BOOKSHOP LIBRARY
[BOOKMARK MAGAZINE]

Back

[BM] 14 POSTED ON 11/25/2022

HERE'S ALWAYS HERE

ทราย โชนะโต

สำหรับฉบับที่ 14 HERE'S ALWAYS HERE เป็นเรื่องสั้นที่เขียนขึ้นจากบทสนทนาของทราย โชนะโต ที่ได้มาจากนักนิเวศน์วิทยา โดยเป็นงานเขียน speculative fiction เกี่ยวกับอนาคตที่อาจจะใกล้หรือไกลของกรุงเทพฯ หลังเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มนุษย์ในยุค Anthropocene ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเองในฐานะมนุษย์ใหม่ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นเพื่อมีชีวิตรอด โดยเฉพาะกับสัตว์ประจำถิ่นของกรุงเทพฯ ตัว ‘เหี้ย’

[BM] 13 ไม่แข่งยิ่งแพ้ | Work Until You Drop POSTED ON 09/30/2022

Photo Essay—What Do You See?

เรื่องและภาพโดย ฐิติภัค ธีระตระกูล
[BM] 13 POSTED ON 09/30/2022

ไม่แข่งยิ่งแพ้ | Work Until You Drop

สรวิศ ชัยนาม กนกวรรณ ตระกูลยิ่งเจริญ วิภาวี กิตติเธียร ฐิติภัค ธีระตระกูล

[BOOMARK MAGAZINE] ฉบับที่ 13 ไม่แข่งยิ่งแพ้ | Work Until You Drop ชวนอ่านเรื่องราวว่าด้วยคน แรงงาน และเวลา ผ่านบทสัมภาษณ์กับ สรวิศ ชัยนาม ศาสตราจารย์จากภาควิชารัฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ชวนคิดถึงเรื่องการเป็นชนชั้นแรงงานผ่านการวิพากษ์ทุนนิยม ฐิติภัค ธีระตระกูล ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างผ่านตัวอย่างที่เห็นได้จากกิจการที่บ้าน กนกวรรณ ตระกูลยิ่งเจริญ ในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ของคน เทคโนโลยี และเมือง และสุดท้าย วิภาวี กิตติเธียร ว่าด้วยการมีส่วนร่วนในการสร้างเมืองผ่านบทบาทของการเป็นนักประสานงาน

[BM] 12 POSTED ON 06/01/2022

TYPO/INFO/GRAPHIC

น้ำใส ศุภวงศ์ อานนท์ ชวาลาวัณย์ พร้อมพรรณ ศุขสุเมฆ ธนัช ธีระดากร Wanwai Shum พชร์ เอื้อเชิดกุล iannnnn อิสระ ชูศรี

สำหรับฉบับที่ 12 TYPO/INFO/GRAPHIC เป็นการสำรวจภูมิทัศน์ของไทโปกราฟีและเรื่องราวรายล้อมตัวอักษร ตั้งแต่การออกแบบตัวอักษร แพลตฟอร์มรวบรวมตัวอักษร และภาษาภายใต้ตัวอักษร ด้วยสายตาของนักออกแบบรับเชิญผู้สนใจการทำข้อมูล น้ำใส ศุภวงศ์ ร่วมกับ BOOKSHOP LIBRARY ผ่านการพูดคุยกับพร้อมพรรณ ศุขสุเมฆ (บูม) พชร์ เอื้อเชิดกุล (เพชร) Wanwai Shum นักออกแบบตัวอักษรและกราฟิกดีไซเนอร์ ธนัช ธีระดากร ศิลปิน อานนท์ ชวาลาวัณย์ (แว่น) ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน iannnnn ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ f0nt.com และอิสระ ชูศรี นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์

[BM] 11 POSTED ON 03/02/2022

THE CLASSROOM IS BURNING

มนธิการ์ คำออน อภิโชค จันทรเสน ณฐพล บุญประกอบ Dude, Movie

ในฉบับนี้ตั้งต้นด้วยการทบทวบกลับไปที่ระบบการศึกษา เมื่อคำว่า ‘การเรียนรู้’ ไม่ถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตของสถาบันการศึกษาอีกต่อไป ทั้งยังเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ตลอดชีวิต ผู้เรียน ผู้สอน และนักปฏิบัติการที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการศึกษา การทำงานในครั้งนี้จะมาดูกันว่าพวกเขนิยามคำว่า ห้องเรียน ของตัวเองอย่างไร BOOKSHOP LIBRARY ทำงานกับมนธิการ์ คำออน (เอิร์น) อดีตนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์และปัจจุบันใช้ชีวิตในฐานะนักสร้างภาพยนตร์ ร่วมกันสัมภาษณ์ผู้คนที่ทำงานในหลากหลายบทบาท ทั้งผู้จัดฉายหนัง นักเขียนบท ผู้กำกับและอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้แก่ อภิโชค จันทรเสน (นท) ณฐพล บุญประกอบ (ไก่) และ Dude, Movie (เชียงใหม่)

