะต่อต้านอำนาจที่ได้มาอย่างไม่ชอบธรรม

ในการพูดคุยผ่านจอคอมพิวเตอร์บนโลกเสมือน ถึงเราจะอยู่กันคนละห้อง แต่ดูเหมือนเราจะมองเห็นทิวทัศน์ไม่ต่างกัน


VUTH LYNO, SA SA ART PROJECTS, PHNOM PENH, CAMBODIA



pic. 1 — Sa Sa Art Projects’ backyard garden where the team eats, socializes and hangs out with artists and friends. They also work there sometimes. It’s this nature of this green, flexible, and nurturing space that is central to the essence of where Lyno lives and wants to live.


วุธ ลีโน, SA SA ART PROJECTS, พนมเปญ, กัมพูชา



รูป 1 — สวนด้านหลังของ Sa Sa Art Projects ที่ทีมงานใช้ทานอาหาร สังสรรค์ และพักผ่อนกับศิลปินและเพื่อนๆ และบางทีก็ใช้เป็นสถานที่นั่งทำงาน พื้นที่ของความเป็นธรรมชาติ ยืดหยุ่น และปลอบประโลมแบบนี้ ที่เป็นศูนย์กลางที่แท้จริงของสถานที่ที่ลีโนอาศัยอยู่และอยากที่จะอยู่


Napisa Leelasuphapong  — We just heard that the new wave of COVID-19 in Phnom Penh made you postpone the opening of Orawan Arunrak’s exhibition from March to the end of April. How is the situation in Phnom Penh at the moment? How does the country’s pandemic policy affect the city’s life and Sa Sa Art Projects?


Vuth Lyno — We are experiencing a new episode of community spread, and this time is a new COVID variant in Phnom Penh and some provinces. The government just introduced targeted lockdowns and regulated a new law to enforce restrictions on gatherings and cultural events and penalties on those who do not comply with quarantine and wearing masks and social distancing in required settings. Big gatherings are currently banned, whereas cultural life is limited. At Sa Sa Art Projects, we have introduced a rotating schedule for in-office work among our team members and migrated some physical programs to virtual sessions, including a recent exhibition opening of our graduate exhibition and our English for Artists class.


pic. 2 — Online opening of Anonymous Heirloom exhibition by Koeurm Kolab


pic. 3 — English for Artists class migrated to Zoom


นภิษา ลีละศุภพงษ์ — เราเพิ่งได้ยินมาว่ามีโควิด-19 ระลอกใหม่เกิดขึ้นที่พนมเปญ ทำให้คุณต้องเลื่อนงานเปิดนิทรรศการของ อรวรรณ อรุณรักษ์ จากเดือนมีนาคมเป็นสิ้นเดือนเมษายน สถานการณ์ในพนมเปญตอนนี้เป็นยังไง? นโยบายในการจัดการกับโรคระบาดส่งผลต่อเมืองและ Sa Sa Art Projects ยังไง?


วุธ ลีโน — เรากำลังประสบกับการแพร่ระบาดในระดับชุมชนรอบใหม่ และครั้งนี้เป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่พบในพนมเปญและจังหวัดอื่นๆ รัฐบาลเพิ่งประกาศมาตรการล็อคดาวน์เฉพาะบางพื้นที่และออกกฎหมายใหม่เพื่อบังคับใช้การจำกัดการชุมนุมและการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และบทลงโทษต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎการกักตัวและการไม่สวมหน้ากากอนามัย รวมถึงการรักษาระยะห่างในพื้นที่บางแห่ง การรวมตัวกันในสเกลใหญ่ถูกห้าม ในขณะที่กิจกรรมและชีวิตในเชิงวัฒนธรรมเป็นไปอย่างจำกัด ที่ Sa Sa Art Projects เราเริ่มทำงานแบบผลัดเวียนกันเข้ามาที่ออฟฟิศระหว่างสมาชิกในทีมด้วยกันเอง และโยกย้ายกิจกรรมบางส่วนไปจัดแบบออนไลน์ ซึ่งรวมถึงงานเปิดนิทรรศการผลงานการจบการศึกษาล่าสุดของเรา และชั้นเรียนภาษาอังกฤษสำหรับศิลปิน


รูป 2 — งานเปิดนิทรรศการ Anonymous Heirloom โดยเกือม กุหลาบ (Koeurm Kolab) แบบออนไลน์


รูป 3 — ชั้นเรียนภาษาอังกฤษที่ย้ายไปอยู่บนโปรแกรม Zoom


Napisa — Have your ways of working and collaborating with artists and art practitioners changed? Could you share with us who you are collaborating at the moment?


Lyno — 
Amidst this situation, we have explored how to effectively work with artists, partners, and students and interact with our audience. For our residency program, we have shifted from engaging with regional and international artists (whose travel is no longer feasible and safe) to work with young Cambodian artists who need time, space, and a support platform to explore the development of their practices. We migrated our classes to virtual meetings while also revised our class structure and activities. For the exhibition program, we asked the artists to explore ways to present works without their physical presence while maintaining their connection, energy, and intimacy in the show and with the audience.

Currently, with Orawan’s show, she won’t be able to be there to install and introduce the work to the audience personally and physically. I was glad that Orawan was very flexible and had quickly adapted to this condition. We have been communicating via online calls. Her artworks just arrived from Berlin last week. Orawan’s work is essentially intimate at heart, and that’s the core of what we want to achieve in the exhibition design and how the audience experiences the work. We are also thinking about how she can engage virtually during the exhibition period. I’m more interested in beyond just a video call or virtual talk but instead exploring an integrated physical-virtual interaction that enriches the work and experience.


pic. 4 — Unboxing Orawan’s works shipped from Germany


นภิษา —
แนวทางในการทำงานและร่วมงานกับศิลปินและคนทำศิลปะของคุณเปลี่ยนไปมั้ย? ช่วยแชร์ให้เราฟังหน่อยได้มั้ยว่าตอนนี้ทำงานร่วมกับใครอยู่บ้าง?


ลีโน — 
ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เรากำลังหาทางที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับศิลปิน พาร์ตเนอร์ และนักเรียน รวมถึงคงปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม สำหรับโปรแกรมศิลปินในพำนักของเรา เราปรับจากการทำงานกับศิลปินในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ (ซึ่งการเดินทางตอนนี้เป็นไปได้ยากและไม่ปลอดภัยอีกต่อไป) มาเป็นการทำงานร่วมกับศิลปินเขมรรุ่นใหม่ที่ต้องการเวลา พื้นที่ และการสนับสนุนในการสำรวจและพัฒนากระบวนการสร้างงานของตัวเอง เราย้ายการเรียนการสอนไปเป็นแบบออนไลน์ ขณะเดียวกันก็ปรับโครงสร้างชั้นเรียนและกิจกรรมในชั้นเรียน สำหรับโปรแกรมนิทรรศการ เราขอให้ศิลปินที่เราทำงานด้วยลองคิดหาวิธีในการนำเสนองานในรูปแบบที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องเดินทางมาด้วยตัวเอง แต่ยังคงความเชื่อมโยง พลัง และความสนิทชิดเชื้อในรูปแบบของนิทรรศการที่ผู้ชมสามารถสัมผัสได้

ตอนนี้อย่างในกรณีนิทรรศการของอรวรรณ เธอไม่สามารถบินมาติดตั้งและแนะนำผลงานของเธอกับผู้ชมงานโดยตรงได้ด้วยตัวเอง ผมดีใจที่อรวรรณยืดหยุ่นและปรับการทำงานให้เข้ากับเงื่อนไขได้อย่างรวดเร็ว ชิ้นงานของเธอเพิ่งส่งมาถึงจากเบอร์ลินเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว งานของอรวรรณมีความเป็นส่วนตัวมาก เป็นหัวใจหลักของสิ่งที่เราต้องการนำเสนอให้ได้ในนิทรรศการผ่านการออกแบบนิทรรศการและประสบการณ์การชมงานของผู้เยี่ยมชม เรากำลังคิดถึงวิธีที่เธอจะสร้างปฎิสัมพันธ์กับคนดูทางออนไลน์ว่าเป็นแบบไหนได้บ้างในช่วงนิทรรศการ ผมกำลังคิดถึงอะไรที่เกินกว่าแค่วิดีโอคอลล์มา หรือการทอล์กแบบออนไลน์ แต่เป็นการสำรวจที่รวมปฏิสัมพันธ์ทั้งในโลกกายภาพและโลกเสมือนที่จะช่วยเพิ่มมิติให้กับงานและประสบการณ์ต่องานมากขึ้น


รูป 4 — แกะกล่องผลงานที่อรวรรณส่งมาจากประเทศเยอรมนี


Napisa — You mentioned that you have shifted from engaging with regional and international artists to work with young Cambodian artists. May I ask what your aim is for reaching out young Cambodian artists and what kind of support you want to provide for them? How do young artist communities usually are in Cambodia? In Thailand, universities and teachers play important roles in connecting and pushing young artists. The graduated students from each university prefer to team up among their friends from the same university to work together and are supported (in terms of sharing connections) by their university teachers for a few years after graduation. While in Indonesia, the art community is a place for people from different professions/ages to gather up. How is the current situation of young artists there in Cambodia? What kind of relationship do they have among each other, leaning toward the social or the commercial side?


Lyno — The art ecology in Cambodia is not strong. Young or recently graduated artists have limited platforms to further their practice. There are a few initiatives here to engage with this group including awards and exhibition opportunities, and that’s almost it. We started to see a trend of people going into Architecture studies but also practice both in architecture and art, for employability reasons. At Sa Sa, we focus on building a stronger community of young artists. Our art classes attract young people from various disciplines and backgrounds from science to humanity, and that’s what makes it interesting. We opened
Pisaot residency to a select number of outstanding graduates from our classes who could benefit from an intensive period with dedicated resources to develop their practice through research and mentorship.


นภิษา —
อย่างที่คุณบอกว่าคุณเปลี่ยนจากการร่วมมือในระดับภูมิภาค และศิลปินต่างชาติมาทำงานกับศิลปินกัมพูชารุ่นใหม่ในช่วงนี้ ถามได้มั้ยว่าเป้าหมายในการทำงานกับกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่เหล่านี้คืออะไร และคุณได้ให้ความช่วยเหลือกับพวกเขายังไงบ้าง? กลุ่มชุมชนศิลปินรุ่นใหม่ที่กัมพูชาโดยทั่วไปเป็นยังไง? ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยและอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการที่จะเชื่อมต่อและผลักดันศิลปินรุ่นใหม่ๆ นักศึกษาจบใหม่จากแต่ละมหาวิทยาลัยชอบที่จะรวมกลุ่มระหว่างเพื่อนจากสถาบันเดียวกันในการทำงานร่วมกัน และพวกเขาก็ได้รับการสนับสนุน (ในแง่ของการแบ่งปันเส้นสาย) โดยอาจารย์มหาวิทยาลัยในช่วงเวลานึงหลังจากเรียนจบ ในขณะที่ในอินโดนีเซีย ชุมชนทางศิลปะเป็นสถานที่สำหรับผู้คนหลากหลายสาขา/อายุ มารวมตัวกัน สถานการณ์ในตอนนี้ของศิลปินรุ่นใหม่ในกัมพูชาเป็นยังไง? ความสัมพันธ์แบบไหนที่พวกเขามีระหว่างกัน และเอนเอียงไปในการทำงานเพื่อสังคมหรือเพื่อการค้า?


