TOP PICKS! July 2023

แนะนำสิ่งพิมพ์คัดสรรจาก BOOKSHOP LIBRARY จำนวน 4 เล่ม ประจำเดือนกรกฎาคมนี้ ภายใต้แนวคิดเรื่องการทำงานข้ามสาขา เมื่อการมองปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างสามารถมีมุมที่เห็นได้มากกว่าแค่ทางเดียว ศิลปินหรือนักปฏิบัติการในช่วงเวลานี้ได้เลือกวิธีการทำงานแบบ multi-disciplinary เพื่อค้นหารูปแบบ มองให้เห็นอินไซต์ ไปจนถึงใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงาน นี่คือสิ่งพิมพ์ 4 เล่มที่จะชวนคิด เป็นเครื่องมือ หรือเป็นกรณีตัวอย่างถึงการทำงานร่วมกันข้ามสาขาให้กับผู้ที่สนใจ

1) DNA #5 Skin and Code บรรณาธิการโดย แดเนียล นอยเกอบาวเออร์ (Daniel Neugebauer)

หนังสือที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็นพื้นผิวกับรหัสที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ บทความในเล่มนี้พาไปดูร่องรอยบนอินเทอร์เฟซในโลกอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นจากการโพสต์ความคิดเห็นที่รุนแรง การส่งต่ออคติในรูปแบบของพิกเซล การแบ่งแยกที่สื่อออกมาในรูปแบบของมีมในกรุ๊ปแชท นี่คือการส่งต่อค่านิมยมและอิทธิพลทางวัฒนธรรมบนโลกอินเทอร์เน็ตผ่านขั้นตอนการเข้ารหัสและถอดรหัสบนพื้นที่อินเทอร์เฟซ หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความของ “เสียงรบกวน” แบบสหวิทยาการระหว่างโครงสร้างทางพื้นผิวและการคัดสรรช่องว่างต่งาๆ ทั้งผิวสัมผัส เนื้อหนัง อินเทอร์เฟซ ที่ต่างบาดจ็บ ถูกตัดสิน เปลี่ยนแปลง และได้รับการแก้ไข

ผู้ที่สนใจสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ในราคา 435 บาท ที่นี่ 

2) Between the Material and the Possible บรรณาธิการโดย บาสแซม เอล บาโรนิ (Bassam El Baroni)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ศิลปิน นักทฤษฎี ภัณฑารักษ์ และนักวิจัยจำนวนมากได้เปลี่ยนจากการ “วิพากษ์สถาบัน” (institutional critique) ไปเป็น “การวิจารณ์โครงสร้างพื้นฐาน” พวกเขาสำรวจศักยภาพของวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างสรรค์ ประเด็นทางศิลปะได้จมอยู่กับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นระบบและการคิดเชิงข้อเสนอ เพื่อจัดการกับความท้าทายที่สำคัญ เช่น วิกฤติการเงินที่ลุกลามอย่างรวดเร็วหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หนังสือเล่มนี้พาผู้อ่านไปตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ ตั้งแต่เรื่องของการตั้งถิ่นฐานในอวกาศ ไปจนถึงการปรับโครงสร้างบล็อกเชนเพื่อการเงิน ผ่านการรวบรวมบทความวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของผู้ร่วมเขียนที่มีความเชื่อเดียวกันว่าอนาคตของเราทุกคนนั้นแก้ไขได้ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง ความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่นและระดับโลก รวมถึงมรดกทางประวัติศาสตร์และการเมือง

ผู้ที่สนใจสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ในราคา 970 บาท ที่นี่

3) The Incidents: Beyond the Collaboration ร่วมสนทนาโดย ราฟ ซิมงส์ (Raf Simons) และ สเตอร์ลิงค์ รูบี้ (Sterling Ruby)

บทสนทนาระหว่างสองนักสร้างสรรค์แห่งยุคสมัย ราฟ ซิมงส์ ดีไซนเนอร์แนวหน้าของโลกแฟชั่น และ สเตอร์ลิงค์ รูบี้ ศิลปินที่สร้างผลงานอันน่าจดจำผ่านหลากหลายสื่อ บทสนทนานี้เกิดขึ้นบนเวที Harvard University Graduate School of Design ดยมีเจสสิก้า มอร์แกน (Jessica Morgan) ภัณฑารักษ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ เนื้อหาว่าด้วยการนำเสนอความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโลกทางแฟชั่นและศิลปะ มิตรภาพความเป็นเพื่อน การทำงานข้ามสาขาของทั้งสองคนที่เป็นเพื่อนกันมาหลายสิบปี สิ่งที่มีความหมายมากกว่าความร่วมมือทั่วไปคือการได้แชร์ความหลงใหลที่มีต่อเสื้อผ้า ศิลปิน และสิ่งแวดล้อม ทั้งสองต่างพยายามก้าวข้ามสาขาการทำงานแบบเดิมไปสู่การค้นหาสิ่งใหม่ๆ จากสาขาอื่น จนได้เห็นเป็นคอลเล็กชั่นที่น่าสนใจมากว่าทศวรรษที่ผ่านมา 

สามารถรับชมงานเสวนาได้ที่นี่

ผู้ที่สนใจสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ในราคา 555 บาท ที่นี่

4) นิตยสาร ZWEIKOMMASIEBEN #24 กาย ชเวคเลอร์ (Guy Schwegler) เฮเลนา จูเลียน (Helena Julian) มาธีส นิวฮาว (Mathis Neuhaus) (บรรณาธิการ)

ภายใต้ธีมดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แนวทดลอง นิตยสาร zweikommasieben ฉบับที่ 24 นี้นำเสนอเนื้อหาจากบุคคลต่างๆ ที่มีความเชื่อว่า ทุกสิ่งจะเป็นจริง โลกและวัฒนธรรมต่างๆ จะเติบโตได้จากการร่วมมือกัน มีบทสัมภาษณ์จาก  :3LON หรือ อีลอน แบทเทิล (Elon Battle) นักร้อง นักแต่งเพลงจากบัลติมอร์ที่อธิบายว่า การทำเพลงของเขานั้นเลือกสัญชาตญาณเป็นตัวตัดสินใจในการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ โปรดิวเซอร์ชาวสวิส-คองโก โซรายา ลูทางกุ โบนาเวนเจอร์ (Soraya Lutangu Bonaventure) นำเสนอความคิดเห็นที่มีต่อการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการทำงานเดี่ยวและการทำงานร่วมกัน เธอบอกไว้ในบทความในเล่มนี้ว่า “การทำงานใดๆ นั้น เมื่อเราร่วมแชร์กับคนอื่นๆ แล้ว เรื่องนั้นก็ยิ่งจะสะดวกและง่ายดาย” 

ผู้ที่สนใจสั่งซื้อนิตยสารเล่มนี้ได้ในราคา 660 บาท ที่นี่