[BM] 10 POSTED ON 07/31/2021

LISTEN TO COOPERATION, LISTEN TO LIBERATION

ธีรภาส ว่องไพศาลกิจ ธนาธย์ รสานนท์ ศรัณย์รัชต์ สีลารัตน์ พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง พันแสน คล่องดี

ในฉบับนี้เป็นการสำรวจความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนดนตรี เพื่อที่จะให้เสียงของพวกเขายังถูกฟังในช่วงเวลาแห่งความผันผวนของสังคมและการเมือง ความเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ทั้งเป็นการร่วมมือกันเพื่อเสรีภาพในการฟัง และความร่วมมือกันเพื่อต้านทานความไม่เป็นธรรมในระบบที่บิดเบี้ยว [BOOKMARK MAGAZINE] ฉบับนี้อยู่ในรูปแบบของพอดคาสต์ ดำเนินรายการโดยธีรภาส ว่องไพศาลกิจ (เม้ง) หรือ Beam Wong ร่วมพูดคุยกับศรัณย์รัชต์ สีลารัตน์ (ฟ้า) จากกลุ่ม Co-SOLID ธนาธย์ รสานนท์ (พีท) จาก blozxom พันแสน คล่องดี (แคน) จาก DOGWHINE และพิสิฎฐ์กุล ควรแถลง (เดื่อง) กลุ่มนักดนตรีและดีเจที่แสดงออกถึงความร่วมมือในแบบฉบับของตัวเอง ที่สร้างความเคลื่อนไหวให้กับแวดวงดนตรีอย่างต่อเนื่อง

[BM] 09 POSTED ON 05/29/2021

Unnatural Natural Reasons about Sex: เพศและเหตุผล

มุกดาภา ยั่งยืนภารดร นภิษา ลีละศุภพงษ์ หฤษฏ์ ศรีขาว อดิศักดิ์ จิราศักดิ์เกษม

บทสนทนาในฉบับนี้เป็นการชวน มุก ผู้แปลหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน กับ เพิทและบีมที่ร่วมงานกันในโปรเจกต์ BANGKOK WET DREAM มาคุยกันเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติ และไม่เป็นธรรมชาติในเรื่องเพศ ความหลากหลายและลื่นไหลทางเพศในสังคมและวัฒนธรรม ผ่านเรื่องของภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ยูนิฟอร์ม ซีรีส์วาย มานุษยวิทยา และวรรณกรรม

[BM] 08 POSTED ON 03/27/2021

In a Room with a View: ในห้องที่มีหน้าต่าง

VUTH LYNO ELAINE W. HO THU MYAT NAPISA LEELASUPHAPONG

ฉบับที่ 8 ของ [BOOKMARK MAGAZINE] เริ่มต้นจากการพูดคุยกับเพื่อนของเรา อรวรรณ อรุณรักษ์ ศิลปินไทยที่ขณะนี้พำนักในเยอรมนี บทสนทนากับอรวรรณชวนให้เราคิดที่จะติดต่อเพื่อนของเราคนอื่นๆ เพื่อถามว่าขณะนี้ พวกเขาอยู่ที่ไหนและเป็นยังไงบ้างภายใต้ข้อจำกัดของเมืองที่แต่ละคนอยู่ในยุคหลังโควิด

เราได้ติดต่อไปหาวุธ ลีโน ภัณฑารักษ์และศิลปิน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Sa Sa Art Projects ในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา; อีเลน ดับเบิ้ลยู. โฮ เพื่อนของเราผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในฮ่องกง ที่มีสำนักพิมพ์อิสระ และกลุ่มทางศิลปะที่ชื่อว่า Display Distribute; ตู เมียะ ศิลปินกราฟฟิตี้จากย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่ตอนนี้กำลังเข้าร่วมกระบวนการประชาชนต่อต้านการรัฐประหารของทหาร

The 8th issue of [BOOKMARK MAGAZINE] started from a catch up call we had with Orawan Arunrak, a friend of ours, an artist who is now living in Germany. The conversation with Orawan made us think of reaching out to our friends, to ask about the place they are living and how they are doing amidst their city’s restrictions in the time of post-Covid.