ลีโน — ระบบนิเวศทางศิลปะในกัมพูชายังไม่แข็งแรง ศิลปินหนุ่มสาวหรือที่เพิ่งจบการศึกษาไม่ค่อยมีพื้นที่ให้พวกเขาได้พัฒนากระบวนการทำงานศิลปะของตัวเอง ยิ่งขึ้นไปไม่ค่อยมีโครงการศิลปะที่ทำงานกับกลุ่มศิลปินรุ่นใหม่เท่าไหร่ ซึ่งนั่นรวมถึงรางวัล การประกวดงาน และโอกาสในการแสดงนิทรรศการด้วยสิ่งที่มีอยู่ตอนนี้ คือมีอยู่เท่านี้จริงๆ เราเริ่มเห็นกระแสคนสนใจเรียนเรื่องสถาปัตยกรรมมากขึ้น รวมถึงการทำงานสถาปัตย์ควบคู่ไปกับการทำงานศิลปะเพื่อให้มีรายได้ ที่ Sa Sa เราเน้นไปที่การสร้างเครือข่ายชุมชนศิลปินรุ่นใหม่ให้แข็งแรงขึ้น ชั้นเรียนศิลปะของเราดึงดูดหนุ่มสาวจากหลากหลายศาสตร์และภูมิหลัง มีตั้งแต่สายวิทยาศาสตร์ไปจนถึงสายมนุษยศาสตร์ ซึ่งทำให้มันน่าสนใจมาก เราเปิดโครงการศิลปินในพำนัก Pisaot และคัดเลือกศิลปินจบใหม่ที่โดดเด่นจากชั้นเรียนศิลปะของเรา คนที่เราคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ทั้งจากสถานที่และจากทรัพยากรที่เรามี ในการพัฒนาการทำงานศิลปะของพวกเขา ผ่านการศึกษาค้นคว้าและการได้รับคำปรึกษา


Napisa — Does Sa Sa Art Projects get a new location for art activities already? How long have you been moved to the new place? Is this the place after moving out of
White Building? In the case of White Building, there is an interesting historical context of the space which would have affected the way artworks presented there. Could you tell us about the context of this new space?


Lyno — Fortunately, we just secured a leasing extension for three more years of the current space, expanding to upstairs. So we won’t be moving but have a bigger exhibition space on the ground floor for Orawan’s show. Now the whole space is more like a house (compared to before as a flat). Actually, it’s part of a huge modern Khmer house built at least in the 1970s. Originally an open space, the ground floor has been turned into our exhibition space and main floor. Upstairs remains mostly the same structurally as it was. Our exhibition space always had the atmosphere of a home gallery. With the space expansion, we will renovate and upgrade the exhibition floor to be cleaner and more professional.


pic. 5 — Sa Sa Art Projects newly expanded space


pic. 6 — Sa Sa Art Projects’ exhibition and office space


นภิษา — Sa Sa Art Projects ได้พื้นที่ใหม่ในการจัดกิจกรรมแล้วใช่มั้ย? คุณย้ายมาอยู่ในพื้นที่อันใหม่นี้นานรึยัง? สถานที่นี้เป็นสถานที่ที่คุณย้ายมาหลังจาก
White Building เลยใช่มั้ย? ในกรณีของ White Building มันมีบริบททางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของพื้นที่ที่ส่งผลต่อวิธีที่ศิลปะถูกนำเสนอที่นั่น คุณสามารถเล่าให้ฟังได้มั้ยว่าบริบทของพื้นที่ใหม่นี้เป็นยังไง?


ลีโน —
โชคดีที่เราเพิ่งจะต่อสัญญาเช่าพื้นที่ออกไปอีกสามปี ซึ่งรวมถึงการขยายพื้นที่ขึ้นไปชั้นบน เราไม่ได้ย้ายไปไหน และมีพื้นที่นิทรรศการชั้นล่างให้อรวรรณเพิ่มขึ้น ตอนนี้พื้นที่ทั้งหมดเปรียบได้เหมือนเป็นบ้าน (เทียบกับก่อนหน้านี้ที่ให้ความรู้สึกเหมือนแฟลตมากกว่า) จริงๆ แล้วที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเขมรแบบโมเดิร์นที่สร้างขึ้นอย่างน้อยก็ในช่วงทศวรรษ 1970 แรกเริ่มเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ชั้นล่างเราเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและพื้นที่กิจกรรมหลัก ส่วนโครงสร้างชั้นบนยังคงไว้เหมือนเดิม พื้นที่จัดนิทรรศการของเราให้ความรู้สึกและมีบรรยากาศเหมือนเป็นแกลเลอรี่ในบ้าน ด้วยพื้นที่ที่เราเช่าเพิ่มนี้ เรามีแผนจะปรับปรุงและอัพเกรดพื้นที่จัดแสดงของเราให้สะอาดและเป็นมืออาชีพมากขึ้น


รูป 5 — ส่วนต่อขยายของพื้นที่ Sa Sa Art Projects ในปัจจุบัน

 
รูป 6 — พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของ Sa Sa Art Projects และออฟฟิศ


Napisa —
Are the supports from art patronages still going on as usual? I learned that you have done fundraising every year and sell artworks to get the money to manage the space. I see that many non-profit organizations in the field of art have been affected by the pandemic. Orawan told us about the financial situation at the Berlin Program for Artists where she is now in residence. The alumni of this program try to help funding the younger artists. How does the pandemic have any influences on non-profit organizations?


Lyno —
Being self-sufficient financially has always been our goal, as funding from grants and foundations is shrinking globally. Our principal funding partner
Rei Foundation is concluding their 3-years support at the end of March this year. We had planned the online fundraising auction before the pandemic. We were worried that we might not harness much support due to people experiencing financial difficulties during the pandemic. Nevertheless, we were very thrilled and moved by the pouring support from our artistic communities and supporters locally, regionally and internationally who believe in what we do and what we contribute to the development of contemporary art in Cambodia. This is really encouraging and reaffirming. It is time to work even harder to foster a growing and stronger local supportive community and ecology. We are looking at multiple streams of income generation for immediate and long-term support.


นภิษา —
การสนับสนุนจากผู้อุปถัมภ์ยังคงดำเนินไปตามปกติมั้ย? เรารู้มาว่าคุณมีการเรี่ยไรเงินทุกๆ ปี และขายงานศิลปะเพื่อที่จะนำเงินมาบริหารจัดการพื้นที่ เราเห็นว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรทั้งหลายในแวดวงศิลปะต่างก็ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด อรวรรณเล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ทางการเงินที่
Berlin Program for Artists ที่เธอเป็นศิลปินพำนักอยู่ ศิลปินรุ่นก่อนที่เข้าร่วมโครงการพยายามที่จะช่วยสนับสนุนในการให้ทุนกับศิลปินหน้าใหม่ จากนโยบายปรับลดเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน โรคระบาดนี้มันส่งผลต่อองค์การไม่แสวงหาผลกำไรยังไง?


ลีโน —​ การสามารถพึ่งพาตัวเองทางการเงินได้เป็นเป้าหมายของเราตลอดมา เมื่อทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนและมูลนิธิต่างๆ ค่อยๆ ลดลงทั่วโลก พาร์ตเนอร์หลัก Rei Foundation ที่ให้ทุนสนับสนุนการทำงานของเราจะครบวาระสิ้นสุดการสนับสนุนราย 3 ปีภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ เราได้วางแผนการประมูลงานศิลปะระดมทุนออนไลน์ก่อนจะเกิดการระบาดของโควิด และค่อนข้างกังวลว่าจะไม่สามารถจัดหาทุนสนับสนุนได้จากการที่ผู้คนต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการเงินในช่วงโควิด ยังไงก็ตาม เราดีใจมากๆ และซึ้งใจมาก จากการสนับสนุนที่หลั่งไหลเข้ามาจากชุมชนศิลปะของเรา และจากผู้สนับสนุนในท้องถิ่น ในภูมิภาค และจากต่างประเทศ ที่เชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำและสิ่งที่เราสร้างเสริมให้กับศิลปะร่วมสมัยในกัมพูชา ให้ทั้งกำลังใจและความมั่นใจว่าเรากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง ถึงเวลาที่เราจะต้องทำงานให้หนักกว่าที่เคย เพื่อหล่อเลี้ยงและสนับสนุนชุมชนและนิเวศของศิลปะร่วมสมัยให้แข็งแกร่งขึ้น เรากำลังพิจารณาช่องทางรายได้ที่จะช่วยสนับสนุนเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


Napisa —
Could you tell us about the situation of Pisaot Artist Residency at the moment? With the pandemic, what are the changes in arranging of this residency? What is your view about this uniqueness of online residency where artists in residence are not present in person in the residency space? While still living in the other places, they are also not much influenced by the atmosphere and culture of the city that the space is located.


Lyno —
As mentioned, we have shifted to engage with younger Cambodian artists who could benefit from our residency program instead of regional and international artists. I’m a bit skeptical about online residency as the artist cannot immerse with the new context/place. It is also hard to engage and connect. There the question: what’s the difference between an online residency and independent research? I think this online residency format only works well if the artist is interested in theoretical research or their own locale, and that doesn’t require physical immersion. I know some residency programs are exploring other ways to do this, for example, by having a local partner in the local context to assist and converse with. This model so far has received mixed responses from artists. At the end, I think it’s important to hear the needs and priorities of the artists who want to continue developing their practice. Residency is not always the only answer.


