This magazine has just arrived at the BOOKSHOP LIBRARY, open it if you like […] It’s a magazine project that has only six issues, we have the whole set for the library while issue 3, 5 and 6 are available for sale. […] Migrant [Migrant Journal]  in this context is not about people who are migrants but about things, about stories circulating in our migration world. […] I would recommend it to you if you’re interested in graphic design, its art direction is really good. […] Each issue comes with a special dual color which personally I think it’s very fascinating. […] Now I have realized that I want to study graphic design. […] At which university? […] At Chula (Chulalongkorn University) […] I see, at Sinkam? (The Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University.) Actually, I am studying in the science program. […] I haven’t told my parents yet, they want me to become a doctor. […] You bought Term Paper, issue 1, during your last visit, right? [Term Paper Issue01: The Famous Lamb] […] That’s right. […] The 2nd issue just released. […] You can read it here, we like people to read it. […] In the 1st issue, there’s an interview article by Studio150 who produces this book. They interviewed Sulki & Min, a Korean graphic design studio […] In the recently released 2nd issue [Term Paper Issue02: Below Sea Level], Belle, their friend who is a graduate from Amsterdam’s Sandberg Instituut, interviewed three design teaching professors in the Netherlands. I personally really like this art and design school, it’s very avant-garde. […] She interviewed 3 professors from 3 schools, I can’t remember all their names. […] Ok, one is Joost Grootens who’s teaching at Design Academy Eindhoven in Eindhoven. He’s the head of the Information Design department. Then there’s Anja Groten, this one is the head of the Design Department at Sandberg. The last is Irina Shapiro, who teaches at Piet Zwart Institute in Rotterdam. […] Each was asked their opinions about education, teaching and studying based from each personal experiences. […] Come again? […] If I recall it correctly, in the case of Joost Grootens, he thinks that in the Bachelor’s Degree level, students should learn about basic foundations and how to solve different kinds of problems with various kinds of tools. I think he means the design tools literally like design programs and research methodology. Then, in the Master’s Degree level, it’s varied based on personal interests of each student. Studying the Master’s Degree is about focusing only on a topic that one is interested in. […] Anja Groten is interested in the term know-ledge giver than teacher, and the term knowledge receiver than student. She tries to blur the boundary here. She doesn’t want to build a passive-style classroom, where one can only listen to the other. For Irina Sharpio, I remember that she’s interested in design and com-munity issues. This one I feel the least related to. I don’t want to use my design practice to solve any community issues or talking about any social issues. Speaking of solving these issues, I don’t have to be a graphic designer to do so. […] But no offense. […] I just chose a different pathway I guess. […] Are there other Thai books in the bookshop? […] There are some, but not a lot. […] I just finished reading โพ้นพรมแดนความรู้ and ข้ามขอบฟ้าความคิด [โพ้นพรมแดนความรู้] [ข้ามขอบฟ้าความคิด]which are texts from lectures on art and Western philosophy held at Chiang Mai University. […] They are published by the university’s press, from the MEDIA ARTS AND DESIGN department. […] There’s a part in one of these books which is based from Martin Heidegger’s Being and Time (1927). I don’t quite get it even though I read the Thai version of it. […] but it makes me want to do further reading […] Oh, the lecture compares Martin Heidegger’s ideas with Walter Benjamin’s. […] I think I understand better the one of Walter Benjamin, I can follow. […] It says some-thing about how aura has disappeared from the birth of mass production, including aura in artworks. […] I want to read Autonomia [Autonomia : ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ] but I haven’t read it yet […] Don’t forget to share it with me when you finish reading it.