We reached out to Vuth Lyno, a curator and an artist, one of the founders of Sa Sa Art Projects in Phnom Penh, Cambodia; Elaine W. Ho, our friend who is residing in Hong Kong, running her independent publishing house and art initiative called Display Distribute; Thu Myat, a graffiti artist based in Yangon, Myanmar, who is now joining the people force against the military coup.

[BM] 07 POSTED ON 01/23/2021

โหมโรง: คุยข้างหลุม I Prelude: They Dig Into the Soil and Talk by the Hole

นวิน หนูทอง ธรรดร กุลเกลี้ยง ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน ชยภัทร อาชีวระงับโรค นภิษา ลีละศุภพงษ์

บทสนทนาฉบับนี้เกิดขึ้นที่สวนด้านหลังของบางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ ในเดือนธันวาคม มันเริ่มจากนิทรรศการของแทนที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 30 มกราคม ปีนี้ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของโบราณคดี โบราณคดีในเกม เรื่องเล่า เทคโนโลยี เราจึงได้ชวนเจ้าของเพจและแพลตฟอร์มเล่าเรื่องรุ่นใหม่มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกับศิลปิน โดยมีดรจากเพจเล่าเรื่องโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ชื่อ The PITT และทีมจาก Spaceth.co คือ เติ้ล ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ปั๊บ นักวิจัย ที่แพลตฟอร์มของพวกเขาเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ อวกาศ และอนาคต พวกเขาคุยกันถึงเรื่องของอารยธรรมในอดีต ดวงดาว การค้นพบ ตำนาน ศาสนา นิทาน การ์ตูน ภาพยนตร์ อนาคต เกม ประวัติศาสตร์ของเกม ทุกคนต่างเป็นนักขุด ค้นคว้าในสิ่งที่ตัวเองสนใจในแบบฉบับของตัวเอง

[BM] 06 POSTED ON 10/18/2020

HOW TO NOT FORGET: IN COMMEMORATION OF THINGS PAST

PAPHOP KERDSUP THANAVI CHOTPRADIT PRIMA JALICHANDRA-SAKUNTABHAI

ปภพ เกิดทรัพย์ ธนาวิ โชติประดิษฐ และพรีมา ชาลีจันทร์-ศกุนตาภัย มีความสนใจร่วมกันในเรื่องความทรงจำ โดยมองผ่านอนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน วัตถุหรือสถานที่เพื่อการรำลึก รวมไปถึงผลงานรูปแบบอื่นเช่นงานนิทรรศการและการแสดงของกลุ่มผู้ชุมนุม  เพื่อศึกษาความหมายและการมีอยู่ของสัญลักษณ์เหล่านี้ ว่ายึดโยงและแปรเปลี่ยนไปตามโครงสร้างอำนาจในสังคมของผู้ที่สามารถเปล่งเสียงได้ดังกว่ายังไง บทสนทนาข้ามไปมาระหว่างหลายพื้นที่และบริบททางสังคมการเมือง รวมไปถึงโลกจริงและโลกเสมือน

Paphop Kerdsup, Thanavi Chotpradit, and Prima Jalichandra-Sakuntabhai share the same interest in the making of memory by looking at monuments, memorials, commemorative objects, and places, including other forms of commemoration such as exhibitions or performances, to study how the meaning and existence of these symbols connect and transform according to the power structure in society of who can voice louder than others. The conversation covers different socio-political spaces and contexts, and a physical world and virtual world.

[BM] 05.4 POSTED ON 09/27/2020

SENSE AND SENSIBILITY: ON CONTEMPORARY MIGRATING AND FORAGING

PANITA S. DOHEE KWON

วิธีการทำงานของโดฮี ควอน และพนิตา แสงหิรัญวัฒนา ได้รับแรงบันดาลใจจากการทำงานในต่างถิ่น BOOKSHOP LIBRARY ชวนทั้งคู่มาร่วมสนทนากันถึงความสนใจที่ทั้งคู่มีร่วมกันในการทำงานกับธรรมชาติ และการใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติ โดฮี เป็นนักวาดภาพประกอบจากเกาหลีใต้ที่หลงใหลในการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนนำไปสู่ผลงานเกี่ยวกับสมุนไพรไทย ส่วนพนิตา เป็นศิลปินและนักออกแบบชาวไทย ที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศเบลเยียม นำเอาความสนใจของเธอเกี่ยวกับเรื่องประสาทสัมผัส ไปต่อยอดใน โปรเจกต์การเก็บเกี่ยวพืชพรรณในเมือง มาแปรรูปเป็นอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องหอม

The ways Dohee Kwon and Panita S. work derived from their experience of working in different contexts. In this issue BOOKSHOP LIBRARY invited them to exchange their interests in working with nature and living along with nature. Dohee Kwon is a South Korean illustrator. Her interests in traveling in Southeast Asia brought her to the project about Thai herbs. Panita is a Thai artist and designer based in Belgium. She extends her interest in sensory to an urban foraging project, collecting plants to process into food, drinks, and scent.