นภิษา
 สถานการณ์ตอนนี้ของ Pisaot Artist Residency เป็นยังไงบ้าง? ด้วยเหตุการณ์โรคระบาดทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดพื้นที่ให้ศิลปินพำนักยังไง? คุณมีมุมมองต่อความพิเศษของการทำศิลปะพำนักแบบออนไลน์ ที่ศิลปินไม่สามารถที่จะปรากฏในพื้นที่อย่างเป็นตัวเป็นตนนี้ยังไง? เพราะการที่ได้ไปพำนักในพื้นที่อื่นๆ มันทำให้พวกเขาได้มีโอกาสซึมซับบรรยากาศและวัฒนธรรมของเมืองที่พื้นที่นั้นตั้งอยู่ด้วย


ลีโน
อย่างที่บอกว่า เราโยกไปทำงานกับศิลปินเขมรรุ่นใหม่ๆ มากขึ้น ที่น่าจะได้ประโยชน์จากโครงการศิลปินในพำนักของเรา แทนศิลปินจากในภูมิภาคและศิลปินต่างชาติ ผมไม่ค่อยแน่ใจเรื่องโครงการศิลปินในพำนักแบบออนไลน์เท่าไหร่ เพราะศิลปินไม่สามารถหลอมตัวเองเข้ากับบริบท/พื้นที่ใหม่ได้ แถมยังยากที่จะทำงานและเชื่อมต่อกันอีกด้วย เลยมีคำถามว่า: อะไรคือความแตกต่างระหว่างโครงการศิลปินในพำนักแบบออนไลน์ และการค้นคว้าวิจัยแบบอิสระ? ผมคิดว่ารูปแบบของโครงการศิลปินในพำนักแบบออนไลน์จะได้ผลก็ต่อเมื่อศิลปินสนใจในหัวข้อค้นคว้าเชิงทฤษฎี หรือในท้องถิ่นของตัวเอง ที่ไม่ต้องอาศัยการซึมซับตัวเองลงไปในบริบทของพื้นที่ใหม่ๆ ในเชิงกายภาพ ผมรู้ว่ามีโปรแกรมศิลปินในพำนักอื่นๆ กำลังค้นหาวิธีการทำงานที่ต่างออกไป ตัวอย่างเช่น การทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ในแต่ละท้องถิ่นในบริบทท้องถิ่นนั้นๆ ในการให้ความช่วยเหลือและต่อบทสนทนาแลกเปลี่ยนกับศิลปิน จนถึงตอนนี้โมเดลนี้ได้รับเสียงตอบรับทั้งบวกและลบปนๆ กันจากศิลปิน ท้ายที่สุดแล้ว ผมคิดว่าเราต้องฟังความต้องการและลำดับสิ่งสำคัญจากศิลปินที่ต้องการพัฒนากระบวนการทำงานมากกว่า และการทำโปรแกรมศิลปินในพำนักก็ไม่ใช้คำตอบเดียวเสมอไป


Image credits


pic. 1-5 — Image courtesy of Sa Sa Art Projects
pic. 6 — Image courtesy of Prum Ero


เครดิตภาพ


รูป 1-5 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก
Sa Sa Art Projects
รูป 6 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จากปรม อีโร (Prum Ero)





ELAINE W. HO, DISPLAY DISTRIBUTE, HONG KONG



pic. 7 — Lucky view Elaine got from quarantine


อีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ, DISPLAY DISTRIBUTE, ฮ่องกง



รูป 7 — วิวแสนสวยที่อีเลนเห็นในช่วงกักตัว


Napisa —
A few weeks ago, you were in Hong Kong, now in Guangzhou, China and going to go to Beijing. So, now you can travel across borders again?


Elaine W. Ho —
The border between Hong Kong and China is always such an absurd and complex issue! It is real, but highly uneven and variable depending upon whether we are talking about the movement of people (and which ones), goods, or finance. Display Distribute’s work began as a research inquiry centred upon certain straggling outliers of these movements, and the LIGHT LOGISTICS project can be viewed as one experiment to test the possibilities for such ‘outliers’ to create other relations on the margins—underneath and from within the larger infrastructures to which we are all subject. I entered China in late December, choosing specifically to fly to Fujian Province instead of crossing the border at Shenzhen, because it was quite crowded at that time (because of the fourth wave of the pandemic in Hong Kong at that time, most schools were not in session and many mainlanders who live in Hong Kong were returning home early for the Lunar New Year holiday), also because I was couriering a great number of publications with me, some of which are sensitive material that would be problematic if checked by border patrol (see further details of this route, dispatch HQL-382). So after arriving in Fuzhou, I was immediately sent into quarantine for 14 days in a hotel in Fuzhou, thereafter shuttled into another seven days in quarantine at a relative’s house. Nearly one month and about five or six COVID tests later, I travelled back down to Guangdong Province to visit friends in the Chaoshan region (near the coast across from southern Taiwan). Since then I’ve been mostly in Guangzhou, because my original plans to travel to Beijing for the holiday were thwarted by a sudden outbreak there, which led to a tightening of restrictions and a bit of fear on my part about travelling another long distance. Actually, because one of my relatives works for customs in Fuzhou, I had learned classified information that there had been someone on my flight from Hong Kong who had tested positive, and this person had been seated only a few rows in front of me! So while I am extremely grateful that I’ve been able to travel a bit, it certainly is a whole other paradigm than how we may have experienced freedom of movement in the past. Because I am not a mainland citizen, many things are also slightly more complicated for me here, and I spend additional energy of my own principle to try to stay off of the China surveillance grid as much as I can. There is a nationwide QR code check-in system here to monitor individuals’ health status and movements, so the additional game I’ve been playing while here is to carve out mini loopholes and diversions to avoid having to fully check into the system (of course I know it’s highly impossible to go completely dark, but there is a futile stubbornness in me that tries my best). Since some of my other work plans have changed recently, I did finally decide this month to come to Beijing after restrictions were loosened a bit, and I am quite proud to say I have made it all the way to Beijing now without even having a working mobile phone (the easiest way to avoid having to scan your details everywhere you go)!


pic. 8 — HQL-382 is LIGHT LOGISTICS’ courier route. The stops include Hong Kong, Beijing, Guangzhou, Shenzhen, Fuzhou and Jieyang. In the picture is
dispatches in relay in Guangzhou at the LIGHT LOGISTICS relay station across the street from a ‘real courier station’.


pic. 9 — Image taken through the peephole of people getting their meals during lunchtime at a quarantine hotel (image from the route HQL-382)


นภิษา —
เมื่อหลายอาทิตย์ก่อนคุณยังอยู่ที่ฮ่องกง ตอนนี้คุณอยู่ที่กว่างโจวและกำลังจะเดินทางไปปักกิ่ง สรุปว่าตอนนี้คุณสามารถเดินทางข้ามพรมแดนได้อีกครั้งแล้วใช่มั้ย?


อีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ —
ประเด็นเรื่องพรมแดนระหว่างฮ่องกงกับจีนเป็นประเด็นที่ทั้งซับซ้อนและไม่มีเหตุผลเลยเสมอมา! มันมีอยู่ แต่ไม่เสมอไป และเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอด ขึ้นกับว่าเรากำลังพูดถึงการเคลื่อนย้ายของผู้คน (จากฝั่งไหนไปฝั่งไหน) ของสินค้า หรือของการเงิน งานของ Display Distribute เริ่มต้นจากการเป็นการสอบถามผ่านการค้นคว้าวิจัยที่ตั้งอยู่บนศูนย์กลางที่ผิดปกติของความเคลื่อนไหวนี้ และโปรเจกต์ LIGHT LOGISTICS อาจมองเป็นการทดลองที่ทดสอบความเป็นไปได้ของ ‘ค่าที่ผิดปกติ’ ในที่นี้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์บนชายขอบ ทั้งภายใต้และจากภายในโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่กว่าที่เราทุกคนอาศัยอยู่ ฉันเดินทางข้ามมาฝั่งจีนเมื่อปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยตั้งใจเลือกบินไปลงที่ฝูเจี้ยนแทนการข้ามพรมแดนทางบกผ่านทางเชินเจิ้นที่ช่วงนั้นค่อนข้างคนเยอะ (เนื่องจากการระบาดระลอกที่สี่ที่ฮ่องกง โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการเรียนการสอน คนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ฝั่งฮ่องกงเลยข้ามกลับบ้านช่วงตรุษจีนกันเร็วกว่าทุกปี) แล้วอีกอย่างนึงก็คือ ฉันขนสิ่งพิมพ์ไปค่อนข้างเยอะ บางเล่มมีเนื้อหาล่อแหลมซึ่งอาจเกิดปัญหาได้ถ้าโดนตม. สุ่มตรวจ (ดูรายละเอียดได้จากรายการจัดส่งรหัส HQL-382) หลังจากลงที่ฝูโจว ฉันถูกส่งไปกักตัวทันทีที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองเป็นเวลาสิบสี่วัน ต่อด้วยกักตัวที่บ้านญาติอีกเจ็ดวัน หลังจากเกือบหนึ่งเดือนที่ต้องกักตัวและตรวจโควิดไปราวห้าหรือหกรอบ ฉันเดินทางกลับลงมาที่กว่างดง เพื่อเยี่ยมเพื่อนคนนึงที่อยู่แถวเฉาซ่าน (เมืองท่าริมชายฝั่งตรงข้ามกับทางตอนใต้ของไต้หวัน) ตั้งแต่นั้น ฉันไปๆ มาๆ อยู่แถวกว่างโจวเป็นส่วนใหญ่ เพราะแผนเดิมที่จะเดินทางขึ้นไปพักร้อนที่ปักกิ่งล่มไป ส่วนหนึ่งจากการระบาดระลอกใหม่อย่างกระทันหันที่ทำให้มาตรการต่างๆ เข้มงวดขึ้น อีกอย่างคือฉันเองก็ค่อนข้างหวาดๆ การต้องเดินทางไกลอีกครั้ง อันนี้จริงๆ แล้ว เป็นเพราะฉันมีญาติคนนึงทำงานตรวจคนเข้าเมืองอยู่ที่ฝูโจว ฉันเลยได้ข้อมูลวงในมาว่าในไฟลท์ที่ฉันบินมาจากฮ่องกงมีผู้โดยสารคนนึงที่ผลตรวจโควิดเป็นบวก และผู้โดยสารคนนี้นั่งหน้าฉันขึ้นไปไม่กี่แถวเอง! เพราะอย่างนี้ ขณะที่ฉันรู้สึกโชคดีอย่างมากแล้วที่ยังเดินทางได้อยู่บ้าง แต่ก็แน่นอนว่ามันคนละเรื่องเลยกับกระบวนทัศน์ของประสบการณ์การเดินทางได้อย่างอิสระที่เราเคยสัมผัสมาในอดีต เนื่องจากฉันไม่ได้เป็นคนจีนแผ่นดินใหญ่ สิ่งต่างๆ ก็ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย ฉันต้องใช้พลังเพิ่มจากหลักการที่ฉันมีในการหลบหลีกการตรวจจับความเคลื่อนไหวของทางการจีนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั่วประเทศจีนใช้ระบบการเช็คอินผ่านคิวอาร์โค้ดเพื่อเฝ้าระวังสถานะสุขภาพและการเคลื่อนไหวของประชาชน นี่เลยเป็นเหมือนมินิเกมที่ฉันต้องหาทางเอาชนะมัน ผ่านช่องโหว่เล็กๆ น้อยๆ และการซิกแซกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบในระบบ (แน่นอน ฉันรู้ดีว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่โดนตรวจเลย แต่ฉันก็ดื้อพอที่จะพยายามทำให้ดีที่สุด) และเนื่องจากแผนงานอื่นๆ ของฉันก็ขยับไปหมดแล้ว ฉันเลยตัดสินใจเดือนเองนี้ว่าจะไปปักกิ่ง ภายหลังมีการผ่อนคลายมาตรการลงมานิดนึง และก็ค่อนข้างภูมิใจว่า ฉันรอดมาถึงปักกิ่งได้โดยไม่ต้องควักมือถือขึ้นมาใช้เลยแม้แต่ครั้งเดียว (ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการถูกสแกนข้อมูลไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็ตาม)