แมกกาซีนนี่เพิ่งส่งมาถึงเลย ลองเปิดดูได้ […] เป็นโปรเจกต์ที่ออกมาแค่ 6 เล่ม มีครบเซ็ตเลยเอาไว้ให้อ่านที่นี่ แต่มีขายเล่ม 3 เล่ม 5 แล้วก็เล่ม 6 […] Migrant [Migrant Journal]  ในที่นี้ไม่ได้พูดถึงคนที่เป็นผู้อพยพนะ มันพูดไปถึงสิ่งของ หรือเรื่องราวที่หมุนเวียนอยู่ในโลก ที่มีการอพยพไปมา […] ถ้าสนใจกราฟิกดีไซน์ เราก็แนะนำนะ มีอาร์ตไดเรคชั่นที่ดีมาก […] แต่ละเล่มมีคู่สีพิเศษ 2 สี ซึ่งเราคิดว่าทำให้มันน่าดึงดูดมากๆ […] ตอนนี้รู้ตัวแล้วค่ะว่าอยากเรียนกราฟิก […] ที่ไหนเหรอ […] จุฬาฯ […] อ้อ สินกำ (ศิลปกรรมศาสตร์) เหรอ […] ตอนนี้เรียนสายวิทย์ […] ยังไม่ได้บอกพ่อกับแม่เลย ที่บ้านอยากให้เป็นหมอ […] คราวที่แล้วซื้อ Term Paper เล่ม 1 ไปนี่ [Term Paper Issue01: The Famous Lamb] […] ใช่ค่ะ […] ตอนนี้มีเล่ม 2 แล้วนะ […] นั่งอ่านที่นี่ก็ได้ […] เล่ม 1 จะเป็นบทสัมภาษณ์ของ Studio150 ที่เป็นคนทำหนังสือเล่มนี้ออกมา เขาไปสัมภาษณ์กราฟิกดีไซน์สตูดิโอของเกาหลีชื่อ Sulki & Min […] ส่วนเล่ม 2 ที่เพิ่งออกมา [Term Paper Issue02: Below Sea Level] เพื่อนของ Studio150 ชื่อเบล ไปสัมภาษณ์อาจารย์ 3 คน ที่สอนดีไซน์อยู่ที่เนเธอร์แลนด์ เบลจบ Sandberg Instituut ในอัมสเตอร์ดัม เป็นโรงเรียนศิลปะกับออกแบบที่ล้ำมาก เราชอบส่วนตัว […] เบลสัมภาษณ์อาจารย์ 3 คนที่สอนอยู่ 3 โรงเรียน เราจำชื่ออาจารย์ได้ไม่หมด […] เออ นี่ๆ มี Joost Grootens เขาสอนที่ Design Academy Eindhoven เป็นหัวหน้าภาค Information Design แล้วก็มี Anja Groten ที่เป็นหัวหน้าภาค Design Department อยู่ที่ Sandberg อีกคน Irina Shapiro เป็นอาจารย์อยู่ที่ Piet Zwart Institute ในรตเตอร์ดัม […]  เขาถามความความเห็นต่อวงการการศึกษาและวิธีการเรียนการสอนจากประสบการณ์ของแต่ละคน […] ยังไงนะคะ […] เท่าที่จำได้ Joost เขามีความเห็นว่าการเรียน ป.ตรี ควรจะวางพื้นฐานในการแก้โจทย์ให้กับนักเรียนหลายๆ แบบ เพื่อฝึกที่จะใช้ tools ให้เป็น เราคิดว่าหมายถึงทั้งในแง่เครื่องมือ โปรแกรมจริงๆ และหมายถึงวิธีการรีเสิร์ชด้วยน่ะนะ […] Anja สนใจคำว่าผู้ให้การศึกษามากกว่าครู ผู้รับการศึกษามากกว่าลูกศิษย์ เขาพยายามที่จะทำให้หน้าที่ของตัวเขาเอง และคนที่รับการศึกษาเลือนรางมากๆ เขาไม่อยากสร้างห้องเรียนที่ passive ที่มีแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั่งฟังอยู่ฝ่ายเดียว […] จำได้ว่า Irina สนใจเรื่องการใช้ดีไซน์กับการแก้ปัญหาชุมชน สำหรับเราอันนี้ connect น้อยกว่าบทสัมภาษณ์อื่น เราไม่ได้อยากเอา practice การทำงานของเราไปแตะกับการแก้ปัญหาสังคม หรือพูดถึงประเด็นในสังคม ถ้าจะพูดถึงการแก้ปัญหา เราไม่ต้องเป็นกราฟิกดีไซน์เนอร์ก็ได้ […] แต่อันนี้เราไม่ได้ว่าเขานะ […] เราเลือกไม่เหมือนกันแค่นั้น […] แล้วที่ร้านมีหนังสือภาษาไทยเล่มอื่นๆอีกมั้ยคะ […] ก็มีบ้าง แต่อาจจะน้อยหน่อย […] ที่เราเพิ่งอ่านก็มี โพ้นพรมแดนความรู้ กับ ข้ามขอบฟ้าความคิด [โพ้นพรมแดนความรู้] [ข้ามขอบฟ้าความคิด] เล่มสีฟ้ารวมเนื้อหาที่ถอดออกมาจากเลคเชอร์เกี่ยวกับศิลปะและปรัชญาตะวันตก ที่จัดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ […] สำนักพิมพ์ก็เป็นของมหาลัยด้วย เป็นของภาควิชา Media Arts and Design […] มีตอนนึงของเล่มนี้ เอามาจากเลคเชอร์ที่พูดถึงแนวคิดของ Martin Heidegger เรื่อง Being and Time (2470) อ่านเป็นภาษาไทยเรายังไม่ค่อยรู้เรื่องเลย […] แต่ก็ทำให้อยากไปหาอ่านเพิ่มอยู่ […] อ๋อ แล้วเขาเอาแนวคิดไปเปรียบกับ Walter Benjamin […] เราว่าเราเข้าใจแนวคิดของ Walter Benjamin มากกว่า เรา follow ได้ […] เขาพูดถึงคำว่า aura ซึ่งหายไปจากการเกิด mass production รวมไปถึง aura ในงานศิลปะด้วย […] อยากอ่าน Autonomia [Autonomia: ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ] แต่ยังไปไม่ถึง […] ถ้าอ่านแล้วเล่าให้ฟังหน่อย

TRANSLATION

BACK TO TOP