[BM] 05.3 POSTED ON 09/19/2020

DEAR READER, PLEASE READ: SHALL WE READ FURTHER?

FURTHER READING (JANUAR RIANTO) WATERPROOF EXHIBITIONS (RAWIRUJ SURADIN / NAPISA LEELASUPHAPONG)

"เราคิดว่าการสนับสนุนให้เกิดการอ่านเป็นสิ่งสำคัญ..." และ “นักออกแบบจำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือ” เป็นหนึ่งในสิ่งที่จานัวร์ ริยันโต ผู้ร่วมก่อตั้ง Further Reading แพลตฟอร์มเผยแพร่เนื้อหา เล่าให้ กลุ่มศิลปิน Waterproof Exhibitions ฟัง ระหว่างบทสนทนาที่พวกเขาพูดคุยเกี่ยวกับที่มาที่ไปของ Further Reading วัฒนธรรมการอ่านของนักออกแบบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ควรส่งเสริม และสิ่งพิมพ์ที่พวกเขาคิดว่าน่าสนใจ

“I think it is also important to keep promoting reading…” and “It is important for the designer to read” are some of the points that Januar Rianto, a co-founder of a publishing platform, Further Reading, told an art initiative Waterproof Exhibitions, during a conversation they had about the starting point of Further Reading, reading culture in Southeast Asia that need to be promoted, and their reading references that may interest some readers.

[BM] 05.2 POSTED ON 09/11/2020

RISO TOWN: THE SENSE OF PLACE OF THE RISOGRAPH STUDIOS

หายหายและหลายๆ ใบ TOGETHER DESIGN AND RISOGRAPH STUDIO POOP PRESS WITTI STUDIO HAPTIC EDITIONS SMOOVE

ปัญจพร ไชยชมภู จากหายหายและหลายๆ ใบ ศิลปินผู้สนใจการเล่าเรื่องผ่านการเขียนและผลิตหนังสือทำมือ ได้มีโอกาสเยี่ยมชม ถ่ายภาพ และพูดคุยกับสตูดิโอที่รับพิมพ์ริโซ่กราฟห้าที่ ที่รวมตัวกันในนาม Riso BKK หรือ ริโซ่ บางกอก ได้แก่ Witti Studio, Haptic Editions, Smoove, Poop Press และ Together Design and Risograph Studio ถึงพื้นที่ทั้งในสตูดิโอและรอบๆ สตูดิโอในการผลิตผลงาน ที่สะท้อนตัวตนและความสนใจของผู้ก่อตั้ง

[BM] 05.1 POSTED ON 09/02/2020

FROM BANGKOK ART BOOK FAIR TO BKKABF CO-OP: WHERE IS THE ART BOOK FAIR AND WHAT IS A CO-OP?

NATEDOW ONGARTTHAWORN SANKRIT KULMANOCHAWONG STUDIO 150 NUTTHA ISARAPHITHAKKUL

เนตรดาว องอาจถาวร และ สันกฤต กุลมาโนชวงศ์ ร่วมพูดคุยผ่านพอดแคสต์กับ พัชร ลัดดาพันธ์ และ ปิยกรณ์ ชัยวีรพันธ์เดช จาก STUDIO150 ผู้ร่วมก่อตั้ง BKKABF CO-OP และ ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล ผู้ประสานงานชุมชน ถึงที่มาที่ไปของ BKKABF CO-OP และแนวคิดเบื้องหลังการเปลี่ยนจากงานแฟร์สู่กิจกรรมออนไลน์

[BM] 05 POSTED ON 09/02/2020

BKKABF CO-OP: IN CONVERSATION WITH THE CONTRIBUTORS

NATEDOW ONGARTTHAWORN SANKRIT KULMANOCHAWONG NUTTHA ISARAPHITHAKKUL STUDIO 150 RISO BKK หายหายและหลายๆ ใบ FURTHER READING WATERPROOF EXHIBITIONS DOHEE KWON PANITA S.