รูป 8 — HQL-382 เป็นเส้นทางขนส่งหนังสือของ LIGHT LOGISTICS จุดแวะได้แก่ฮ่องกง ปักกิ่ง กว่างโจว เชินเจิ้น ฝูโจวและ เจียหยาง ในรูปภาพเป็นการจัดส่งหนังสือที่กว่างโจวบริเวณที่ทำการของ LIGHT LOGISTICS บริเวณตรงข้ามสถานีจัดส่งจริงๆ


รูป 9 — ภาพที่ถ่ายผ่านช่องมองตรงประตูของคนที่ออกมารับอาหารมื้อเที่ยงที่โรงแรมสำหรับการกักตัว (ภาพจากการเดินทางด้วยเส้นทาง HQL-382)


Napisa —
We saw that BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups!
 changed its format to a pop-up event. Is it on a smaller scale compared to the event in 2019 or 2020? How does the scale and format of this year’s fair affect the way each exhibitor organized their booth? We were very much impressed by how enthusiastic the locals and expats were for the event and saw its potential to grow back in 2019 when we joined the fair. But with the current political and pandemic situation in Hong Kong that affects traveling, working, living, among other restrictions, are there a lot of changes in terms of content and audiences this year? What kind of conversation the exhibitors had at the fair after the new censorship law? What kind of content the exhibitors this year are focusing on? Your attempt to print the new book in Thailand is the result of the new law? Actually I had a similar conversation with PianPian and Max of ‘Info and Updates’, the graphic designers based in China. They told me about their struggle with printing their publications, paan, since the beginning of the pandemic in 2019.


Elaine — We can’t speak for Tai Kwun, of course, but as far as I understand, the smaller scale and re-titling of BOOKED as a pop-up was exactly an administrative distinction to work around certain restrictions in the time of pandemic. Because events such as ‘fairs’ and other large-scale gatherings are prohibited, moving the event from the gallery spaces into the smaller retail venues of the Tai Kwun compound were a way that it could be legally possible at all. Unfortunately, I was not able to attend the event a few weeks ago (February 25-28, 2021) because I have been away from Hong Kong, but other Display Distribute
co-conspirators Irene and paperbridgeee reported quite a lively event despite the changes. If I compare the kinds of restrictions that we face in Hong Kong compared to China, both are progressively tightening, but Hong Kong cultural activities by far still much more relaxed than China. For example, a current project of mine with another collective has just today been censored by institutional authorities in Guangzhou, and this is quite common here. Back in Hong Kong, the Display Distribute table at BOOKED:2021 featured quite a few sensitive publications which most certainly would not have been possible to show in China. Regarding the book that I have recently inquired for help with from you and comrades in Thailand, it’s also still more a conflux of China security issues and Hong Kong economics (rather than Hong Kong censorship). We would be able to print in Hong Kong, but simply cannot afford it. So the original intention was to print in Mainland, but because of some of the content, we were turned down by several factories, and I felt there was no choice but to begin looking outwards. Of course while I hope it doesn’t give you too much trouble, I do hope that these forms of mutual aid are a sign that the BKKABF CO-OP and our own visions of networked collaboration can occur. Most certainly, if there is anything that we can do to similarly aid others in this constellation, we are on board the pirate ship.


pic. 10 — Display Distribute booth at BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups!. Bags on the wall are a project of Display Distribute in collaboration with NZTT Sewing Co-op. These bags were sewn with RFID blocking pockets, a technology that help preventing data scanning from devices with RFID technology.


pic. 11 — Display Distribute booth at BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups!.


นภิษา —
เราเห็นว่าปีนี้ BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups!
 เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นงานป๊อป-อัพ มันมีขนาดเล็กลงจากงานในปี 2562 หรือ 2563 มั้ย? ขนาดและรูปแบบของงานในปีนี้มันส่งผลต่อการจัดการบูธของผู้เข้าร่วมยังไง? ตอนที่เราไปออกบูธกันเมื่อปี 2562 เราประทับใจมากกับความตื่นตัวของผู้ชมทั้งคนในพื้นที่และต่างชาติที่เข้ามาทำงานในฮ่องกง และเราเห็นว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะเติบโตขึ้นอีก แต่ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองและโรคระบาดในฮ่องกงมันส่งผลให้เกิดข้อจำกัด เช่นการเดินทาง การทำงาน การอยู่อาศัย มันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมั้ยในแง่ของเนื้อหาและผู้ชมในปีนี้? บทสนทนาแบบไหนที่ผู้เข้าร่วมแบ่งปันกันหลังจากมีกฎหมายเซ็นเซอร์ฉบับใหม่? เนื้อหาแบบไหนที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจ? ความพยายามที่จะพิมพ์สิ่งพิมพ์ของคุณในไทยเป็นผลมาจากกฎหมายอันนี้รึเปล่า? เราได้เคยมีบทสนทนาคล้ายๆ กันนี้กับ เพียนเพียน (PianPian He) และแม็กซ์ (Max Harvey) จากกลุ่มกราฟิกดีไซเนอร์ชื่อ Info and Updates ที่พักอยู่ในประเทศจีน ถึงการที่พวกเขามีปัญหาในการพยายามจะตีพิมพ์วรสารที่พวกเขาออกแบบชื่อ paan ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการเกิดโรคระบาดในปี 2562


อีเลน — เราพูดแทนต่ายกู๋น (BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups! หรือ BOOKED: 2021 – Tai Kwun) ไม่ได้นะ แต่เท่าที่ฉันเข้าใจคือการปรับสเกลงาน BOOKED ให้เล็กลงเป็นป๊อป-อัพ เป็นการจัดการที่ตัดสินใจได้ดีมาก ในแง่การเลี่ยงข้อจำกัดบางประการในช่วงการแพร่ระบาด เพราะงานอีเวนท์อย่างพวกงาน ‘เทศกาล’ และการรวมตัวกันในสเกลใหญ่ถูกสั่งห้าม การย้ายพื้นที่จัดงานจากพื้นที่จัดแสดงในแกลเลอรี่ออกมายังพื้นที่ค้าปลีกด้านนอกของต่ายกู๋น ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้จัดงานได้โดยไม่ผิดกฎหมาย โชคไม่ดีที่ฉันไปร่วมงานที่เพิ่งจัดไปไม่เมื่อกี่อาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ได้ (25-28 กุมภาพันธ์ 2564) เพราะไม่ได้อยู่ฮ่องกง แต่ผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ของ Display Distribute ก็มาเล่าให้ฟังว่างานจัดได้ดีมีชีวิตชีวาไม่เลว แม้รูปแบบงานต้องปรับเปลี่ยนไปก็ตาม ถ้าจะให้เปรียบเทียบเรื่องข้อจำกัดที่เราต้องเผชิญที่ฮ่องกงกับที่เมืองจีน ทั้งสองแห่งก็เข้มงวดเรื่องการจัดงานขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ฮ่องกงการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมยังดูผ่อนคลายกว่าถ้าเทียบกันกับที่จีน ยกตัวอย่างเช่น โปรเจกต์ของฉันกับกลุ่มปฏิบัติการอีกกลุ่มนึงเพิ่งถูกหน่วยงานเชิงสถาบันที่กว่างโจวเซ็นเซอร์ไปวันนี้เอง ซึ่งก็ค่อนข้างเป็นเรื่องปกติสำหรับที่นี่ กลับมาที่ฮ่องกง โต๊ะของ Display Distribute ที่ BOOKED:2021 ปีนี้ มีสิ่งพิมพ์เนื้อหาล่อแหลมอยู่สองสามเล่มที่เอาไปโชว์ที่จีนไม่ได้แน่ๆ นอกจากหนังสือเล่มที่ฉันเพิ่งขอความช่วยเหลือจากคุณและมิตรสหายที่เมืองไทยไปแล้ว มันยังคงเป็นเรื่องประเด็นปัญหาทางความมั่นคงในกรณีของจีนและเรื่องของเศรษฐกิจในกรณีของฮ่องกง (มากกว่ากรณีของการเซ็นเซอร์ถ้าที่ฮ่องกง) เรายังสามารถพิมพ์งานที่ฮ่องกงได้ แต่เรื่องของเรื่องคือเราจ่ายค่าพิมพ์ไม่ไหว ความตั้งใจแรกเริ่มคือไปพิมพ์งานที่แผ่นดินใหญ่ แต่เนื่องจากเนื้อหาบางส่วนล่อแหลม เราถูกปฏิเสธจากโรงพิมพ์สองสามแห่ง ฉันเลยรู้สึกว่าไม่มีทางเลือกและเริ่มมองหาตัวช่วยจากข้างนอก แน่นอนว่า ในขณะที่ฉันหวังว่าจะไม่ได้กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับคุณ ฉันก็หวังว่ารูปแบบการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนี้เป็นสัญญาณว่าวิสัยทัศน์ของ
BKKABF CO-OP และของเราในการร่วมมือสร้างเครือข่ายนั้นเกิดขึ้นได้ แน่นอนว่า ถ้ามีอะไรที่เราสามารถช่วยเหลือกลับไปได้ในกลุ่มดาวนี้ เราก็พร้อมลงเรือโจรลำเดียวกัน


รูป 10 — บูธของ Display Distribute ที่งาน BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups! กระเป๋าที่แขวนบนกำแพงเป็นโปรเจกต์ที่ Display Distribute ทำร่วมกับ NZTT Sewing Co-op โดยที่ตัวกระเป๋ามีการเย็บติดช่องใส่ตัวระงับสัญญาณ RFID เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการสแกนข้อมูลออกจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งเทคโนโลยีสแกน RIFD


รูป 11 — บูธของ Display Distribute ที่งาน BOOKED: 2021 Art Book Pop-Ups!


