Did you just come from Doc Club & Pub.? […] yes, yes. haven’t been outside a while, so now that I’m out, gotta make the most out of it. Next up is 100Tonson {100 Tonson Foundation} […] You are going for the special program {SILENCE: A special program as part of the exhibition “A Minor History” by Joei-Apichatpong Weerasethakul} or P’Joei, right? I actually went this past Wednesday. Honestly, it was quite uncomfortable ((laughter)) […] not sure if Doc Club has copies of these two books by P’Chai {วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา} that was just in. Love the name of the press! Tropical Malady Press  [สาปสำเริงในสวนสำราญ]  [อาชีพเมื่อ ๒๔.๐๐.๐๑ นาฬิกา] […] On the table over there are the collected items in กล่องฟ้าสาง. The group that worked on the exhibition on the October 6th massacre couldn’t exhibit their work at Thammasat University (where the massacre took place) because the university didn’t allow it. So they made the whole thing into a box, like a mobile exhibition that compiled historical evidence about this incident […] Next to it are books that the library selected with the theme of the massacre in mind [Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok] [ทัศนาวิลล่า กรีมัลดี: สำนึกที่บอบช้ำและทรงจำที่สำแดง] [วารสารอ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ตุลาคม-ธันวาคม 2553] [และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ] […] Take a look at this one written by Pod {Podcharakrit To-im} for the exhibition right up here by Tan {Nawin Nuthong} after he came to see Tan’s exhibition. The article was semi-fictional, talking about Chaos Theory in parallel with observations on social and political issues in Thailand. A fun read. [The Dangerous Future on a Fracture mechanics]  […] If you couldn’t finish it here, you can scan the QR code at the front door and read it online […] And what is this one about? […] This one you could also scan the QR code printed on the cover […] 2038  [2038 The New Serenity] is a book that accompanies the German Pavilion at the Venice Architecture Biennale (German Pavilion at the 17th International Architecture Exhibition — La Biennale di Venezia) […] Once you scanned, the code will take you to this Pavilion’s website that has the exhibition’s videos, and you can create your own avatar to roam around the virtual pavilion […] The theme is to tell stories from the year 2038 when the world has found peace and there is no longer any drama […] Like, the first video on the website is of two actors who were born during the year 2020 and spoke about their birth year during their visit to the German Pavilion in 2038 […] The book itself also invited Audrey Tang, the Digital Minister of Taiwan, to write from the point of the year 2038 and reflect on the present evolution of the political regime, as well as the construction of better collective values, as a result of technological development and increasing participatory democracy. […] I was interested in how they said that in 2030 nature, whether it be the river, mountain, or animals, will be able to participate in democracy, as these things will be transformed into avatars that act as representatives voicing their own needs […] Also the adoption of the voting system called Quadratic. It’s a