ถ้าดูงานในห้องเสร็จยังมีงานในห้องเล็กให้ดู ใช่ๆ สามารถเข้าไปได้ค่ะ ((หัวเราะ)) คือพื้นที่ตรงนั้นมันเป็นร้านหนังสือกับห้องสมุดก็จริง แต่มีงานของศิลปินคนอื่นๆ ติดอยู่ด้วย […] เคยไปดูงานภาพถ่ายของศิลปินคนนึงที่ VER […] ฟังจากที่พูดแล้วนึกถึงหนังสือเล่มนี้เลย ((หยิบเล่มของพี่วิริยะมาให้ดู)) [In a State of Flux] ลักษณะงานแบบนี้รึป่าว […] เฮ้ย เล่มนี้เลย คนนี้แหละ เนอะ ((หันไปถามคนที่มาด้วยกัน)) […] มีหนังสือของศิลปินที่ชื่อเต้ ภาวิต มั้ยคะ พอดีเมื่อกี้ได้คุยกับพี่ในห้องนู้นมา เขาแนะนำมาว่ามีหนังสือเล่มนึงที่รวบรวมภาพสเกตช์ของศิลปินคนนี้อยู่ […] ใช่เล่มนี้มั้ยคะ [Flavour of the Day] […] ถ้านอกจากเล่มนี้แล้วจะมีเล่มอื่นด้วย เป็นซีนที่เต้ทำค่ะ […] น้องอยากได้เล่มนี้ ((ส่งซีนหน้าปกสีเหลืองของ กลุ่ม The Republish มาให้ดู)) […] เสียดายอ่ะ ((หัวเราะ)) เขาไม่ขายใช่มั้ย […] เห็นยืนดูหนังสือในกล่องนั้นนานมาก ชอบดูซีนใช่มั้ย ((หัวเราะ)) เดี๋ยวจะมีกิจกรรมของ Bangkok Art Book Fair ในเดือนพฤศจิกานะคะ เดี๋ยวเราเปิดเว็บไซต์งานครั้งก่อนๆ ให้ดู ((เปิด www.bangkokartbookfair.info)) […] ปกติจะจัดทุกๆ เดือนกันยายนของทุกปีค่ะ เป็นงานหนังสือแหละ แต่หนังสือที่แต่ละโต๊ะเอามาส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งพิมพ์ทำมือ พิมพ์จำนวนไม่เยอะ คนขายก็จะมีทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ วันงานจะชอบสังเกตดูคนขายแต่ละโต๊ะ พวกเขาจะหาจังหวะไปเยี่ยมเยียนโต๊ะอื่นๆ แลกซีนกัน เม้าท์กัน […] ถ้าเป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ซอย จะมีเล่มอื่นๆ ของเขาอยู่ตรงนี้ด้วยนะคะ อย่างเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่ตีพิมพ์ออกมา [รวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล: ประเด็นชั่ยๆ ของยุคสมัยในความเกี่ยวดองของ #เทคโนโลยี #ศิลปะ และ #การทหารไม่มีชื่อ] คิดว่าถ้าสนใจประเด็นเรื่องของงานศิลปะที่มันเชื่อมโยงกับบริบทของบ้านเมือง ระบบการปกครอง เรื่องของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ซึ่งบางทีมันเป็นเรื่องที่เราไม่ได้ทันได้สังเกตน่ะนะ เล่มนี้สนุกมาก […] รวมบทความจากหนังสือหลายๆ เล่มของเขาแล้วแปลไทยค่ะ […] ชอบหรอ ((หัวเราะ)) อันที่จริงในบ้านเราเคยมีงานวิดีโอของฮิโตะมาฉายอยู่นะ ตอนนั้นเขาเข้าร่วมในงานที่ชื่อว่า ‘Ghost: 2561’ {Ghost:2561} เป็นเทศกาลศิลปะที่ฉายงานวิดีโอและการแสดง จัดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ในกรุงเทพฯ […] อ๋อ คณะที่เรียนมันก็เกี่ยวอยู่บ้างนะกับที่บอกว่าชอบหนังสือเล่มนี้ […] เมื่อกี้อ่านบทนี้คร่าวๆ เห็นภาพเลย เพราะรู้สึกว่าทุกวันนี้ถูกจับตามองตลอดเวลา […] อาจจะไม่ใช่ในเซนส์ของการจับผิด แบบกล้องวงจรปิดตามสี่แยกนะ แต่รวมไปถึงการเข้ารหัส การเล่นอินเทอร์เน็ต การโอนเงินผ่านแอป เทคโนโลยีอะไรพวกนี้ […] มีอีกเล่มนึง [Eva & Franco Mattes—Dear Imaginary Audience,]  เป็นโปรเจกต์ของศิลปินดูโอ้ที่พวกเขาเริ่มต้นจากการทำงานกับมีมรูปแมว มีรูปนึงที่แมวโผล่หน้าออกมาจากช่องบนเพดาน โผล่แบบจ้องลงมาหาเราที่เป็นคนดูมันอีกทีน่ะ […] ตัวเขาเองก็มองว่ามีมนี้มันทำหน้าที่เหมือนกล้องวงจรปิด ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่แมวโผล่มาจากช่องที่อยู่บนเพดาน หรือการทำงานของมีมเองที่เขาต้องการสื่อว่าเราต่างก็ถูกจ้องมองผ่านหน้าจอที่เราต้องใช้งานมันทุกวัน