[BOOKMARK MAGAZINE] ฉบับที่ 5 เราจัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อเข้าร่วมกับ BKKABF CO-OP Online Festival โดยเราได้ชักชวนทั้งผู้ร่วมก่อตั้ง ผู้ประสานงาน และสมาชิกที่เข้าร่วม BKKABF CO-OP มาร่วมพูดคุยเพื่อสร้างสี่บทสนทนา ที่เราจะทยอยปล่อยตลอดเดือนกันยายน

The 5th issue of [BOOKMARK MAGAZINE] is specially created to join the Online Festival of BKKABF CO-OP. We invited whether the co-founder, the project coordinator and the contributors of BKKABF CO-OP to discuss, in order to create four conversations that will be released throughout this September.

[BM] 04 POSTED ON 08/08/2020

PUBLISHING THE PUBLIC(ATION): WHAT IT MEANS TO MAKE SOMETHING PUBLIC

HONEY KRAIWEE YIN YIN WONG AMY SUO WU CLARA BALAGUER

ฮันนี่ ไกรวีร์ หยิน หยิน หว่อง เอมี่ โซวู และคลาร่า บาลาแกร์ ร่วมพูดคุยกันถึงความหมายของคำว่า ‘สิ่งพิมพ์’ ในภาษาอังกฤษ (publication) ที่มีนัยยะสื่อถึงความสัมพันธ์กับสาธารณชน (public) มองไปยังการทำให้บางสิ่งบางอย่างเป็นสาธารณะ และ พูดถึง 'สิ่งพิมพ์' ในฐานะเครื่องมือปฏิบัติการทางสังคมและการเมือง ที่นำไปใช้ส่งต่อประเด็นที่ผลักดันสังคมของเราไปข้างหน้า

Honey Kraiwee, Yin Yin Wong, Amy Suo Wu and Clara Balaguer discussed about the word ‘publication’ that implies its relation to ‘public’; looking at the act of making something public; a publication as a tool for social and political practices that can be used to forward significant issues to our society.

[BM] 03 POSTED ON 07/11/2020

IDENTITY IN CRISIS: ON HOW FASHION IS VALUED AND THE ALTERED MEANING OF LUXURY

KAMONNART ONGWANDEE SHONE PUIPIA LAUREN YATES

กมลนาถ องค์วรรณดี โชน ปุยเปีย และลอเรน เยทส์ แลกเปลี่ยนบทสนทนาเกี่ยวกับระบบแฟชั่นในปัจจุบัน กระบวนการผลิตและผลผลิตจากแบรนด์แฟชั่น สัมพันธ์กับคุณค่าที่ผู้คนร่วมสมัยใส่ใจอย่างไร ความคิดเห็นของแบรนด์เสื้อผ้าต่อความหมายของลักซ์ชัวรี่ต่างจากเดิมเพราะปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมอย่างไร

Kamonnart Ongwandee, Shone Puipia and Lauren Yates exchange conversations on the change in fashion system. How fashion are valued by the contemporary crowd and how today designers and producers response to it? What are fashion brands’s opinions toward the altered meanings of luxury affected by the environment, society or culture?

[BM] 02 POSTED ON 06/10/2020

SOMETHING NEWS: DELIBERATING NEWS CREATION TODAY AND ALTERNATIVE APPROACHES TO JOURNALISM

นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา ปวีร์ ศิริมัย

นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา และปวีร์ ศิริมัย ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของสื่อในปัจจุบัน และความหมายของงานสื่อสารมวลชนในบริบทร่วมสมัย บทบาทของนักออกแบบในวงการข่าว การใช้ ‘ภาพ’ เพื่อสื่อสารในรูปแบบที่ตัวอักษรไม่สามารถทำได้ และการเข้ามาใกล้กันมากขึ้นของวิธีการข่าวและการทำงานศิลปะ ศิลปินหยิบยืมวิธีคิดของการทำข่าวไปใช้ในการสร้างงานศิลปะอย่างไร

[BM] 01 POSTED ON 05/12/2020

TALKING THE PRACTICE: DISCUSSION ON GRAPHIC DESIGN

PIANPIAN HE & MAX HARVEY WIN SHANOKPRASITH

Pianpian He and Max Harvey talk with Win Shanokprasith on the role of graphic designers from designing to critical examination. Together, they question the importance of their conversation in today’s contexts of world pandemic, fake news, and censorship.

เพียนเพียน เหอ กับ แมกซ์ ฮาร์วีย์ และ วิน ชนกประสิทธิ์ ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความคิดและวิธีการทำงานเชิงวิพากษ์ของนักออกแบบกราฟิก และร่วมกันตั้งคำถามต่อความสำคัญของบทสนทนาในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ผ่านบริบทแวดล้อมของโลกที่ทุกคนกำลังเผชิญทั้งโรคระบาด ข่าวปลอม และการเซ็นเซอร์