system that distributes one’s vote to different issues, as opposed to one person one vote for a representative like before. This system of Quadratic Voting means one person holds several units as credit, and distributes these units to advocate for the issues one supports. […] This way, it’s no longer a zero-sum game, and balances what everyone wants in the world that is no longer competitive and cut-throat […] Where do you work? […] I work at an NGO advocating for bird conservation. Our office is around Phra Nakorn. […] Were you the ones that arranged bird-watching activities at Chula? […] Yes! […] I wanted so badly to sign up, but the spots got filled up so quickly. Hoping there’s a next one. […] Here at the library there are two books that talk about birds. [Birds] This one is research, I think, and the other one is a photo book [Tokyo Parrots] Both are by Japanese artists […] They are really serious about what they do, aren’t they? […] Before this, we used to hold Sunday Walk, an off-site activity that is built on our online magazine [BOOKMARK MAGAZINE], like this one [Sunday Walk: To Not Forget]  is a journal from our visit to monuments on Ratchadamnoen Road. The topic that time was architecture, the struggle over the writing of history and memories between the royalists and the pro-democracy that resulted in the demolition and construction of several structures along this road {Sunday Walk: To Not Forget} […] Speaking of birds and politics, there was a bird actually named “Seri-Thai” ((it just came to me now that a bird was named Pridi (Chloropsis Aurifrons Pridii)). It was the same name that Prima Jalichandra-Sakuntabhai, one of the artists that participated in online activity with BOOKSHOP LIBRARY in  Performative Lecture: Excerpt Of Memories On The Screen used as a name for their performative lecture at Falcrum Press in Los Angeles in the beginning of last year))

มาจาก Doc Club & Pub. เหรอคะ […] ใช่ๆ ไม่ได้ออกจากบ้านนานมาก ออกมาทีนึงเลยเอาให้ครบ เดี๋ยวไปต่อที่ 100Tonson {100 Tonson Foundation} […] ไปดูโปรแกรมพิเศษ {SILENCE โปรแกรมพิเศษภายใต้นิทรรศการ A Minor History ประวัติศาสตร์กระจ้อยร่อย โดยเจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล} […] ของพี่เจ้ยใช่มั้ย ไปดูมาแล้วเมื่อวันพุธเหมือนกัน ค่อนข้างอึดอัด ((หัวเราะ)) […] ไม่รู้มีขายที่ Doc Club มั้ย สองเล่มนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ของพี่ชาย {วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา} ชอบชื่อสำนักพิมพ์มาก ชื่อโรคเขตร้อนการพิมพ์ Tropical Malady Press [สาปสำเริงในสวนสำราญ]  [อาชีพเมื่อ ๒๔.๐๐.๐๑ นาฬิกา] […] บนโต๊ะตรงนั้นเป็นของที่อยู่ในกล่องฟ้าสาง กลุ่มที่จะทำนิทรรศการเกี่ยวกับ 6 ตุลาฯ ที่ธรรมศาสตร์แต่มหาลัยฯ ไม่อนุญาตให้จัด เขาเลยทำออกมาเป็นกล่อง เหมือนกับเป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ รวบรวมเอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ 6 ตุลาฯ เอาไว้ […] ส่วนโต๊ะข้างๆ เป็นหนังสือจากฝั่งห้องสมุดที่คัดเลือกมาจากประเด็น 6 ตุลาฯ [Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok] [ทัศนาวิลล่า กรีมัลดี: สำนึกที่บอบช้ำและทรงจำที่สำแดง] [วารสารอ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ตุลาคม-ธันวาคม 2553] [และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ] […] ลองอ่านเล่มนี้ดูได้ เป็นงานเขียนของพชร ที่เขียนให้กับนิทรรศการด้านบนตรงนี้ของแทน {นวิน