Napisa — I read conversations last year you had with Nihaal Faizal from Reliable Copy on the BKKABF CO-OP’s
Open Access article Reliable Display Copy Distribute and on the MARCH magazine website. Though, physically we couldn’t move much due to the pandemic but you seem to be very active in collaboration. What else did you do last year and focused on? Where were you?


Elaine — I was mostly in isolation in my home studio, like many everywhere,
haha! The turn towards online activity amplifies shimmery facades that everyone else is more active and doing so much, but it is a distorted mirror to the struggling realities that most of us have had to deal with since the pandemic. To be honest, I was quite low most of the year, and several of Display Distribute’s projects were put on hold or severely stunted. But also like most everyone else, we simply have had to wait, to slow down, and/or to rework plans, and we have been lucky despite all of the obstacles to have been able to develop fruitful online collaborations and dialogues with co-conspirators like Nihaal or Distribution Assembly East.




pic. 12-13 — Screenshots from Open Access’ article Reliable Display Copy Distribute; a conversation between Display Distribute from Hong Kong and Reliable Copy from India


นภิษา — ฉันอ่านบทสนทนาที่คุณคุยกับ นีฮาล ไฟซาล (Nihaal Faizal) จาก Reliable Copy ที่ชื่อ
Reliable Display Copy Distribute เมื่อปีที่แล้วภายใต้โปรเจกต์ Open Access บนหน้าเว็บของ BKKABF CO-OP และบนเว็บไซต์นิตยสาร MARCH ถึงแม้ว่าในทางกายภาพแล้วเราไม่สามารถเคลื่อนที่ได้มากเนื่องจากโรคระบาด แต่คุณก็ดูเหมือนจะยังตื่นตัวในการร่วมงานกับคนอื่นๆ มีอะไรบ้างที่คุณทำเมื่อปีที่แล้วและให้ความสนใจ? คุณอยู่ที่ไหนในตอนนั้น?


อีเลน — ส่วนใหญ่ฉันอยู่คนเดียวในบ้านที่เป็นสตูดิโอทำงานด้วย เหมือนกับคนอีกจำนวนมากตอนนี้
ฮ่าๆ! การหันไปหากิจกรรมออนไลน์ขยายให้เห็นแค่ฉากหน้าที่มองดูระยิบระยับจับตา ทุกคนดูแอ็คทีฟ ทุกคนดูทำโน่นทำนี่เยอะแยะไปหมด แต่มันคือภาพสะท้อนที่บิดเบี้ยวของความจริงที่ทุกคนกำลังต้องดิ้นรนรับมือตั้งแต่เกิดการระบาด เอาจริงๆ แล้ว ฉันค่อนข้างอยู่เงียบๆ เป็นส่วนใหญ่ และโปรเจกต์ของ Display Distribute เองก็ถูกพักไว้หรือไปต่อไม่ได้ แต่ก็เหมือนกับคนอื่นๆ อีกมาก เราแค่ต้องรอ เรียนรู้ที่จะช้าลง และ/หรือวางแผนใหม่ เรายังโชคดีที่ยังสามารถพัฒนาความร่วมมือทางออนไลน์ที่สำเร็จเห็นผลได้ แม้จะมีอุปสรรคต่างๆ นานา กับผู้ร่วมสมรู้ร่วมคิดอย่างนีฮาลหรือ  Distribution Assembly East


รูป 12-13 — ภาพสกรีนช็อตจากหน้าบทความ Reliable Display Copy Distribute ของ Open Access ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง Display Distribute จากฮ่องกง กับ Reliable Copy จากอินเดีย


Napisa — I’m very interested in the movement of underground or independent groups that came in different forms in trying to resist authoritarianism and a corrupted government. As you may already know from Nuttha, in Thailand last year, people were widely awakened to call for democracy, I believe, partially we were influenced by the movement in Hong Kong. The movement from the different group of protesters came in different forms whether a subversive rap song by Rap Against Dictatorship, a Mob Fest by a group of university students, a performance event by Bad Student, with the voice that ranges from sarcasm to seriousness, and more and more independent publishers now focusing to publish the content that leans towards the idea of liberation from authoritarianism. I read your conversation in
MARCH that you mentioned publishing as an act of protest, what is the situation of publishing (as an act of protest) in Hong Kong at the moment? Publishing by the mean to make it public as you also mentioned.


Elaine —
Ah, yes, I did remember seeing among the images from BOOKED this year a small zine that described and illustrated the current movement in Thailand in English! This desire or need to communicate our struggles to others, to find networks of solidarity and support, has been historically ubiquitous. That is what the scriptures and every print form thereafter have always been—for motivations better and/or worse. The acts of publishing from below, for example by marginalised individuals, underground groups and those struggling against tyranny, are the ones that Display Distribute is most interested in, and the ones that we can only gradually watch disappear from Hong Kong as it follows the lead of the Mainland. The
Queer Reads Library initiative, for example, began after a selection of LGBT-related books were pulled from open access at Hong Kong schools and libraries. Censorship in the cultural and education sectors has also definitely occurred increasingly over the years, but as mentioned already before, the freedom of access ‘from below’ in Hong Kong I still believe to be more an economic question over a political one. Restriction of publishing acts of dissent in Hong Kong are—for the time being—still far from the level of control in the Mainland, where government-managed surveillance of the internet allows access to all files that pass through printing factory offices. If caught printing subversive literature, authorities can then proceed to shut the entire factory down, so even if sympathetic to a cause, many printers will not want to take such risks. With regards to the 2019 anti-Extradition Law Amendment Bill protests, the amount of renegade publishing of posters, pamphlets and other propaganda material both digital and in print was astounding, but how that related to difficulties in production were more often related to the polarised nature of Hong Kong society, including the political affiliations of print shops and ‘yellow’, pro-movement material not being able to be printed with a ‘blue’, pro-establishment printer. For anyone who is interested to read more, we can recommend TONG Kin-Long’s article DIY print activism in Digital Age: Zines in Hong Kong’s Social Movements that was published last year in the first issue of ZINES journal.


pic. 14 — Display Distribute’s interest for Semi-autonomous zine include a printed guerrilla intervention that happened in Hong Kong in 2019. This zine in particular inviting passersby to play hopscotch on the faces of pro-Beijing politicians. In this case, the zine itself does not move, but invites its readers to jump and move upon it to ‘read’ its contents.


pic. 15 — Semi-autonomous zine in a form of political poetry placards by a graffiti writer, Jannie Kwan on the exit B1, between Prince Edward MTR station and Mongkok Police Station in 2019. Jannie Kwon developed her style of folding her work as origami or mini-packets and distributes it by hand-to-hand method. The poems and manifests she writes are her views on the fragile and oppressive relations between Hong Kong and China. 


pic. 16 — Photos taken from Prince Edward station in Mongkok, where violent incidents led to the prolonged closing of this station exit and numerous memorial interventions for citizens who were attacked and/or mysteriously disappeared on 31 August 2019.



pic. 17-19 — Another “semi-autonomous zine” discovered by Display Distribute and produced by dianaband in the form of a Wi-fi server device is called Wi-Fi Zine Throwies. It functioned as a messenger machine through naming one line Wi-Fi username. Once connected to the server, a user is brought to a single webpage that hosts the contents of its maker.


pic. 20 —
Fong Fo, a monthly zine produced by a collective in Guangzhou & Shunde, in-house printed by cheap inkjet printers and sold for only 1 RMB per copy in the Mainland, or for 1 unit of whichever currency of the country they are sold. The general direction of the zine is a lo-fi version of a variety culture magazine, including short stories, poetry, illustrations and poorly printed photography.


นภิษา — เรารู้สึกสนใจกับกลุ่มเคลื่อนไหวใต้ดินและกลุ่มนักเคลื่อนไหวอิสระ ที่มาในรูปแบบที่หลากหลายในการต่อด้านระบบอำนาจนิยม และรัฐบาลทุจริต คุณอาจจะเคยรู้จากณัฐา ผู้ประสานงานโปรเจกต์ BKKABF CO-OP ว่าประเทศไทยเมื่อปีก่อน ผู้คนเกิดการตื่นตัวกันอย่างกว้างขวางในการเรียกร้องประชาธิปไตย เราเชื่อว่าส่วนนึงก็ได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนไหวในฮ่องกง รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ต่างกันนั้นมีตั้งแต่การแต่งเพลงแร็ป โดยกลุ่ม Rap Against Dictatorship กิจกรรมการจัดม็อบในชื่อ Mob Fest โดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และการแสดงโดยกลุ่มนักเรียนเลว พวกเขาต่างพูดด้วยน้ำเสียงที่มีตั้งแต่เสียดสีไปจนถึงจริงจัง แล้วยังเกิดสำนักพิมพ์อิสระที่ให้ความสนใจกับเนื้อหาที่ค่อนไปทางเสรีนิยมเพื่อปลดแอกจากอำนาจนิยมอีก เราอ่านบทสนทนาของคุณใน
MARCH ที่คุณพูดว่าการตีพิมพ์เป็นท่าทีหนึ่งในการประท้วง สถานการณ์ของการตีพิมพ์ (ในท่าทีของการประท้วง) ในฮ่องกงเป็นยังไงตอนนี้? การตีพิมพ์ด้วยความหมายที่จะทำให้มันเป็นสาธารณะแบบที่คุณเคยบอก