ถ้าดูงานในห้องเสร็จยังมีงานในห้องเล็กให้ดู ใช่ๆ สามารถเข้าไปได้ค่ะ ((หัวเราะ)) คือพื้นที่ตรงนั้นมันเป็นร้านหนังสือกับห้องสมุดก็จริง แต่มีงานของศิลปินคนอื่นๆ ติดอยู่ด้วย […] เคยไปดูงานภาพถ่ายของศิลปินคนนึงที่ VER […] ฟังจากที่พูดแล้วนึกถึงหนังสือเล่มนี้เลย ((หยิบเล่มของพี่วิริยะมาให้ดู)) [In a State of Flux] ลักษณะงานแบบนี้รึป่าว […] เฮ้ย เล่มนี้เลย คนนี้แหละ เนอะ ((หันไปถามคนที่มาด้วยกัน)) […] มีหนังสือของศิลปินที่ชื่อเต้ ภาวิต มั้ยคะ พอดีเมื่อกี้ได้คุยกับพี่ในห้องนู้นมา เขาแนะนำมาว่ามีหนังสือเล่มนึงที่รวบรวมภาพสเกตช์ของศิลปินคนนี้อยู่ […] ใช่เล่มนี้มั้ยคะ [Flavour of the Day] […] ถ้านอกจากเล่มนี้แล้วจะมีเล่มอื่นด้วย เป็นซีนที่เต้ทำค่ะ […] น้องอยากได้เล่มนี้ ((ส่งซีนหน้าปกสีเหลืองของ กลุ่ม The Republish มาให้ดู)) […] เสียดายอ่ะ ((หัวเราะ)) เขาไม่ขายใช่มั้ย […] เห็นยืนดูหนังสือในกล่องนั้นนานมาก ชอบดูซีนใช่มั้ย ((หัวเราะ)) เดี๋ยวจะมีกิจกรรมของ Bangkok Art Book Fair ในเดือนพฤศจิกานะคะ เดี๋ยวเราเปิดเว็บไซต์งานครั้งก่อนๆ ให้ดู ((เปิด www.bangkokartbookfair.info)) […] ปกติจะจัดทุกๆ เดือนกันยายนของทุกปีค่ะ เป็นงานหนังสือแหละ แต่หนังสือที่แต่ละโต๊ะเอามาส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งพิมพ์ทำมือ พิมพ์จำนวนไม่เยอะ คนขายก็จะมีทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ วันงานจะชอบสังเกตดูคนขายแต่ละโต๊ะ พวกเขาจะหาจังหวะไปเยี่ยมเยียนโต๊ะอื่นๆ แลกซีนกัน เม้าท์กัน […] ถ้าเป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ซอย จะมีเล่มอื่นๆ ของเขาอยู่ตรงนี้ด้วยนะคะ อย่างเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่ตีพิมพ์ออกมา [รวมบทความของฮิโตะ ชไตเยิร์ล: ประเด็นชั่ยๆ ของยุคสมัยในความเกี่ยวดองของ #เทคโนโลยี #ศิลปะ และ #การทหารไม่มีชื่อ] คิดว่าถ้าสนใจประเด็นเรื่องของงานศิลปะที่มันเชื่อมโยงกับบริบทของบ้านเมือง ระบบการปกครอง เรื่องของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ซึ่งบางทีมันเป็นเรื่องที่เราไม่ได้ทันได้สังเกตน่ะนะ เล่มนี้สนุกมาก […] รวมบทความจากหนังสือหลายๆ เล่มของเขาแล้วแปลไทยค่ะ […] ชอบหรอ ((หัวเราะ)) อันที่จริงในบ้านเราเคยมีงานวิดีโอของฮิโตะมาฉายอยู่นะ ตอนนั้นเขาเข้าร่วมในงานที่ชื่อว่า ‘Ghost: 2561’ {Ghost:2561} เป็นเทศกาลศิลปะที่ฉายงานวิดีโอและการแสดง จัดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ในกรุงเทพฯ […] อ๋อ คณะที่เรียนมันก็เกี่ยวอยู่บ้างนะกับที่บอกว่าชอบหนังสือเล่มนี้ […] เมื่อกี้อ่านบทนี้คร่าวๆ เห็นภาพเลย เพราะรู้สึกว่าทุกวันนี้ถูกจับตามองตลอดเวลา […] อาจจะไม่ใช่ในเซนส์ของการจับผิด แบบกล้องวงจรปิดตามสี่แยกนะ แต่รวมไปถึงการเข้ารหัส การเล่นอินเทอร์เน็ต การโอนเงินผ่านแอป เทคโนโลยีอะไรพวกนี้ […] มีอีกเล่มนึง [Eva & Franco Mattes—Dear Imaginary Audience,]  เป็นโปรเจกต์ของศิลปินดูโอ้ที่พวกเขาเริ่มต้นจากการทำงานกับมีมรูปแมว มีรูปนึงที่แมวโผล่หน้าออกมาจากช่องบนเพดาน โผล่แบบจ้องลงมาหาเราที่เป็นคนดูมันอีกทีน่ะ […] ตัวเขาเองก็มองว่ามีมนี้มันทำหน้าที่เหมือนกล้องวงจรปิด ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่แมวโผล่มาจากช่องที่อยู่บนเพดาน หรือการทำงานของมีมเองที่เขาต้องการสื่อว่าเราต่างก็ถูกจ้องมองผ่านหน้าจอที่เราต้องใช้งานมันทุกวัน

TRANSLATION

BACK TO TOP