หนูทอง} หลังจากเขามาดูนิทรรศการอันนี้ เป็นบทความกึ่งๆ ฟิคชั่น เล่าถึงทฤษฎีความโกลาหล ล้อกันไปกับข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นการเมือง สังคม ในประเทศไทย สนุกนะ [The Dangerous Future on a Fracture mechanics] […] ถ้าอ่านไม่จบที่นี่ก็สแกนคิวอาร์โค้ดตรงหน้าประตูเอาไว้อ่านออนไลน์ได้ […] แล้วเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร […] อันนี้ก็สแกนคิวอาร์โค้ดบนปกได้ […] 2038 [2038 The New Serenity] เป็นหนังสือของ German Pavilion ที่งาน Venice Architecture Biennale (German Pavilion at the 17th International Architecture Exhibition — La Biennale di Venezia) […] สแกนแล้วมันจะเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของพาวิลเลียนอันนี้ จะมีพวกวิดีโอจากงาน แล้วก็สามารถสร้าง อวตารของตัวเองเพื่อเข้าไปเดินเล่นในเวอร์ช่วลพาวิลเลียน […] ธีมมันจะเหมือนกับว่าเล่าเรื่องจากปี 2038 ที่โลกสงบสุขแล้ว ไม่มีดราม่าอีกต่อไป […] อย่างวิดีโออันแรกบนเว็บก็จะเป็นสองนักแสดงที่เกิดในช่วงปี 2020 คุยกันถึงปีที่พวกเขาเกิดระหว่างเดินเที่ยวเยอรมันพาวิลเลียนในปี 2038 […] ส่วนงานเขียนในเล่ม มีเชิญออเดรย์ ถัง รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของไต้หวันมาเขียนโดยมองย้อนกลับมาจากปี 2038 ถึงวิวัฒนาการของระบบการเมือง และการสร้างค่านิยมร่วมกันที่ดีขึ้น ที่เกิดจากพัฒนาการของเทคโนโลยีกับรูปแบบของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น […] เราสนใจที่เขาเล่าว่าในปี 2030 ธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ภูเขา สัตว์ ได้มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย โดยสิ่งเหล่านี้ถูกแปลงให้เป็นอวตารเพื่อเป็นตัวแทนในการพูดถึงความต้องการของพวกเขา […] แล้วก็การนำระบบโหวตที่เรียกว่า Quadratic มาใช้ มันเป็นระบบที่กระจายคะแนนโหวตของคนคนหนึ่งออกไปสู่ประเด็นต่างๆ ไม่ใช่หนึ่งคนถือหนึ่งโหวดเพื่อเลือกผู้แทนแบบเดิมอีกแล้ว ซึ่งระบบ Quadratic Voting เป็นที่คนคนหนึ่งถือคะแนนหลายหน่วยเป็นเครดิต แล้วกระจายคะแนนนี้ของตัวเองเพื่อผลักดันประเด็นที่ตัวเองต้องการสนับสนุน […] การทำแบบนี้มันทำให้ทุกคนไม่อยู่ฝ่ายแพ้หรือชนะในแบบเดิม แต่มันช่วยบาลานซ์ในทุกคนได้สิ่งที่ตัวเองต้องการพอๆ กัน ในโลกที่ไม่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายอีกต่อไปแล้ว […] ทำงานอะไรกันเหรอคะ? […] NGO เกี่ยวกับอนุรักษ์นกค่ะ ออฟฟิศอยู่แถวพระนคร […] ใช่ที่เคยจัดกิจกรรมดูนกที่จุฬาฯ รึเปล่า […] ใช่ๆ […] อยากสมัครอันนั้นแต่เต็มเร็วมากเลย รอให้จัดอีกนะคะ […] ที่ห้องสมุดจะมีสองเล่มนี้ที่พูดถึงนก [Birds] อันนี้เหมือนจะเป็นรีเสิร์ช ส่วนอีกเล่มเป็นภาพถ่าย [Tokyo Parrots] เป็นศิลปินญี่ปุ่นทั้งคู่ […] เขาทำอะไรจริงจังกันดีนะครับ […] ก่อนหน้านี้เราเคยมีจัด Sunday Walk เป็นกิจกรรมนอกสถานที่ที่เราต่อยอดมาจากออนไลน์แมกาซีน [BOOKMARK MAGAZINE] ที่เราทำ อย่างเล่มนี้ [Sunday Walk: To Not Forget] เป็นบันทึกจากการเดินดูอนุสาวรีย์บนถนนราชดำเนิน ในครั้งนั้นเป็นหัวข้อสถาปัตยกรรม การช่วงชิงประวัติศาสตร์ และความทรงจำระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมกับฝ่ายประชาธิปไตยที่มันทำให้เกิดการรื้อและสร้างสถาปัตยกรรมต่างๆ ตลอดเส้นทางนี้ {Sunday Walk: To Not Forget} […] ถ้าพูดถึงนกกับการเมืองก็เคยมีการตั้งชื่ออย่างนกเสรีไทย นะครับ ((เพิ่งนึกออกว่ามีชื่อนกปรีดี (Chloropsis Aurifrons Pridii) ที่พรีมา ชาลีจันทร์-ศกุนตาภัย หนึ่งในศิลปินที่ร่วมกิจกรรมออนไลน์กับ BOOKSHOP LIBRARY ในโปรเจกต์ Performative Lecture: Excerpt Of Memories On The Screen ใช้เป็นชื่องานเลคเชอร์การแสดงในชื่อ Chloropsis Aurifrons Pridii ของเขาที่ Falcrum Press ที่ลอสแองเจลิสเมื่อต้นปีที่ผ่านมา))

TRANSLATION

BACK TO TOP