อีเลน — อา ใช่ ฉันจำได้ว่าเห็นภาพจากงาน BOOKED ปีนี้ เห็นซีนเล่มเล็กๆ ที่อธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในไทยประกอบภาพในภาษาอังกฤษ!  ความปราถนาหรือความต้องการจะสื่อสารความอึดอัดคับข้องใจของเราไปสู่คนอื่นๆ  ความต้องการแสวงหาเครือข่ายของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการสนับสนุน เป็นไปอย่างแพร่หลายมานับแต่อดีต นี่คือสิ่งที่ข้อเขียนและงานพิมพ์ทุกรูปแบบเป็นอยู่ตลอดมา เพื่อเป็นแรงจูงใจที่ดีขึ้นและ/หรือแย่ลง  การเผยแพร่ในรูปแบบจากเบื้องล่าง เช่น โดยปัจเจกชนชายขอบ กลุ่มใต้ดิน และผู้ที่ต่อสู่กับการกดขี่ข่มเหงเป็นสิ่งที่ Display Distribute ให้ความสนใจมากที่สุด และสิ่งที่เราค่อยๆ เห็นว่าหายไปจากฮ่องกงเมื่อต้องเป็นไปตามการนำของจีนแผ่นดินใหญ่ ตัวอย่างเช่น โครงการ Queer Reads Library เริ่มขึ้นภายหลังมีการดึงหนังสือเกี่ยวกับ LGBT ออกจากการเข้าถึงโดยเสรีตามโรงเรียนและห้องสมุดในฮ่องกง การเซ็นเซอร์ในภาควัฒนธรรมและการศึกษาก็เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ เมื่อพูดถึงเสรีภาพในการเข้าถึง “จากเบื้องล่าง” ในฮ่องกง ฉันยังเชื่อว่านี่เป็นคำถามทางเศรษฐกิจมากกว่าทางการเมือง ข้อจำกัดของการเผยแพร่การกระทำที่ไม่เห็นด้วยในฮ่องกง – ในขณะนี้ – ยังห่างไกลจากระดับการควบคุมในแผ่นดินใหญ่ ซึ่งการเฝ้าระวังอินเทอร์เน็ตที่จัดการโดยรัฐบาล ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงไฟล์ทั้งหมดของโรงพิมพ์ หากถูกจับได้ว่ามีการพิมพ์งานวรรณกรรมเชิงล้มล้างสถาบัน เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการปิดโรงงานได้ ดังนั้นแม้ว่าจะเห็นอกเห็นใจกันแค่ไหน โรงพิมพ์จำนวนมากก็ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงดังกล่าว ถ้ามองถึงการประท้วงร่างกฎหมายต่อต้านการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในปี 2562  จำนวนการเผยแพร่โปสเตอร์ แผ่นพับ และสื่อโฆษณาอื่นๆ ทั้งแบบดิจิทัลและแบบพิมพ์มีจำนวนสูงจนน่าประหลาดใจ แต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความยากลำบากในการผลิต มักเกี่ยวกับการแบ่งขั้วของสังคมฮ่องกง รวมถึงความผูกพันทางการเมืองของร้านรับพิมพ์งาน ในแบบที่เนื้อหาสนับสุนความเคลื่อนไหวของฝ่าย ‘เหลือง’ ไม่สามารถนำไปพิมพ์กับโรงพิมพ์ฝ่าย ‘น้ำเงิน’ ที่สนับสนุนฝั่งแผ่นดินใหญ่ได้  สำหรับใครก็ตามที่สนใจอ่านเพิ่มเติมเราสามารถแนะนำบทความของ ถ่อง กิน-ล๊อง (TONG Kin-Long) เรื่อง DIY print activism in Digital Age: Zines in HongKong’s Social Movements ที่ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วในวารสาร ZINES ฉบับแรก


รูป 14 — ความสนใจต่อซีนกึ่งอิสระ (Semi-Autonomous Zine) ของ Display Distribute นั้นรวมไปถึงสิ่งพิมพ์ก่อกวนแบบกองโจรที่เกิดขึ้นในฮ่องกงในปี 2562 ซีนฉบับนี้เชื้อเชิญให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาเล่นเกมฮ๊อปสก๊อตช์ กระโดดลงไปบนภาพหน้าของนักการเมืองที่สนับสนุนปักกิ่ง ถึงแม้ว่าสิ่งพิมพ์นี้จะอยู่กับที่ แต่มันก็เชื้อเชิญผู้อ่านให้กระโดดและเคลื่อนไปพร้อมๆ กับอ่านเนื้อหาในนั้น


รูป 15 — ซีนกึ่งอิสระในรูปแบบใบประกาศบทกวีทางการเมืองโดยนักเขียนกราฟฟิตี้ แจนนี่ ควาน (Jannie Kwan) ที่ทางออก B1 ระหว่างสถานีรถไฟ Prince Edward กับสถานีตำรวจมงก๊ก (Mongkok) ในปี 2562 แจนนี่ ควอน พัฒนารูปแบบการพับกระดาษโอริกามิหรือเป็นห่อเล็กๆ และแจกจ่ายมันออกไปแบบตัวต่อตัว บทกวีและแถลงการณ์ที่เธอเขียนเป็นมุมมองต่อความสัมพันธ์ที่เปราะบางและบีบคั้นระหว่างฮ่องกงและจีน


รูป 16 — ภาพถ่ายจากสถานีรถไฟ Prince Edward ในย่านมงก๊ก ที่ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงนำไปสู่การยืดเวลาปิดทางออกจากสถานี และนำไปสู่การทำให้สถานีกลายเป็นอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงประชาชนที่ถูกทำร้าย และทำให้สูญหายอย่างลึกลับเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2562



รูป 17-19 — ซีนกึ่งอิสระที่พบโดย Display Distribute และผลิตโดยกลุ่ม dianaband ที่มาในรูปแบบเครื่องส่งสัญญาณไวไฟขนาดเล็กในชื่อ Wi-Fi Zine Throwies  ใช้งานเหมือนกับอุปกรณ์ส่งข้อความสั้นๆ ผ่านการตั้งชื่อสัญญาณไวไฟ เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์แล้ว ผู้ใช้งานจะถูกนำไปสู่หน้าเว็บที่มีคอนเทนต์ของผู้ที่เป็นเจ้าของสัญญาณไวไฟนั้น


รูป 20 — Fong Fo ซีนแบบรายเดือนโดยกลุ่ม Guangzhou & Shunde พิมพ์เองที่บ้านด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทราคาถูก และขายในราคาเล่มละแค่ 1 หยวนในจีนแผ่นดินใหญ่ หรือราคาแค่ 1 หน่วยของค่าเงินประเทศอะไรก็ตามก็จะถูกนำไปขาย ทิศทางโดยทั่วไปเหมือนกับแมกาซีนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเวอร์ชั่นคุณภาพต่ำ ประกอบไปด้วยเรื่องสั้น บทกวี ภาพประกอบ และภาพถ่ายที่พิมพ์อย่างห่วยๆ


Image credits


pic. 7-9, 15-16 — Image courtesy of Elaine W. Ho
pic. 10 — Image courtesy of Irene Hui
pic. 11 — Image courtesy of paperbridgeee
pic. 12-13 — Screenshot from Open Access, BKKABF CO-OP
pic. 14 — Image courtesy of Ahkok Wong
pic. 17-19 — Image courtesy of dianaband
pic. 20 — Image courtesy of Display Distribute


เครดิตภาพ


รูป 7-9, 15-16 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จากอีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ
รูป 10 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จากไอรีน ฮุย (Irene Hui)
รูป 11 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก paperbridgeee
รูป 12-13 — สกรีนช็อตจาก Open Access, BKKABF CO-OP
รูป 14 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จากอาฮ์ก๊ก หว่อง (Ahkok Wong)
รูป 17-19 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก dianaband
รูป 20 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก Display Distribute




THU MYAT, STREET ARTIST, YANGON, MYANMAR



pic. 21 — Myanmar political situation on the street in Yangon as seen through the window by citizen media


ตู เมียะ, ศิลปินสตรีท, ย่างกุ้ง, พม่า



รูป 21 — ภาพจากหน้าต่าง มองลงไปบนท้องถนนของประเทศพม่าในเมืองย่างกุ้ง ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง ถ่ายโดยนักข่าวอิสระ


Napisa —
How is the protest situation in Myanmar at the moment? I read from the news that millions of people of all ages and social backgrounds have come out on the streets daily across the country but also the subjugation by the coup has applied intensely for a month long. How is it like in the city where you live? How are you doing?


Thu Myat — Protests continue everywhere. It declined in Rangoon and remained in rural areas. The decline in Rangoon is not the result of mass surrender by the protester, but by the overuse of force and in search for new ways. This is not to say that shootings are a raid on homes, but act as an operation. For example, in places like Hlaing Thar Yar, Yangon, Marshall Law was declared and arrested people, who are leading or participating in the protest, without any question. It was stationed in a place such as a town hall, and it was kept as a battlefield and shot everything on the streets. During these couple of days, no one was allowed to leave their homes. In the rest of the townships, regular protests were held in the early hours of the morning. In the evening, they threaten by gunfire on the main road of the surrounding area that some of the houses that kept the protester during the protest. As they do so, citizens have put some barriers to prevent terrorists from entering and they were destroyed by bulldozers. Not only did some of the townships were rebuilt daily, but they also bulldozed the parked cars in the neighborhood until they were unreasonably damaged. Beating and destroying shop doors; shouting and threatening to kill people along the way. These are some of the reasons for declination.

In order to do so, government hospitals and schools in each township are firmly stationed. Believe it or not, these are the current situations in Yangon. At night, a large number of people came to the house of CDMers and arrested them, and charged them with defamation, which carries a maximum sentence of 20 years in prison. International pressure to ceasefire has led to arrests at night, beatings to death, and the release of dead bodies in the morning. 

What we are doing is not going to answer here for our security reasons. To be sure, a military coup is totally unacceptable.


pic. 22-23 — Myanmar political situation on the street in Yangon as seen through the window by citizen media


นภิษา —
สถานการณ์ในพม่าเป็นยังไงบ้างตอนนี้ เราอ่านจากข่าวว่าประชาชนทุกเพศทุกวัยกว่าล้านคนและจากทุกชนชั้นออกมาเรียกร้องบนถนนทุกวันกันทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันการปราบปรามโดยกลุ่มรัฐประหารก็เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมาร่วมเดือนแล้ว เมืองที่คุณอยู่ตอนนี้เป็นยังไง? และคุณเป็นยังไงบ้าง?


ตู เมียะ — การประท้วงยังคงดำเนินไปทุกหนทุกแห่ง แม้จะแผ่วลงไปที่ย่างกุ้งแต่ยังเกิดขึ้นในพื้นที่ชนบท การประท้วงที่ลดลงที่ย่างกุ้งนี้ ไม่ได้เป็นเพราะจากการยอมจำนนของมวลชน แต่เกิดจากการใช้อำนาจมากเกินไปและวิธีการจัดการใหม่ๆ ที่ไม่ได้ออกมาในรูปแบบของการยิง หรือการบุกค้นตามบ้านเรือน แต่เป็นปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่อย่างเขตอุตสาหกรรมลานตายา (Hlaing Thar Yar) ในย่างกุ้ง มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกและมีการจับกุมประชาชนที่เป็นแกนนำหรือเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงโดยไม่มีการสอบปากคำใดๆ โดยมีศูนย์กลางการบัญชาการอยู่ที่ศาลากลาง เป็นเหมือนป้อมบัญชาการการรบที่ยิงทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้าน มีการประท้วงเป็นประจำในช่วงเช้ามืดในพื้นที่อื่นๆ ของเมือง ส่วนในช่วงเย็น จะมีการยิงขู่บนถนนสายหลักและพื้นที่รอบๆ ในบริเวณที่บางบ้านได้ให้การช่วยเหลือผู้ชุมนุมไว้ จากการกระทำเช่นนี้เอง ทำให้ประชาชนตั้งแนวป้องกันบ้านเรือนเพื่อกันไม่ให้ผู้ประท้วงเข้ามาในพื้นที่ แต่แนวป้องกันเหล่านี้ก็ถูกทำลายโดยรถดันดิน บางเขตในเมืองมีความเสียหายกันแบบรายวัน และยังมีการใช้รถดันดินทำลายรถที่จอดทิ้งไว้ริมถนนจนพังแบบไม่มีเหตุผล ผู้คนทุบและทำลายประตูร้านค้าต่างๆ ตะโกนและข่มขู่จะฆ่าผู้คนไปตามทาง นี่คือเหตุผลที่การประท้วงในเขตย่างกุ้งแผ่วลงไป

เพื่อที่จะยังคงสถานการณ์ไว้ได้ โรงพยาบาลของรัฐและโรงเรียนในแต่ละเขตกลายเป็นศูนย์บัญชาการ เชื่อหรือไม่ก็ตาม นี่คือสถานการณ์ในย่างกุ้งตอนนี้ เมื่อคืนกลุ่มคนจำนวนมากไปที่บ้านของผู้ร่วมขบวนการอารยะขัดขืนและจับกุมพวกเขาด้วยข้อหาทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 20 ปี แรงกดดันจากนานาชาติให้รัฐบาลทหารทำการหยุดยิงนำไปสู่การจับกุมในชั่วข้ามคืน สู่การซ้อมจนเสียชีวิต ทิ้งไว้แต่ร่างไร้วิญญาณในเช้าวันถัดมา สิ่งที่เรากำลังทำอยู่จะไม่ถูกเล่า ณ ที่นี้ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของเรา แต่เชื่อได้เลยว่า รัฐบาลทหารทำเป็นสิ่งที่เกินกว่าจะรับได้จริงๆ



รูป 22-23 — ภาพจากหน้าต่าง มองลงไปบนท้องถนนของประเทศพม่าในเมืองย่างกุ้ง ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง ถ่ายโดยนักข่าวอิสระ


Napisa — I have read an interview by some Myanmar street artists in 2016 about how they use graffiti to express their interests in art rather than political viewpoints. They didn’t use it for calling out democracy or fighting with repression from the military government. They think of a wall as another kind of canvas. Many artists see spray painting on the wall as the way to add beauty to places which are decaying while trying to avoid sacred and beautiful places such as monasteries or temples and the city like Kalaw or Taunggyi in Shan State.

But lately I saw the news about the street artists, Zayar Hnaung, Ja Sai and Naw Htun Aung who painted the wall to inform the news about COVID-19. They were arrested by violating article 295A of the Myanmar penal code, which relates to blasphemy, because there is a character in the mural that looks similar to a monk spreading the virus. However, everyone knows it is not about blasphemy more than about the limitation of free speech because the news on the pandemic is an issue that the government tried to conceal from the mainstream media.

And latest, I found that Myanmar street artists are more and more using graffiti to call for democracy and against the coup d’etat. What do you think about this change? Do you think the way you work has changed from the beginning of your practice as a street artist? 


Thu Myat — I don’t think we can say it consistently. For the past ten years, they have been writing quite freely. On the one hand, I think it has an indirect effect on the political landscape. It was around 2008 when many young people in our country became interested in graffiti. It started in 2010 with a quasi-civilian government. That government released many of them in order to gain international acceptance. Then came a truly civilian government. As the political impact on young people diminishes, they tend to focus more on their emotions. But they did not give up on any revelation. This is my thought what happened in Myitkyina was mainly due to the generation gap. It is just a misconception of some of the elders in charge. There was a lot of protest in the country. Certainly not in connection with the government’s overthrow of Covid-19. 

As for the religious structure, it will be directly related to Asian culture. 

I want to use it as an artist’s reality rather than a change. I myself wrote political issues early on. Then I leaned towards contemporary art. These sudden, out-of-control changes have also created confusion in the drawing. Coup d’etat policy, thoughts, and ideas are far behind the people.


นภิษา —
เราได้อ่านบทสัมภาษณ์ของศิลปินสตรีทหลายคนในพม่าเมื่อปี 2559 เกี่ยวกับว่าพวกเราใช้กราฟฟิตี้ในการแสดงออกถึงความสนใจในศิลปินมากกว่าความสนใจทางการเมือง พวกเขาไม่ได้ใช้มันเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยหรือต่อสู้กับการกดขี่จากรัฐบาลทหาร พวกเขามองกำแพงเหมือนกับผ้าใบชนิดหนึ่ง ศิลปินหลายคนมองการพ่นกำแพงในการที่จะสร้างความสวยงามให้กับสถานที่ที่เสื่อมโทรม โดยพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสถานที่สำหรับเคารพบูชาหรือสวยงามอยู่แล้วอย่างสำนักสงฆ์หรือวัด และหลีกเลี่ยงเมืองอย่างกะลอ (Kalaw) หรือ ตองยี (Taunggyi) ในรัฐฉาน


แต่เมื่อไม่นานมานี้มีบทความที่พูดถึงศิลปินสตรีท จะยา นอง (Zayar Hnaung) จา ไซย (Ja Sai) และหน่อ ธุน อ่อง (Naw Htun Aung) ที่ทำงานเพื่อสื่อสารเรื่องโควิด-19 ถูกจับกุมด้วยกฎหมายหมิ่นศาสนามาตรา 295A เพราะในภาพมีตัวละครที่มีลักษณะคล้ายพระ เป็นผู้ที่เอาไวรัสมาเผยแพร่ แต่ความจริงแล้วการจับกุมเกิดขึ้นมาจากเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกมากกว่า เพราะไปพูดถึงเรื่องของโรคระบาดซึ่งเป็นข่าวที่รัฐบาลพยายามจะปกปิดข้อมูล ไม่เผยแพร่ออกไปผ่านสื่อกระแสหลัก

และล่าสุดเราเห็นว่าศิลปินสตรีทของพม่าใช้ผลงานเรียกร้องประชาธิปไตยกันอย่างกว้างขวาง คุณมีความคิดเห็นยังไงกับทิศทางความสนใจของศิลปินที่เปลี่ยนไปนี้? และตัวคุณเองคุณมองการทำงานของคุณเปลี่ยนไปจากตอนที่คุณเริ่มทำงานกราฟฟิตี้แรกๆ มั้ย?


ตู เมียะ —
ผมไม่คิดว่าเราพูดอย่างนั้นได้เสมอไป ช่วงสิบปีที่ผ่านมา พวกเขาสามารถสร้างงานได้อย่างค่อนข้างมีอิสระ ในทางกลับกัน ผมคิดว่ามันส่งผลทางอ้อมต่อภูมิทัศน์ทางการเมือง ช่วงราวปี 2551 เป็นช่วงที่หนุ่มสาวในประเทศของเราเริ่มสนใจงานกราฟฟิตี้ มันเริ่มต้นในปี 2553  ตอนที่เรามีรัฐบาลผสมกึ่งพลเรือน เพื่อให้ได้การยอมรับจากนานาชาติพวกเขาปล่อยให้มันเกิดขึ้น จากนั้น เราก็มีรัฐบาลพลเรือนอย่างแท้จริง และขณะที่ผลกระทบทางการเมืองต่อคนหนุ่มสาวลดน้อยลง พวกเขามักจะสนใจเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองมากกว่า แต่พวกเขาก็ไม่ได้ยอมแพ้ให้กับการเปิดโปง ในความคิดของผมสิ่งที่เกิดขึ้นที่มยิจีนา (Myitkyina) หลักๆ เป็นผลมาจากช่องว่างระหว่างรุ่น เป็นความเข้าใจผิดของผู้ใหญ่ที่เป็นผู้รับผิดชอบ เกิดการประท้วงมากมายในประเทศ และแน่นอนว่าไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการป้องปราบโควิด-19 โดยรัฐบาล


ส่วนโครงสร้างทางศาสนา ก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัฒนธรรมความเป็นเอเชีย 

ผมคิดถึงมันในฐานะความจริงของการเป็นศิลปินมากกว่าความเปลี่ยนแปลง ผมทำงานเชิงการเมืองตั้งแต่ช่วงแรกๆ ก่อนจะขยับมาทางศิลปะร่วมสมัยมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกินการควบคุมและฉับพลันนี้ ทำให้เกิดความสับสนในการสร้างงาน นโยบาย ความคิดเห็น และแนวความคิดของรัฐบาลทหารล้าหลังผู้คนไปมาก


Napisa — We saw the movement of graffiti artists on political issues emerging widely on social media. But learning from the news that the internet is blocked all over the country. Using social media as a tool for a political movement still working? How has it helped in spreading the message within and across the country? Apart from social media, what about working in public space? Can street artists work in public space as usual?


Thu Myat —
Visual artists like‚ Graffiti Artists are doing their best to get clear messages to people. Social media is being put to good use by the general public, who understand the need to end the military dictatorship. It would be more accurate to use the Internet in a variety of ways. There are services that the Terrorist Council cannot shut down even though the Internet is blocked but it is compatible with certain systems. People in these areas also respond in ways such as giving free WiFi. Many are working on how to keep the news going, as they are considering shutting down the Internet. There is less and less live streaming from the ground using Facebook. But before the Internet was shut down, politicians, Data collectors I think it’s a success to get journalists and opinion experts on what to do. Writing in public now is very dangerous. Not only he can be arrested but also his life is in danger.



pic. 24-25 — Artworks in protesting against Coup d’état made by Thu Myat


นภิษา — เราเห็นข่าวความเคลื่อนไหวของศิลปินกราฟฟิตี้ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย แต่เราทราบมาจากอเล็ก เฟส ว่าการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างยากลำบากตอนนี้ในการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต การใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางประท้วงทั้งภายในประเทศและนอกประเทศมันได้ผลดีมั้ย? ศิลปินโดยส่วนใหญ่นอกจากสื่อสารบนโซเชียลมีเดียแล้ว ยังคงทำงานในพื้นที่สาธารณะด้วยมั้ยในตอนนี้? ศิลปินต่างเมืองได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและทำงานร่วมกันยังไง?


ตู เมียะ — ศิลปินเชิงทัศนศิลป์อย่างศิลปินกราฟฟิตี้กำลังทำงานอย่างดีที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้ในการส่งสาส์นออกไปยังผู้คน สื่อโซเชียลถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยสาธารณชน ผู้เข้าใจความต้องการจะหยุดรัฐบาลเผด็จการทหาร อาจจะถูกต้องมากกว่าที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตในวิถีทางต่างๆ มีบริการอินเทอร์เน็ตที่คณะต่อต้านผู้ก่อการประท้วงไม่สามารถสั่งระงับการใช้งานได้ แม้อินเทอร์เน็ตจะถูกบล็อคแต่ยังมีระบบที่ยังเปิดใช้งานแทนกันได้อยู่ คนในพื้นที่ก็ให้ความช่วยเหลือ เช่น เปิดให้ใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรี มีคนหลายคนยังทำงานให้แน่ใจว่ายังคงมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พวกเขากำลังประเมินสถานการณ์ว่าจะปิดอินเทอร์เน็ตหรือไม่ มีการรายงานสดภาคสนามผ่านเฟซบุ๊คน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ก่อนที่จะมีการตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต ผมคิดว่านักการเมืองและนักเก็บข้อมูลประสบความสำเร็จในการสอบถามความคิดเห็นจากนักหนังสือพิมพ์และผู้เชี่ยวชาญว่าต้องจัดการสถานการณ์ยังไงไว้เรียบร้อยแล้ว การสร้างงานในพื้นที่สาธารณะตอนนี้อันตรายมาก ไม่เพียงแต่จะถูกจับเท่านั้น แต่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตอีกด้วย




รูป 24-25 — ภาพผลงานของตู เมียะ ที่ใช้ในการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร


Napisa — I learned that there are many street artist collectives like ROAR (Release Of Artistic Rage) or
YSA (Yangon Street Association) that are based in Myanmar. Are there any collaborations between each collective that is running the communication campaign against coup d’etat? Or are there any kinds of collaboration across different artist collectives?


Thu Myat — We all have a brotherly relationship outside. We all work together. They also work to get people on the streets to give a clear message. To this day, they continue to write pictures, raise funds, and provide where needed. All “graffiti artists” across the country are united in their opposition.


pic. 26-27 — Artworks by graffiti artists in protesting against the military coup in the downtown area of Yangon.


pic. 28 — Protesters gathered up in the downtown area of Yangon


pic. 29 — Street art made by protesters in Myay Ni Gone, Sanchaung Township, Yangon


นภิษา — เรารู้มาว่ามีศิลปินหลายกลุ่มเช่น ROAR
(Release Of Artistic Rage) หรือ YSA (Yangon Street Association) ที่รวมตัวกันอยู่ในพม่า มันมีการทำงานร่วมกันระหว่างต่างกลุ่มมั้ยในการทำเคมเปญเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับการต่อต้านการรัฐประหาร? หรือมีความร่วมมือแบบไหนอีกระหว่างต่างกลุ่มศิลปิน?


ตู เมียะ —​ บนท้องถนน เรามีความเป็นพี่เป็นน้องกัน พวกเราสร้างงานด้วยกัน พวกเขากำลังสร้างงานที่ดึงผู้คนลงมาที่ท้องถนนเพื่อสื่อสารอย่างชัดเจน จนถึงทุกวันนี้ พวกเขายังคงพ่นภาพงาน ระดมทุน และสนับสนุนให้กับที่ๆ ต้องการ ศิลปินกราฟฟิตี้ทุกคนทั่วประเทศกำลังรวมตัวกันเพื่องัดค้าน


รูป 26-27 — ผลงานโดยศิลปินกราฟฟิตี้ที่ใช้ในการประท้วงต่อต้านรัฐประหารบริเวณใจกลางเมืองย่างกุ้ง


รูป 28 — กลุ่มผู้ประท้วงรวมตัวกันบริเวณใจกลางเมืองย่างกุ้ง


รูป 29 — ผลงานศิลปะบนท้องถนนโดยกลุ่มผู้ประท้วงใน เม นิ กอง ย่านซานจวน ย่างกุ้ง (Myay Ni Gone, Sanchaung Township, Yangon)


Image credits


pic. 21-23 — Image courtesy of Min Thant Zin
pic. 24-29 — Image courtesy of Thu Myat


เครดิตภาพ


รูป 21-23 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก มิน แตน ซิน (Min Thant Zin)
รูป 24-29 — ภาพโดยความอนุเคราะห์จาก ตู เมียะ

CONTRIBUTORS

Vuth Lyno
He is an experimental artist interested in space, cultural history, and pedagogy. His work often engages with micro and overlooked histories, notions of community, and the production of social relations. He works with various media modalities including photography, video, sculpture, light, and sound. He often constructs architectural bodies as situations for interaction. His practice is participatory in nature, exploring mutual and communal learning, experimentation, and sharing of multiple voices in the production of meaning of work. Alongside his individual artistic practice, he is also a curator and a member of Stiev Selapak Collective which runs Sa Sa Art Projects, a long-term initiative committed to the development of visual arts landscape in Cambodia. Together with the team, he teaches, initiates, and innovates art programs aimed at facilitating a growing and more critically conscious community.

Elaine W. Ho
She works between the realms of art, social practice, and language—since 2015 also a co-conspirator of Display Distribute, a thematic inquiry, distribution service, now and again exhibition space, and sometimes shop founded in Kowloon, Hong Kong. Seeping via the capricious circulation patterns of low-end globalization into other subaltern networks and grammars, Display Distribute’s recent activities include the experimental infrastructure LIGHT LOGISTICS, poetic research, and archival unit Shanzhai Lyric and a peripatetic radio programme of hidden feminist narratives known as Widow Radio Ching.

Thu Myat
Thu Myat has a B.A. in Business Management as well as a Diploma in Multimedia. He is the co-founder of Plus Ka Gyia company that specializes in graphic design. A member of the OKP Crew, he has been at the forefront of Myanmar’s urban and street art – especially as the organizer of Rendezvous: South East Asia Urban Art Event. He has participated in numerous exhibitions, including several group shows at New Zero Art Space and Lawkanat Gallery in Yangon. He also participated in the exhibition Urbane at Folklore-Kunstraum in Innsbruck, Austria, 2013. In 2017 he was commissioned to create a giant mural painting on the Myaynigone Flyover in Yangon. His first exhibition in Singapore “Myanmar New Wave, pop art revisited”, took place in October 2017.

Napisa Leelasuphapong
One of the keepers of BOOKSHOP LIBRARY. An organizer of [BOOKMARK MAGAZINE] who brought people from different professions to exchange conversation.

วุธ ลีโน
เขาเป็นศิลปินแนวทดลอง สนใจในพื้นที่ ประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม และการเรียนการสอน งานของเขามักจะสัมพันธ์กับเรื่องของเศษเสี้ยวทางประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่ถูกมองข้าม ความคิดเกี่ยวกับชุมชน และการผลิตของความสัมพันธ์ทางสังคม เขาทำงานกับสื่อหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย วิดีโอ ประติมากรรม แสง และเสียง เขามักจะก่อรูปร่างทางสถาปัตยกรรมในฐานะที่เป็นสถานการณ์สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ การทำงานของเขารวมไปถึงเรื่องของธรรมชาติ การค้นคว้าร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกัน ทดลอง และแบ่งปันเสียงอันหลากหลายในกระบวนการสร้างความหมายให้กับงาน คู่กันไปกับการทำงานศิลปะของตัวเอง เขายังเป็นภัณฑารักษ์และสมาชิกของ Stiev Selapak Collective ผู้ซึ่งดูแล Sa Sa Art Projects กลุ่มทางศิลปะระยะยาวที่ตั้งใจจะพัฒนาภูมิทัศน์ของทัศนศิลป์ในกัมพูชา ร่วมกันกับทีม เขาทั้งสอน จุดประกาย และสร้างสรรค์โปรแกรมที่มีเป้าหมายจะอำนวยให้เกิดชุมชนที่รู้จักที่จะวิพากษ์วิจารณ์

อีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ
ทำงานอยู่ในปริมณฑลของศิลปะ สังคม และภาษา เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Display Distribute ในปี 2558 ที่ตั้งอยู่ในเขตเกาลูน ประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นการตั้งคำถามรายประเด็น บริการจัดสรรสินค้า ทั้งยังเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ และบางครั้งก็เป็นร้านค้า Display Distribute ไหลล่องผ่าน รูปแบบต่างๆ ของระบบหมุนเวียนอันเอาแน่เอานอนไม่ได้ของระบบโลกาภิวัฒน์ระดับล่างเข้าสู่เครือข่าย และไวยากรณ์ของผู้คนที่ถูกกันออกจากการสื่อสาร และการเข้าถึงทรัพยากร โดยมีผลงานล่าสุดอย่าง LIGHT LOGISTICS ที่ทดลองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานของการจัดจำหน่าย Shanzhai Lyric หรืองานค้นคว้าอย่างงานกวีและระบบ การเก็บบันทึก จนถึงรายการวิทยุเฟมินิสต์ชายขอบในชื่อ Widow Radio Ching

ตู เมียะ
ตู เมียะได้รับปริญญาตรีจากสาขาบริหารธุรกิจควบคู่ไปกับอนุปริญญาสาขามัลติมีเดีย เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Plus Ka Gyia ที่เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบกราฟิก เป็นสมาชิกของ OKP เขาอยู่แถวหน้าของวงการศิลปะสตรีทอาร์ตในพม่า – และยังเป็นผู้จัดการกิจกรรม Rendezvous: South East Asia Urban Art Event เขาได้เข้าร่วมกับนิทรรศการมากมาย รวมไปถึงงานแสดงศิลปะแบบกลุ่มที่ New Zero Art Space และ Lawkanat Gallery ในย่างกุ้ง เขายังได้เข้าร่วมในนิทรรศการ Urbane ที่ Folklore-Kunstraum ในเมืองอินส์บรูค ประเทศออสเตรีย ในปี 2556 และในปี 2560 เขาได้ถูกว่าจ้างให้สร้างผลศิลปะบนกำแพงที่ Myaynigone Flyover ในย่างกุ้ง นิทรรศการครั้งแรกของเขาในสิงคโปร์ “Myanmar New Wave, pop art revisited” ถูกจัดขึ้นในปี 2560

นภิษา ลีละศุภพงษ์
หนึ่งในผู้ดูแลร้านหนังสือ BOOKSHOP LIBRARY เรียบเรียง [BOOKMARK MAGAZINE] คอยพาคนจากหลากสาขาอาชีพมาพบกันเพื่อแลกเปลี่ยนบทสนทนา

Cover image courtesy of Elaine W. Ho. Photo taken through the peephole, showing a person getting a lunch pack at a quarantine hotel.

ภาพปกโดยความอนุเคราะห์ของอีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ ภาพที่ถ่ายผ่านช่องมองตรงประตูของคนที่ออกมารับอาหารมื้อเที่ยงในโรงแรมสำหรับกักตัว

Edited by Nunnaree Panichkul, Supamas Pahulo, Napisa Leelasuphapong
Proofread by Nunnaree Panichkul, Akapol Sudasna, Kantida Busaba

เรียบเรียงโดย นันท์นรี พานิชกุล, ศุภมาศ พะหุโล, นภิษา ลีละศุภพงษ์
พิสูจน์อักษรโดย นันท์นรี พานิชกุล, อรรคพล สุทัศน์ ณ อยุธยา, กานต์ธิดา บุษบา
ถอดความเป็นภาษาไทยโดย นันท์นรี พานิชกุล